คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการลดการใช้พลาสติกและโฟม (ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2547) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอดังนี้
1. มาตรการระยะสั้น
(1) มาตรการจัดการพลาสติกและโฟมในอุทยานแห่งชาติและแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้อนุมัติให้สำนักอุทยานแห่งชาติจัดทำโครงการอุทยานเขียว น้ำใส ทรายขาว เพื่อรณรงค์ให้อุทยานแห่งชาติทุกแห่งรักษาความสะอาดในแหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยานแห่งชาติ โดยกำหนดให้มีมาตรการรักษาความ-สะอาดในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะในแหล่งท่องเที่ยวไม่นำพลาสติก และโฟมเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ โดยระหว่างวันที่ 5 - 10 เมษายน 2547 ได้กำหนดให้เป็นสัปดาห์อุทยานแห่งชาติ (Big Cleaning Days) และในขณะนี้มีอุทยานแห่งชาติที่มีการนำผลิตภัณฑ์ KU-Green ไปใช้แล้ว จำนวน 131 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ประเภท จาน ถ้วย แก้ว กล่องอาหาร และถาดหลุม กว่า 4,300 กล่อง (ประมาณ 2.7 ล้านชิ้น)
(2) มาตรการด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์การลดการใช้พลาสติกและโฟม ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องในส่วนของกรุงเทพมหานคร ได้ทำการมอบถุงขยะให้แก่ชุมชนนำร่อง 50 ชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกมูลฝอย รวมทั้งมีการจัดนิทรรศการจากหน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการรีไซเคิล นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะทำงานรณรงค์ประชาสัมพันธ์การลดการใช้พลาสติกและโฟม เพื่อดำเนินงานรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในสถานบริการสาธารณสุข
(3) มาตรการด้านเทคโนโลยี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้การส่งเสริมกิจกรรมการรีไซเคิลพลาสติกและโฟม โดยจัดให้อยู่ในกิจการประเภท 7.21 กิจการนำวัสดุที่ไม่ต้องการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ โดยในขณะนี้ มีผู้ขอรับการส่งเสริมในกิจกรรมประเภทนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 4 ราย รวมเป็น 45 ราย สำหรับการส่งเสริมการลงทุนกิจกรรมที่ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติทดแทนการใช้พลาสติกและโฟมได้จัดเข้ากิจการประเภท 1.28 กิจการผลิตวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร แต่เนื่องจากยังขาดความชัดเจนเกี่ยวกับคำจำกัด- ความของ คำว่า "วัสดุที่ย่อยสลายได้" กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษจะดำเนินการจัดประชุมระดมความคิดเห็นต่อคำจำกัดความดังกล่าวต่อไป
(4) มาตรการด้านกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการยกร่างกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ ได้นำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์ด้านการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกและโฟม พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหา ประกอบด้วยมาตรการการจัดการบรรจุภัณฑ์และของเสียบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การคัดแยก เก็บรวบรวม ขนส่ง การใช้ประโยชน์ และการกำจัดของเสียบรรจุภัณฑ์ แผนงานสำหรับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ รวมทั้งข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย และการยกร่างกฎหมายสำหรับใช้ในการจัดการบรรจุภัณฑ์และของเสียบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายการค้าของประเทศ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ โครงการความร่วมมือ ไทย - เยอรมนี โดย German Technical Cooperation (GTZ) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำปรึกษาด้านการจัดการทั้งระบบเป็นระยะ ๆ
2. มาตรการระยะยาว ได้แก่ มาตรการจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกและโฟมในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ มาตรการข้อกำหนดผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทำจากพลาสติกใช้แล้ว และมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์นั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการ ได้นำเสนอผลการศึกษาตามมาตรการลดการใช้พลาสติกและโฟม พร้อมทั้งจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน และ 6 กรกฎาคม 2547 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
(1) การลดของเสียประเภทพลาสติกและโฟมในแหล่งกำเนิดมูลฝอยต่าง ๆ ที่สำคัญควรเน้นมาตรการทางด้านสังคม
(2) การส่งเสริมการนำพลาสติกและโฟมกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
