คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาท่าทีสำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งเห็นชอบการยื่นข้อเสนอ (offer list) ในการลดภาษีสินค้า เปิดตลาดสินค้า บริการ และการลงทุน โดยใช้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย เป็นแนวทางในการเจรจา ทั้งนี้ มอบให้หัวหน้าคณะเจรจามีความยืดหยุ่นในการปรับท่าทีได้ตามความเหมาะสม เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไทย
สำหรับสาระสำคัญของข้อเสนอดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
1. การลดภาษีสินค้า
1.1 ครอบคลุมสินค้าทุกรายการ โดยใช้อัตราภาษี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2547 เป็นฐาน
1.2 กลุ่มสินค้าที่พร้อมจะลดเป็น 0 ทันที ณ วันแรกที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ (Elimination) ซึ่งจะเป็นสินค้าวัตถุดิบหรือสินค้าที่พร้อมแข่งขัน เช่นอุตสาหรกรรมเยื่อกระดาษ ปิโตรเคมี (บางรายการ) ยานยนต์และชิ้นส่วน (บางรายการ) เป็นต้น
1.3 กลุ่มสินค้าที่จะสามารถลดเป็น 0 ได้ทันที หากฝ่ายนิวซีแลนด์เสนอสดเป็น 0 ด้วย (Zero for Zero) ซึ่งเป็นสินค้าที่แข่งขันได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำตาล เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น
1.4 กลุ่มสินค้าปกติ จะทยอยลดภาษีลงเหลือ 0 ภายใน 5 ปี (Normal Track) เช่น หินแกรนิตและหินอ่อน อุตสาหกรรมอาหาร กระดาษ เป็นต้น
1.5 กลุ่มสินค้าอ่อนไหว (Sensitive) ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยต้องการเวลาในการปรับตัว จะมีระยะเวลาการลดภาษีภายใน 10 - 15 ปี เช่นนมและผลิตภัณฑ์ เนื้อ ไม้อัด ไม้บาง เหล็ก ทองแดง เป็นต้น
1.6 สำหรับสินค้าเกษตรที่มีโควตาภาษี อาจพิจารณายกเลิกบางรายการซึ่งนิวซีแลนด์ไม่มีศักยภาพในการส่งออกมาไทย ส่วนรายการที่อาจมีผลกระทบต่อไทย จะเปิดโควตาพิเศษ เพิ่มให้จากโควตาภาษีภายใต้ WTO ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่อยๆ ลดภาษีในโคตาลงจนเหลือศูนย์ส่วนภาษีนอกโควตาจะลดให้ต่ำกว่าอัตราที่เก็บจากสมาชิก WTO ร้อยละ 10 โดยโควตาภาษีทั้งหมดจะถูกยกเลิกตามกำหนดเวลา 15 - 20 ปี
1.7 ส่วนสินค้าเกษตรอ่อนไหวที่ไม่มีโควตาภาษีให้เสนอมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguards) โดยกำหนดปริมาณนำเข้าปริมาณหนึ่ง จากสถิติการนำเข้าย้อนหลังเฉลี่ย 3 ปี บวกอัตราเพิ่มที่เหมาะสม และให้มีอัตราเจริญเติบโตประมาณร้อยละ 10 ต่อปี ในระหว่างที่ภาษียังลดไม่เป็นศูนย์
2. การเปิดตลาดสินค้า บริการ และการลงทุน เน้นให้ประโยชน์จากการเปิดเสรีเฉพาะคนชาตินิซีแลนด์ (Natural Person) โดยทยอยเปิดตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไปเช่นเดียวกับในความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย โดยมีเกณฑ์พิจารณาจัดทำข้อเสนอเปิดตลาดให้ออสเตรเลียถือหุ้นข้างมากได้ถึงร้อยละ 60 ดังนี้
2.1 การลงทุนทางตรงที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
2.2 เป็นธุรกิจที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน
2.3 เป็นธุรกิจที่เอ้อต่อนโยบายรัฐบาลที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการลงทุน
2.4 เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนมาก และสนับสนุนการจ้างแรงงานในประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
สำหรับสาระสำคัญของข้อเสนอดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
1. การลดภาษีสินค้า
1.1 ครอบคลุมสินค้าทุกรายการ โดยใช้อัตราภาษี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2547 เป็นฐาน
1.2 กลุ่มสินค้าที่พร้อมจะลดเป็น 0 ทันที ณ วันแรกที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ (Elimination) ซึ่งจะเป็นสินค้าวัตถุดิบหรือสินค้าที่พร้อมแข่งขัน เช่นอุตสาหรกรรมเยื่อกระดาษ ปิโตรเคมี (บางรายการ) ยานยนต์และชิ้นส่วน (บางรายการ) เป็นต้น
1.3 กลุ่มสินค้าที่จะสามารถลดเป็น 0 ได้ทันที หากฝ่ายนิวซีแลนด์เสนอสดเป็น 0 ด้วย (Zero for Zero) ซึ่งเป็นสินค้าที่แข่งขันได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำตาล เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น
1.4 กลุ่มสินค้าปกติ จะทยอยลดภาษีลงเหลือ 0 ภายใน 5 ปี (Normal Track) เช่น หินแกรนิตและหินอ่อน อุตสาหกรรมอาหาร กระดาษ เป็นต้น
1.5 กลุ่มสินค้าอ่อนไหว (Sensitive) ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยต้องการเวลาในการปรับตัว จะมีระยะเวลาการลดภาษีภายใน 10 - 15 ปี เช่นนมและผลิตภัณฑ์ เนื้อ ไม้อัด ไม้บาง เหล็ก ทองแดง เป็นต้น
1.6 สำหรับสินค้าเกษตรที่มีโควตาภาษี อาจพิจารณายกเลิกบางรายการซึ่งนิวซีแลนด์ไม่มีศักยภาพในการส่งออกมาไทย ส่วนรายการที่อาจมีผลกระทบต่อไทย จะเปิดโควตาพิเศษ เพิ่มให้จากโควตาภาษีภายใต้ WTO ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่อยๆ ลดภาษีในโคตาลงจนเหลือศูนย์ส่วนภาษีนอกโควตาจะลดให้ต่ำกว่าอัตราที่เก็บจากสมาชิก WTO ร้อยละ 10 โดยโควตาภาษีทั้งหมดจะถูกยกเลิกตามกำหนดเวลา 15 - 20 ปี
1.7 ส่วนสินค้าเกษตรอ่อนไหวที่ไม่มีโควตาภาษีให้เสนอมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguards) โดยกำหนดปริมาณนำเข้าปริมาณหนึ่ง จากสถิติการนำเข้าย้อนหลังเฉลี่ย 3 ปี บวกอัตราเพิ่มที่เหมาะสม และให้มีอัตราเจริญเติบโตประมาณร้อยละ 10 ต่อปี ในระหว่างที่ภาษียังลดไม่เป็นศูนย์
2. การเปิดตลาดสินค้า บริการ และการลงทุน เน้นให้ประโยชน์จากการเปิดเสรีเฉพาะคนชาตินิซีแลนด์ (Natural Person) โดยทยอยเปิดตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไปเช่นเดียวกับในความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย โดยมีเกณฑ์พิจารณาจัดทำข้อเสนอเปิดตลาดให้ออสเตรเลียถือหุ้นข้างมากได้ถึงร้อยละ 60 ดังนี้
2.1 การลงทุนทางตรงที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
2.2 เป็นธุรกิจที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน
2.3 เป็นธุรกิจที่เอ้อต่อนโยบายรัฐบาลที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการลงทุน
2.4 เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนมาก และสนับสนุนการจ้างแรงงานในประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-