คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานรายงานข้อมูลและการดำเนินการใน 2 กรณี คือ 1) เรื่องปัญหาสมองไหลของแรงงานที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีไปทำงานต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ 2) การอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่ต้องการจะเข้ามาประกอบอาชีพ หรือปฏิบัติงานในประเทศไทย ดังนี้
1. กรณีปัญหาแรงงานไทยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ไปทำงานต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของประเทศในอนาคตได้นั้น
จากสถิติคนหางานที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศกับกรมการจัดหางานระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2547 มีผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 5,325 คน
1.1 สำหรับแรงงานไทยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) เป็นผู้ว่างงานที่ไม่สามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการเนื่องจากสถานประกอบการหลายแห่งได้ลดจำนวนพนักงานลง หรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่นายจ้างต้องการ 2) เป็นผู้มีงานทำอยู่แล้ว แต่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ เนื่องจากได้รับค่าจ้างสูงกว่าในประเทศ 3) เป็นผู้ที่เคยไปทำงานต่างประเทศและประสงค์จะกลับไปทำงาน ต่างประเทศอีกครั้ง
1.2 แนวทางแก้ไขปัญหาสมองไหล รัฐควรประชาสัมพันธ์ชักชวนให้ผู้ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหันมาสนใจการเป็นผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศซึ่งมีผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก นอกจากสามารถเป็นเจ้าของกิจการด้วยตัวเองแล้ว ยังสามารถทำรายได้สูงกว่ารายได้ที่ได้รับจากการไปทำงานต่างประเทศ ทั้งนี้โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการแก่แรงงานไทยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความประสงค์จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งให้สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Bank) ธนาคารออมสิน ให้การสนับสนุนในเรื่องแหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจโดยให้กู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาสมองไหลได้อีกทางหนึ่ง
2. กรณีการอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่ต้องการจะเข้ามาประกอบอาชีพ หรือปฏิบัติงานในประเทศไทยว่าไม่ได้รับความสะดวก นั้น
กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตทำงานภายใต้พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 และประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามและเงื่อนไขของคนต่างด้าว ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงาน ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2539 และแยกการให้บริการดังนี้
1. คนต่างด้าวเข้ามาทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนและมีระยะเวลาการทำงานไม่เกิน 15 วัน คนต่างด้าว จะทำงานนั้นได้ ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งอธิบดีหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบตามแบบที่กำหนด
2. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายอื่น หรือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานในกิจการที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 30 ล้านบาทขึ้นไป ระยะเวลาการให้บริการไม่เกิน 3 ชั่วโมง
3. คนต่างด้าวที่ทำงานในกิจการที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วต่ำกว่า 30 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาการให้บริการไม่เกิน 7 วันทำการ
เห็นได้ว่ากำหนดระยะเวลาการให้บริการการขอรับใบอนุญาตทำงานดังกล่าวทุกประเภทมีกำหนดไม่เกิน 7 วัน สำหรับประเด็นหนังสือรับรองการตรวจโรคของคนต่างด้าว ซึ่งแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์จากประเทศต้นทางเป็นผู้ออกให้ เพื่อนำประกอบหลักฐานขอรับใบอนุญาตนั้น ได้มีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คือ ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามและเงื่อนไขของคนต่างด้าวซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงาน (3) กำหนดไว้ว่า "ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจของสังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง" ซึ่งในทางปฏิบัติกรมการจัดหางานได้ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทำงานใช้ใบรับรองแพทย์ผู้รับอนุญาตประกอบโรคศิลป์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ตรวจ รับรองว่าไม่เป็นโรคที่ระบุต้องห้ามตามที่กำหนดเท่านั้น ดังนั้น หากเห็นว่าใบรับรองแพทย์ที่ใช้ประกอบการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน เป็นเหตุให้เกิดความไม่สะดวกด้วยแล้วกรมการจัดหางานจะได้เสนอเรื่องให้กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาว่าใบรับรองแพทย์ที่แพทย์จากต่างประเทศเป็นผู้ตรวจรับรอง จะมีผลกระทบต่อการควบคุมโรคระหว่างประเทศหรือต่อกฎหมายใดบ้าง เพื่อกระทรวงแรงงานจักได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. กรณีปัญหาแรงงานไทยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ไปทำงานต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของประเทศในอนาคตได้นั้น
