คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบในหลักการให้ส่วนราชการใช้ดุลพินิจสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการแทนการลาออกจากราชการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและเห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2547 โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมจากคำว่า "เลือกลาออก" เป็นคำว่า "เลือกที่จะออก" และเพิ่มคำว่า "ทั้งนี้ โดยให้ส่วนราชการต้นสังกัดสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้" รวมทั้ง ให้แก้ไขจากคำว่า "ลาออก" เป็น "สั่งให้ออก" ก็จะทำให้ได้ความชัดเจนขึ้นว่าไม่ใช่เป็นการ ลาออกจากราชการ เพราะถ้าเป็นการลาออกจากราชการอาจจะไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญแต่เป็นการเลือกออกจากราชการเพื่อจะได้บำเหน็จบำนาญ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาข้อโต้แย้งได้ในภายหลัง และให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งเวียน และซักซ้อมความเข้าใจกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่ออกจากราชการตามมาตรการนี้ เช่น มาตรการเกี่ยวกับภาษี แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วนต่อไป
สาระสำคัญของร่างดังกล่าว ให้ข้าราชการซึ่งมีผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานในรอบระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 ที่อยู่ในข่ายต้องเข้ารับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน แต่เลือกที่จะออกจากราชการโดยไม่เข้ารับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือจากทางราชการเพื่อตอบแทนการออกจากราชการในอัตรา 8 เท่า ของเงินเดือนสุดท้าย โดยให้การเบิกจ่ายเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (30 มีนาคม 2547) สมควรออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดให้ข้าราชการซึ่งออกจากราชการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ (มาตรการที่ 3) มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือจากทางราชการเพื่อตอบแทนในการออกจากราชการ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า
1. ผู้สมัครใจลาออกจากราชการโดยไม่เข้ารับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน หากมีอายุไม่ครบ 50 ปี หรือมีเวลาราชการไม่ครบ 25 ปี จะไม่มีสิทธิได้รับบำนาญมีสิทธิได้รับเฉพาะบำเหน็จ หรือหากมีเวลาราชการไม่ครบ 10 ปี จะไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
2. ผู้ไม่สมัครใจลาออกจากราชการในครั้งแรก และเข้ารับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน หากไม่ผ่านการประเมินในครั้งที่ 2 ส่วนราชการอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งหากมีเวลาราชการครบ 10 ปี จะมีสิทธิได้รับบำนาญ (เหตุทดแทน) หรือหากมีเวลาราชการครบ 1 ปี จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จ เมื่อพิจารณาสิทธิในการได้รับบำเหน็จบำนาญตามมาตรการที่ 3 แล้ว ปรากฏว่าผู้สมัครใจลาออกจากราชการในครั้งแรก จะได้รับสิทธิเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญด้อยกว่าผู้ที่ส่วนราชการสั่งให้ออกจากราชการในครั้งที่ 2 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สมควรให้ส่วนราชการใช้ดุลพินิจสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการในครั้งแรกแทนการลาออกจากราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบในหลักการให้ส่วนราชการใช้ดุลพินิจสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการแทนการลาออกจากราชการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและเห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2547 โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมจากคำว่า "เลือกลาออก" เป็นคำว่า "เลือกที่จะออก" และเพิ่มคำว่า "ทั้งนี้ โดยให้ส่วนราชการต้นสังกัดสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้" รวมทั้ง ให้แก้ไขจากคำว่า "ลาออก" เป็น "สั่งให้ออก" ก็จะทำให้ได้ความชัดเจนขึ้นว่าไม่ใช่เป็นการ ลาออกจากราชการ เพราะถ้าเป็นการลาออกจากราชการอาจจะไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญแต่เป็นการเลือกออกจากราชการเพื่อจะได้บำเหน็จบำนาญ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาข้อโต้แย้งได้ในภายหลัง และให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งเวียน และซักซ้อมความเข้าใจกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่ออกจากราชการตามมาตรการนี้ เช่น มาตรการเกี่ยวกับภาษี แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วนต่อไป
สาระสำคัญของร่างดังกล่าว ให้ข้าราชการซึ่งมีผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานในรอบระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 ที่อยู่ในข่ายต้องเข้ารับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน แต่เลือกที่จะออกจากราชการโดยไม่เข้ารับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือจากทางราชการเพื่อตอบแทนการออกจากราชการในอัตรา 8 เท่า ของเงินเดือนสุดท้าย โดยให้การเบิกจ่ายเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (30 มีนาคม 2547) สมควรออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดให้ข้าราชการซึ่งออกจากราชการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ (มาตรการที่ 3) มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือจากทางราชการเพื่อตอบแทนในการออกจากราชการ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า
1. ผู้สมัครใจลาออกจากราชการโดยไม่เข้ารับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน หากมีอายุไม่ครบ 50 ปี หรือมีเวลาราชการไม่ครบ 25 ปี จะไม่มีสิทธิได้รับบำนาญมีสิทธิได้รับเฉพาะบำเหน็จ หรือหากมีเวลาราชการไม่ครบ 10 ปี จะไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
2. ผู้ไม่สมัครใจลาออกจากราชการในครั้งแรก และเข้ารับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน หากไม่ผ่านการประเมินในครั้งที่ 2 ส่วนราชการอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งหากมีเวลาราชการครบ 10 ปี จะมีสิทธิได้รับบำนาญ (เหตุทดแทน) หรือหากมีเวลาราชการครบ 1 ปี จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จ เมื่อพิจารณาสิทธิในการได้รับบำเหน็จบำนาญตามมาตรการที่ 3 แล้ว ปรากฏว่าผู้สมัครใจลาออกจากราชการในครั้งแรก จะได้รับสิทธิเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญด้อยกว่าผู้ที่ส่วนราชการสั่งให้ออกจากราชการในครั้งที่ 2 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สมควรให้ส่วนราชการใช้ดุลพินิจสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการในครั้งแรกแทนการลาออกจากราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-