แท็ก
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
โครงการรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้าสีม่วง
คณะรัฐมนตรี
รฟม.
ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ
คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสีม่วงบางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ และให้ดำเนินการต่อไปนี้ ดังนี้
1.1 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ
1.2 ให้ รฟม. ศึกษาความเหมาะสม (รวมศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม) เพิ่มเติมและดำเนินการออกแบบรายละเอียด และก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ ในกรอบวงเงินจำนวน 46,704 ล้านบาท
1.3 ให้ รฟม. ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาและผู้รับจ้างของโครงการฯ ดังนี้
1.3.1 ที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสมออกแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการฯ ในวงเงินจำนวนเงิน 350 ล้านบาท และผู้รับจ้างสำรวจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทางโครงการ ฯ ในวงเงินจำนวน 18 ล้านบาท
1.3.2 ที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้างโครงการ ในวงเงินจำนวน 220 ล้านบาท และที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการ ในวงเงินจำนวน 556 ล้านบาท
โดยให้ รฟม. กู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
1.4 เห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการฯ ในวงเงินจำนวน 1,587 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการฯ ให้ รฟม. ต่อไป หากสำนักงบประมาณไม่สามารถจัดสรรงบประมาณดังกล่าวได้ ให้ รฟม. กู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวและสำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณชดเชยให้แก่ รฟม. เป็นรายปีต่อไป
1.5 เห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการว่าจ้างผู้รับเหมาดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ภายหลังออกแบบรายละเอียดโครงการฯ เสร็จแล้ว ในวงเงินค่าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า จำนวน 43,973 ล้านบาท โดยผู้รับเหมาจะได้รับค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายทางการเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนทั้งหมดภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จจากรัฐบาล หรือก่อนการก่อสร้างแล้วเสร็จ หากเมื่อถึงกำหนดแล้วเสร็จของโครงการแล้ว ยังไม่สามารถหาข้อยุติของรูปแบบการระดมทุนดังกล่าวได้ ขอให้รัฐบาลอนุมัติให้ รฟม. หาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมโดยความเห็นชอบจากระทรวงการคลังเพื่อนำมาชำระค่าก่อสร้างและ ค่าใช้จ่ายทางการเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน
1.6 เห็นชอบให้ รฟม. สามารถลงนามในสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาทำการก่อสร้างโครงการฯ โดยที่ยังไม่มีเงินเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ ได้
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฏีกาและร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ฉบับ และส่งให้สำนัก-งานคณะกรรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไป โดยร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ฉบับ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบอีกครั้งหนึ่งเมื่อพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างสำนักนายกรัฐมนตรีประกอบด้วย
2.1 ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
2.2 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่อำเภอ- บางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ... เป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน
2.3 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่ที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ... เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน
กระทรวงคมนาคมเสนอว่า รฟม. ได้ขออนุมัติดำเนินการออกแบบรายละเอียดและก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. แนวเส้นทางและลักษณะโครงการ เป็นทางวิ่งยกระดับไปตามแนวกลางถนนเป็นส่วนใหญ่ ผ่านบริเวณสำคัญ ได้แก่ บางใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนหนาแน่นขนาดใหญ่ผ่านรัตนาธิเบศร์ สะพานพระนั่งเกล้า ถนนติวานนท์ สี่แยกนนทบุรี สี่แยกวงศ์สว่างเตาปูน และเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล มีโครงการสร้างเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระนั่งเกล้า 1 แห่ง รวมระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ส่วนระบบรถไฟฟ้าใช้ระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail) สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล
2. สถานะโครงการ
2.1 สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของโครงการแล้ว ตามโครงการศึกษาการแปลงแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องไปสู่การปฏิบัติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2547 และวันที่ 7 กันยายน 2547 รับทราบแล้ว