จากสถิติคนหางานที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศกับกรมการจัดหางานระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2547 มีผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 5,325 คน
1.1 สำหรับแรงงานไทยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) เป็นผู้ว่างงานที่ไม่สามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการเนื่องจากสถานประกอบการหลายแห่งได้ลดจำนวนพนักงานลง หรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่นายจ้างต้องการ 2) เป็นผู้มีงานทำอยู่แล้ว แต่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ เนื่องจากได้รับค่าจ้างสูงกว่าในประเทศ 3) เป็นผู้ที่เคยไปทำงานต่างประเทศและประสงค์จะกลับไปทำงาน ต่างประเทศอีกครั้ง
1.2 แนวทางแก้ไขปัญหาสมองไหล รัฐควรประชาสัมพันธ์ชักชวนให้ผู้ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหันมาสนใจการเป็นผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศซึ่งมีผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก นอกจากสามารถเป็นเจ้าของกิจการด้วยตัวเองแล้ว ยังสามารถทำรายได้สูงกว่ารายได้ที่ได้รับจากการไปทำงานต่างประเทศ ทั้งนี้โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการแก่แรงงานไทยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความประสงค์จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งให้สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Bank) ธนาคารออมสิน ให้การสนับสนุนในเรื่องแหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจโดยให้กู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาสมองไหลได้อีกทางหนึ่ง
2. กรณีการอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่ต้องการจะเข้ามาประกอบอาชีพ หรือปฏิบัติงานในประเทศไทยว่าไม่ได้รับความสะดวก นั้น
กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตทำงานภายใต้พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 และประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามและเงื่อนไขของคนต่างด้าว ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงาน ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2539 และแยกการให้บริการดังนี้
1. คนต่างด้าวเข้ามาทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนและมีระยะเวลาการทำงานไม่เกิน 15 วัน คนต่างด้าว จะทำงานนั้นได้ ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งอธิบดีหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบตามแบบที่กำหนด
2. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายอื่น หรือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานในกิจการที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 30 ล้านบาทขึ้นไป ระยะเวลาการให้บริการไม่เกิน 3 ชั่วโมง
3. คนต่างด้าวที่ทำงานในกิจการที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วต่ำกว่า 30 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาการให้บริการไม่เกิน 7 วันทำการ
เห็นได้ว่ากำหนดระยะเวลาการให้บริการการขอรับใบอนุญาตทำงานดังกล่าวทุกประเภทมีกำหนดไม่เกิน 7 วัน สำหรับประเด็นหนังสือรับรองการตรวจโรคของคนต่างด้าว ซึ่งแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์จากประเทศต้นทางเป็นผู้ออกให้ เพื่อนำประกอบหลักฐานขอรับใบอนุญาตนั้น ได้มีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คือ ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามและเงื่อนไขของคนต่างด้าวซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงาน (3) กำหนดไว้ว่า "ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจของสังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง" ซึ่งในทางปฏิบัติกรมการจัดหางานได้ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทำงานใช้ใบรับรองแพทย์ผู้รับอนุญาตประกอบโรคศิลป์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ตรวจ รับรองว่าไม่เป็นโรคที่ระบุต้องห้ามตามที่กำหนดเท่านั้น ดังนั้น หากเห็นว่าใบรับรองแพทย์ที่ใช้ประกอบการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน เป็นเหตุให้เกิดความไม่สะดวกด้วยแล้วกรมการจัดหางานจะได้เสนอเรื่องให้กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาว่าใบรับรองแพทย์ที่แพทย์จากต่างประเทศเป็นผู้ตรวจรับรอง จะมีผลกระทบต่อการควบคุมโรคระหว่างประเทศหรือต่อกฎหมายใดบ้าง เพื่อกระทรวงแรงงานจักได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-