คณะรัฐมนตรีรับทราบโครงการฝายต้นน้ำลำธาร(Check Dam) ตามแนวพระราชดำริตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอดังนี้
1. จังหวัดที่สามารถดำเนินการได้จำนวน 45 จังหวัดประกอบด้วย
(1) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 14 จังหวัด โดยดำเนินการก่อสร้างฝายฯ ไปแล้ว จำนวน 10 จังหวัด คือ จังหวัดชัยภูมิ สุรินทร์ อุดรธานี เลย หนองบัวลำภู ยโสธร อุบลราชธานี มุกดาหาร ศรีสะเกษ และสกลนคร จำนวน 24,352 ฝาย/แห่ง และอยู่ระหว่างดำเนินการ 6 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ กาฬสินธุ์ ยโสธร นครพนม ร้อยเอ็ด และบุรีรัมย์ จำนวน 3,717 ฝาย/แห่ง
(2) ภาคเหนือ จำนวน 11 จังหวัด โดยดำเนินการก่อสร้างฝายฯ แล้ว จำนวน 11 จังหวัด คือ จังหวัดตาก ลำพูน ลำปาง แพร่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พะเยา น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และเชียงใหม่ จำนวน 11,223 ฝาย/แห่ง และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 3 จังหวัด คือ จังหวัดตาก สุโขทัย และนครสวรรค์ จำนวน 181 ฝาย/แห่ง
(3) ภาคกลาง จำนวน 6 จังหวัด โดยดำเนินการก่อสร้างฝายฯ แล้ว จำนวน 4 จังหวัด คือ จังหวัดชัยนาท สระบุรี อุทัยธานี และลพบุรี จำนวน 13 ฝาย/แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 3 จังหวัด คือจังหวัดเพชรบุรี สระบุรี และประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 71 ฝาย/แห่ง (อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลและจัดหางบประมาณ)
(4) ภาคใต้ จำนวน 10 จังหวัด โดยดำเนินการก่อสร้างฝายฯ แล้วจำนวน 6 จังหวัด คือ จังหวัดยะลา ภูเก็ต ตรัง ชุมพร สงขลา และสุราษฎร์ธานี จำนวน 74 ฝาย/แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 5 จังหวัด คือ จังหวัดสตูล พัทลุง กระบี่ สงขลา และนราธิวาส จำนวน 86 ฝาย
(5) ภาคตะวันออก จำนวน 4 จังหวัด ดำเนินการก่อสร้างฝายฯ แล้วทั้ง 4 จังหวัด คือ จังหวัดตราด ชลบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว จำนวน 1,203 ฝาย/แห่ง
2. การดำเนินการของจังหวัด ดังนี้
(1) จังหวัดได้ทำการสำรวจร่องน้ำลำห้วยในพื้นที่ที่มีปัญหาการพังทลายของดินหรือปัญหาพื้นที่ขาดความชุ่มชื้น โดยพิจารณาถึงความลาดชันของร่องน้ำ และสำรวจหาปริมาณน้ำไหลในร่องน้ำมาใช้ประกอบการเลือกตำแหน่งก่อสร้างฝายดังกล่าว
(2) การดำเนินโครงการ พิจารณาตามลักษณะของพื้นที่ ประกอบด้วย
(2.1) ในพื้นที่ลาดชันสูง มีความกว้างของลำห้วยไม่เกิน 2 เมตร จะสร้างฝายผสม โดยใช้วัสดุธรรมชาติ ไม้ท่อน หิน ถุงบรรจุดินหรือทราย แต่ถ้าความกว้างของลำห้วยมากกว่า 2 เมตร หรือลำห้วยมีน้ำมาก จะเพิ่มโครงสร้างของฝายต้นน้ำลำธาร เป็นแบบคอกหมูที่มีโครงสร้างหลายระดับมากน้อยตามปริมาณน้ำ
(2.2) ในพื้นที่ลาดชันปานกลาง จะสร้างฝายต้นน้ำลำธารเป็นแบบคอกหมูหรือแบบท้องถิ่นของชาวบ้าน ถ้าเป็นแบบคอกหมูจะใช้หินเรียงหรือกระสอบทรายผสมซีเมนต์ขนาบโครงสร้าง
(2.3) ในพื้นที่ลาดชันต่ำ ในกรณีที่มีน้ำมากจะสร้างเป็นฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ถ้าไม่มีน้ำมากนัก และความกว้างไม่เกิน 2 เมตร จะใช้ถุงทรายผสมซีเมนต์
(3) การบูรณาการแผนงานโครงการ ตลอดจนงบประมาณของทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงาน/ส่วนราชการภายในจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่มีส่วนร่วมดำเนินการ
3. จังหวัดที่รายงานว่าไม่สามารถดำเนินการได้ 10 จังหวัด เนื่องจากโดยสภาพของพื้นที่ภายในจังหวัดไม่เหมาะสมที่จะดำเนินโครงการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร (Check Dam) ตามพระราชดำริ เช่น เป็นพื้นที่ลุ่ม/ไม่มีภูเขาและป่าไม้ ไม่มีความแรงของกระแสน้ำ และไม่ได้เป็นเขตต้นน้ำลำธาร เช่น จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ อ่างทอง พิจิตร พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี นครปฐม มหาสารคาม และสุพรรณบุรี เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. จังหวัดที่สามารถดำเนินการได้จำนวน 45 จังหวัดประกอบด้วย
