คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายงานการพัฒนาอุตสาหกรรมเซลล์
แสงอาทิตย์ สรุปได้ดังนี้
เป้าหมายหลักของการพัฒนาอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย มี 2 ประการ คือ
1. เพื่อนำพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งจะช่วยแก้ไข
ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันของประเทศไทยได้ ทำให้สามารถชะลอการสร้าง
โรงไฟฟ้าอีกทั้งเป็นการช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดจากการสร้างโรงไฟฟ้าและลักษณะการผลิตไฟฟ้า
จากเซลล์แสงอาทิตย์ (Photovolvaic generation) นั้น พบว่า มีลักษณะเช่นเดียวกับความต้องการใช้ไฟฟ้า
สูงสุด (Peak Load) มาก
2. เพื่อทำให้ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศมีราคาถูกลง ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนหันมาให้ความ
สนใจติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทยได้มีแนวทางในการพัฒนาพลังงานจากแสงอาทิตย์ดังกล่าว (Solar Energy Replace
Conventional Peaking Power Plant) ประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศไทย
ทั้งนี้ประเทศไทยจะขับเคลื่อนการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในการแก้ปัญหาการ cut peak ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งเป็น
ช่วงเวลาสั้น ๆ โดย peak ที่ช่วงเวลากลางวันจะมีประมาณ 2 % ซึ่งจะต้องเดินเครื่องประมาณ 33 ชั่วโมง
และจะต้องใช้เงินลงทุนเป็นหมื่นล้านไป serve operation ซึ่งในระดับนโยบายนั้นจะนำเซลล์แสงอาทิตย์ไป
ผลิตไฟฟ้าเพื่อ cut peak แล้วยังสามารถนำความร้อนจากแสงอาทิตย์ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ เพื่อลด
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันอีกด้วยซึ่งจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ และการใช้เซลล์
แสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น มีผลให้การลงทุนเกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การนำพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์มา
ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง
ทั้งนี้ แผนการใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ภายในประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2554
จะอยู่ประมาณ 250 เมกกะวัตต์
แผนการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2554
มีดังนี้
2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 รวม 48-54
1. มาตรการติดตั้งในพื้นที่ชนบท 19 17 1 1 0 0 0 38
2. มาตรการสนับสนุนและแรงจูงใจ 8 10 12 12 14 16 72
2.1 อาคารส่วนราชการ 3 5 7 7 9 11 42
2.2 บ้านอยู่อาศัย 5 5 5 5 5 5 30
3. มาตรการ RPS 17.5 35 17.5 70 140
รวมทุกมาตรการส่งเสริมกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 19 25 11 30.5 47 31.5 86 250
ที่มา : กระทรวงพลังงาน
ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตและศักยภาพของ Solar Energy ของประเทศไทย
ปี ความต้องการใช้ไฟฟ้า Solar Energy for Peak Replacement (MW) Solar Energy Plan (MW)
2-3% from Peak 10% from Peak
2547 19,325 579.75
2548 21,143 634.29
2548 22,738 682.14
2550 24,344 730.32
2551 26,048 781.44 45
2552 27,852 835.56 107.5
2553 29,808 2,980.80 152.5
2554 34,844 3,184.40 250
2555 33,945 3,394.50
2556 36,173 3,617.30
2557 38,515 3,851.50
2558 40,978 4,097.80
ที่มา : กระทรวงพลังงาน
มาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
จากการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงพลังงาน เรื่อง
มาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีรัฐมนตรีของ 2 กระทรวงเป็นประธานร่วม เพื่อ
ให้เกิดความชัดเจนให้หน่วยงานระดับปฏิบัติสามารถดำเนินการได้ พร้อมหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงาน
กระทรวงพลังงานได้กำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า
เชื่อมกับระบบสายส่ง ลดภาระกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดของระบบผลิตไฟฟ้า (peak cut) ของประเทศในขณะที่
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะที่เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาหลักของประเทศ ก็จะสนับสนุนในส่วน
ของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์ประกอบระบบในประเทศ เพื่อรองรับ
นโยบายดังกล่าว
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศได้มาจากการผลิตต่างๆ คือ ไฟฟ้าพลังงานความร้อน (จากการเผา
