คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานสรุปภาวะราคาสินค้าอุปโภคบริโภคประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือนกันยายน 2547 (6 - 10 ก.ย. 2547) โดยเปรียบเทียบกับสัปดาห์ที่ 1 เดือนกันยายน 2547 (30 ส.ค. - 3 ก.ย. 2547) ดังนี้
1. ภาพรวมราคาสินค้า
1.1 กลุ่มสินค้าที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดเหล็กรูปตัวซี (ขนาด 75x45x15x2.3มม.) ราคาสูงขึ้นเป็น 508-520 บาท/ท่อน เฉลี่ยสูงขึ้น 10.50 บาท/ท่อน ตะปู ราคาสูงขึ้นเป็น 560-600 บาท/ลัง เฉลี่ยสูงขึ้น 7.50 บาท/ลัง และ สังกะสี ราคาสูงขึ้นเป็น 13-15.50 บาท/ฟุต เฉลี่ยสูงขึ้น 0.25 บาท/ฟุต
1.2 กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ สินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน-ดิบในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง โดย ถุงพลาสติก ราคาสูงขึ้นเป็น 65-72 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 2 บาท/กก. และท่อพีวีซี ราคาสูงขึ้นเป็น 48-60 บาท/ท่อน เฉลี่ยสูงขึ้น 1.50 บาท/ท่อน
1.3 กลุ่มสินค้าอาหารสด ส่วนใหญ่ราคาเคลื่อนไหวเป็นไปตามฤดูกาลสินค้า หรือภาวะตลาดช่วงสั้น ๆ โดย ไก่สด ราคาสูงขึ้นเป็น 48-50 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 2 บาท/กก. ในขณะที่ไข่ไก่ ราคาลดลงเป็น 2.50-2.90 บาท/ฟอง เฉลี่ยลดลง 0.10 บาท/ฟอง
1.4 กลุ่มผักสดและผลไม้ ลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาจะเป็นไปตามฤดูกาลและภาวะตลาดในช่วงสั้น ๆ เช่นเดียวกับกลุ่มอาหารสด โดยราคาสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักบุ้งจีน ราคาสูงขึ้นเป็น 14-25 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 0.50 บาท/กก. สำหรับสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ผักชี ราคาลดลงเป็น 4-5 บาท/ขีด เฉลี่ยลดลง 1บาท/ขีด ส้มเขียวหวาน ราคาลดลงเป็น 22-28 บาท/กก. เฉลี่ยลดลง 1.50 บาท/กก. และ กล้วยหอมทอง ราคาลดลงเป็น 3-4 บาท/ผล เฉลี่ยลดลง 0.50 บาท/ผล
สำหรับกลุ่มสินค้าอื่น ๆ ราคายังทรงตัว ยกเว้น สินค้าบางรายการที่มีราคาเปลี่ยนแปลงตามกลยุทธ์ การส่งเสริมการขายและภาวะการแข่งขัน เช่น ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์นม น้ำมันพืช น้ำส้มสายชู น้ำปลา น้ำซีอิ๊ว น้ำตาลทราย สบู่ และแป้งโรยตัว เป็นต้น
2. ผลการตรวจสอบ
2.1 การตรวจสอบภารเปิด-ปิดธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกขนาดใหญ่ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกขนาดใหญ่กำหนดเวลา เปิด-ปิดทำการเพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งได้มีการดำเนินการตรวจสอบการเปิด-ปิดของห้างทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและภูมิภาค จำนวน 44 ราย (183 สาขา) ไม่พบการกระทำผิด
2.2 การตรวจสอบผู้ประกอบการทั่วไป การดำเนินการตรวจสอบตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 จำนวน 4,492 ราย ไม่พบการกระทำผิดและตรวจสอบตาม พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 จำนวน 5,523 ราย พบการกระทำผิด จำนวน 1 ราย โดยผู้กระทำความผิดได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว
3. การดำเนินการแก้ไขปัญหาและช่วยบรรเทาค่าครองชีพ
3.1 เหล็ก ได้มีมาตรการป้องปรามด้วยการกำชับให้ผู้ผลิตดำเนินการกำกับติดตามไม่ให้ผู้จำหน่ายของตนฉวยโอกาสขึ้นราคาที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งให้ผู้ผลิตจัดตั้ง Call Center เพื่อแก้ไขปัญหาด้านราคาที่ไม่เป็นธรรม
3.2 เม็ดพลาสติก ได้เชิญผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรายใหญ่เข้ามาประชุมหารือถึงสถานการณ์ราคาจำหน่ายที่สูงขึ้น และได้ขอความร่วมมือให้จำหน่ายในราคาที่เป็นธรรมและห้ามกักตุนสินค้า
3.3 โครงการธงฟ้าเคลื่อนที่สู่ชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้า-ภายในร่วมกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดโครงการธงฟ้าเคลื่อนที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคราคาต่ำกว่าท้องตลาด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในระดับรากหญ้าครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยดำเนินการครั้งแรกที่จังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 และจะเคลื่อนย้าย ไปจำหน่ายในพื้นที่อื่น ๆ จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ภาพรวมราคาสินค้า
