คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าตามมาตรการเร่งรัดงานโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. กรมโยธาธิการและผังเมือง
1.1 กำหนดมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินบริเวณรอบสนามบินสุวรรณภูมิ โดยได้ออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย 2 ฉบับ
- ฉบับที่ 1 มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2546 กำหนดพื้นที่บริเวณห้ามก่อสร้างในจังหวัดสมุทรปราการ รวม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และกิ่งอำเภอบางเสาธง
- ฉบับที่ 2 มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 กำหนดพื้นที่ห้ามก่อสร้างอาคารบางประเภท ในบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน ในเขตอำเภอบางพลี กิ่งอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวม 2 เขต คือ เขตลาดกระบัง เขตประเวศ
1.2 จัดทำโครงการวางผังและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรภูมิ มีวิสัยทัศน์โครงการ คือ "สุวรรณภูมิ เมืองศูนย์กลางการบิน-เมืองพัฒนาอย่างยั่งยืน" และได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการเป็นเมืองศูนย์กลางการบิน คือ เมืองสุวรรณภูมิ เพื่อเชื่อมต่อและสนับสนุนการพัฒนาภาคมหานครเมืองศูนย์กลางการบินและการขนส่ง และเมืองท่าอากาศยานและการท่องเที่ยว ในส่วนของการเป็นเมืองพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ เมืองวัฒนธรรม ประเพณีพื้นถิ่นชุมชนริมน้ำ และเป็นเมืองที่มีสถาปัตยกรรม
ผลความก้าวหน้าโครงการ ฯ ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำโครงการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบ (สัญญาจ้างตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2546-20 กุมภาพันธ์ 2548 วงเงิน 85 ล้านบาท) ในรัศมี 135 กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 816 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 19 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และเพชรบุรี แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่โครงการไปแล้วรวม 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 และวันที่ 7 กันยายน 2547 และจะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอีก 1 ครั้ง
ผลลัพธ์จากโครงการฯ คือ เมื่อผลการดำเนินงานตามโครงการแล้วเสร็จจะเป็นกรอบให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ในการดำเนินการ จัดทำผังพัฒนาทางด้านกายภาพที่กำหนดโครงการพัฒนาในแต่ละย่านผังการใช้ที่ดินและอาคาร แผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงพื้นที่เฉพาะ โครงการคมนาคมและขนส่งครบวงจรผังสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การป้องกันน้ำท่วม การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรอบการนำเสนอของบประมาณ และการนำเสนอกลยุทธ์ที่ส่งเสริมภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมการพัฒนา
2. การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ทำการศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จากแนวคิดการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ "นครศูนย์กลางการบินนานาชาติสุวรรณภูมิ" (Aerotropolis) กระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้ง คณะกรรมการเพื่อการศึกษาและกำหนดรูปแบบการปกครององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่บริเวณรอบเมืองศูนย์กลางการบินสุวรรณภูมิ
คณะกรรมการฯ ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2547 ให้ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีกำหนดแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2547 และให้ศึกษาวิจัยเรื่อง การกำจัดขยะ น้ำเสีย การจัดให้มีสวนสาธารณะ ในรัศมี 10 กิโลเมตรจากสนามบิน
ในส่วนการเตรียมความพร้อมในช่วงก่อนการเปิดใช้สนามบิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและประสานแผนการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่พัฒนา เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ประสานแผนการปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่พัฒนาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และสร้างความรู้ความเข้าใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับแผนผังการพัฒนาท่าอากาศยานฯ ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมกับได้จัดเตรียมความพร้อมให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยจัดทำคู่มือ จัดประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร และกำหนดเป้าหมายการบริหารงาน พัฒนาและจัดการบริการประชาชนให้มีลักษณะ One stop service ให้มีความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะร่วมกัน (สหการ) และให้มีการประสานความร่วมมือกับส่วนราชการที่มีโครงการพัฒนาในพื้นที่ รวมถึงมีการจัดทำแผนการดำเนินงานปรับปรุงศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการพัฒนาศูนย์กลางการบินนานาชาติสุวรรณภูมิ (พ.ศ. 2547-2548)
3. การไฟฟ้านครหลวง
3.1 โครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำเย็นสำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดำเนินการโดย บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (DCAP) เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน และการไฟฟ้านครหลวง มีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 ขณะนี้ มีผลความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ โดยรวมล่าช้ากว่าแผน 3.99% (2 สัปดาห์)
3.2 โครงการจ่ายไฟฟ้าให้ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศสุวรรณภูมิ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ลักษณะของโครงการฯ เป็นรถไฟฟ้าแบบยกระดับเหนือพื้น ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยกำหนดเดินรถปี 2551 มีความต้องการใช้ไฟฟ้า 20-30 MVA ระบบ 3 เฟส 69 kv 2 วงจรจ่ายจากสถานีต้นทางไฟฟ้าบางกะปิ ใช้วงเงินลงทุน 95,901,019 บาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการสำรวจออกแบบ ห้วงเวลาเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ และสามารถดำเนินการตามโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. กรมโยธาธิการและผังเมือง
