คณะรัฐมนตรีพิจารณารายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบผลการเบิกจ่ายเงินลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในปีงบประมาณ 2548 แผนการลงทุน และแผนการระดมทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปีงบประมาณ 2549-2552 ดังนี้
ผลการเบิกจ่ายเงินลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในปีงบประมาณ 2548
ในปีงบประมาณ 2548 มีโครงการในสาขาต่าง ๆ ซึ่งมีแผนการเบิกจ่ายเงินลงทุนอยู่ด้วยกัน 6 สาขาหลัก รวม 37 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 67,284 ล้านบาท พบว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2548 มีโครงการที่เบิกจ่ายแล้วจำนวน 20 โครงการ เป็นเงิน 42,723 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ของแผนการลงทุน สาขาที่มีการเบิกจ่ายต่ำที่สุดได้แก่ สาขา Mass Transit และที่อยู่อาศัย เนื่องจากการปรับแผนงานของ Mass Transit และการดำเนินงานล่าช้าของสาขาที่อยู่อาศัย โดยรายละเอียดสถานะการเบิกจ่ายของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในปีงบประมาณ 2548 ทั้งนี้หน่วยงานที่ใช้งบประมาณได้ขอกันเงินงบประมาณไปใช้ในปีงบประมาณ 2549 ด้วยแล้ว ในส่วนเงินกู้ก็จะพิจารณาปรับแผนให้สอดคล้องกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณต่อไป
แผนการลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐสำหรับปีงบประมาณ 2549-2552 (ปรับปรุงใหม่)
คณะกรรมการฯ ได้ประสานงานกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐใน แต่ละสาขา เพื่อจัดทำแผนการดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ และแผนการบริหารราชการแผ่นดินปีงบประมาณ 2548-2551 รวมทั้งจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน โดยมีสาระสำคัญของแผนงานในแต่ละสาขา สรุปได้ดังนี้
1. สาขา Mass Transit ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชน ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน เพื่อพิจารณาทบทวนโครงข่ายสายทางในระบบ Mass Transit ใหม่เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินโครงการ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโครงข่ายในการขนส่งผู้โดยสาร นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งองค์การบริหารกิจการระบบขนส่งมวลชน เพื่อก่อสร้าง กำกับดูแล และบริหารกิจการทั้งระบบ สำหรับแผนการลงทุน Mass Transit ที่ปรับปรุงใหม่ ได้รับแจ้งในเบื้องต้นว่าไม่เกินวงเงินเดิม จำนวน 423,430 ล้านบาท ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ยังไม่ได้รับแจ้งในรายละเอียด
อนึ่ง ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2548 มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการจัดตั้ง Holding Company เพื่อลงทุนและบริหารระบบรถไฟฟ้าให้เป็นแบบ Single Operator/Joint Owner ให้แล้วเสร็จโดยเร็วนั้น เนื่องจากสถานการณ์ในการกำหนดแนวทางระบบบริหารการจัดการระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ และกำกับดูแลการดำเนินกิจการระบบขนส่งมวลชนได้เปลี่ยนแปลงไป จึงเห็นควรชะลอการจัดตั้ง Holding Company ออกไปก่อน
2. สาขาคมนาคม ประกอบด้วยการลงทุนในระบบราง ระบบทางหลวง และทางพิเศษ การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 การจัดหาอากาศยาน รวมทั้งการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก โดยมีการยกเลิกโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษสมุทรสาคร-แหลมผักเบี้ย-ชะอำ และเพิ่มการลงทุนในโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องของกรมทางหลวงแทน ทำให้แผนการลงทุนใหม่เพิ่มเป็น 345,602 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 16,991 ล้านบาท)
3. สาขาที่อยู่อาศัย นอกเหนือจากโครงการบ้านเอื้ออาทร (วงเงิน 214, 013 ล้านบาท) ได้รวมโครงการ บ้านมั่นคง (วงเงิน 53,347 ล้านบาท) และโครงการบ้านสำเร็จรูป (Knock Down) (วงเงิน 63,000 ล้านบาท) ในแผนการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐสาขาที่อยู่อาศัยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2548 ทำให้แผนการลงทุนใหม่เพิ่มเป็น 330,360 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 116,567 ล้านบาท)