ไหม้เชื้อเพลิง) 80% ไฟฟ้าพลังน้ำ 10% และแหล่งอื่น ๆ เช่น ซื้อจากเอกชน จากประเทศเพื่อนบ้าน ฯลฯ 10%
จะเห็นว่า โดยหลัก ๆ แล้วเราต้องพึ่งไฟฟ้าจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องนำเข้าเกือบทั้งหมด ใน
ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 13% ซึ่งจะเป็นจำนวนของพลังงานไฟฟ้า
ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวในทุก 6 ปี
ในอีก 8 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2554) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่าประเทศไทย
ต้องการพลังงานไฟฟ้าประมาณ 42,649 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 2 เท่า ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ ในปี 2547
คือประมาณ 19,326 เมกะวัตต์
ทั้งนี้จากการหารือร่วมกันระหว่าง 2 กระทรวงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว กระทรวงพลังงานได้
กำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าเชื่อมกับระบบสายส่ง เพื่อช่วย
ลดภาระกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดของระบบผลิตไฟฟ้า (peak cut) ของประเทศ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีมีความเห็นในทิศทางเดียวกัน เพราะจะช่วยลดผลกระทบด้านพลังงานในภาวะราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องได้ โดยสามารถสนับสนุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์ประกอบ
ระบบในประเทศ
การดำเนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การดำเนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิจัยและ
พัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน อาทิ 1) โครงการวิจัยและพัฒนาเซลล์
แสงอาทิตย์ที่เหมาะกับภูมิอากาศเขตร้อนชื้น 2) โครงการการพัฒนาประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับบริษัทเอกชน
3) โครงการวิจัยและพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 4) โครงการวิจัยและพัฒนารถตุ๊กตุ๊ก
ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (SOLAR TUK TUK) 5) โครงการความร่วมมือพัฒนาวิทยาศาสตร์ระหว่างกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกระทรวงกลาโหม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
แสงอาทิตย์ สรุปได้ดังนี้
เป้าหมายหลักของการพัฒนาอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย มี 2 ประการ คือ
1. เพื่อนำพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งจะช่วยแก้ไข
ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันของประเทศไทยได้ ทำให้สามารถชะลอการสร้าง
โรงไฟฟ้าอีกทั้งเป็นการช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดจากการสร้างโรงไฟฟ้าและลักษณะการผลิตไฟฟ้า
จากเซลล์แสงอาทิตย์ (Photovolvaic generation) นั้น พบว่า มีลักษณะเช่นเดียวกับความต้องการใช้ไฟฟ้า
สูงสุด (Peak Load) มาก
2. เพื่อทำให้ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศมีราคาถูกลง ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนหันมาให้ความ
สนใจติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทยได้มีแนวทางในการพัฒนาพลังงานจากแสงอาทิตย์ดังกล่าว (Solar Energy Replace
Conventional Peaking Power Plant) ประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศไทย
ทั้งนี้ประเทศไทยจะขับเคลื่อนการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในการแก้ปัญหาการ cut peak ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งเป็น
ช่วงเวลาสั้น ๆ โดย peak ที่ช่วงเวลากลางวันจะมีประมาณ 2 % ซึ่งจะต้องเดินเครื่องประมาณ 33 ชั่วโมง
และจะต้องใช้เงินลงทุนเป็นหมื่นล้านไป serve operation ซึ่งในระดับนโยบายนั้นจะนำเซลล์แสงอาทิตย์ไป
ผลิตไฟฟ้าเพื่อ cut peak แล้วยังสามารถนำความร้อนจากแสงอาทิตย์ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ เพื่อลด
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันอีกด้วยซึ่งจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ และการใช้เซลล์
แสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น มีผลให้การลงทุนเกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การนำพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์มา
ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง
ทั้งนี้ แผนการใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ภายในประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2554
