คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การยกระดับ Logistics เพื่อเพิ่มขีดความสามารถไทย ในเวทีโลก" ระหว่างวันที่ 21-22 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรมฮิลตัน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความบูรณาการด้านการวางแผนและการดำเนินงานของภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาระบบ Logistics ของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในระดับนานาชาติต่อไป โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
กระทรวงการคลัง โดย สคร. ในฐานะผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบ Logistics ซึ่งประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจในสาขาขนส่ง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (รสพ.) บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และรัฐวิสาหกิจอื่นที่มีส่วนสนับสนุนระบบ Logistics เช่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และองค์การคลังสินค้า
(อคส.) เป็นต้น เห็นควรที่จะพัฒนาศักยภาพของรัฐวิสาหกิจกลุ่มนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและสนับสนุนระบบ Logistics ของไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้น เพื่อร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบ Logistics ตลอดจนแก้ไขกฎ ระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา รวมทั้งสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภคอันจะนำไปสู่การแข่งขันระดับสากลต่อไปผลการสัมมนา1. แผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบ Logistics ของประเทศ (โดย สคร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอในระหว่างการสัมมนา ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ คือ)
1.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ Logistics ทางภาคพื้น (Surface) (เสนอโดย รฟท. กทท. รสพ. และบทด.) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 "การพัฒนาท่าเรือไทยให้เป็น Gateway สู่ภูมิภาค" เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบกับท่าเรืออื่นในภูมิภาคเดียวกัน โดยพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (LCB) เพื่อรองรับและดึงดูดปริมาณสินค้าผ่านเข้าออกอินโดจีนและจีนตอนใต้ และพัฒนาท่าเรือสตูล เพื่อรองรับประเทศในแถบเอเชียใต้ ตลอดจนขยายขีดความสามารถของ ICD ลาดกระบัง และย่านพหลโยธิน เพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่ง รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของท่าเรือภูมิภาค
ยุทธศาสตร์ที่ 2 "การพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Hub & Spokes)" เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าประจำภาค โดยจัดตั้ง Hub และเชื่อมต่อระบบการขนส่งระหว่างรูปแบบการขนส่งเดียวกัน (Intramodal) และต่างรูปแบบ (Intermodal) ให้เกิดการใช้ประโยชน์และลดต้นทุนด้าน Logistics อย่างเต็มที่ (Fully Utilization) รวมทั้งสร้างและพัฒนา Container Yard & Truck Terminal
ยุทธศาสตร์ที่ 3 "Modal Shift ไปสู่ระบบราง ทางน้ำ และท่อ" เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งไปสู่รูปแบบการขนส่งในปริมาณมาก ซึ่งจะลดต้นทุนการขนส่ง ประหยัดพลังงาน เพิ่มความปลอดภัยและตรงเวลา โดยการพัฒนาระบบการขนส่งชายฝั่งและลำน้ำ และการมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งระบบรางและทางน้ำอย่างจริงจัง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 "การพัฒนาระบบ Logistics Management" เพื่อจัดระบบให้เอื้อต่อการพัฒนาระบบ Logistics และอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานด้าน Logistics โดยจัดตั้งคณะกรรมการ Logistics แห่งชาติ และเร่งรัดการออกกฎหมายผู้ประกอบการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transport Operator) ตลอดจนการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการรวบรวมและการขนถ่ายสินค้า
1.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ Logistics ทางอากาศ (Air) (เสนอโดย บกท. ทอท. บวท. ปณท. และ รสพ.) ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 "Global Destination Network" เพื่อความเป็นศูนย์กลางด้าน Logistics ของสินค้าในกลุ่มประเทศ Greater Mekong Sub-Region และ South Asia กับตลาดโลก ตลอดจนการเชื่อมโยงระบบ Logistics ในประเทศต่าง ๆ ในการขนส่งสินค้า Door to Door การขยายเครือข่ายเส้นทางบินครอบคลุมทั่วโลก โดยเน้นการเปิดเส้นทางการบินมุ่งสู่ประเทศต่าง ๆ ที่มีศักยภาพทั้งใน Asia Europe และ USA