4. สาขาทรัพยากรน้ำ ได้มีการจัดทำแผนงานรายละเอียดประกอบด้วยแผนงานการจัดการต้นน้ำ การจัดการกลางน้ำ การจัดการท้ายน้ำและชายฝั่ง และการบริหารจัดการ โดยบูรณาการแผนการลงทุนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย วงเงินลงทุนรวม 203,084 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 3,084 ล้านบาท)
5. สาขาการศึกษา ได้มีการจัดทำแผนงานรายละเอียดประกอบด้วยแผนงาน การจัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน การจัดการอาชีวศึกษา การจัดการอุดมศึกษา และการจัดการศึกษานอกโรงเรียน วงเงินลงทุนรวม 96,345 ล้านบาท (ลดลง 88 ล้านบาท)
6. สาขาสาธารณสุข ได้มีการจัดทำแผนงานรายละเอียดประกอบด้วยแผนงานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายระบบบริการสาธารณสุข แผนงานการพัฒนาระบบเฝ้าระวังควบคุม ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ และแผนงานการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยบูรณาการแผนการลงทุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วงเงินลงทุนรวม 94,790 ล้านบาท (ลดลง 1,597 ล้านบาท)
7. สาขาอื่น ๆ ประกอบด้วยโครงการลงทุนในสาขาพลังงานและไฟฟ้า การสื่อสารและอุตสาหกรรม วงเงินลงทุนรวม 310,630 ล้านบาท (ลดลง 31,465 ล้านบาท)
โดยแผนงานการลงทุนใหม่มีวงเงินเพิ่มขึ้นเป็น 1,804,242 ล้านบาท สูงกว่ากรอบวงเงินลงทุนเดิมจำนวน 103,492 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับเพิ่มการลงทุนในสาขาที่อยู่อาศัย 116,567 ล้านบาท โดยรวมโครงการบ้านมั่นคง และโครงการบ้านสำเร็จรูป (Knock Down) ไว้ในแผนการลงทุนสาขาที่อยู่อาศัยด้วย
แผนการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (ปรับปรุงใหม่) สำหรับปีงบประมาณ 2549-2552
คณะกรรมการฯ พิจารณาแนวทางการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับแผนการลงทุนใหม่ โดยยังคงมีสัดส่วนการผสมผสานระหว่างการใช้เงินงบประมาณ เงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจ เงินกู้ และการระดมทุนในวิธีอื่น ๆ ใกล้เคียงกับแผนการระดมทุนเดิม โดยจากการทบทวนแผนการระดมทุนใหม่พบว่า จะจัดสรรจากเงินงบประมาณ ร้อยละ 39 (เดิมร้อยละ 39) เงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจร้อยละ 11 (เดิมร้อยละ 13) เงินกู้ ทั้งในและต่างประเทศร้อยละ 44 (เดิมร้อยละ 42) และการระดมทุนในวิธีอื่น ๆ อีกร้อยละ 6 (เดิมร้อยละ 6)
2. รับทราบผลกระทบจากการลงทุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ และการกำกับติดตามโครงการฯ ดังนี้
2.1 ผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พบว่า การลงทุนดังกล่าวจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศระหว่างปี 2549-2552 ขยายตัวโดยเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5.65 ซึ่งใกล้เคียงกับประมาณการที่เสนอไว้เดิม
2.2 ผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่าจะมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดระหว่างปี 2549-2552 ลดลง โดยจะขาดดุลเฉลี่ยอัตราร้อยละ 1.68 ของ GDP
2.3 ผลกระทบต่อกรอบความยั่งยืนทางการคลัง พบว่า สามารถรักษาสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่องบประมาณให้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง อย่างไรก็ดี ในปี 2550 ภาระหนี้ต่องบประมาณจะเพิ่มสูงกว่าประมาณการเดิม (เดิมร้อยละ 13.33) เนื่องจากการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ภาระดอกเบี้ยของหนี้ระยะสั้นและหนี้ของ FIDF ที่กระทรวงการคลังรับภาระชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีตามขนาดของวงเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น กระทรวง การคลังจึงต้องดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 โดยการ Rollover หนี้ที่ครบกำหนดชำระบางส่วนออกไ ป ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ต่องบประมาณอยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายที่กำหนด คือ ไม่เกินร้อยละ 15 อย่างไรก็ดี ในปีงบประมาณ 2549-2551 จะมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะขอใช้วงเงินงบประมาณสูงประมาณร้อยละ 10-15 ของงบประมาณรายจ่าย (เปรียบเทียบกับวงเงินที่จัดสรรให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในปีงบประมาณ 2549 ประมาณร้อยละ 7) ในขณะที่ภาระหนี้ต่องบประมาณดังกล่าวก็จะอยู่ในระดับที่สูงเช่นกัน ดังนั้น อาจจะเกิดการกระจุกตัวของการใช้เงินงบประมาณเกินกว่าวงเงินที่สามารถจัดหาให้ได้
การกำกับและติดตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการจัดทำระบบการติดตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Porjects Management Information System : MP-MIS) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการติดตามผลการดำเนินโครงการลงทุนในสาขาต่าง ๆ โดยบูรณาการข้อมูลการเบิกจ่ายเม็ดเงินลงทุนจากแหล่งต่าง ๆ คือ ข้อมูลการเบิกจ่ายงบลงทุนของสำนักงาน GFMIS ข้อมูลการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ระบบ LP-MIS ของกระทรวงการคลัง รวมถึงข้อมูลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การบูรณาการฐานข้อมูลดังกล่าวจะทำให้คณะกรรมการฯ สามารถติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการเบิกจ่ายเม็ดเงินลงทุนได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้งสำนักบริหารโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ สังกัดสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของโครงการในสาขาต่าง ๆ ในการจัดทำแผนการลงทุน แผนการระดมทุน และแผนการดำเนินงาน รวมทั้งติดตามและเร่งรัดหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ดำเนินโครงการตามแผนงานที่กำหนด
3. เห็นชอบในหลักการตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ในเรื่องกรอบวงเงินรวม (ปีงบประมาณ 2548-2552) กรอบการจัดสรรงบประมาณ และประเด็นความพร้อมและความสามารถในการดำเนินโครงการ และมอบหมายให้คณะกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป สรุปได้ดังนี้
1. กรอบวงเงินรวม (ปีงบประมาณ 2548-2552) เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 1,804,242 ล้านบาท สูงกว่ากรอบวงเงินลงทุนเดิมจำนวน 103,492 ล้านบาท เนื่องจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรี เพื่อขอปรับโครงการลงทุนในสาขาที่อยู่อาศัย โดยรวมโครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการบ้านมั่นคงและโครงการบ้านสำเร็จรูป (Knock Down) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2548 จึงทำให้วงเงินลงทุนในสาขาที่อยู่อาศัยในกรอบระยะเวลา 5 ปี (2548-2552) ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 213,793 ล้านบาท เป็น 330,360 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 116,567 ล้านบาท แต่ในวงเงินดังกล่าวจะเป็นภาระเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจำนวน 34,367 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระเอง
ความเห็น
เห็นควรกระจายการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยขยายระยะเวลาโครงการหรือดำเนินการให้มีการเบิกจ่ายเงินบางส่วนออกไปหลังปีงบประมาณ 2552 ได้โดยจัดทำแผนการลงทุนในกรอบระยะเวลา 5 ปี ในลักษณะ Rolling Plan เป็นประจำทุกปี เพื่อให้เห็นภาพรวมของการลงทุนภาครัฐ สามารถประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน และสอดคล้องกับสถานะทางการเงินและการคลังของประเทศ โดยให้โครงการที่มีวงเงินลงทุนเกินกว่าแผนการลงทุนเดิม เช่น โครงการในสาขาที่อยู่อาศัย ให้มีการลงทุนหรือดำเนินการเบิกจ่ายหลังในปี 2552 ตามความพร้อมและความสามารถในการดำเนินงานจริง
1. กรอบการจัดสรรงบประมาณ