(3) การลดการใช้พลาสติกและโฟมในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ควรให้ห้างสรรพสินค้าและ ร้านสะดวกซื้อเปลี่ยนมาใช้และจำหน่ายถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ง่าย
(4) การส่งเสริมด้านการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. แผนการดำเนินงานต่อไป
(1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะเจ้าของเรื่องจะ ทำการรวบรวมข้อมูลและสถิติการดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้พลาสติกและโฟมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ในสถาบันการศึกษา ที่พักอาศัยและชุมชนต่าง ๆ และร่วมประสานงานการดำเนินโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อการเสริมสร้างจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมด้านการลดปริมาณขยะพลาสติกและโฟม โดยจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ รถโมไบล์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์และ Multimedia โดยคาดว่าจะเริ่มเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ประมาณเดือนตุลาคม 2547 รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการลด การใช้พลาสติกและโฟม เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีในรอบ 4 เดือน ครั้งต่อไป
(2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาแนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์พลาสติกและโฟม จะนำสรุปผลที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้ง 4 มาตรการ ลงใน Web Site ของกรมควบคุมมลพิษ ที่ www.pcd.go.th และ Call Center 02365 9665 เพื่อให้ประชาชนรับฟังและแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางและมาตรการลดการใช้พลาสติกและโฟม และจะทำการรวบรวมผลการสำรวจความคิดเห็นที่ได้ทั้งหมด เพื่อจัดทำเป็นรายงานสรุปผลและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
(3) ในปีงบประมาณ 2548 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษจะนำแนวทางและมาตรการลดการใช้พลาสติกและโฟม ไปดำเนินการทดลองปฏิบัติในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลอย่างน้อย 5 แห่ง ในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดขอบเขตการดำเนินงาน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการประมาณเดือนตุลาคม 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. มาตรการระยะสั้น
(1) มาตรการจัดการพลาสติกและโฟมในอุทยานแห่งชาติและแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้อนุมัติให้สำนักอุทยานแห่งชาติจัดทำโครงการอุทยานเขียว น้ำใส ทรายขาว เพื่อรณรงค์ให้อุทยานแห่งชาติทุกแห่งรักษาความสะอาดในแหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยานแห่งชาติ โดยกำหนดให้มีมาตรการรักษาความ-สะอาดในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะในแหล่งท่องเที่ยวไม่นำพลาสติก และโฟมเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ โดยระหว่างวันที่ 5 - 10 เมษายน 2547 ได้กำหนดให้เป็นสัปดาห์อุทยานแห่งชาติ (Big Cleaning Days) และในขณะนี้มีอุทยานแห่งชาติที่มีการนำผลิตภัณฑ์ KU-Green ไปใช้แล้ว จำนวน 131 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ประเภท จาน ถ้วย แก้ว กล่องอาหาร และถาดหลุม กว่า 4,300 กล่อง (ประมาณ 2.7 ล้านชิ้น)
(2) มาตรการด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์การลดการใช้พลาสติกและโฟม ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องในส่วนของกรุงเทพมหานคร ได้ทำการมอบถุงขยะให้แก่ชุมชนนำร่อง 50 ชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกมูลฝอย รวมทั้งมีการจัดนิทรรศการจากหน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการรีไซเคิล นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะทำงานรณรงค์ประชาสัมพันธ์การลดการใช้พลาสติกและโฟม เพื่อดำเนินงานรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในสถานบริการสาธารณสุข
(3) มาตรการด้านเทคโนโลยี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้การส่งเสริมกิจกรรมการรีไซเคิลพลาสติกและโฟม โดยจัดให้อยู่ในกิจการประเภท 7.21 กิจการนำวัสดุที่ไม่ต้องการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ โดยในขณะนี้ มีผู้ขอรับการส่งเสริมในกิจกรรมประเภทนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 4 ราย รวมเป็น 45 ราย สำหรับการส่งเสริมการลงทุนกิจกรรมที่ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติทดแทนการใช้พลาสติกและโฟมได้จัดเข้ากิจการประเภท 1.28 กิจการผลิตวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร แต่เนื่องจากยังขาดความชัดเจนเกี่ยวกับคำจำกัด- ความของ คำว่า "วัสดุที่ย่อยสลายได้" กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษจะดำเนินการจัดประชุมระดมความคิดเห็นต่อคำจำกัดความดังกล่าวต่อไป
