แท็ก
เครื่องบิน
เรื่อง อนุมัติดำเนินงานปรับปรุงคุณภาพดินและงานผิวทาง เตรียมไว้สำหรับพื้นที่ซึ่งจะก่อสร้างลานจอด
เครื่องบินของอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 (The Design for
Ground Improvements and Airfield Pavements for the 1st Midfield
Satellite Aprons and 3rd Runway)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการปรับปรุงคุณภาพดินบริเวณลานจอดรถประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินงบประมาณ 5,659 ล้านบาท (ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548-2553) โดยใช้งบประมาณลงทุนประจำปี 2548 เพิ่มเติมจำนวน 75 ล้านบาท ของบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด สำหรับเป็นค่าออกแบบฯ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. สมาคมการขนส่งทางอากาศ (International Air Transportation Association : IATA) ได้ส่งผลการศึกษาความต้องการหลุมจอดเครื่องบินประชิดอาคารสำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในช่วงปี 2549 และปี 2553 โดยแนะนำว่าควรมีอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (1st Midfield Satellite) ภายในปี 2549 เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการหลุมจอดประชิดอาคารซึ่งยังไม่เพียงพอ โดยในระยะแรก (45 ล้านคนต่อปี) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะมีหลุมจอดที่จะรองรับเครื่องบินได้ 120 หลุมจอด มีทางวิ่ง 2 ทางวิ่ง ซึ่งเพียงพอสำหรับรองรับเครื่องบินขึ้นลงพร้อม ๆ กันได้ 130-140 movements per hour กรณีจำเป็นต้องขยายความจุ เพื่อให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นในระยะที่ 2 (54 ล้านคนต่อปี) จะต้องก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องรองหลังที่ 1 เพื่อเพิ่มความจุของหลุมจอดเป็น 120+30 = 150 หลุมจอด ซึ่งมีความจำเป็นต้องเพิ่มทางวิ่งเส้นที่ 3 เพื่อรองรับเครื่องบินที่จอดคอยและรอทำการวิ่งขึ้น
2. บริษัท ท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ได้ให้บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาโครงการ (PMC) ทำการศึกษาและจัดทำรายงาน Unit Conceptual Design สำหรับงานปรับปรุงคุณภาพดินและงานผิวทางบริเวณลานจอดบริเวณอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่ง PMC ได้จัดส่ง UCD for Airfield Pavements and Ground Improvements for the Phase -2 Development of SBIA ฉบับเดือน May 2004 โดยประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 5,659 ล้านบาท ซึ่งบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด พิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรเร่งดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงคุณภาพดินของลานจอดรถประชิดอาคารเครื่องบินรองหลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ไปก่อนตามความเห็นของ PMC และ IATA เพื่อให้ทันการเปิดบริการในปี 2553 และก่อนการเปิดบริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในระยะที่ 1 ในปี 2548 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องฝุ่นละออง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยของนักบิน และปัญหาจราจรในการขนส่งวัสดุขณะเปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3. งบประมาณในการดำเนินงานปรับปรุงคุณภาพดินและก่อสร้างประมาณการไว้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ประมาณการโดย บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด
PMC ปรับปรุงให้เหมาะสม
1. ค่าออกแบบ 34 75
- ปรับปรุงคุณภาพดิน 0.6% 34 34
- ออกแบบผิวทางลานจอดรถและ
ทางวิ่ง - 41
2. ค่าก่อสร้าง 5,357 5,316
3. ค่าควบคุมงาน 3% 161 161
4. ค่าวิศวกรที่ปรึกษาโครงการ 2% 107 107
รวม 5,659 5,659
บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด จะดำเนินการออกแบบโดยใช้งบประมาณลงทุนประจำปี 2548 เพิ่มเติม จำนวน 75 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
เครื่องบินของอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 (The Design for
Ground Improvements and Airfield Pavements for the 1st Midfield
Satellite Aprons and 3rd Runway)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการปรับปรุงคุณภาพดินบริเวณลานจอดรถประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินงบประมาณ 5,659 ล้านบาท (ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548-2553) โดยใช้งบประมาณลงทุนประจำปี 2548 เพิ่มเติมจำนวน 75 ล้านบาท ของบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด สำหรับเป็นค่าออกแบบฯ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. สมาคมการขนส่งทางอากาศ (International Air Transportation Association : IATA) ได้ส่งผลการศึกษาความต้องการหลุมจอดเครื่องบินประชิดอาคารสำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในช่วงปี 2549 และปี 2553 โดยแนะนำว่าควรมีอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (1st Midfield Satellite) ภายในปี 2549 เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการหลุมจอดประชิดอาคารซึ่งยังไม่เพียงพอ โดยในระยะแรก (45 ล้านคนต่อปี) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะมีหลุมจอดที่จะรองรับเครื่องบินได้ 120 หลุมจอด มีทางวิ่ง 2 ทางวิ่ง ซึ่งเพียงพอสำหรับรองรับเครื่องบินขึ้นลงพร้อม ๆ กันได้ 130-140 movements per hour กรณีจำเป็นต้องขยายความจุ เพื่อให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นในระยะที่ 2 (54 ล้านคนต่อปี) จะต้องก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องรองหลังที่ 1 เพื่อเพิ่มความจุของหลุมจอดเป็น 120+30 = 150 หลุมจอด ซึ่งมีความจำเป็นต้องเพิ่มทางวิ่งเส้นที่ 3 เพื่อรองรับเครื่องบินที่จอดคอยและรอทำการวิ่งขึ้น
2. บริษัท ท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ได้ให้บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาโครงการ (PMC) ทำการศึกษาและจัดทำรายงาน Unit Conceptual Design สำหรับงานปรับปรุงคุณภาพดินและงานผิวทางบริเวณลานจอดบริเวณอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่ง PMC ได้จัดส่ง UCD for Airfield Pavements and Ground Improvements for the Phase -2 Development of SBIA ฉบับเดือน May 2004 โดยประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 5,659 ล้านบาท ซึ่งบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด พิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรเร่งดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงคุณภาพดินของลานจอดรถประชิดอาคารเครื่องบินรองหลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ไปก่อนตามความเห็นของ PMC และ IATA เพื่อให้ทันการเปิดบริการในปี 2553 และก่อนการเปิดบริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในระยะที่ 1 ในปี 2548 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องฝุ่นละออง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยของนักบิน และปัญหาจราจรในการขนส่งวัสดุขณะเปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3. งบประมาณในการดำเนินงานปรับปรุงคุณภาพดินและก่อสร้างประมาณการไว้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ประมาณการโดย บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด
PMC ปรับปรุงให้เหมาะสม
1. ค่าออกแบบ 34 75
- ปรับปรุงคุณภาพดิน 0.6% 34 34
- ออกแบบผิวทางลานจอดรถและ
ทางวิ่ง - 41
2. ค่าก่อสร้าง 5,357 5,316
3. ค่าควบคุมงาน 3% 161 161
4. ค่าวิศวกรที่ปรึกษาโครงการ 2% 107 107
รวม 5,659 5,659
บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด จะดำเนินการออกแบบโดยใช้งบประมาณลงทุนประจำปี 2548 เพิ่มเติม จำนวน 75 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-