2.2 การออกแบบ และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม รฟม. ได้ดำเนินการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการในช่วงพระนั่งเกล้า - บางซื่อแล้ว ส่วนเส้นทางที่เหลือจากบางใหญ่ - สะพานพระนั่งเกล้า เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้ออกแบบและยังไม่ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม3. ประมาณค่าใช้จ่ายโครงการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ จะมีค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 46,704 ล้านบาท ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว
4. จำนวนผู้โดยสาร ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจและผลตอบแทนทางด้านการเงินของโครงการ
4.1 ประมาณการจำนวนผู้โดยสารในปี 2553 ในส่วนของสายสีม่วง ช่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะมีจำนวนผู้โดยสารประมาณ 416,000 คนต่อวัน
4.2 ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจของโครงการ (EIRR) รถไฟฟ้าภาพรวม (291 กิโลเมตร) ให้ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) ในภาพรวมทั้งโครงข่ายในระยะ 30 ปี เท่ากับร้อยละ 20.56 (ณ ราคาน้ำมันเบนซิน 95 = 15.24 บาท/ลิตร และดีเซล = 13.12 บาท/ลิตร) และมีผลประโยชน์ตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย (B/C Ratio) เท่ากับ 2.12 เท่า และจะสามารถประหยัดหรือลดการใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 25,595 ล้านบาทต่อปี
4.3 ผลตอบแทนทางด้านการเงินของโครงการ รถไฟฟ้าในภาพรวมทั้งหมดจะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) เท่ากับร้อยละ 2.57 และโครงการรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ จะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงินเท่ากับร้อยละ 0.43
5. แผนการดำเนินงานโครงการ หากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดและก่อสร้างโครงการ ในเดือนกันยายน 2547 จะสามารถเปิดบริการได้ในเดือนกันยายน 2551 ทั้งนี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการจะต้องมีผลใช้บังคับในต้นปี พ.ศ. 2548
6. รูปแบบการลงทุนโครงการ เพื่อให้สามารถควบคุมและบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่ และสนองผลประโยชน์และความต้องการของประชาชน รัฐควรเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด (ทั้งงานโยธาและงานระบบไฟฟ้า) และจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถ หรือ รฟม. เป็นผู้เดินรถเอง
7. รูปแบบการดำเนินงานโครงการ รฟม. จะจ้างที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้างโครงการ (Project Management Consultant - PMC) จำนวน 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่ประสานและบริหารงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ารวมทั้ง 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินระยะทาง 27 กิโลเมตร ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ- ท่าพระ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มระยะทาง 24 กิโลเมตร ช่วงบางกะปิ - บางบำหรุ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ระยะทาง 40 กิโลเมตร ช่วงบางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ และจะจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการ (Construction Supervision Consultant - CSC) มีจำนวนตามโครงการฯ ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ ที่จะดำเนินการก่อนมีที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการ 1 ชุด รวมทั้งจ้างเหมาเพื่อทำการก่อสร้างงานโยธา และผู้รับเหมาเพื่อทำการจัดหา/ผลิต/ติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า ซึ่งในส่วนของโครงการฯ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ มีประมาณการค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้างโครงการ จำนวน 220 ล้านบาท
8. ขั้นตอนการดำเนินงาน เนื่องจากความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินงานโครงการฯ รฟม. เห็นควรว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) และศึกษารายละเอียดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการในช่วงบางใหญ่ - พระนั่งเกล้า ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร พร้อมกับทำการออกแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการทั้งหมดระยะเวลา 23 กิโลเมตร โดยในส่วนของโครงการฯ สะพานพระนั่งเกล้า - บางซื่อ ซึ่งมีการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการและศึกษารายละเอียดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการไว้เมื่อปี 2540 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเมื่อปี 2545 นั้น รฟม. จะดำเนินการทบทวนและปรับปรุงการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมโครงการฯ ให้เป็นปัจจุบันและศึกษารายละเอียดผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม หากมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในสาระสำคัญ ร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป
9. แผนการใช้จ่ายเงินโครงการฯ และแหล่งเงินเห็นควร
9.1 ให้ผู้รับเหมาเป็นผู้จัดหาเงินสำหรับค่าก่อสร้างงานโยธา และงานระบบรถไฟฟ้า โดยผู้รับเหมาจะได้รับเงินค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายทางการเงินพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดภายหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ
9.2 สำหรับค่าที่ดิน เห็นควรใช้เงินจากเงินงบประมาณแผ่นดินและในส่วนของค่าที่ปรึกษา โดยใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ เนื่องจากอาจจะไม่สามารถจัดสรรเงินงบประมาณได้ทันตามแผนการดำเนินงานโดยมีประมาณการแผนการใช้จ่ายและแหล่งเงินสำหรับโครงการฯ ในแต่ละปีสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
งาน 2548 2549 2550 2551 2552 รวม
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าออกแบบรายละเอียด 350 - - - - 350
2.ค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 18 - - - - 18
3.ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 315 1,272 - - - 1,587
4.ค่าก่อสร้างงานโยธา 472 4,183 12,556 10,345 - 27,556
5.ค่างานระบบรถไฟฟ้า 644 4,631 6,163 4,979 - 16,417
6.ค่าที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้างโครงการ 6 44 93 77 - 220
7.ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการ 105 141 100 90 120 556
รวม 1,910 10,271 18,912 15,491 120 46,704
หน่วย : ล้านบาท
งาน 2548 2549 2550 2551 2552 รวม แหล่งเงิน 1.เงินงบประมาณ 315 1,272 - - - 1,5872.เงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ 479 185 193 167 120 1,1443.ผู้รับเหมา 1,116 8,814 18,719 15,324 - 43,973
รวม 1,910 10,271 18,912 15,491 120 46,704
10. การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินตามแนวสายทาง เพื่อให้ รฟม. มีอำนาจเข้าสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพลักษณะและการเข้าใช้ประโยชน์บนเหนือ หรือใต้พื้นดินหรือน้ำ ที่จะก่อให้เกิดภาระในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีการเวนคืนและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนเพื่อใช้ในการก่อสร้าง จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดำเนินการตามโครงการดังกล่าว รวมทั้งการออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังกล่าวที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน รวม 3 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเสนอของ รฟม. ดังกล่าว เป็นไปตามโครงการศึกษาการแปลงแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องไปสู่การปฏิบัติ ระยะทาง 291 กิโลเมตร ในระยะ 6 ปี (พ.ศ.2547 - 2552) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบรายละเอียดการดำเนินโครงการแล้วและการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขสภาพปัญหาการจราจรกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงเป็นผลดีต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสีม่วงบางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ และให้ดำเนินการต่อไปนี้ ดังนี้
1.1 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ
1.2 ให้ รฟม. ศึกษาความเหมาะสม (รวมศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม) เพิ่มเติมและดำเนินการออกแบบรายละเอียด และก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ ในกรอบวงเงินจำนวน 46,704 ล้านบาท
1.3 ให้ รฟม. ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาและผู้รับจ้างของโครงการฯ ดังนี้
1.3.1 ที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสมออกแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการฯ ในวงเงินจำนวนเงิน 350 ล้านบาท และผู้รับจ้างสำรวจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทางโครงการ ฯ ในวงเงินจำนวน 18 ล้านบาท
1.3.2 ที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้างโครงการ ในวงเงินจำนวน 220 ล้านบาท และที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการ ในวงเงินจำนวน 556 ล้านบาท
โดยให้ รฟม. กู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
1.4 เห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการฯ ในวงเงินจำนวน 1,587 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการฯ ให้ รฟม. ต่อไป หากสำนักงบประมาณไม่สามารถจัดสรรงบประมาณดังกล่าวได้ ให้ รฟม. กู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวและสำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณชดเชยให้แก่ รฟม. เป็นรายปีต่อไป
1.5 เห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการว่าจ้างผู้รับเหมาดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ภายหลังออกแบบรายละเอียดโครงการฯ เสร็จแล้ว ในวงเงินค่าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า จำนวน 43,973 ล้านบาท โดยผู้รับเหมาจะได้รับค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายทางการเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนทั้งหมดภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จจากรัฐบาล หรือก่อนการก่อสร้างแล้วเสร็จ หากเมื่อถึงกำหนดแล้วเสร็จของโครงการแล้ว ยังไม่สามารถหาข้อยุติของรูปแบบการระดมทุนดังกล่าวได้ ขอให้รัฐบาลอนุมัติให้ รฟม. หาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมโดยความเห็นชอบจากระทรวงการคลังเพื่อนำมาชำระค่าก่อสร้างและ ค่าใช้จ่ายทางการเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน
1.6 เห็นชอบให้ รฟม. สามารถลงนามในสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาทำการก่อสร้างโครงการฯ โดยที่ยังไม่มีเงินเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ ได้
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฏีกาและร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ฉบับ และส่งให้สำนัก-งานคณะกรรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไป โดยร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ฉบับ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบอีกครั้งหนึ่งเมื่อพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างสำนักนายกรัฐมนตรีประกอบด้วย
2.1 ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
2.2 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่อำเภอ- บางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ... เป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน
2.3 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่ที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ... เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน
กระทรวงคมนาคมเสนอว่า รฟม. ได้ขออนุมัติดำเนินการออกแบบรายละเอียดและก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. แนวเส้นทางและลักษณะโครงการ เป็นทางวิ่งยกระดับไปตามแนวกลางถนนเป็นส่วนใหญ่ ผ่านบริเวณสำคัญ ได้แก่ บางใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนหนาแน่นขนาดใหญ่ผ่านรัตนาธิเบศร์ สะพานพระนั่งเกล้า ถนนติวานนท์ สี่แยกนนทบุรี สี่แยกวงศ์สว่างเตาปูน และเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล มีโครงการสร้างเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระนั่งเกล้า 1 แห่ง รวมระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ส่วนระบบรถไฟฟ้าใช้ระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail) สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล
2. สถานะโครงการ
2.1 สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของโครงการแล้ว ตามโครงการศึกษาการแปลงแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องไปสู่การปฏิบัติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2547 และวันที่ 7 กันยายน 2547 รับทราบแล้ว
2.2 การออกแบบ และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม รฟม. ได้ดำเนินการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการในช่วงพระนั่งเกล้า - บางซื่อแล้ว ส่วนเส้นทางที่เหลือจากบางใหญ่ - สะพานพระนั่งเกล้า เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้ออกแบบและยังไม่ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม3. ประมาณค่าใช้จ่ายโครงการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ จะมีค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 46,704 ล้านบาท ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว
4. จำนวนผู้โดยสาร ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจและผลตอบแทนทางด้านการเงินของโครงการ
4.1 ประมาณการจำนวนผู้โดยสารในปี 2553 ในส่วนของสายสีม่วง ช่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะมีจำนวนผู้โดยสารประมาณ 416,000 คนต่อวัน
4.2 ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจของโครงการ (EIRR) รถไฟฟ้าภาพรวม (291 กิโลเมตร) ให้ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) ในภาพรวมทั้งโครงข่ายในระยะ 30 ปี เท่ากับร้อยละ 20.56 (ณ ราคาน้ำมันเบนซิน 95 = 15.24 บาท/ลิตร และดีเซล = 13.12 บาท/ลิตร) และมีผลประโยชน์ตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย (B/C Ratio) เท่ากับ 2.12 เท่า และจะสามารถประหยัดหรือลดการใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 25,595 ล้านบาทต่อปี
4.3 ผลตอบแทนทางด้านการเงินของโครงการ รถไฟฟ้าในภาพรวมทั้งหมดจะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) เท่ากับร้อยละ 2.57 และโครงการรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ จะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงินเท่ากับร้อยละ 0.43
5. แผนการดำเนินงานโครงการ หากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดและก่อสร้างโครงการ ในเดือนกันยายน 2547 จะสามารถเปิดบริการได้ในเดือนกันยายน 2551 ทั้งนี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการจะต้องมีผลใช้บังคับในต้นปี พ.ศ. 2548
6. รูปแบบการลงทุนโครงการ เพื่อให้สามารถควบคุมและบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่ และสนองผลประโยชน์และความต้องการของประชาชน รัฐควรเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด (ทั้งงานโยธาและงานระบบไฟฟ้า) และจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถ หรือ รฟม. เป็นผู้เดินรถเอง