1.1 กำหนดมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินบริเวณรอบสนามบินสุวรรณภูมิ โดยได้ออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย 2 ฉบับ
- ฉบับที่ 1 มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2546 กำหนดพื้นที่บริเวณห้ามก่อสร้างในจังหวัดสมุทรปราการ รวม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และกิ่งอำเภอบางเสาธง
- ฉบับที่ 2 มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 กำหนดพื้นที่ห้ามก่อสร้างอาคารบางประเภท ในบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน ในเขตอำเภอบางพลี กิ่งอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวม 2 เขต คือ เขตลาดกระบัง เขตประเวศ
1.2 จัดทำโครงการวางผังและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรภูมิ มีวิสัยทัศน์โครงการ คือ "สุวรรณภูมิ เมืองศูนย์กลางการบิน-เมืองพัฒนาอย่างยั่งยืน" และได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการเป็นเมืองศูนย์กลางการบิน คือ เมืองสุวรรณภูมิ เพื่อเชื่อมต่อและสนับสนุนการพัฒนาภาคมหานครเมืองศูนย์กลางการบินและการขนส่ง และเมืองท่าอากาศยานและการท่องเที่ยว ในส่วนของการเป็นเมืองพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ เมืองวัฒนธรรม ประเพณีพื้นถิ่นชุมชนริมน้ำ และเป็นเมืองที่มีสถาปัตยกรรม
ผลความก้าวหน้าโครงการ ฯ ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำโครงการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบ (สัญญาจ้างตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2546-20 กุมภาพันธ์ 2548 วงเงิน 85 ล้านบาท) ในรัศมี 135 กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 816 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 19 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และเพชรบุรี แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่โครงการไปแล้วรวม 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 และวันที่ 7 กันยายน 2547 และจะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอีก 1 ครั้ง
ผลลัพธ์จากโครงการฯ คือ เมื่อผลการดำเนินงานตามโครงการแล้วเสร็จจะเป็นกรอบให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ในการดำเนินการ จัดทำผังพัฒนาทางด้านกายภาพที่กำหนดโครงการพัฒนาในแต่ละย่านผังการใช้ที่ดินและอาคาร แผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงพื้นที่เฉพาะ โครงการคมนาคมและขนส่งครบวงจรผังสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การป้องกันน้ำท่วม การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรอบการนำเสนอของบประมาณ และการนำเสนอกลยุทธ์ที่ส่งเสริมภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมการพัฒนา
2. การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ทำการศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จากแนวคิดการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ "นครศูนย์กลางการบินนานาชาติสุวรรณภูมิ" (Aerotropolis) กระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้ง คณะกรรมการเพื่อการศึกษาและกำหนดรูปแบบการปกครององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่บริเวณรอบเมืองศูนย์กลางการบินสุวรรณภูมิ
คณะกรรมการฯ ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2547 ให้ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีกำหนดแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2547 และให้ศึกษาวิจัยเรื่อง การกำจัดขยะ น้ำเสีย การจัดให้มีสวนสาธารณะ ในรัศมี 10 กิโลเมตรจากสนามบิน
ในส่วนการเตรียมความพร้อมในช่วงก่อนการเปิดใช้สนามบิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและประสานแผนการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่พัฒนา เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ประสานแผนการปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่พัฒนาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และสร้างความรู้ความเข้าใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับแผนผังการพัฒนาท่าอากาศยานฯ ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมกับได้จัดเตรียมความพร้อมให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยจัดทำคู่มือ จัดประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร และกำหนดเป้าหมายการบริหารงาน พัฒนาและจัดการบริการประชาชนให้มีลักษณะ One stop service ให้มีความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะร่วมกัน (สหการ) และให้มีการประสานความร่วมมือกับส่วนราชการที่มีโครงการพัฒนาในพื้นที่ รวมถึงมีการจัดทำแผนการดำเนินงานปรับปรุงศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการพัฒนาศูนย์กลางการบินนานาชาติสุวรรณภูมิ (พ.ศ. 2547-2548)
3. การไฟฟ้านครหลวง
3.1 โครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำเย็นสำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดำเนินการโดย บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (DCAP) เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน และการไฟฟ้านครหลวง มีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 ขณะนี้ มีผลความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ โดยรวมล่าช้ากว่าแผน 3.99% (2 สัปดาห์)
3.2 โครงการจ่ายไฟฟ้าให้ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศสุวรรณภูมิ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ลักษณะของโครงการฯ เป็นรถไฟฟ้าแบบยกระดับเหนือพื้น ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยกำหนดเดินรถปี 2551 มีความต้องการใช้ไฟฟ้า 20-30 MVA ระบบ 3 เฟส 69 kv 2 วงจรจ่ายจากสถานีต้นทางไฟฟ้าบางกะปิ ใช้วงเงินลงทุน 95,901,019 บาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการสำรวจออกแบบ ห้วงเวลาเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ และสามารถดำเนินการตามโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-