คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องสุวรรณภูมิ : ท่าอากาศยานพลังงานสะอาด (Clean International Airport) ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
1. ข้อเท็จจริง
1.1 กระทรวงพลังงาน โดย ปตท. และ กฟผ. ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในส่วนของการเตรียมความพร้อมของระบบพลังงานในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
1.2 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปตท. ร่วมกับ กฟผ. และ กฟน. จัดตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็นจำกัด (DCAP) และนำระบบ Gas District Cooling and Cogeneration มาใช้ในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นแห่งแรก
1.3 Gas District Cooling and Cogeneration เป็นการนำก๊าซมาใช้ในการทำระบบ Cogeneration เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าและนำพลังงานความร้อนที่เหลือไปผลิตไอน้ำเพื่อใช้สำหรับการะบวนการผลิตในโรงงาน และยังมีพลังงานเหลือไปใช้ในระบบทำความเย็นได้อีก สรุปได้ดังนี้
- เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้พลังงานโดยรวม ประมาณ 60%-75%
- เพิ่ม Reliability และ Availability ของการผลิตและจัดส่งไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำเย็น ให้กับผู้ใช้ โดยรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงเป็นระบบ Backup
- มีค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องและการซ่อมบำรุงโดยรวมโดยเฉลี่ยต่ำกว่าระบบอื่น เนื่องจากในส่วนระบบการทำความเย็นใช้ Absorption Chiller ซึ่งมีกระบวนการทำความเย็นโดยการดูดซึมและใช้น้ำเป็นตัวพาความเย็น
- เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากระบบ Gas District Cooling and Cogeneration ใช้ก๊าซเป็น เชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าทำให้คุณภาพไอเสียที่ออกมาจากหน่วยผลิตไฟฟ้ามี TSP, SO2 และ Nox ต่ำกว่าการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และถ่านหิน ทั้งยังใช้น้ำเป็นตัวทำความเย็น (Refrigerant) ในระบบทำความเย็นแทนสารเคมี CFC (Chlorofluorocabon)
2. ความก้าวหน้าการดำเนินงาน (ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2547)
2.1 ภาพรวมโครงการ : ระบบ District Cooling and Cogeneration ทั้งหมดภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 ปัจจุบันดำเนินการล่าช้ากว่าแผนที่ร้อยละ 3.99 หรือประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากอุปสรรคการดำเนินการในช่วงฤดูฝน
2.2 ความก้าวหน้างานก่อสร้าง
ดำเนินการแล้วเสร็จ : งานก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้าแล้วเสร็จ
อยู่ระหว่างดำเนินการ : 4 โครงการ ได้แก่ 1) งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2) งานปรับปรุงเครื่องกังหันก๊าซ 3) งานก่อสร้างระบบผลิตน้ำเย็น และ 4) งานก่อสร้างโรงผลิตน้ำเย็นสำหรับอาคารครัวการบินไทย ซึ่งได้รับการยืนยันจากบริษัทผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด ว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จตามกำหนด
3. การส่งเสริมให้ท่าอากาศสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานพลังงานสะอาด (Clean International Airport)
3.1 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและการเป็นศูนย์กลางเชื้อเพลิงชีวภาพของประเทศไทยในภูมิภาค
3.2 กระทรวงพลังงานมีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ ก๊าซโซฮอลล์ ไบโอดีเซล และก๊าซ NGV ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดกับรถยนต์ทุกชนิดที่ให้บริการบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเช่น รถลากเครื่องบิน รถบรรทุกสินค้า รถรับส่งผู้โดยสารขึ้น/ลงเครื่องบิน รถบรรทุกอาหารของครัวการบินไทย รวมถึงรถโดยสารและรถแท็กซี่รับส่งผู้โดยสาร เป็นต้น
3.3 โดยแนวทางการดำเนินการดังกล่าว กระทรวงพลังงาน และ ปตท. พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้านเชื้อเพลิงชีวภาพดังกล่าวให้กับผู้ใช้ภายในและบริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อนำไปสู่การเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีการใช้พลังงานสะอาดอย่างแท้จริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ข้อเท็จจริง
