คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานผลงานการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดเกี่ยวกับผลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดกระทรวงสาธารณสุขประจำเดือนสิงหาคม (ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม - 26 สิงหาคม 2547) ดังนี้
ยอดสะสม (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545 - 26 สิงหาคม 2547) ข้อมูลการบำบัดรักษายาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข จากการรายงานทั้งสิ้น 76 จังหวัด ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545- 26 สิงหาคม 2547 สถานบำบัดรักษายาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 6,733 แห่ง ซึ่งเป็นสถานบำบัดสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 93 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 721 แห่ง PCU/สถานีอนามัย 5,892 แห่ง สถานบำบัดสังกัดกรมการแพทย์ 10 แห่ง สถานบำบัดสังกัดกรมสุขภาพจิต 17 แห่ง ได้ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 547,079 ราย คิดเป็นร้อยละ 199.50 ของเป้าหมายการให้บริการตามศักยภาพสถานบำบัดที่ให้การรักษามากที่สุดในระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 184,281 ราย (ร้อยละ 33.68) ระดับ PCU/สถานีอนามัย 176,476 ราย (ร้อยละ 32.26) โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 67,614 ราย (ร้อยละ 12.36) สังกัดกรมสุขภาพจิต 65,150 ราย (ร้อยละ 11.91) สังกัดกรมการแพทย์ 53,558 ราย (ร้อยละ 9.79) แยกวิธีการบำบัดรักษาดังนี้ การบำบัดในชุมชน 243,762 ราย (ร้อยละ 44.56) ผู้ป่วยนอก 266,210 ราย (ร้อยละ 48.66) ผู้ป่วยใน 37,107 ราย (ร้อยละ 6.78) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดในชุมชนให้บริการสูงสุด คือระดับ PCU/สถานีอนามัย วิธีผู้ป่วยนอกสูงสุดคือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน และวิธีผู้ป่วยในให้บริการสูงสุดคือ สถานพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์
ลักษณะการบำบัดของผู้มารับการบริการ เป็นการมารับการบำบัดโดยสมัครใจเป็นจำนวน 517,229 ราย (ร้อยละ 94.54) โดยบังคับบำบัด 29,850 ราย (ร้อยละ 5.46) สถานบำบัดที่ให้บริการบำบัด โดยสมัครใจสูงสุด คือ PCU/สอ. และบังคับบำบัด สูงสุด คือ ระดับ โรงพยาบาลชุมชน
รายเดือน (วันที่ 30 กรกฎาคม - 26 สิงหาคม 2547) ในระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม- 26 สิงหาคม 2547 มีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษาทั้งสิ้นจำนวน 5,792 ราย สถานบำบัดที่ให้การบำบัดมากที่สุดคือ สังกัดกรมสุขภาพจิต 2,427 ราย (ร้อยละ 41.90) สังกัดกรมการแพทย์ 1,234 ราย (ร้อยละ 21.31) ระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 953 ราย (ร้อยละ 16.45) ระดับ PCU/สถานีอนามัย จำนวน 641 ราย (ร้อยละ 11.07) ระดับโรงพยาบาลชุมชน 537 ราย (ร้อยละ 9.27)
แยกวิธีการบำบัดรักษาดังนี้ การบำบัดรักษาโดยบำบัดในชุมชน 1 ราย (ร้อยละ 0.02) วิธีผู้ป่วยนอก 4,623 ราย (ร้อยละ 79.82) วิธีผู้ป่วยใน 1,168 ราย (ร้อยละ 20.16) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดโดยวิธีบำบัดในชุมชนสูงสุด คือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน โดยวิธีผู้ป่วยนอกสูงสุด คือสถานบริการสังกัดกรมสุขภาพจิต สำหรับวิธีผู้ป่วยในบริการสูงสุด คือ สังกัดกรมการแพทย์
ลักษณะการบำบัดของผู้มารับการบริการ เป็นการมารับการบำบัดโดยสมัครใจ เป็นจำนวน 5,262 ราย (ร้อยละ 90.85) โดยการบังคับบำบัดจำนวน 530 ราย (ร้อยละ 9.15) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดโดยสมัครใจสูงสุดคือ กรมสุขภาพจิต และบังคับบำบัดให้บริการสูงสุด คือ สังกัดกรมการแพทย์หมายเหตุ :
1. ข้อมูลสะสมจาก 76 จังหวัด ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2547 เวลา 15.00 น.