7. รูปแบบการดำเนินงานโครงการ รฟม. จะจ้างที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้างโครงการ (Project Management Consultant - PMC) จำนวน 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่ประสานและบริหารงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ารวมทั้ง 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินระยะทาง 27 กิโลเมตร ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ- ท่าพระ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มระยะทาง 24 กิโลเมตร ช่วงบางกะปิ - บางบำหรุ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ระยะทาง 40 กิโลเมตร ช่วงบางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ และจะจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการ (Construction Supervision Consultant - CSC) มีจำนวนตามโครงการฯ ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ ที่จะดำเนินการก่อนมีที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการ 1 ชุด รวมทั้งจ้างเหมาเพื่อทำการก่อสร้างงานโยธา และผู้รับเหมาเพื่อทำการจัดหา/ผลิต/ติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า ซึ่งในส่วนของโครงการฯ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ มีประมาณการค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้างโครงการ จำนวน 220 ล้านบาท
8. ขั้นตอนการดำเนินงาน เนื่องจากความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินงานโครงการฯ รฟม. เห็นควรว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) และศึกษารายละเอียดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการในช่วงบางใหญ่ - พระนั่งเกล้า ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร พร้อมกับทำการออกแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการทั้งหมดระยะเวลา 23 กิโลเมตร โดยในส่วนของโครงการฯ สะพานพระนั่งเกล้า - บางซื่อ ซึ่งมีการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการและศึกษารายละเอียดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการไว้เมื่อปี 2540 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเมื่อปี 2545 นั้น รฟม. จะดำเนินการทบทวนและปรับปรุงการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมโครงการฯ ให้เป็นปัจจุบันและศึกษารายละเอียดผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม หากมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในสาระสำคัญ ร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป
9. แผนการใช้จ่ายเงินโครงการฯ และแหล่งเงินเห็นควร
9.1 ให้ผู้รับเหมาเป็นผู้จัดหาเงินสำหรับค่าก่อสร้างงานโยธา และงานระบบรถไฟฟ้า โดยผู้รับเหมาจะได้รับเงินค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายทางการเงินพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดภายหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ
9.2 สำหรับค่าที่ดิน เห็นควรใช้เงินจากเงินงบประมาณแผ่นดินและในส่วนของค่าที่ปรึกษา โดยใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ เนื่องจากอาจจะไม่สามารถจัดสรรเงินงบประมาณได้ทันตามแผนการดำเนินงานโดยมีประมาณการแผนการใช้จ่ายและแหล่งเงินสำหรับโครงการฯ ในแต่ละปีสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
งาน 2548 2549 2550 2551 2552 รวม
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าออกแบบรายละเอียด 350 - - - - 350
2.ค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 18 - - - - 18
3.ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 315 1,272 - - - 1,587
4.ค่าก่อสร้างงานโยธา 472 4,183 12,556 10,345 - 27,556
5.ค่างานระบบรถไฟฟ้า 644 4,631 6,163 4,979 - 16,417
6.ค่าที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้างโครงการ 6 44 93 77 - 220
7.ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการ 105 141 100 90 120 556
รวม 1,910 10,271 18,912 15,491 120 46,704
หน่วย : ล้านบาท
งาน 2548 2549 2550 2551 2552 รวม แหล่งเงิน 1.เงินงบประมาณ 315 1,272 - - - 1,5872.เงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ 479 185 193 167 120 1,1443.ผู้รับเหมา 1,116 8,814 18,719 15,324 - 43,973
รวม 1,910 10,271 18,912 15,491 120 46,704
10. การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินตามแนวสายทาง เพื่อให้ รฟม. มีอำนาจเข้าสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพลักษณะและการเข้าใช้ประโยชน์บนเหนือ หรือใต้พื้นดินหรือน้ำ ที่จะก่อให้เกิดภาระในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีการเวนคืนและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนเพื่อใช้ในการก่อสร้าง จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดำเนินการตามโครงการดังกล่าว รวมทั้งการออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังกล่าวที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน รวม 3 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเสนอของ รฟม. ดังกล่าว เป็นไปตามโครงการศึกษาการแปลงแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องไปสู่การปฏิบัติ ระยะทาง 291 กิโลเมตร ในระยะ 6 ปี (พ.ศ.2547 - 2552) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบรายละเอียดการดำเนินโครงการแล้วและการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขสภาพปัญหาการจราจรกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงเป็นผลดีต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-