คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับ พ.ศ. …. และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการกำหนดห้ามมิให้นำบทบัญญัติของกฏหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับแก่ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในครอบครัวและมรดก ซึ่งกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมได้พิจารณาและเห็นชอบในหลักการแล้ว
ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอว่า
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 3 บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ธุรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมิให้นำพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนมาใช้บังคับ"
2. ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการให้บริการประกอบกับความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระดับองค์การระหว่างประเทศและระดับประเทศซึ่งเน้นที่การนำธุรกรรมทางเล็กทรอนิกส์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพภายในประเทศของตน อย่างไรก็ตามการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทไม่สามารถดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากโดยสภาพของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นไม่เปิดช่องให้กระทำได้ แต่สำหรับกรณีของธุรกรรมบางประเภทนับเป็นนโยบายของกฎหมายที่สมควรกำหนดยกเว้น มิให้ทำด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในสถาบันครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวและมรดก ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองและรักษาไว้ซึ่งสถาบันครอบครัวมิให้ถูกกระทบโดยผลของการทำธุรกรรมด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอว่า
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 3 บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ธุรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมิให้นำพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนมาใช้บังคับ"
2. ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการให้บริการประกอบกับความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระดับองค์การระหว่างประเทศและระดับประเทศซึ่งเน้นที่การนำธุรกรรมทางเล็กทรอนิกส์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพภายในประเทศของตน อย่างไรก็ตามการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทไม่สามารถดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากโดยสภาพของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นไม่เปิดช่องให้กระทำได้ แต่สำหรับกรณีของธุรกรรมบางประเภทนับเป็นนโยบายของกฎหมายที่สมควรกำหนดยกเว้น มิให้ทำด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในสถาบันครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวและมรดก ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองและรักษาไว้ซึ่งสถาบันครอบครัวมิให้ถูกกระทบโดยผลของการทำธุรกรรมด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-