2. จังหวัด ขอแก้ไขและปรับเปลี่ยนข้อมูลในยอดสะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
ยอดสะสม (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545 - 26 สิงหาคม 2547) ข้อมูลการบำบัดรักษายาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข จากการรายงานทั้งสิ้น 76 จังหวัด ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545- 26 สิงหาคม 2547 สถานบำบัดรักษายาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 6,733 แห่ง ซึ่งเป็นสถานบำบัดสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 93 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 721 แห่ง PCU/สถานีอนามัย 5,892 แห่ง สถานบำบัดสังกัดกรมการแพทย์ 10 แห่ง สถานบำบัดสังกัดกรมสุขภาพจิต 17 แห่ง ได้ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 547,079 ราย คิดเป็นร้อยละ 199.50 ของเป้าหมายการให้บริการตามศักยภาพสถานบำบัดที่ให้การรักษามากที่สุดในระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 184,281 ราย (ร้อยละ 33.68) ระดับ PCU/สถานีอนามัย 176,476 ราย (ร้อยละ 32.26) โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 67,614 ราย (ร้อยละ 12.36) สังกัดกรมสุขภาพจิต 65,150 ราย (ร้อยละ 11.91) สังกัดกรมการแพทย์ 53,558 ราย (ร้อยละ 9.79) แยกวิธีการบำบัดรักษาดังนี้ การบำบัดในชุมชน 243,762 ราย (ร้อยละ 44.56) ผู้ป่วยนอก 266,210 ราย (ร้อยละ 48.66) ผู้ป่วยใน 37,107 ราย (ร้อยละ 6.78) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดในชุมชนให้บริการสูงสุด คือระดับ PCU/สถานีอนามัย วิธีผู้ป่วยนอกสูงสุดคือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน และวิธีผู้ป่วยในให้บริการสูงสุดคือ สถานพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์
ลักษณะการบำบัดของผู้มารับการบริการ เป็นการมารับการบำบัดโดยสมัครใจเป็นจำนวน 517,229 ราย (ร้อยละ 94.54) โดยบังคับบำบัด 29,850 ราย (ร้อยละ 5.46) สถานบำบัดที่ให้บริการบำบัด โดยสมัครใจสูงสุด คือ PCU/สอ. และบังคับบำบัด สูงสุด คือ ระดับ โรงพยาบาลชุมชน
รายเดือน (วันที่ 30 กรกฎาคม - 26 สิงหาคม 2547) ในระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม- 26 สิงหาคม 2547 มีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษาทั้งสิ้นจำนวน 5,792 ราย สถานบำบัดที่ให้การบำบัดมากที่สุดคือ สังกัดกรมสุขภาพจิต 2,427 ราย (ร้อยละ 41.90) สังกัดกรมการแพทย์ 1,234 ราย (ร้อยละ 21.31) ระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 953 ราย (ร้อยละ 16.45) ระดับ PCU/สถานีอนามัย จำนวน 641 ราย (ร้อยละ 11.07) ระดับโรงพยาบาลชุมชน 537 ราย (ร้อยละ 9.27)
แยกวิธีการบำบัดรักษาดังนี้ การบำบัดรักษาโดยบำบัดในชุมชน 1 ราย (ร้อยละ 0.02) วิธีผู้ป่วยนอก 4,623 ราย (ร้อยละ 79.82) วิธีผู้ป่วยใน 1,168 ราย (ร้อยละ 20.16) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดโดยวิธีบำบัดในชุมชนสูงสุด คือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน โดยวิธีผู้ป่วยนอกสูงสุด คือสถานบริการสังกัดกรมสุขภาพจิต สำหรับวิธีผู้ป่วยในบริการสูงสุด คือ สังกัดกรมการแพทย์
ลักษณะการบำบัดของผู้มารับการบริการ เป็นการมารับการบำบัดโดยสมัครใจ เป็นจำนวน 5,262 ราย (ร้อยละ 90.85) โดยการบังคับบำบัดจำนวน 530 ราย (ร้อยละ 9.15) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดโดยสมัครใจสูงสุดคือ กรมสุขภาพจิต และบังคับบำบัดให้บริการสูงสุด คือ สังกัดกรมการแพทย์หมายเหตุ :
1. ข้อมูลสะสมจาก 76 จังหวัด ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2547 เวลา 15.00 น.
2. จังหวัด ขอแก้ไขและปรับเปลี่ยนข้อมูลในยอดสะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-