ยุทธศาสตร์ที่ 2 "การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็น Gateway ระดับโลก" เพื่อการเป็น Gateway ในระดับภูมิภาค โดยพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าภาคเหนือเชื่อมโยงกลุ่มประเทศ Greater Mekong Sub-Region & South Asia โดยเน้นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมและพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางภาคใต้เชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่ม South East Asia โดยเน้นสินค้าอาหารทะเลสด ตลอดจนการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิให้เป็น Gateway ในระดับโลก เชื่อมโยงกับประเทศในทวีปต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 "Center for Logistics ของโลกด้านอาหาร ผัก ผลไม้สด ดอกไม้ แฟชั่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ อะไหล่รถยนต์และเครื่องประดับ" โดยการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการขนถ่ายสินค้า เช่น E-Commerce และ E-Licensing อนุสัญญาว่าด้วยการขนส่งระหว่าง Mode ต่าง ๆ เป็นต้น การประสานให้เกิด Multi-Modal Linkage between Surface and Air ตลอดจนการจัดตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นรับผิดชอบ
2. มาตรการในทางปฏิบัติที่จะดำเนินการได้ทันที มีจำนวน 2 มาตรการ คือ
2.1 ปรับปรุงกฎระเบียบและพิธีการศุลกากรที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถทำการขนส่งได้ในทุก Mode และปรับปรุงใบสั่งปล่อยสินค้าโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ตั๋วแดง) ให้เชื่อมโยงกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยและสายการบินอื่น ๆ ตลอดจนจัดทำระบบ One Day Clearance นับตั้งแต่นำสินค้าเข้าเก็บ ณ ท่าเรือหรือที่ที่นำเข้า-ส่งออก เป็นต้น เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติภายใน 30 วัน นับจากการสัมมนาครั้งนี้
2.2 ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อตกลงที่จะพัฒนาระบบ Logistics ของประเทศจำนวน 4 ฉบับ ดังต่อไปนี้
ข้อตกลงฉบับที่ 1 "One Day Clearance" ระหว่าง บกท. ทอท. กทท. และกรมศุลกากร เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้า/ส่งออกสินค้าให้เสร็จสิ้นภายใน 1 วัน
ข้อตกลงฉบับที่ 2 "ความร่วมมือในการขนส่ง Port-to-Door & Door-to-Port" ระหว่าง บทด. และ รสพ. เพื่อลดต้นทุนและระยะเวลาการขนส่งสินค้า
ข้อตกลงฉบับที่ 3 "การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า" ระหว่าง กทท. บทด. รฟท. และ รสพ. เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าและเชื่อมโยงระบบการขนส่งสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพ
ข้อตกลงฉบับที่ 4 "การนำส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ด่วนถึงมือผู้รับ" ระหว่าง บกท. ปณท. และ รสพ. เพื่อเพิ่มประสิทธิในการขนส่งสินค้า
3. ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ
3.1 การส่งมอบสินค้าให้สายการบิน ลดเวลาจาก 3 ชม. เหลือน้อยกว่า 2 ชม.
3.2 การขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังไปท่าเรือสงขลา จะลดเวลาดำเนินการจาก 24 ชม. เหลือต่ำกว่า 18 ชม. และลดค่าใช้จ่ายจาก 380 บาท/ตัน เหลือ 340 บาท/ตัน ตลอดจนประหยัดน้ำมันจาก 12 ลิตร/กม. เหลือ 1 ลิตร/กม.
3.3 การจัดระเบียบการขนยกตู้สินค้าที่รถไฟ ลดเวลาจาก 4 ชม. เหลือภายใน 2 ชม.
3.4 การลดขั้นตอนพิธีการศุลกากร จาก 5 วัน เหลือภายใน 1 วัน
4. การกำหนดกรอบตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการกำกับและติดตามผลตามแผนยุทธศาสตร์ โดยเน้นที่ผลลัพธ์หลัก 3 ประการ คือ ความมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน (Cost Efficiency) ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ (Responsiveness) และความเชื่อมั่นได้ (Reliability/Security) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มนำมาใช้ในการกำกับผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไป
5. แนวทางสนับสนุนที่จะดำเนินการต่อไป เพื่อการพัฒนาระบบ Logistics ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่ ด้าน Institutional Framework ด้าน Capacity Building และด้าน Logistics Intelligence
ข้อสังเกตจากการสัมมนา
1. การลงทุนโครงการต่าง ๆ รัฐวิสาหกิจควรมีแผนการลงทุนที่ชัดเจน เกี่ยวกับแหล่งเงินในการดำเนินการ การจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ตลอดจนพิจารณาผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เพื่อให้สำนักงบประมาณสามารถวางแผนการจัดสรรเงินงบประมาณและกระทรวงการคลังจะได้วางแผนการกู้เงินได้อย่างเหมาะสม ในกรณีที่ต้องการความสนับสนุนจากภาครัฐ
2. การพัฒนาระบบสารสนเทศต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ควรคำนึงถึงการเชื่อมต่อระบบกับภาคเอกชนอนาคตด้วย โดยต้องกำหนดมาตรฐานของระบบที่จะไม่ก่อให้เกิดต้นทุนในการพัฒนาระบบของภาคเอกชน
