คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้น (ระยะเฉพาะหน้า) ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
1. เห็นชอบการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้น (ระยะเฉพาะหน้า) รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงค่าตอบแทนในระยะต่อไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติเสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยให้มีผลบังคับไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบค่าตอบแทนของข้าราชการครั้งใหม่ และให้รับความเห็นชอบของกระทรวงการคลังไปดำเนินการด้วย ทั้งนี้ การคำนวณเงินเดือนหรือค่าจ้างดังกล่าว ไม่ให้นำเอาเงินประเภทค่าเสี่ยงภัยมารวมคำนวณด้วย สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการนี้ ให้ทุกกระทรวง กรม รวมทั้งสำนักงาน ก.พ. ดำเนินการตามความเห็นสำนักงบประมาณต่อไป
2. ให้รัฐมนตรีทุกท่านรับไปเร่งรัดติดตามให้ส่วนราชการในสังกัด ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1 เพื่อให้ผู้มีสิทธิ ได้รับค่าตอบแทนดังกล่าวภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2547 ด้วย
สำหรับเรื่องนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้ประชุมหารือในแนวทางปฏิบัติของมาตรการการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้นในระยะเฉพาะหน้า ร่วมกับกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ผู้แทนจากสำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง เห็นสมควรกำหนดการปรับปรุงค่าตอบแทนสำหรับข้าราชการระดับต้นเพื่อช่วยเหลือการครองชีพเป็นค่าตอบแทนพิเศษชั่วคราว เพื่อการครองชีพสำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และลูกจ้างประจำส่วนราชการ เดือนละ 1,000 บาท ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) เมื่อรวมค่าตอบแทนพิเศษชั่วคราวเพื่อการครองชีพกับเงินเดือนที่ได้รับอยู่แล้วต้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท
(2) กรณีที่ค่าตอบแทนพิเศษชั่วคราวเพื่อการครองชีพ 1,000 บาท รวมกับเงินเดือนที่ได้รับอยู่แล้วไม่ถึงเดือนละ 7,000 บาท ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษอีกจำนวนหนึ่งเพื่อให้มีรายได้รวมเป็นเดือนละ 7,000 บาท
(3) ให้ยกเว้นการได้รับค่าตอบแทนพิเศษนี้สำหรับข้าราชการที่ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษที่กำหนดโดยเปรียบเทียบกับข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม
มาตรการนี้จะครอบคลุมข้าราชการพลเรือนและข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการประมาณ 77,365 คน ข้าราชการตำรวจประมาณ 60,964 คน ข้าราชการทหารประมาณ 54,860 คน และลูกจ้างประจำของส่วนราชการประมาณ 155,113 คน รวมทั้งสิ้นประมาณ 3.5 แสนคน ซึ่งจะทำให้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 3,700 ล้านบาท
นอกจากนี้ เพื่อให้ระบบค่าตอบแทนของราชการมีประสิทธิภาพในการดึงดูด จูงใจและรักษาข้าราชการที่มีคุณภาพสูง (high performance civil service) อย่างแท้จริง ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) จึงเห็นว่าการปรับปรุงระบบค่าตอบแทนของข้าราชการในระยะต่อไปควรเป็นการปรับเปลี่ยนในระดับโครงสร้างค่าตอบแทน เพื่อให้ค่าตอบแทนราชการมีประสิทธิภาพได้สมดุล ทั้งในมิติของค่างาน อัตราตลาด และกลไกในการส่งเสริมให้ข้าราชการมุ่งเน้นผลงานและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยในขณะนี้สำนักงาน ก.พ. กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบระบบค่าตอบแทนใหม่ซึ่งจะได้นำหลักการของการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานและสมรรถนะ (performance and competency based pay) มาใช้ และยึดโยงกับระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ที่จะจัดประเภทของข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสมยืดหยุ่นตามลักษณะงานและตำแหน่งที่รับผิดชอบ
นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยต่อคุณภาพชีวิตของข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการระดับต้นที่มีรายได้น้อยและมีดำริว่าควรจะพิจารณาหาทางช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการเหล่านี้ให้อยู่ในสังคมได้อย่างพอควรแก่สถานภาพความเป็นข้าราชการ นายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพรชัย นุชสุวรรณ)ประสานกับสำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) เพื่อศึกษาและจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้น ดังกล่าว
สำนักงาน ก.พ. ได้ศึกษาข้อเท็จจริงและพบว่าครอบครัวของข้าราชการระดับต้น (ระดับ 1-4) มีรายจ่ายในครัวเรือนรวมสูงกว่ารายได้รวมโดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 1,300 บาท ในขณะที่รายได้ของข้าราชการเหล่านี้ยังต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนที่ควรจะรับผิดชอบเฉลี่ยเดือนละ 1,081 บาท และโดยเฉลี่ยข้าราชการระดับต้นจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครัวเรือนประมาณเดือนละ 10,000 บาท โดยรายได้ขั้นต่ำที่จะทำให้ข้าราชการในระดับล่างสุด (ระดับ 1) สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของครอบครัวจะอยู่ที่ประมาณเดือนละ 7,000 บาท
สำนักงาน ก.พ. ได้นำผลการศึกษาดังกล่าวหารือร่วมกับกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ แล้วได้นำข้อเสนอเบื้องต้นสำหรับการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้นในระยะเฉพาะหน้า เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 และ 23 กรกฎาคม 2547 ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ช่วยให้ข้าราชการสามารถครองชีพอยู่ในสังคมได้อย่างพอควรแก่สถานภาพของความเป็นข้าราชการ (2) สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ข้าราชการในการทำงานภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มุ่งเน้นผลงานและการเป็นข้าราชการคุณภาพ (knowledge worker) และ (3) เพิ่มความสามารถของราชการในการจูงใจคนเก่งคนดีมารับราชการ โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบกับแนวทางดังกล่าวและให้ สำนักงาน ก.พ. นำข้อเสนอนี้ไปหารือในรายละเอียดกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องและให้นำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี โดยให้มาตรการนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้น (ระยะเฉพาะหน้า) รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงค่าตอบแทนในระยะต่อไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติเสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยให้มีผลบังคับไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบค่าตอบแทนของข้าราชการครั้งใหม่ และให้รับความเห็นชอบของกระทรวงการคลังไปดำเนินการด้วย ทั้งนี้ การคำนวณเงินเดือนหรือค่าจ้างดังกล่าว ไม่ให้นำเอาเงินประเภทค่าเสี่ยงภัยมารวมคำนวณด้วย สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการนี้ ให้ทุกกระทรวง กรม รวมทั้งสำนักงาน ก.พ. ดำเนินการตามความเห็นสำนักงบประมาณต่อไป
2. ให้รัฐมนตรีทุกท่านรับไปเร่งรัดติดตามให้ส่วนราชการในสังกัด ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1 เพื่อให้ผู้มีสิทธิ ได้รับค่าตอบแทนดังกล่าวภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2547 ด้วย
สำหรับเรื่องนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้ประชุมหารือในแนวทางปฏิบัติของมาตรการการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้นในระยะเฉพาะหน้า ร่วมกับกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ผู้แทนจากสำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง เห็นสมควรกำหนดการปรับปรุงค่าตอบแทนสำหรับข้าราชการระดับต้นเพื่อช่วยเหลือการครองชีพเป็นค่าตอบแทนพิเศษชั่วคราว เพื่อการครองชีพสำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และลูกจ้างประจำส่วนราชการ เดือนละ 1,000 บาท ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) เมื่อรวมค่าตอบแทนพิเศษชั่วคราวเพื่อการครองชีพกับเงินเดือนที่ได้รับอยู่แล้วต้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท
(2) กรณีที่ค่าตอบแทนพิเศษชั่วคราวเพื่อการครองชีพ 1,000 บาท รวมกับเงินเดือนที่ได้รับอยู่แล้วไม่ถึงเดือนละ 7,000 บาท ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษอีกจำนวนหนึ่งเพื่อให้มีรายได้รวมเป็นเดือนละ 7,000 บาท