(1) วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 มีวงเงินเพื่อการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2549 รวมงบกลางที่กันไว้ จำนวน 92,153 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ได้สรุปวงเงินในบางสาขา โดยสาขาที่ยังคงวงเงินภายใต้กรอบเดิม คือ สาขา Mass Transit สาขาคมนาคม สาขาสาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ แต่ยังมีบางสาขาที่มีความจำเป็นขอเพิ่มแผนงาน ซึ่งเป็นแผนงานที่อาศัยงบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก โดยขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มในปีงบประมาณ 2549 คือ สาขาที่อยู่อาศัย (เพิ่มขึ้น 5,777 ล้านบาท) สาขาทรัพยากรน้ำ (เพิ่มขึ้น 33,145 ล้านบาท) และสาขาการศึกษา (เพิ่มขึ้น 5,580 ล้านบาท)
ความเห็น
เห็นควรพิจารณาจัดสรรวงเงินงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณ 2549 ให้แก่โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐจากงบกลาง รวมทั้งนำงบกลางที่กันไว้ให้รัฐวิสาหกิจในสาขา Mass Transit และคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย) ในปีงบประมาณ 2549 มาจัดสรรให้โครงการที่มีความพร้อม โดยให้รัฐวิสาหกิจดังกล่าวกู้เงินในประเทศแทนตามความพร้อมและความจำเป็น และรัฐบาลรับภาระ ชำระหนี้ คาดว่าจะจัดสรรวงเงินได้อีกประมาณ 10,000 ล้านบาท ส่วนวงเงินซึ่งยังเกินอยู่อีกประมาณ 30,000 ล้านบาท ควรให้กระจายการลงทุนหรือการดำเนินงานเพื่อให้มีการเบิกจ่ายเงินในปีถัดไป
(2) วงเงินงบประมาณในปีงบประมาณ 2550-2552 ก็จะประสบปัญหาเช่นเดียวกัน เนื่องจากวงเงินลงทุนใหม่เกินกว่าแผนการลงทุนเดิม โดยเฉพาะแผนการใช้เงินจากงบประมาณประจำปี เนื่องจากแผนการใช้เงินที่เพิ่มขึ้นในบางสาขา การใช้เงินต่ำกว่างบที่ได้จัดสรรในปีงบประมาณ 2548 และข้อจำกัดในด้านงบประมาณในปีงบประมาณ 2549 ทำให้แผนการลงทุนจะกระจุกตัวเพิ่มขึ้นมากในปีถัดไป โดยในปีงบประมาณ 2550 คาดว่าต้องจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้แก่โครงการลงทุนในสาขาต่าง ๆ สูงสุดประมาณร้อยละ 15 ของวงเงินงบประมาณ
ความเห็น
เห็นควรให้กระจายการลงทุนบางส่วนของโครงการในสาขาที่อยู่อาศัย ทรัพยากรน้ำ การศึกษา และสาธารณสุข โดยขยายระยะเวลาโครงการหรือดำเนินการให้มีการเบิกจ่ายเงินบางส่วนในปีถัดไป รวมทั้งเห็นควรให้มีความยืดหยุ่นโดยสามารถกู้เงินในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อชดเชยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการในสาขาดังกล่าว
3. ประเด็นความพร้อมและความสามารถในการดำเนินโครงการ พบว่า ในแต่ละสาขามีปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผน เช่น ในสาขา Mass Transit อยู่ระหว่างการทบทวนและปรับเปลี่ยน โครงข่ายเส้นทางใหม่ สาขาที่อยู่อาศัย มีปัญหาด้านความสามารถในการดำเนินโครงการ โดยในปีงบประมาณ 2548 มีการเบิกจ่ายจริงเพียงร้อยละ 16 ของแผนงานที่กำหนดไว้ สำหรับสาขาทรัพยากรน้ำ ศึกษา และสาธารณสุข ซึ่งจะเริ่ม ดำเนินงานในปี 2549 พบว่า ประกอบด้วยโครงการย่อยจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงจำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการผลักดันให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผน ส่วนสาขาคมนาคม และสาขาอื่น ๆ (พลังงาน สื่อสาร และอุตสาหกรรม) เป็นสาขาที่น่าจะมีความพร้อมในการดำเนินงานสูง ดังนั้น ความแตกต่างของ ความพร้อมและความสามารถในการดำเนินโครงการในสาขาต่าง ๆ ข้างต้น ทำให้การประมาณการเบิกจ่ายโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐมีความไม่แน่นอนสูง
ความเห็น
โดยที่การดำเนินงานโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐมีจำนวนมากและกระจายอยู่ในพื้นที่ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะโครงการในสาขาที่อยู่อาศัย ทรัพยากรน้ำ การศึกษา และสาธารณสุข ซึ่งเป็นโครงการประเภท Intermediate Infrastructure และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินงานเป็นจำนวนมาก จึงเห็นควรต้องมีการประเมินความพร้อมของโครงการเพื่อจัดทำแผนการลงทุนประจำปีที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความสามารถในการดำเนินงานจริง รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถติดตามการลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น จึงควรว่าจ้างที่ปรึกษา หรือสถาบันการศึกษา เพื่อมาช่วยสนับสนุนการจัดเตรียมแผนการลงทุนประจำปี และติดตามประเมินผลโครงการดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. รับทราบผลการเบิกจ่ายเงินลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในปีงบประมาณ 2548 แผนการลงทุน และแผนการระดมทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปีงบประมาณ 2549-2552 ดังนี้