3. กระทรวงที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาระบบ Logistics ตามแผนยุทธศาสตร์และมาตรการในทางปฏิบัติ ตลอดจนหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ ควรมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานแล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบถึงความคืบหน้าเป็นระยะ ๆ เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาระบบ Logistics ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. ควรกำหนดหน้าที่ของ Logistics Council ให้ครอบคลุมถึงการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณากำหนดต้นทุนหรืออัตราค่าบริการที่จะเรียกเก็บต่อไปในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงการคลัง โดย สคร. ในฐานะผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบ Logistics ซึ่งประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจในสาขาขนส่ง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (รสพ.) บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และรัฐวิสาหกิจอื่นที่มีส่วนสนับสนุนระบบ Logistics เช่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และองค์การคลังสินค้า
(อคส.) เป็นต้น เห็นควรที่จะพัฒนาศักยภาพของรัฐวิสาหกิจกลุ่มนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและสนับสนุนระบบ Logistics ของไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้น เพื่อร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบ Logistics ตลอดจนแก้ไขกฎ ระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา รวมทั้งสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภคอันจะนำไปสู่การแข่งขันระดับสากลต่อไปผลการสัมมนา1. แผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบ Logistics ของประเทศ (โดย สคร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอในระหว่างการสัมมนา ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ คือ)
1.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ Logistics ทางภาคพื้น (Surface) (เสนอโดย รฟท. กทท. รสพ. และบทด.) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 "การพัฒนาท่าเรือไทยให้เป็น Gateway สู่ภูมิภาค" เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบกับท่าเรืออื่นในภูมิภาคเดียวกัน โดยพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (LCB) เพื่อรองรับและดึงดูดปริมาณสินค้าผ่านเข้าออกอินโดจีนและจีนตอนใต้ และพัฒนาท่าเรือสตูล เพื่อรองรับประเทศในแถบเอเชียใต้ ตลอดจนขยายขีดความสามารถของ ICD ลาดกระบัง และย่านพหลโยธิน เพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่ง รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของท่าเรือภูมิภาค
ยุทธศาสตร์ที่ 2 "การพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Hub & Spokes)" เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าประจำภาค โดยจัดตั้ง Hub และเชื่อมต่อระบบการขนส่งระหว่างรูปแบบการขนส่งเดียวกัน (Intramodal) และต่างรูปแบบ (Intermodal) ให้เกิดการใช้ประโยชน์และลดต้นทุนด้าน Logistics อย่างเต็มที่ (Fully Utilization) รวมทั้งสร้างและพัฒนา Container Yard & Truck Terminal
ยุทธศาสตร์ที่ 3 "Modal Shift ไปสู่ระบบราง ทางน้ำ และท่อ" เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งไปสู่รูปแบบการขนส่งในปริมาณมาก ซึ่งจะลดต้นทุนการขนส่ง ประหยัดพลังงาน เพิ่มความปลอดภัยและตรงเวลา โดยการพัฒนาระบบการขนส่งชายฝั่งและลำน้ำ และการมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งระบบรางและทางน้ำอย่างจริงจัง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 "การพัฒนาระบบ Logistics Management" เพื่อจัดระบบให้เอื้อต่อการพัฒนาระบบ Logistics และอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานด้าน Logistics โดยจัดตั้งคณะกรรมการ Logistics แห่งชาติ และเร่งรัดการออกกฎหมายผู้ประกอบการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transport Operator) ตลอดจนการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการรวบรวมและการขนถ่ายสินค้า
1.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ Logistics ทางอากาศ (Air) (เสนอโดย บกท. ทอท. บวท. ปณท. และ รสพ.) ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 "Global Destination Network" เพื่อความเป็นศูนย์กลางด้าน Logistics ของสินค้าในกลุ่มประเทศ Greater Mekong Sub-Region และ South Asia กับตลาดโลก ตลอดจนการเชื่อมโยงระบบ Logistics ในประเทศต่าง ๆ ในการขนส่งสินค้า Door to Door การขยายเครือข่ายเส้นทางบินครอบคลุมทั่วโลก โดยเน้นการเปิดเส้นทางการบินมุ่งสู่ประเทศต่าง ๆ ที่มีศักยภาพทั้งใน Asia Europe และ USA
ยุทธศาสตร์ที่ 2 "การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็น Gateway ระดับโลก" เพื่อการเป็น Gateway ในระดับภูมิภาค โดยพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าภาคเหนือเชื่อมโยงกลุ่มประเทศ Greater Mekong Sub-Region & South Asia โดยเน้นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมและพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางภาคใต้เชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่ม South East Asia โดยเน้นสินค้าอาหารทะเลสด ตลอดจนการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิให้เป็น Gateway ในระดับโลก เชื่อมโยงกับประเทศในทวีปต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 "Center for Logistics ของโลกด้านอาหาร ผัก ผลไม้สด ดอกไม้ แฟชั่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ อะไหล่รถยนต์และเครื่องประดับ" โดยการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการขนถ่ายสินค้า เช่น E-Commerce และ E-Licensing อนุสัญญาว่าด้วยการขนส่งระหว่าง Mode ต่าง ๆ เป็นต้น การประสานให้เกิด Multi-Modal Linkage between Surface and Air ตลอดจนการจัดตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นรับผิดชอบ
