คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติชะลอการฟ้อง พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแล้วให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (คณะที่ 8 ฝ่ายกฎหมายฯ) และรับฟังความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วยร่างพระราชบัญญัติชะลอการฟ้อง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้ให้มีกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการชะลอการฟ้อง สำหรับการกระทำผิดที่ไม่ร้ายแรง และไม่จำเป็นที่จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล เช่น ความผิดที่กระทำโดยประมาทโดยนำวิธีการคุมประพฤติมาใช้เพื่อเป็นการลดคดีขึ้นสู่ศาล และเปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดได้แก้ไขโดยไม่มีมลทินติดตัว โดยมีสาระสำคัญคือ
1. ร่างมาตรา 6 กำหนดหลักเกณฑ์และเหตุแห่งคดีที่ใช้วิธีการชะลอการฟ้องได้ เช่น ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี เป็นต้น
2. ร่างมาตรา 8 กำหนดให้พนักงานอัยการมีความเห็นสมควรชะลอการฟ้องได้ โดยอาจให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขการคุมความประพฤติของพนักงานคุมประพฤติ และอาจจัดให้มีกระบวนการเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์
3. ร่างมาตรา 19 กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้สิ้นผลการบังคับใช้ในวันสิ้นปีของปีที่ 5 นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ได้มีการขยายระยะเวลาการบังคับใช้ออกไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ร่างมาตรา 6 กำหนดหลักเกณฑ์และเหตุแห่งคดีที่ใช้วิธีการชะลอการฟ้องได้ เช่น ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี เป็นต้น
2. ร่างมาตรา 8 กำหนดให้พนักงานอัยการมีความเห็นสมควรชะลอการฟ้องได้ โดยอาจให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขการคุมความประพฤติของพนักงานคุมประพฤติ และอาจจัดให้มีกระบวนการเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์
3. ร่างมาตรา 19 กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้สิ้นผลการบังคับใช้ในวันสิ้นปีของปีที่ 5 นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ได้มีการขยายระยะเวลาการบังคับใช้ออกไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-