ผลการเบิกจ่ายเงินลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในปีงบประมาณ 2548
ในปีงบประมาณ 2548 มีโครงการในสาขาต่าง ๆ ซึ่งมีแผนการเบิกจ่ายเงินลงทุนอยู่ด้วยกัน 6 สาขาหลัก รวม 37 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 67,284 ล้านบาท พบว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2548 มีโครงการที่เบิกจ่ายแล้วจำนวน 20 โครงการ เป็นเงิน 42,723 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ของแผนการลงทุน สาขาที่มีการเบิกจ่ายต่ำที่สุดได้แก่ สาขา Mass Transit และที่อยู่อาศัย เนื่องจากการปรับแผนงานของ Mass Transit และการดำเนินงานล่าช้าของสาขาที่อยู่อาศัย โดยรายละเอียดสถานะการเบิกจ่ายของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในปีงบประมาณ 2548 ทั้งนี้หน่วยงานที่ใช้งบประมาณได้ขอกันเงินงบประมาณไปใช้ในปีงบประมาณ 2549 ด้วยแล้ว ในส่วนเงินกู้ก็จะพิจารณาปรับแผนให้สอดคล้องกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณต่อไป
แผนการลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐสำหรับปีงบประมาณ 2549-2552 (ปรับปรุงใหม่)
คณะกรรมการฯ ได้ประสานงานกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐใน แต่ละสาขา เพื่อจัดทำแผนการดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ และแผนการบริหารราชการแผ่นดินปีงบประมาณ 2548-2551 รวมทั้งจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน โดยมีสาระสำคัญของแผนงานในแต่ละสาขา สรุปได้ดังนี้
1. สาขา Mass Transit ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชน ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน เพื่อพิจารณาทบทวนโครงข่ายสายทางในระบบ Mass Transit ใหม่เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินโครงการ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโครงข่ายในการขนส่งผู้โดยสาร นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งองค์การบริหารกิจการระบบขนส่งมวลชน เพื่อก่อสร้าง กำกับดูแล และบริหารกิจการทั้งระบบ สำหรับแผนการลงทุน Mass Transit ที่ปรับปรุงใหม่ ได้รับแจ้งในเบื้องต้นว่าไม่เกินวงเงินเดิม จำนวน 423,430 ล้านบาท ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ยังไม่ได้รับแจ้งในรายละเอียด
อนึ่ง ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2548 มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการจัดตั้ง Holding Company เพื่อลงทุนและบริหารระบบรถไฟฟ้าให้เป็นแบบ Single Operator/Joint Owner ให้แล้วเสร็จโดยเร็วนั้น เนื่องจากสถานการณ์ในการกำหนดแนวทางระบบบริหารการจัดการระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ และกำกับดูแลการดำเนินกิจการระบบขนส่งมวลชนได้เปลี่ยนแปลงไป จึงเห็นควรชะลอการจัดตั้ง Holding Company ออกไปก่อน
2. สาขาคมนาคม ประกอบด้วยการลงทุนในระบบราง ระบบทางหลวง และทางพิเศษ การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 การจัดหาอากาศยาน รวมทั้งการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก โดยมีการยกเลิกโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษสมุทรสาคร-แหลมผักเบี้ย-ชะอำ และเพิ่มการลงทุนในโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องของกรมทางหลวงแทน ทำให้แผนการลงทุนใหม่เพิ่มเป็น 345,602 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 16,991 ล้านบาท)
3. สาขาที่อยู่อาศัย นอกเหนือจากโครงการบ้านเอื้ออาทร (วงเงิน 214, 013 ล้านบาท) ได้รวมโครงการ บ้านมั่นคง (วงเงิน 53,347 ล้านบาท) และโครงการบ้านสำเร็จรูป (Knock Down) (วงเงิน 63,000 ล้านบาท) ในแผนการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐสาขาที่อยู่อาศัยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2548 ทำให้แผนการลงทุนใหม่เพิ่มเป็น 330,360 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 116,567 ล้านบาท)