1.1 กลุ่มสินค้าที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดเหล็กรูปตัวซี (ขนาด 75x45x15x2.3มม.) ราคาสูงขึ้นเป็น 508-520 บาท/ท่อน เฉลี่ยสูงขึ้น 10.50 บาท/ท่อน ตะปู ราคาสูงขึ้นเป็น 560-600 บาท/ลัง เฉลี่ยสูงขึ้น 7.50 บาท/ลัง และ สังกะสี ราคาสูงขึ้นเป็น 13-15.50 บาท/ฟุต เฉลี่ยสูงขึ้น 0.25 บาท/ฟุต
1.2 กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ สินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน-ดิบในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง โดย ถุงพลาสติก ราคาสูงขึ้นเป็น 65-72 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 2 บาท/กก. และท่อพีวีซี ราคาสูงขึ้นเป็น 48-60 บาท/ท่อน เฉลี่ยสูงขึ้น 1.50 บาท/ท่อน
1.3 กลุ่มสินค้าอาหารสด ส่วนใหญ่ราคาเคลื่อนไหวเป็นไปตามฤดูกาลสินค้า หรือภาวะตลาดช่วงสั้น ๆ โดย ไก่สด ราคาสูงขึ้นเป็น 48-50 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 2 บาท/กก. ในขณะที่ไข่ไก่ ราคาลดลงเป็น 2.50-2.90 บาท/ฟอง เฉลี่ยลดลง 0.10 บาท/ฟอง
1.4 กลุ่มผักสดและผลไม้ ลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาจะเป็นไปตามฤดูกาลและภาวะตลาดในช่วงสั้น ๆ เช่นเดียวกับกลุ่มอาหารสด โดยราคาสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักบุ้งจีน ราคาสูงขึ้นเป็น 14-25 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 0.50 บาท/กก. สำหรับสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ผักชี ราคาลดลงเป็น 4-5 บาท/ขีด เฉลี่ยลดลง 1บาท/ขีด ส้มเขียวหวาน ราคาลดลงเป็น 22-28 บาท/กก. เฉลี่ยลดลง 1.50 บาท/กก. และ กล้วยหอมทอง ราคาลดลงเป็น 3-4 บาท/ผล เฉลี่ยลดลง 0.50 บาท/ผล
สำหรับกลุ่มสินค้าอื่น ๆ ราคายังทรงตัว ยกเว้น สินค้าบางรายการที่มีราคาเปลี่ยนแปลงตามกลยุทธ์ การส่งเสริมการขายและภาวะการแข่งขัน เช่น ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์นม น้ำมันพืช น้ำส้มสายชู น้ำปลา น้ำซีอิ๊ว น้ำตาลทราย สบู่ และแป้งโรยตัว เป็นต้น
2. ผลการตรวจสอบ
2.1 การตรวจสอบภารเปิด-ปิดธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกขนาดใหญ่ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกขนาดใหญ่กำหนดเวลา เปิด-ปิดทำการเพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งได้มีการดำเนินการตรวจสอบการเปิด-ปิดของห้างทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและภูมิภาค จำนวน 44 ราย (183 สาขา) ไม่พบการกระทำผิด
2.2 การตรวจสอบผู้ประกอบการทั่วไป การดำเนินการตรวจสอบตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 จำนวน 4,492 ราย ไม่พบการกระทำผิดและตรวจสอบตาม พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 จำนวน 5,523 ราย พบการกระทำผิด จำนวน 1 ราย โดยผู้กระทำความผิดได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว
3. การดำเนินการแก้ไขปัญหาและช่วยบรรเทาค่าครองชีพ
3.1 เหล็ก ได้มีมาตรการป้องปรามด้วยการกำชับให้ผู้ผลิตดำเนินการกำกับติดตามไม่ให้ผู้จำหน่ายของตนฉวยโอกาสขึ้นราคาที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งให้ผู้ผลิตจัดตั้ง Call Center เพื่อแก้ไขปัญหาด้านราคาที่ไม่เป็นธรรม
3.2 เม็ดพลาสติก ได้เชิญผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรายใหญ่เข้ามาประชุมหารือถึงสถานการณ์ราคาจำหน่ายที่สูงขึ้น และได้ขอความร่วมมือให้จำหน่ายในราคาที่เป็นธรรมและห้ามกักตุนสินค้า
3.3 โครงการธงฟ้าเคลื่อนที่สู่ชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้า-ภายในร่วมกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดโครงการธงฟ้าเคลื่อนที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคราคาต่ำกว่าท้องตลาด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในระดับรากหญ้าครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยดำเนินการครั้งแรกที่จังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 และจะเคลื่อนย้าย ไปจำหน่ายในพื้นที่อื่น ๆ จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-