คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกลาง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2548 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ให้เป็นพื้นที่บริการทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติ จำนวน 588,564,300 บาท ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ส่วนการทำโครงการฯ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะ-กรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 เดิม ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2547 ต่อไป
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 3 (ฝ่ายวัฒนธรรม ท่องเที่ยวและกีฬา) เดิม ได้พิจารณาเรื่องขออนุมัติงบกลางโครงการพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยให้เป็นพื้นที่บริการทางวัฒนธรรมนานาชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2547 มีมติสรุปได้ ดังนี้
1. เห็นควรอนุมัติหลักการให้ กระทรวงวัฒนธรรมจัดทำโครงการพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยให้เป็นพื้นที่บริการทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติ โดยมีแผนพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี
2. เห็นควรให้กระทรวงวัฒนธรรม รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
(1) อาคารสำนักงานกระทรวงวัฒนธรรม หากจะไปตั้งที่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้ง-วัฒนะ จะเหมาะสมกว่าหรือไม่ เพื่อให้การใช้พื้นที่บริการทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังจะประหยัดงบประมาณในส่วนที่ต้องก่อสร้างอาคารสำนักงานของกระทรวงวัฒนธรรมตามโครงการฯ ด้วย
(2) พิจารณาออกแบบและการก่อสร้างอาคารให้มีความสอดคล้อง เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยคำนึงถึงอรรถประโยชน์ในการใช้พื้นที่อาคาร และควรออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยในกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน รวมทั้งต้องไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการดำเนินการของหน่วยงานอื่น
(3) โครงการฯ ยังขาดความชัดเจนและรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ เช่น กระบวนการ/กิจกรรม และสาระทางวัฒนธรรมที่จะจัดบริการทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ กลไกบริหารจัดการ ความเชื่อมโยงและบทบาทภารกิจที่ชัดเจนของพื้นที่บริการ เป็นต้น ขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมมีแนวคิดจะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สมิธโซเนี่ยนไทย) ซึ่งมีประเด็นเชื่อมโยงกับโครงการนี้ จึงควรพิจารณาถึงความเชื่อมโยงของทั้ง 2 งานให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในการบริหารพื้นที่ที่จะซื้อจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(4) กระทรวงวัฒนธรรมได้แจ้งความประสงค์ที่จะขอใช้พื้นที่ในศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อเป็นที่ทำการของกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งกระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์) ได้จัดเตรียมพื้นที่รองรับเป็นที่ทำการของกระทรวงวัฒนธรรมเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการเสนอขอจัดสร้างอาคารที่ทำการกระทรวงวัฒนธรรมดังกล่าว อาจจะเป็นการดำเนินการที่ซ้ำซ้อนกับการขอใช้พื้นที่ในโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร
(5) ระบบจราจรในบริเวณศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน มีปัญหาค่อนข้างมาก การขยายพื้นที่บริการทางวัฒนธรรมของโครงการนี้จะมีผลกระทบโดยตรงกับปัญหาจราจรในบริเวณศูนย์วัฒนธรรมฯ และบริเวณใกล้เคียง ดังนั้นจึงสมควรที่จะมีการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบด้านการจราจรเพื่อเป็นการเตรียมการล่วงหน้าด้วย
(6) ควรเสนอทางเลือก โดยศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการ และเปรียบเทียบ วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยมีทางเลือกการใช้พื้นที่บริเวณเมืองใหม่ จังหวัดนครนายกเป็นสถานที่ก่อสร้างการบริการทางวัฒนธรรมระดับชาติอีกทางเลือกหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 3 (ฝ่ายวัฒนธรรม ท่องเที่ยวและกีฬา) เดิม ได้พิจารณาเรื่องขออนุมัติงบกลางโครงการพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยให้เป็นพื้นที่บริการทางวัฒนธรรมนานาชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2547 มีมติสรุปได้ ดังนี้
1. เห็นควรอนุมัติหลักการให้ กระทรวงวัฒนธรรมจัดทำโครงการพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยให้เป็นพื้นที่บริการทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติ โดยมีแผนพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี
2. เห็นควรให้กระทรวงวัฒนธรรม รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
(1) อาคารสำนักงานกระทรวงวัฒนธรรม หากจะไปตั้งที่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้ง-วัฒนะ จะเหมาะสมกว่าหรือไม่ เพื่อให้การใช้พื้นที่บริการทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังจะประหยัดงบประมาณในส่วนที่ต้องก่อสร้างอาคารสำนักงานของกระทรวงวัฒนธรรมตามโครงการฯ ด้วย
(2) พิจารณาออกแบบและการก่อสร้างอาคารให้มีความสอดคล้อง เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยคำนึงถึงอรรถประโยชน์ในการใช้พื้นที่อาคาร และควรออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยในกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน รวมทั้งต้องไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการดำเนินการของหน่วยงานอื่น
(3) โครงการฯ ยังขาดความชัดเจนและรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ เช่น กระบวนการ/กิจกรรม และสาระทางวัฒนธรรมที่จะจัดบริการทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ กลไกบริหารจัดการ ความเชื่อมโยงและบทบาทภารกิจที่ชัดเจนของพื้นที่บริการ เป็นต้น ขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมมีแนวคิดจะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สมิธโซเนี่ยนไทย) ซึ่งมีประเด็นเชื่อมโยงกับโครงการนี้ จึงควรพิจารณาถึงความเชื่อมโยงของทั้ง 2 งานให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในการบริหารพื้นที่ที่จะซื้อจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(4) กระทรวงวัฒนธรรมได้แจ้งความประสงค์ที่จะขอใช้พื้นที่ในศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อเป็นที่ทำการของกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งกระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์) ได้จัดเตรียมพื้นที่รองรับเป็นที่ทำการของกระทรวงวัฒนธรรมเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการเสนอขอจัดสร้างอาคารที่ทำการกระทรวงวัฒนธรรมดังกล่าว อาจจะเป็นการดำเนินการที่ซ้ำซ้อนกับการขอใช้พื้นที่ในโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร
(5) ระบบจราจรในบริเวณศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน มีปัญหาค่อนข้างมาก การขยายพื้นที่บริการทางวัฒนธรรมของโครงการนี้จะมีผลกระทบโดยตรงกับปัญหาจราจรในบริเวณศูนย์วัฒนธรรมฯ และบริเวณใกล้เคียง ดังนั้นจึงสมควรที่จะมีการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบด้านการจราจรเพื่อเป็นการเตรียมการล่วงหน้าด้วย
(6) ควรเสนอทางเลือก โดยศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการ และเปรียบเทียบ วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยมีทางเลือกการใช้พื้นที่บริเวณเมืองใหม่ จังหวัดนครนายกเป็นสถานที่ก่อสร้างการบริการทางวัฒนธรรมระดับชาติอีกทางเลือกหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-