4. สาขาทรัพยากรน้ำ ได้มีการจัดทำแผนงานรายละเอียดประกอบด้วยแผนงานการจัดการต้นน้ำ การจัดการกลางน้ำ การจัดการท้ายน้ำและชายฝั่ง และการบริหารจัดการ โดยบูรณาการแผนการลงทุนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย วงเงินลงทุนรวม 203,084 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 3,084 ล้านบาท)
5. สาขาการศึกษา ได้มีการจัดทำแผนงานรายละเอียดประกอบด้วยแผนงาน การจัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน การจัดการอาชีวศึกษา การจัดการอุดมศึกษา และการจัดการศึกษานอกโรงเรียน วงเงินลงทุนรวม 96,345 ล้านบาท (ลดลง 88 ล้านบาท)
6. สาขาสาธารณสุข ได้มีการจัดทำแผนงานรายละเอียดประกอบด้วยแผนงานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายระบบบริการสาธารณสุข แผนงานการพัฒนาระบบเฝ้าระวังควบคุม ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ และแผนงานการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยบูรณาการแผนการลงทุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วงเงินลงทุนรวม 94,790 ล้านบาท (ลดลง 1,597 ล้านบาท)
7. สาขาอื่น ๆ ประกอบด้วยโครงการลงทุนในสาขาพลังงานและไฟฟ้า การสื่อสารและอุตสาหกรรม วงเงินลงทุนรวม 310,630 ล้านบาท (ลดลง 31,465 ล้านบาท)
โดยแผนงานการลงทุนใหม่มีวงเงินเพิ่มขึ้นเป็น 1,804,242 ล้านบาท สูงกว่ากรอบวงเงินลงทุนเดิมจำนวน 103,492 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับเพิ่มการลงทุนในสาขาที่อยู่อาศัย 116,567 ล้านบาท โดยรวมโครงการบ้านมั่นคง และโครงการบ้านสำเร็จรูป (Knock Down) ไว้ในแผนการลงทุนสาขาที่อยู่อาศัยด้วย
แผนการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (ปรับปรุงใหม่) สำหรับปีงบประมาณ 2549-2552
คณะกรรมการฯ พิจารณาแนวทางการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับแผนการลงทุนใหม่ โดยยังคงมีสัดส่วนการผสมผสานระหว่างการใช้เงินงบประมาณ เงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจ เงินกู้ และการระดมทุนในวิธีอื่น ๆ ใกล้เคียงกับแผนการระดมทุนเดิม โดยจากการทบทวนแผนการระดมทุนใหม่พบว่า จะจัดสรรจากเงินงบประมาณ ร้อยละ 39 (เดิมร้อยละ 39) เงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจร้อยละ 11 (เดิมร้อยละ 13) เงินกู้ ทั้งในและต่างประเทศร้อยละ 44 (เดิมร้อยละ 42) และการระดมทุนในวิธีอื่น ๆ อีกร้อยละ 6 (เดิมร้อยละ 6)
2. รับทราบผลกระทบจากการลงทุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ และการกำกับติดตามโครงการฯ ดังนี้
2.1 ผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พบว่า การลงทุนดังกล่าวจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศระหว่างปี 2549-2552 ขยายตัวโดยเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5.65 ซึ่งใกล้เคียงกับประมาณการที่เสนอไว้เดิม
2.2 ผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่าจะมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดระหว่างปี 2549-2552 ลดลง โดยจะขาดดุลเฉลี่ยอัตราร้อยละ 1.68 ของ GDP
2.3 ผลกระทบต่อกรอบความยั่งยืนทางการคลัง พบว่า สามารถรักษาสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่องบประมาณให้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง อย่างไรก็ดี ในปี 2550 ภาระหนี้ต่องบประมาณจะเพิ่มสูงกว่าประมาณการเดิม (เดิมร้อยละ 13.33) เนื่องจากการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ภาระดอกเบี้ยของหนี้ระยะสั้นและหนี้ของ FIDF ที่กระทรวงการคลังรับภาระชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีตามขนาดของวงเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น กระทรวง การคลังจึงต้องดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 โดยการ Rollover หนี้ที่ครบกำหนดชำระบางส่วนออกไ ป ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ต่องบประมาณอยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายที่กำหนด คือ ไม่เกินร้อยละ 15 อย่างไรก็ดี ในปีงบประมาณ 2549-2551 จะมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะขอใช้วงเงินงบประมาณสูงประมาณร้อยละ 10-15 ของงบประมาณรายจ่าย (เปรียบเทียบกับวงเงินที่จัดสรรให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในปีงบประมาณ 2549 ประมาณร้อยละ 7) ในขณะที่ภาระหนี้ต่องบประมาณดังกล่าวก็จะอยู่ในระดับที่สูงเช่นกัน ดังนั้น อาจจะเกิดการกระจุกตัวของการใช้เงินงบประมาณเกินกว่าวงเงินที่สามารถจัดหาให้ได้
การกำกับและติดตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการจัดทำระบบการติดตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Porjects Management Information System : MP-MIS) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการติดตามผลการดำเนินโครงการลงทุนในสาขาต่าง ๆ โดยบูรณาการข้อมูลการเบิกจ่ายเม็ดเงินลงทุนจากแหล่งต่าง ๆ คือ ข้อมูลการเบิกจ่ายงบลงทุนของสำนักงาน GFMIS ข้อมูลการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ระบบ LP-MIS ของกระทรวงการคลัง รวมถึงข้อมูลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การบูรณาการฐานข้อมูลดังกล่าวจะทำให้คณะกรรมการฯ สามารถติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการเบิกจ่ายเม็ดเงินลงทุนได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้งสำนักบริหารโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ สังกัดสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของโครงการในสาขาต่าง ๆ ในการจัดทำแผนการลงทุน แผนการระดมทุน และแผนการดำเนินงาน รวมทั้งติดตามและเร่งรัดหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ดำเนินโครงการตามแผนงานที่กำหนด
3. เห็นชอบในหลักการตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ในเรื่องกรอบวงเงินรวม (ปีงบประมาณ 2548-2552) กรอบการจัดสรรงบประมาณ และประเด็นความพร้อมและความสามารถในการดำเนินโครงการ และมอบหมายให้คณะกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป สรุปได้ดังนี้
1. กรอบวงเงินรวม (ปีงบประมาณ 2548-2552) เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 1,804,242 ล้านบาท สูงกว่ากรอบวงเงินลงทุนเดิมจำนวน 103,492 ล้านบาท เนื่องจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรี เพื่อขอปรับโครงการลงทุนในสาขาที่อยู่อาศัย โดยรวมโครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการบ้านมั่นคงและโครงการบ้านสำเร็จรูป (Knock Down) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2548 จึงทำให้วงเงินลงทุนในสาขาที่อยู่อาศัยในกรอบระยะเวลา 5 ปี (2548-2552) ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 213,793 ล้านบาท เป็น 330,360 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 116,567 ล้านบาท แต่ในวงเงินดังกล่าวจะเป็นภาระเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจำนวน 34,367 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระเอง
ความเห็น
เห็นควรกระจายการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยขยายระยะเวลาโครงการหรือดำเนินการให้มีการเบิกจ่ายเงินบางส่วนออกไปหลังปีงบประมาณ 2552 ได้โดยจัดทำแผนการลงทุนในกรอบระยะเวลา 5 ปี ในลักษณะ Rolling Plan เป็นประจำทุกปี เพื่อให้เห็นภาพรวมของการลงทุนภาครัฐ สามารถประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน และสอดคล้องกับสถานะทางการเงินและการคลังของประเทศ โดยให้โครงการที่มีวงเงินลงทุนเกินกว่าแผนการลงทุนเดิม เช่น โครงการในสาขาที่อยู่อาศัย ให้มีการลงทุนหรือดำเนินการเบิกจ่ายหลังในปี 2552 ตามความพร้อมและความสามารถในการดำเนินงานจริง
1. กรอบการจัดสรรงบประมาณ
(1) วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 มีวงเงินเพื่อการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2549 รวมงบกลางที่กันไว้ จำนวน 92,153 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ได้สรุปวงเงินในบางสาขา โดยสาขาที่ยังคงวงเงินภายใต้กรอบเดิม คือ สาขา Mass Transit สาขาคมนาคม สาขาสาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ แต่ยังมีบางสาขาที่มีความจำเป็นขอเพิ่มแผนงาน ซึ่งเป็นแผนงานที่อาศัยงบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก โดยขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มในปีงบประมาณ 2549 คือ สาขาที่อยู่อาศัย (เพิ่มขึ้น 5,777 ล้านบาท) สาขาทรัพยากรน้ำ (เพิ่มขึ้น 33,145 ล้านบาท) และสาขาการศึกษา (เพิ่มขึ้น 5,580 ล้านบาท)