จะอยู่ประมาณ 250 เมกกะวัตต์
แผนการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2554
มีดังนี้
2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 รวม 48-54
1. มาตรการติดตั้งในพื้นที่ชนบท 19 17 1 1 0 0 0 38
2. มาตรการสนับสนุนและแรงจูงใจ 8 10 12 12 14 16 72
2.1 อาคารส่วนราชการ 3 5 7 7 9 11 42
2.2 บ้านอยู่อาศัย 5 5 5 5 5 5 30
3. มาตรการ RPS 17.5 35 17.5 70 140
รวมทุกมาตรการส่งเสริมกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 19 25 11 30.5 47 31.5 86 250
ที่มา : กระทรวงพลังงาน
ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตและศักยภาพของ Solar Energy ของประเทศไทย
ปี ความต้องการใช้ไฟฟ้า Solar Energy for Peak Replacement (MW) Solar Energy Plan (MW)
2-3% from Peak 10% from Peak
2547 19,325 579.75
2548 21,143 634.29
2548 22,738 682.14
2550 24,344 730.32
2551 26,048 781.44 45
2552 27,852 835.56 107.5
2553 29,808 2,980.80 152.5
2554 34,844 3,184.40 250
2555 33,945 3,394.50
2556 36,173 3,617.30
2557 38,515 3,851.50
2558 40,978 4,097.80
ที่มา : กระทรวงพลังงาน
มาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
จากการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงพลังงาน เรื่อง
มาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีรัฐมนตรีของ 2 กระทรวงเป็นประธานร่วม เพื่อ
ให้เกิดความชัดเจนให้หน่วยงานระดับปฏิบัติสามารถดำเนินการได้ พร้อมหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงาน
กระทรวงพลังงานได้กำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า
เชื่อมกับระบบสายส่ง ลดภาระกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดของระบบผลิตไฟฟ้า (peak cut) ของประเทศในขณะที่
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะที่เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาหลักของประเทศ ก็จะสนับสนุนในส่วน
ของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์ประกอบระบบในประเทศ เพื่อรองรับ
นโยบายดังกล่าว
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศได้มาจากการผลิตต่างๆ คือ ไฟฟ้าพลังงานความร้อน (จากการเผา
ไหม้เชื้อเพลิง) 80% ไฟฟ้าพลังน้ำ 10% และแหล่งอื่น ๆ เช่น ซื้อจากเอกชน จากประเทศเพื่อนบ้าน ฯลฯ 10%
จะเห็นว่า โดยหลัก ๆ แล้วเราต้องพึ่งไฟฟ้าจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องนำเข้าเกือบทั้งหมด ใน
ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 13% ซึ่งจะเป็นจำนวนของพลังงานไฟฟ้า
ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวในทุก 6 ปี
ในอีก 8 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2554) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่าประเทศไทย
ต้องการพลังงานไฟฟ้าประมาณ 42,649 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 2 เท่า ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ ในปี 2547
คือประมาณ 19,326 เมกะวัตต์
ทั้งนี้จากการหารือร่วมกันระหว่าง 2 กระทรวงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว กระทรวงพลังงานได้
กำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าเชื่อมกับระบบสายส่ง เพื่อช่วย
ลดภาระกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดของระบบผลิตไฟฟ้า (peak cut) ของประเทศ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีมีความเห็นในทิศทางเดียวกัน เพราะจะช่วยลดผลกระทบด้านพลังงานในภาวะราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องได้ โดยสามารถสนับสนุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์ประกอบ
ระบบในประเทศ
การดำเนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การดำเนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิจัยและ
พัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน อาทิ 1) โครงการวิจัยและพัฒนาเซลล์
แสงอาทิตย์ที่เหมาะกับภูมิอากาศเขตร้อนชื้น 2) โครงการการพัฒนาประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับบริษัทเอกชน
3) โครงการวิจัยและพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 4) โครงการวิจัยและพัฒนารถตุ๊กตุ๊ก
ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (SOLAR TUK TUK) 5) โครงการความร่วมมือพัฒนาวิทยาศาสตร์ระหว่างกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกระทรวงกลาโหม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--