คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมนานาชาติว่าด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ ระหว่างวันที่ 30-31 สิงหาคม 2547 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ สรุปสาระสำคัญของผลการประชุมฯ ได้ดังนี้
1. ความร่วมมือภาครัฐ ในการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (ทั้งเอทานอลและไบโอเซล) และนำไปสู่ความเห็นชอบร่วมกันใน Bangkok Statement ซึ่งได้กำหนดความร่วมมือตั้งแต่การวิจัย พัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยี และประสบการณ์ การลงทุนทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การส่งเสริมการใช้ การจัดเก็บและการขนส่ง และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้ โดยเล็งเห็นถึงประโยชน์ร่วมกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
2. การลงนามในความร่วมมือกับภาคเอกชน เกี่ยวกับการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
2.1 ความร่วมมือระหว่าง Bayer Technological Services แห่งเยอรมนี และกลุ่มบริษัท ACG ของไทย
2.2 ความร่วมมือระหว่าง Cia Importadora e Exportadora Coimex และ International Foundation for Sustainable Development แห่งบราซิล และ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
2.3 ความร่วมมือระหว่าง PETRON Corporation แห่งฟิลิปปินส์ และ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
2.4 ความร่วมมือระหว่าง Sao Paulo Sugar Cane Agro-industry Union (UNICA) และ Thai Sugar Millers Corporation (TSMC) ในฐานะผู้แทน 3 สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลไทย
3. การหารือทวิภาคี ได้มีการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับรัฐมนตรีด้านพลังงานของประเทศต่างๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาและขยายความร่วมมือว่าด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ ดังนี้
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงผู้บริโภค อาหาร และเกษตร แห่งเยอรมนี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร แห่งบราซิล
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แห่งฟิลิปปินส์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ความร่วมมือภาครัฐ ในการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (ทั้งเอทานอลและไบโอเซล) และนำไปสู่ความเห็นชอบร่วมกันใน Bangkok Statement ซึ่งได้กำหนดความร่วมมือตั้งแต่การวิจัย พัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยี และประสบการณ์ การลงทุนทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การส่งเสริมการใช้ การจัดเก็บและการขนส่ง และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้ โดยเล็งเห็นถึงประโยชน์ร่วมกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
2. การลงนามในความร่วมมือกับภาคเอกชน เกี่ยวกับการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
2.1 ความร่วมมือระหว่าง Bayer Technological Services แห่งเยอรมนี และกลุ่มบริษัท ACG ของไทย
2.2 ความร่วมมือระหว่าง Cia Importadora e Exportadora Coimex และ International Foundation for Sustainable Development แห่งบราซิล และ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
2.3 ความร่วมมือระหว่าง PETRON Corporation แห่งฟิลิปปินส์ และ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
2.4 ความร่วมมือระหว่าง Sao Paulo Sugar Cane Agro-industry Union (UNICA) และ Thai Sugar Millers Corporation (TSMC) ในฐานะผู้แทน 3 สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลไทย
3. การหารือทวิภาคี ได้มีการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับรัฐมนตรีด้านพลังงานของประเทศต่างๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาและขยายความร่วมมือว่าด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ ดังนี้
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงผู้บริโภค อาหาร และเกษตร แห่งเยอรมนี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร แห่งบราซิล
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แห่งฟิลิปปินส์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-