ความเห็น
เห็นควรพิจารณาจัดสรรวงเงินงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณ 2549 ให้แก่โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐจากงบกลาง รวมทั้งนำงบกลางที่กันไว้ให้รัฐวิสาหกิจในสาขา Mass Transit และคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย) ในปีงบประมาณ 2549 มาจัดสรรให้โครงการที่มีความพร้อม โดยให้รัฐวิสาหกิจดังกล่าวกู้เงินในประเทศแทนตามความพร้อมและความจำเป็น และรัฐบาลรับภาระ ชำระหนี้ คาดว่าจะจัดสรรวงเงินได้อีกประมาณ 10,000 ล้านบาท ส่วนวงเงินซึ่งยังเกินอยู่อีกประมาณ 30,000 ล้านบาท ควรให้กระจายการลงทุนหรือการดำเนินงานเพื่อให้มีการเบิกจ่ายเงินในปีถัดไป
(2) วงเงินงบประมาณในปีงบประมาณ 2550-2552 ก็จะประสบปัญหาเช่นเดียวกัน เนื่องจากวงเงินลงทุนใหม่เกินกว่าแผนการลงทุนเดิม โดยเฉพาะแผนการใช้เงินจากงบประมาณประจำปี เนื่องจากแผนการใช้เงินที่เพิ่มขึ้นในบางสาขา การใช้เงินต่ำกว่างบที่ได้จัดสรรในปีงบประมาณ 2548 และข้อจำกัดในด้านงบประมาณในปีงบประมาณ 2549 ทำให้แผนการลงทุนจะกระจุกตัวเพิ่มขึ้นมากในปีถัดไป โดยในปีงบประมาณ 2550 คาดว่าต้องจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้แก่โครงการลงทุนในสาขาต่าง ๆ สูงสุดประมาณร้อยละ 15 ของวงเงินงบประมาณ
ความเห็น
เห็นควรให้กระจายการลงทุนบางส่วนของโครงการในสาขาที่อยู่อาศัย ทรัพยากรน้ำ การศึกษา และสาธารณสุข โดยขยายระยะเวลาโครงการหรือดำเนินการให้มีการเบิกจ่ายเงินบางส่วนในปีถัดไป รวมทั้งเห็นควรให้มีความยืดหยุ่นโดยสามารถกู้เงินในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อชดเชยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการในสาขาดังกล่าว
3. ประเด็นความพร้อมและความสามารถในการดำเนินโครงการ พบว่า ในแต่ละสาขามีปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผน เช่น ในสาขา Mass Transit อยู่ระหว่างการทบทวนและปรับเปลี่ยน โครงข่ายเส้นทางใหม่ สาขาที่อยู่อาศัย มีปัญหาด้านความสามารถในการดำเนินโครงการ โดยในปีงบประมาณ 2548 มีการเบิกจ่ายจริงเพียงร้อยละ 16 ของแผนงานที่กำหนดไว้ สำหรับสาขาทรัพยากรน้ำ ศึกษา และสาธารณสุข ซึ่งจะเริ่ม ดำเนินงานในปี 2549 พบว่า ประกอบด้วยโครงการย่อยจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงจำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการผลักดันให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผน ส่วนสาขาคมนาคม และสาขาอื่น ๆ (พลังงาน สื่อสาร และอุตสาหกรรม) เป็นสาขาที่น่าจะมีความพร้อมในการดำเนินงานสูง ดังนั้น ความแตกต่างของ ความพร้อมและความสามารถในการดำเนินโครงการในสาขาต่าง ๆ ข้างต้น ทำให้การประมาณการเบิกจ่ายโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐมีความไม่แน่นอนสูง
ความเห็น
โดยที่การดำเนินงานโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐมีจำนวนมากและกระจายอยู่ในพื้นที่ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะโครงการในสาขาที่อยู่อาศัย ทรัพยากรน้ำ การศึกษา และสาธารณสุข ซึ่งเป็นโครงการประเภท Intermediate Infrastructure และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินงานเป็นจำนวนมาก จึงเห็นควรต้องมีการประเมินความพร้อมของโครงการเพื่อจัดทำแผนการลงทุนประจำปีที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความสามารถในการดำเนินงานจริง รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถติดตามการลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น จึงควรว่าจ้างที่ปรึกษา หรือสถาบันการศึกษา เพื่อมาช่วยสนับสนุนการจัดเตรียมแผนการลงทุนประจำปี และติดตามประเมินผลโครงการดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--