คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง งบประมาณลงทุนประจำปีงบประมาณ 2548 ของรัฐวิสาหกิจ ตามที่สำนัก-งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 51 แห่ง วงเงินดำเนินการ 315,485 ล้านบาท และเบิกจ่าย 248,921 ล้านบาท
2. รับทราบงบประมาณทำการประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้น ที่คาดว่าจะมีรายได้ รวม 1,082,184 ล้านบาท รายจ่ายรวม 998,956 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 83,228 ล้านบาท โดยเห็นควรให้กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับดูแลให้รัฐวิสาหกิจทำการปรับปรุงประมาณการกำไรสุทธิในปีงบประมาณ 2548 เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 10 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจ
3. รับทราบแนวโน้มการดำเนินงานประจำปี 2549-2551 ของรัฐวิสาหกิจ โดยจะมีการเบิกจ่ายลงทุน 957,985 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละประมาณ 319,328 ล้านบาท และมีผลกำไรสุทธิ 284,388 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 94,796 ล้านบาท
4. เห็นควรให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับข้อเสนอแนะรายกระทรวง และข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายไปพิจารณาดำเนินการ และให้รายงานผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในสังกัดให้ สศช. ทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน เพื่อให้มีการติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2540 และ วันที่ 17 สิงหาคม 2547 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนองบประมาณลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 51 แห่ง รวม 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 และครั้งที่ 5/2547 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2547 โดยที่ประชุมได้พิจารณาความสอดคล้องของ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548 ใน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมทั้งเกณฑ์การพิจารณา ซี่งมีผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
1. สรุปผลการพิจารณางบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
1) งบประมาณลงทุน เห็นควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้ในวงเงิน 315,485 ล้านบาท และเบิกจ่าย 248,921 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือร้อยละ 82 ของกรอบงบประมาณประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ โดยปรับลดวงเงินดำเนินการ 60,461 ล้านบาท และเบิกจ่าย 56,632 ล้านบาท
ทั้งนี้ วงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 248,921 ล้านบาท ดังกล่าว มีการนำเข้าจากต่างประเทศ (Import Content) ประมาณ 77,044 ล้านบาท และจะทำให้ฐานะดุลภาครัฐวิสาหกิจโดยรวมขาดดุล 78,905 ล้านบาท หรือ ขาดดุลร้อยละ 1.1 ของ GDP
2) งบประมาณทำการ รับทราบงบประมาณทำการในปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 51 แห่ง โดยมีผลประกอบการกำไรสุทธิจำนวน 83,228 ล้านบาท และสามารถจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนได้ประมาณ 169,647 ล้านบาท
3) แนวโน้มการดำเนินงานช่วงปี 2549-2551 ประมาณว่าจะมีการเบิกจ่ายลงทุนรวมทั้งสิ้น 957,985 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 319,328 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนต่อเนื่องเพื่อรักษาระดับการผลิต/การบริการ/การปฏิบัติงานของพนักงานให้มีประสิทธิภาพด้วยการจัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน ทดแทนของเดิม หรือลงทุนเพื่อการซ่อมแซม และบำรุงรักษา สำหรับผลประกอบการประมาณว่าจะมีกำไรสุทธิ 284,388 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 94,796 ล้านบาท
2. ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย จากผลการพิจารณางบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการ สศช. ได้ให้ความเห็นชอบและมีข้อเสนอแนะเป็นรายกระทรวงแล้วยังมีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ดังนี้
1) เป้าหมายการดำเนินงาน เห็นควรกำหนดเป็นนโยบายให้รัฐวิสาหกิจเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน โดยเพิ่มผลกำไร/ลดผลการขาดทุนจากการดำเนินงานลงอย่างน้อยร้อยละ 10 ทั้งนี้ การเพิ่มเป้าหมายดังกล่าวจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
2) การสรรหาผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เห็นควรให้กระทรวงเจ้าสังกัดเร่งสรรหาผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่ยังขาดผู้บริหารให้แล้วเสร็จโดยเร็ว นอกจากนี้ เห็นควรให้มีการทบทวนวิธีการสรรหาผู้บริหาร
3) เงินอุดหนุน เห็นควรให้มีการศึกษาจัดทำหลักเกณฑ์และระบบการให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจที่ให้บริการเชิงสังคม และรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภค เพื่อแบ่งเบาภาระงบประมาณของรัฐ และเป็นแนวทางในการจัดสรรเงินอุดหนุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
4) การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแล ควรเร่งรัดการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลรายสาขา โดยเฉพาะองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการโทรคมนาคม (กทช.) และองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการประปา เพื่อกำกับดูแลการกระจายการให้บริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งการกำกับหลักเกณฑ์การแบ่งปัน และการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความเป็นธรรม ทั้งต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 51 แห่ง วงเงินดำเนินการ 315,485 ล้านบาท และเบิกจ่าย 248,921 ล้านบาท
2. รับทราบงบประมาณทำการประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้น ที่คาดว่าจะมีรายได้ รวม 1,082,184 ล้านบาท รายจ่ายรวม 998,956 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 83,228 ล้านบาท โดยเห็นควรให้กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับดูแลให้รัฐวิสาหกิจทำการปรับปรุงประมาณการกำไรสุทธิในปีงบประมาณ 2548 เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 10 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจ
3. รับทราบแนวโน้มการดำเนินงานประจำปี 2549-2551 ของรัฐวิสาหกิจ โดยจะมีการเบิกจ่ายลงทุน 957,985 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละประมาณ 319,328 ล้านบาท และมีผลกำไรสุทธิ 284,388 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 94,796 ล้านบาท
4. เห็นควรให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับข้อเสนอแนะรายกระทรวง และข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายไปพิจารณาดำเนินการ และให้รายงานผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในสังกัดให้ สศช. ทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน เพื่อให้มีการติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2540 และ วันที่ 17 สิงหาคม 2547 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนองบประมาณลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 51 แห่ง รวม 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 และครั้งที่ 5/2547 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2547 โดยที่ประชุมได้พิจารณาความสอดคล้องของ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548 ใน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมทั้งเกณฑ์การพิจารณา ซี่งมีผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
1. สรุปผลการพิจารณางบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
1) งบประมาณลงทุน เห็นควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้ในวงเงิน 315,485 ล้านบาท และเบิกจ่าย 248,921 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือร้อยละ 82 ของกรอบงบประมาณประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ โดยปรับลดวงเงินดำเนินการ 60,461 ล้านบาท และเบิกจ่าย 56,632 ล้านบาท
ทั้งนี้ วงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 248,921 ล้านบาท ดังกล่าว มีการนำเข้าจากต่างประเทศ (Import Content) ประมาณ 77,044 ล้านบาท และจะทำให้ฐานะดุลภาครัฐวิสาหกิจโดยรวมขาดดุล 78,905 ล้านบาท หรือ ขาดดุลร้อยละ 1.1 ของ GDP
2) งบประมาณทำการ รับทราบงบประมาณทำการในปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 51 แห่ง โดยมีผลประกอบการกำไรสุทธิจำนวน 83,228 ล้านบาท และสามารถจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนได้ประมาณ 169,647 ล้านบาท
3) แนวโน้มการดำเนินงานช่วงปี 2549-2551 ประมาณว่าจะมีการเบิกจ่ายลงทุนรวมทั้งสิ้น 957,985 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 319,328 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนต่อเนื่องเพื่อรักษาระดับการผลิต/การบริการ/การปฏิบัติงานของพนักงานให้มีประสิทธิภาพด้วยการจัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน ทดแทนของเดิม หรือลงทุนเพื่อการซ่อมแซม และบำรุงรักษา สำหรับผลประกอบการประมาณว่าจะมีกำไรสุทธิ 284,388 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 94,796 ล้านบาท
2. ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย จากผลการพิจารณางบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการ สศช. ได้ให้ความเห็นชอบและมีข้อเสนอแนะเป็นรายกระทรวงแล้วยังมีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ดังนี้
1) เป้าหมายการดำเนินงาน เห็นควรกำหนดเป็นนโยบายให้รัฐวิสาหกิจเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน โดยเพิ่มผลกำไร/ลดผลการขาดทุนจากการดำเนินงานลงอย่างน้อยร้อยละ 10 ทั้งนี้ การเพิ่มเป้าหมายดังกล่าวจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
2) การสรรหาผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เห็นควรให้กระทรวงเจ้าสังกัดเร่งสรรหาผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่ยังขาดผู้บริหารให้แล้วเสร็จโดยเร็ว นอกจากนี้ เห็นควรให้มีการทบทวนวิธีการสรรหาผู้บริหาร
3) เงินอุดหนุน เห็นควรให้มีการศึกษาจัดทำหลักเกณฑ์และระบบการให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจที่ให้บริการเชิงสังคม และรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภค เพื่อแบ่งเบาภาระงบประมาณของรัฐ และเป็นแนวทางในการจัดสรรเงินอุดหนุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
4) การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแล ควรเร่งรัดการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลรายสาขา โดยเฉพาะองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการโทรคมนาคม (กทช.) และองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการประปา เพื่อกำกับดูแลการกระจายการให้บริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งการกำกับหลักเกณฑ์การแบ่งปัน และการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความเป็นธรรม ทั้งต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-