คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการพัฒนาโครงการประจำปีงบประมาณ 2548 ของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) รวม 20 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 2,197.308 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และรับทราบความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. ได้นำโครงการเพื่อการพัฒนาประจำปีงบประมาณ 2548 ของ กปภ. โดยเป็นโครงการปรับปรุงขยายการประปา จำนวน 11 โครงการ วงเงินลงทุน 1,851.081 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงกิจการประปาภายหลังจากการรับโอนจากท้องถิ่น จำนวน 9 โครงการ วงเงินลงทุน 346.227 ล้านบาท เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณา ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2531
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 ได้พิจารณาโครงการของ กปภ. ดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีความเห็นประกอบเพิ่มเติมสรุปได้ ดังนี้
2.1 ในการจัดเตรียมโครงการลงทุนตั้งแต่ปี 2549 กปภ. ควรวางแผนการลงทุนระยะยาวทั้งในภาพรวมและรายพื้นที่ โดยการประมาณการความต้องการใช้น้ำควรพิจารณาถึงตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการและวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกที่เหมาะสมในการลงทุนทั้งในด้านเทคนิค/กายภาพ และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อให้สามารถกำหนดขนาดลงทุนที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในระบบการผลิตและระบบจำหน่ายที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้น้ำอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
2.2 การจัดหาแหล่งเงินทุนโครงการของ กปภ. ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณอุดหนุน ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับศักยภาพในการหารายได้ของกิจการประปาแต่ละแห่ง โดยกิจการประปาที่สามารถเลี้ยงตัวเองหรือมีกำไรก็ควรพิจารณาหาแหล่งเงินทุนโดยการกู้เงินภายในประเทศ เป็นต้น สำหรับกิจการประปาที่ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่อยู่ในพื้นที่ที่มีความจำเป็นก็นำเงินอุดหนุนไปจัดสรรให้ จะทำให้โครงการมีความคุ้มค่าทางการเงินมากขึ้น และ กปภ. สามารถขยายการให้บริการแก่ประชาชนรวดเร็วยิ่งขึ้น
อนึ่ง อัตราค่าน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ โดย กปภ. ใช้สมมติฐานอัตราค่าน้ำคงที่ตลอดอายุโครงการ ทำให้โครงการที่เสนอหลายโครงการไม่คุ้มค่าทางการเงิน หากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณอุดหนุน จึงควรมีการพิจารณา ทบทวนนโยบายการกำหนดอัตราค่าน้ำควบคู่ไปกับการพิจารณาหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยคำนึงผลกระทบต่อผู้ใช้บริการด้วย
2.3 กปภ. ควรให้ความสำคัญในการดำเนินมาตรการประหยัดการใช้น้ำ (Demand Side Management) รวมทั้งพิจาณาแนวทางพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อให้บริการน้ำสะอาดแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรน้ำที่มีอยู่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. ได้นำโครงการเพื่อการพัฒนาประจำปีงบประมาณ 2548 ของ กปภ. โดยเป็นโครงการปรับปรุงขยายการประปา จำนวน 11 โครงการ วงเงินลงทุน 1,851.081 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงกิจการประปาภายหลังจากการรับโอนจากท้องถิ่น จำนวน 9 โครงการ วงเงินลงทุน 346.227 ล้านบาท เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณา ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2531
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 ได้พิจารณาโครงการของ กปภ. ดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีความเห็นประกอบเพิ่มเติมสรุปได้ ดังนี้
2.1 ในการจัดเตรียมโครงการลงทุนตั้งแต่ปี 2549 กปภ. ควรวางแผนการลงทุนระยะยาวทั้งในภาพรวมและรายพื้นที่ โดยการประมาณการความต้องการใช้น้ำควรพิจารณาถึงตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการและวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกที่เหมาะสมในการลงทุนทั้งในด้านเทคนิค/กายภาพ และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อให้สามารถกำหนดขนาดลงทุนที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในระบบการผลิตและระบบจำหน่ายที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้น้ำอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
2.2 การจัดหาแหล่งเงินทุนโครงการของ กปภ. ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณอุดหนุน ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับศักยภาพในการหารายได้ของกิจการประปาแต่ละแห่ง โดยกิจการประปาที่สามารถเลี้ยงตัวเองหรือมีกำไรก็ควรพิจารณาหาแหล่งเงินทุนโดยการกู้เงินภายในประเทศ เป็นต้น สำหรับกิจการประปาที่ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่อยู่ในพื้นที่ที่มีความจำเป็นก็นำเงินอุดหนุนไปจัดสรรให้ จะทำให้โครงการมีความคุ้มค่าทางการเงินมากขึ้น และ กปภ. สามารถขยายการให้บริการแก่ประชาชนรวดเร็วยิ่งขึ้น
อนึ่ง อัตราค่าน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ โดย กปภ. ใช้สมมติฐานอัตราค่าน้ำคงที่ตลอดอายุโครงการ ทำให้โครงการที่เสนอหลายโครงการไม่คุ้มค่าทางการเงิน หากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณอุดหนุน จึงควรมีการพิจารณา ทบทวนนโยบายการกำหนดอัตราค่าน้ำควบคู่ไปกับการพิจารณาหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยคำนึงผลกระทบต่อผู้ใช้บริการด้วย
2.3 กปภ. ควรให้ความสำคัญในการดำเนินมาตรการประหยัดการใช้น้ำ (Demand Side Management) รวมทั้งพิจาณาแนวทางพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อให้บริการน้ำสะอาดแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรน้ำที่มีอยู่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-