(1) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 14 จังหวัด โดยดำเนินการก่อสร้างฝายฯ ไปแล้ว จำนวน 10 จังหวัด คือ จังหวัดชัยภูมิ สุรินทร์ อุดรธานี เลย หนองบัวลำภู ยโสธร อุบลราชธานี มุกดาหาร ศรีสะเกษ และสกลนคร จำนวน 24,352 ฝาย/แห่ง และอยู่ระหว่างดำเนินการ 6 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ กาฬสินธุ์ ยโสธร นครพนม ร้อยเอ็ด และบุรีรัมย์ จำนวน 3,717 ฝาย/แห่ง
(2) ภาคเหนือ จำนวน 11 จังหวัด โดยดำเนินการก่อสร้างฝายฯ แล้ว จำนวน 11 จังหวัด คือ จังหวัดตาก ลำพูน ลำปาง แพร่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พะเยา น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และเชียงใหม่ จำนวน 11,223 ฝาย/แห่ง และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 3 จังหวัด คือ จังหวัดตาก สุโขทัย และนครสวรรค์ จำนวน 181 ฝาย/แห่ง
(3) ภาคกลาง จำนวน 6 จังหวัด โดยดำเนินการก่อสร้างฝายฯ แล้ว จำนวน 4 จังหวัด คือ จังหวัดชัยนาท สระบุรี อุทัยธานี และลพบุรี จำนวน 13 ฝาย/แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 3 จังหวัด คือจังหวัดเพชรบุรี สระบุรี และประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 71 ฝาย/แห่ง (อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลและจัดหางบประมาณ)
(4) ภาคใต้ จำนวน 10 จังหวัด โดยดำเนินการก่อสร้างฝายฯ แล้วจำนวน 6 จังหวัด คือ จังหวัดยะลา ภูเก็ต ตรัง ชุมพร สงขลา และสุราษฎร์ธานี จำนวน 74 ฝาย/แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 5 จังหวัด คือ จังหวัดสตูล พัทลุง กระบี่ สงขลา และนราธิวาส จำนวน 86 ฝาย
(5) ภาคตะวันออก จำนวน 4 จังหวัด ดำเนินการก่อสร้างฝายฯ แล้วทั้ง 4 จังหวัด คือ จังหวัดตราด ชลบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว จำนวน 1,203 ฝาย/แห่ง
2. การดำเนินการของจังหวัด ดังนี้
(1) จังหวัดได้ทำการสำรวจร่องน้ำลำห้วยในพื้นที่ที่มีปัญหาการพังทลายของดินหรือปัญหาพื้นที่ขาดความชุ่มชื้น โดยพิจารณาถึงความลาดชันของร่องน้ำ และสำรวจหาปริมาณน้ำไหลในร่องน้ำมาใช้ประกอบการเลือกตำแหน่งก่อสร้างฝายดังกล่าว
(2) การดำเนินโครงการ พิจารณาตามลักษณะของพื้นที่ ประกอบด้วย
(2.1) ในพื้นที่ลาดชันสูง มีความกว้างของลำห้วยไม่เกิน 2 เมตร จะสร้างฝายผสม โดยใช้วัสดุธรรมชาติ ไม้ท่อน หิน ถุงบรรจุดินหรือทราย แต่ถ้าความกว้างของลำห้วยมากกว่า 2 เมตร หรือลำห้วยมีน้ำมาก จะเพิ่มโครงสร้างของฝายต้นน้ำลำธาร เป็นแบบคอกหมูที่มีโครงสร้างหลายระดับมากน้อยตามปริมาณน้ำ
(2.2) ในพื้นที่ลาดชันปานกลาง จะสร้างฝายต้นน้ำลำธารเป็นแบบคอกหมูหรือแบบท้องถิ่นของชาวบ้าน ถ้าเป็นแบบคอกหมูจะใช้หินเรียงหรือกระสอบทรายผสมซีเมนต์ขนาบโครงสร้าง
(2.3) ในพื้นที่ลาดชันต่ำ ในกรณีที่มีน้ำมากจะสร้างเป็นฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ถ้าไม่มีน้ำมากนัก และความกว้างไม่เกิน 2 เมตร จะใช้ถุงทรายผสมซีเมนต์
(3) การบูรณาการแผนงานโครงการ ตลอดจนงบประมาณของทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงาน/ส่วนราชการภายในจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่มีส่วนร่วมดำเนินการ
3. จังหวัดที่รายงานว่าไม่สามารถดำเนินการได้ 10 จังหวัด เนื่องจากโดยสภาพของพื้นที่ภายในจังหวัดไม่เหมาะสมที่จะดำเนินโครงการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร (Check Dam) ตามพระราชดำริ เช่น เป็นพื้นที่ลุ่ม/ไม่มีภูเขาและป่าไม้ ไม่มีความแรงของกระแสน้ำ และไม่ได้เป็นเขตต้นน้ำลำธาร เช่น จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ อ่างทอง พิจิตร พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี นครปฐม มหาสารคาม และสุพรรณบุรี เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-