2. มาตรการในทางปฏิบัติที่จะดำเนินการได้ทันที มีจำนวน 2 มาตรการ คือ
2.1 ปรับปรุงกฎระเบียบและพิธีการศุลกากรที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถทำการขนส่งได้ในทุก Mode และปรับปรุงใบสั่งปล่อยสินค้าโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ตั๋วแดง) ให้เชื่อมโยงกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยและสายการบินอื่น ๆ ตลอดจนจัดทำระบบ One Day Clearance นับตั้งแต่นำสินค้าเข้าเก็บ ณ ท่าเรือหรือที่ที่นำเข้า-ส่งออก เป็นต้น เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติภายใน 30 วัน นับจากการสัมมนาครั้งนี้
2.2 ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อตกลงที่จะพัฒนาระบบ Logistics ของประเทศจำนวน 4 ฉบับ ดังต่อไปนี้
ข้อตกลงฉบับที่ 1 "One Day Clearance" ระหว่าง บกท. ทอท. กทท. และกรมศุลกากร เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้า/ส่งออกสินค้าให้เสร็จสิ้นภายใน 1 วัน
ข้อตกลงฉบับที่ 2 "ความร่วมมือในการขนส่ง Port-to-Door & Door-to-Port" ระหว่าง บทด. และ รสพ. เพื่อลดต้นทุนและระยะเวลาการขนส่งสินค้า
ข้อตกลงฉบับที่ 3 "การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า" ระหว่าง กทท. บทด. รฟท. และ รสพ. เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าและเชื่อมโยงระบบการขนส่งสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพ
ข้อตกลงฉบับที่ 4 "การนำส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ด่วนถึงมือผู้รับ" ระหว่าง บกท. ปณท. และ รสพ. เพื่อเพิ่มประสิทธิในการขนส่งสินค้า
3. ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ
3.1 การส่งมอบสินค้าให้สายการบิน ลดเวลาจาก 3 ชม. เหลือน้อยกว่า 2 ชม.
3.2 การขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังไปท่าเรือสงขลา จะลดเวลาดำเนินการจาก 24 ชม. เหลือต่ำกว่า 18 ชม. และลดค่าใช้จ่ายจาก 380 บาท/ตัน เหลือ 340 บาท/ตัน ตลอดจนประหยัดน้ำมันจาก 12 ลิตร/กม. เหลือ 1 ลิตร/กม.
3.3 การจัดระเบียบการขนยกตู้สินค้าที่รถไฟ ลดเวลาจาก 4 ชม. เหลือภายใน 2 ชม.
3.4 การลดขั้นตอนพิธีการศุลกากร จาก 5 วัน เหลือภายใน 1 วัน
4. การกำหนดกรอบตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการกำกับและติดตามผลตามแผนยุทธศาสตร์ โดยเน้นที่ผลลัพธ์หลัก 3 ประการ คือ ความมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน (Cost Efficiency) ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ (Responsiveness) และความเชื่อมั่นได้ (Reliability/Security) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มนำมาใช้ในการกำกับผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไป
5. แนวทางสนับสนุนที่จะดำเนินการต่อไป เพื่อการพัฒนาระบบ Logistics ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่ ด้าน Institutional Framework ด้าน Capacity Building และด้าน Logistics Intelligence
ข้อสังเกตจากการสัมมนา
1. การลงทุนโครงการต่าง ๆ รัฐวิสาหกิจควรมีแผนการลงทุนที่ชัดเจน เกี่ยวกับแหล่งเงินในการดำเนินการ การจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ตลอดจนพิจารณาผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เพื่อให้สำนักงบประมาณสามารถวางแผนการจัดสรรเงินงบประมาณและกระทรวงการคลังจะได้วางแผนการกู้เงินได้อย่างเหมาะสม ในกรณีที่ต้องการความสนับสนุนจากภาครัฐ
2. การพัฒนาระบบสารสนเทศต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ควรคำนึงถึงการเชื่อมต่อระบบกับภาคเอกชนอนาคตด้วย โดยต้องกำหนดมาตรฐานของระบบที่จะไม่ก่อให้เกิดต้นทุนในการพัฒนาระบบของภาคเอกชน
3. กระทรวงที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาระบบ Logistics ตามแผนยุทธศาสตร์และมาตรการในทางปฏิบัติ ตลอดจนหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ ควรมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานแล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบถึงความคืบหน้าเป็นระยะ ๆ เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาระบบ Logistics ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. ควรกำหนดหน้าที่ของ Logistics Council ให้ครอบคลุมถึงการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณากำหนดต้นทุนหรืออัตราค่าบริการที่จะเรียกเก็บต่อไปในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-