(3) ให้ยกเว้นการได้รับค่าตอบแทนพิเศษนี้สำหรับข้าราชการที่ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษที่กำหนดโดยเปรียบเทียบกับข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม
มาตรการนี้จะครอบคลุมข้าราชการพลเรือนและข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการประมาณ 77,365 คน ข้าราชการตำรวจประมาณ 60,964 คน ข้าราชการทหารประมาณ 54,860 คน และลูกจ้างประจำของส่วนราชการประมาณ 155,113 คน รวมทั้งสิ้นประมาณ 3.5 แสนคน ซึ่งจะทำให้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 3,700 ล้านบาท
นอกจากนี้ เพื่อให้ระบบค่าตอบแทนของราชการมีประสิทธิภาพในการดึงดูด จูงใจและรักษาข้าราชการที่มีคุณภาพสูง (high performance civil service) อย่างแท้จริง ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) จึงเห็นว่าการปรับปรุงระบบค่าตอบแทนของข้าราชการในระยะต่อไปควรเป็นการปรับเปลี่ยนในระดับโครงสร้างค่าตอบแทน เพื่อให้ค่าตอบแทนราชการมีประสิทธิภาพได้สมดุล ทั้งในมิติของค่างาน อัตราตลาด และกลไกในการส่งเสริมให้ข้าราชการมุ่งเน้นผลงานและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยในขณะนี้สำนักงาน ก.พ. กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบระบบค่าตอบแทนใหม่ซึ่งจะได้นำหลักการของการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานและสมรรถนะ (performance and competency based pay) มาใช้ และยึดโยงกับระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ที่จะจัดประเภทของข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสมยืดหยุ่นตามลักษณะงานและตำแหน่งที่รับผิดชอบ
นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยต่อคุณภาพชีวิตของข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการระดับต้นที่มีรายได้น้อยและมีดำริว่าควรจะพิจารณาหาทางช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการเหล่านี้ให้อยู่ในสังคมได้อย่างพอควรแก่สถานภาพความเป็นข้าราชการ นายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพรชัย นุชสุวรรณ)ประสานกับสำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) เพื่อศึกษาและจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้น ดังกล่าว
สำนักงาน ก.พ. ได้ศึกษาข้อเท็จจริงและพบว่าครอบครัวของข้าราชการระดับต้น (ระดับ 1-4) มีรายจ่ายในครัวเรือนรวมสูงกว่ารายได้รวมโดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 1,300 บาท ในขณะที่รายได้ของข้าราชการเหล่านี้ยังต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนที่ควรจะรับผิดชอบเฉลี่ยเดือนละ 1,081 บาท และโดยเฉลี่ยข้าราชการระดับต้นจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครัวเรือนประมาณเดือนละ 10,000 บาท โดยรายได้ขั้นต่ำที่จะทำให้ข้าราชการในระดับล่างสุด (ระดับ 1) สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของครอบครัวจะอยู่ที่ประมาณเดือนละ 7,000 บาท
สำนักงาน ก.พ. ได้นำผลการศึกษาดังกล่าวหารือร่วมกับกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ แล้วได้นำข้อเสนอเบื้องต้นสำหรับการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้นในระยะเฉพาะหน้า เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 และ 23 กรกฎาคม 2547 ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ช่วยให้ข้าราชการสามารถครองชีพอยู่ในสังคมได้อย่างพอควรแก่สถานภาพของความเป็นข้าราชการ (2) สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ข้าราชการในการทำงานภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มุ่งเน้นผลงานและการเป็นข้าราชการคุณภาพ (knowledge worker) และ (3) เพิ่มความสามารถของราชการในการจูงใจคนเก่งคนดีมารับราชการ โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบกับแนวทางดังกล่าวและให้ สำนักงาน ก.พ. นำข้อเสนอนี้ไปหารือในรายละเอียดกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องและให้นำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี โดยให้มาตรการนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-