1.1 กระทรวงพลังงาน โดย ปตท. และ กฟผ. ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในส่วนของการเตรียมความพร้อมของระบบพลังงานในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
1.2 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปตท. ร่วมกับ กฟผ. และ กฟน. จัดตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็นจำกัด (DCAP) และนำระบบ Gas District Cooling and Cogeneration มาใช้ในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นแห่งแรก
1.3 Gas District Cooling and Cogeneration เป็นการนำก๊าซมาใช้ในการทำระบบ Cogeneration เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าและนำพลังงานความร้อนที่เหลือไปผลิตไอน้ำเพื่อใช้สำหรับการะบวนการผลิตในโรงงาน และยังมีพลังงานเหลือไปใช้ในระบบทำความเย็นได้อีก สรุปได้ดังนี้
- เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้พลังงานโดยรวม ประมาณ 60%-75%
- เพิ่ม Reliability และ Availability ของการผลิตและจัดส่งไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำเย็น ให้กับผู้ใช้ โดยรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงเป็นระบบ Backup
- มีค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องและการซ่อมบำรุงโดยรวมโดยเฉลี่ยต่ำกว่าระบบอื่น เนื่องจากในส่วนระบบการทำความเย็นใช้ Absorption Chiller ซึ่งมีกระบวนการทำความเย็นโดยการดูดซึมและใช้น้ำเป็นตัวพาความเย็น
- เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากระบบ Gas District Cooling and Cogeneration ใช้ก๊าซเป็น เชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าทำให้คุณภาพไอเสียที่ออกมาจากหน่วยผลิตไฟฟ้ามี TSP, SO2 และ Nox ต่ำกว่าการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และถ่านหิน ทั้งยังใช้น้ำเป็นตัวทำความเย็น (Refrigerant) ในระบบทำความเย็นแทนสารเคมี CFC (Chlorofluorocabon)
2. ความก้าวหน้าการดำเนินงาน (ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2547)
2.1 ภาพรวมโครงการ : ระบบ District Cooling and Cogeneration ทั้งหมดภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 ปัจจุบันดำเนินการล่าช้ากว่าแผนที่ร้อยละ 3.99 หรือประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากอุปสรรคการดำเนินการในช่วงฤดูฝน
2.2 ความก้าวหน้างานก่อสร้าง
ดำเนินการแล้วเสร็จ : งานก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้าแล้วเสร็จ
อยู่ระหว่างดำเนินการ : 4 โครงการ ได้แก่ 1) งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2) งานปรับปรุงเครื่องกังหันก๊าซ 3) งานก่อสร้างระบบผลิตน้ำเย็น และ 4) งานก่อสร้างโรงผลิตน้ำเย็นสำหรับอาคารครัวการบินไทย ซึ่งได้รับการยืนยันจากบริษัทผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด ว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จตามกำหนด
3. การส่งเสริมให้ท่าอากาศสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานพลังงานสะอาด (Clean International Airport)
3.1 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและการเป็นศูนย์กลางเชื้อเพลิงชีวภาพของประเทศไทยในภูมิภาค
3.2 กระทรวงพลังงานมีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ ก๊าซโซฮอลล์ ไบโอดีเซล และก๊าซ NGV ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดกับรถยนต์ทุกชนิดที่ให้บริการบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเช่น รถลากเครื่องบิน รถบรรทุกสินค้า รถรับส่งผู้โดยสารขึ้น/ลงเครื่องบิน รถบรรทุกอาหารของครัวการบินไทย รวมถึงรถโดยสารและรถแท็กซี่รับส่งผู้โดยสาร เป็นต้น
3.3 โดยแนวทางการดำเนินการดังกล่าว กระทรวงพลังงาน และ ปตท. พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้านเชื้อเพลิงชีวภาพดังกล่าวให้กับผู้ใช้ภายในและบริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อนำไปสู่การเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีการใช้พลังงานสะอาดอย่างแท้จริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-