(4) มาตรการด้านกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการยกร่างกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ ได้นำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์ด้านการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกและโฟม พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหา ประกอบด้วยมาตรการการจัดการบรรจุภัณฑ์และของเสียบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การคัดแยก เก็บรวบรวม ขนส่ง การใช้ประโยชน์ และการกำจัดของเสียบรรจุภัณฑ์ แผนงานสำหรับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ รวมทั้งข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย และการยกร่างกฎหมายสำหรับใช้ในการจัดการบรรจุภัณฑ์และของเสียบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายการค้าของประเทศ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ โครงการความร่วมมือ ไทย - เยอรมนี โดย German Technical Cooperation (GTZ) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำปรึกษาด้านการจัดการทั้งระบบเป็นระยะ ๆ
2. มาตรการระยะยาว ได้แก่ มาตรการจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกและโฟมในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ มาตรการข้อกำหนดผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทำจากพลาสติกใช้แล้ว และมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์นั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการ ได้นำเสนอผลการศึกษาตามมาตรการลดการใช้พลาสติกและโฟม พร้อมทั้งจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน และ 6 กรกฎาคม 2547 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
(1) การลดของเสียประเภทพลาสติกและโฟมในแหล่งกำเนิดมูลฝอยต่าง ๆ ที่สำคัญควรเน้นมาตรการทางด้านสังคม
(2) การส่งเสริมการนำพลาสติกและโฟมกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
(3) การลดการใช้พลาสติกและโฟมในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ควรให้ห้างสรรพสินค้าและ ร้านสะดวกซื้อเปลี่ยนมาใช้และจำหน่ายถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ง่าย
(4) การส่งเสริมด้านการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. แผนการดำเนินงานต่อไป
(1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะเจ้าของเรื่องจะ ทำการรวบรวมข้อมูลและสถิติการดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้พลาสติกและโฟมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ในสถาบันการศึกษา ที่พักอาศัยและชุมชนต่าง ๆ และร่วมประสานงานการดำเนินโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อการเสริมสร้างจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมด้านการลดปริมาณขยะพลาสติกและโฟม โดยจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ รถโมไบล์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์และ Multimedia โดยคาดว่าจะเริ่มเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ประมาณเดือนตุลาคม 2547 รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการลด การใช้พลาสติกและโฟม เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีในรอบ 4 เดือน ครั้งต่อไป
(2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาแนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์พลาสติกและโฟม จะนำสรุปผลที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้ง 4 มาตรการ ลงใน Web Site ของกรมควบคุมมลพิษ ที่ www.pcd.go.th และ Call Center 02365 9665 เพื่อให้ประชาชนรับฟังและแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางและมาตรการลดการใช้พลาสติกและโฟม และจะทำการรวบรวมผลการสำรวจความคิดเห็นที่ได้ทั้งหมด เพื่อจัดทำเป็นรายงานสรุปผลและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
(3) ในปีงบประมาณ 2548 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษจะนำแนวทางและมาตรการลดการใช้พลาสติกและโฟม ไปดำเนินการทดลองปฏิบัติในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลอย่างน้อย 5 แห่ง ในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดขอบเขตการดำเนินงาน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการประมาณเดือนตุลาคม 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-