คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานกำกับและบริหารโครงการ GFMIS รายงานผลคืบหน้าและมติคณะกรรมการปรับปรุงระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS สรุปได้ดังนี้
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการปรับปรุงระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 และได้มีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 เห็นชอบในหลักการลงเงินค่าใช้จ่ายลงทุนโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) จำนวน 1,400 ล้านบาท เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2547 งบกลาง และให้สำนักงบประมาณดำเนินการต่อไปได้นั้น
คณะกรรมการปรับปรุงระบบการบริหารการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ได้ประชุมพิจารณาผลคืบหน้าการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ที่ธนาคารกรุงไทยได้ดำเนินการออกแบบจัดหา และจัดสร้างระบบงานและเครือข่ายทั่วประเทศ ตามเงื่อนไข เป้าหมาย ขอบเขต นโยบายและความต้องการที่คณะกรรมการกำกับฯ ได้กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เพื่อนำออกใช้ในทุกส่วนราชการ และหน่วยงานอิสระ โดยมีรายละเอียดและสาระสำคัญดังนี้
1. เป้าหมายระบบงาน GFMIS ประกอบด้วย
1) รวบรวมกระบวนงานด้านงบประมาณทั้งหมด ในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นรูปแบบสมบูรณ์ อาทิ AS-IS Business Blueprint ขึ้นจนครบวงจร ในด้านงบประมาณ การรับและเบิกจ่าย การบัญชีของรัฐ การกำหนดมาตรฐานข้อมูล การประเมินผลและการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถปฏิบัติการได้ครบวงจร ขนานไปกับการดำเนินการในระบบเอกสารเดิมเท่าที่จำเป็น
2) กำหนดมาตรฐานรหัส และกระบวนหลักทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เชื่อมโยงกับทุกส่วนราชการให้เป็นระบบมาตรฐานการเงินการคลัง การบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่าย ที่สามารถตรวจสอบได้อย่าง Online-Real time และสร้างศูนย์ข้อมูลกลาง
3) สร้างระบบเครือข่ายที่สามารถรองรับขอบเขต ปริมาณงานตามความต้องการของส่วนราชการหลัก และรองรับการปฏิบัติงานทั่วประเทศแบบรวมศูนย์ โดยให้ข้าราชการของทุกส่วนราชการปฏิบัติงานทั้งในระบบและกระบวนงานปัจจุบัน (AS-IS) เพื่อวัดผลและพัฒนากระบวนงาน และระบบงานเข้าสู่ระบบบูรณาการที่สมบูรณ์ (TO-BE) ในปีงบประมาณ 2549 และต่อเนื่องอย่างถาวร
4) สร้างศูนย์ข้อมูลกลาง และศูนย์ข้อมูลปฏิบัติการของหน่วยราชการระดับกรม กระทรวง และประเทศ และพัฒนาศักยภาพของระบบงาน GFMIS ให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาลในด้านความถูกต้อง โปร่งใส ขจัดการประพฤติมิชอบ เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อความผาสุขของประชาชน
2. การกำหนด 5 กลุ่มมาตรฐานรหัส ประกอบด้วย
- มาตรฐานกลุ่มรหัสโครงสร้างส่วนราชการและพื้นที่
- มาตรฐานกลุ่มรหัสงบประมาณและผลผลิต
- มาตรฐานผังบัญชี รหัสบัญชีแยกประเภท บัญชีต้นทุนและบัญชีบริหาร
- มาตรฐานกลุ่มรหัสพัสดุ GPSC (Government Product and Service Code)
- มาตรฐานกลุ่มรหัสบุคลากร
3. การกำหนด 5 กระบวนงานหลักอิเล็กทรอนิกส์
1) กระบวนงานการจัดสรร โอน/ ย้ายงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการปรับเปลี่ยน การจัดสรร/อนุมัติเงินงวด ให้เป็นไปตามแผนการใช้เงินรายเดือนของส่วนราชการที่เสนอ และสำนักงบประมาณเห็นชอบ รวมถึงดำเนินการโอน/ย้ายงบประมาณในระบบ GFMIS โดยตรง และเตรียมการยกเลิกการพิมพ์ใบงวดให้แก่ส่วนราชการ เนื่องจากส่วนราชการผู้ใช้ระบบ GFMIS สามารถเรียกดูข้อมูลการจัดสรร โอน/ย้ายงบประมาณได้ทันทีจากระบบ
2) กระบวนงานการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ การรับรู้/นำส่งรายได้แผ่นดิน และเบิกจ่ายฎีกาอิเล็กทรอนิกส์
(1) ปรับขั้นตอนการบันทึกการรับรู้/การนำส่งรายได้แผ่นดิน และการกระทบยอดรายการของส่วนราชการ โดยส่วนราชการทำการบันทึกรายการตรงในระบบ ในกรณีส่วนราชการจัดเก็บรายได้หลักที่มีปริมาณรายการมาก เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร ระบบ GFMIS จะเชื่อมโยงตรงสู่ระบบ
(2) ในด้านจ่าย ดำเนินการจ่ายตรง โอนเงินเข้าสู่บัญชีผู้ขาย และข้าราชการ เตรียมการลด/ยกเลิกเอกสารการเบิกจ่ายระหว่างส่วนราชการและกรมบัญชีกลาง/คลังจังหวัดเพื่อลดขั้นตอน เพิ่มความรวดเร็วในการเบิกจ่าย
3) กระบวนงานการจัดทำบัญชีอิเล็กทรอนิกส์แบบเกณฑ์คงค้าง บัญชีต้นทุน และบัญชีบริหาร เพื่อสร้างให้เกิดระบบงานมาตรฐานด้านการบัญชีของทุกส่วนราชการและประเทศ ทั้งนี้ เพื่อลดภาระในการปฏิบัติงาน เพิ่มความสะดวก ความรวดเร็วในการปิดบัญชี และจัดทำรายการของทุกส่วนราชการ รวมถึงการจัดทำทะเบียนสินทรัพย์ถาวรกลาง และเริ่มการบันทึกรายการบัญชีต้นทุน
4) กระบวนงานการตรวจสอบอิเล็กทรอนิกส์ สร้างให้เกิดข้อมูลเพื่อการติดตาม ตรวจสอบในระบบรวมถึงการจัดเก็บข้อมูลย้อนหลังเพื่อการตรวจสอบใน Electronic Media แทนการจัดเก็บรายการที่เป็นกระดาษ ทำให้ลดปริมาณเอกสาร และสถานที่จัดเก็บของส่วนราชการ
5) กระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดมาตรฐานรหัสพัสดุ GPSC (เพื่อสร้างให้เกิด Catalog อิเล็กทรอนิกส์กลาง เพื่อสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแบบ e-Shopping, e-Auction และ e-Tendering ในอนาคต) โดยบันทึกรายการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ ทั้งการจัดซื้อโครงการมูลค่าสูง และการจัดซื้อวัสดุใช้สอยทั่วไป มูลค่าต่ำแต่มีปริมาณมาก รวมถึงวิเคราะห์ เปรียบเทียบราคากลางพัสดุแต่ละกลุ่ม/ประเภท
4. อุปกรณ์การทำงานของศูนย์ข้อมูลหลัก (Data Center) และศูนย์สำรอง (Disaster Recovery Center)
1) ศูนย์คอมพิวเตอร์ GFMIS ประกอบไปด้วยระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Computer Servers) ที่มีสมรรถนะสูงจำนวน 38 เครื่อง ด้วยความจุ 1.2 Terra Bytes รองรับการบันทึกรายการปัจจุบันได้พร้อมกัน 1,200 Terminals และอาจรองรับเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า ในกรณีจำเป็น ซึ่งเพียงพอต่อปริมาณงานของรัฐบาลไทยอย่างน้อย 5 ปี
2) ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะ On Line Transaction Process (OLTP) และ Online Analytical Process (OLAP) ในแบบ 7x24x365 ที่ Response Time โดยเฉลี่ยไม่เกิน 3 วินาที ต่อรายการ ในสภาวะการทำงานปกติตามมาตรฐานเฉลี่ยสากล สำหรับ 1,200 Terminal
3) ศูนย์คอมพิวเตอร์ทั้งสองศูนย์แยกกัน มีการเชื่อมโยงเพื่อถ่ายโอนข้อมูลกันตลอดเวลาด้วยความเร็ว 34 MBPS เพื่อป้องกันระบบขัดข้อง และสามารถทำให้ระบบทำงานได้ตลอดเวลา (7x24x365)
4) ระบบ GFMIS มีขีดความสามารถรองรับจำนวนรายการการปฏิบัติงานของส่วนราชการได้ไม่ต่ำกว่า 4 ล้านรายการ หรือปริมาณงานประมาณ 1 ปี โดยไม่ต้องสำรองข้อมูลลงในสื่ออื่น ๆ เช่น Backup Tape
5. ระบบความปลอดภัย (Security System) ระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ของ GFMIS ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่มีคุณลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้1) Firewall สำหรับป้องกันข้อมูลแปลกปลอม และการบุกรุกจากบุคคลภายนอก2) Intrusion Detection System (IDS) สำหรับการตรวจจับการบุกรุกจากบุคคลภายนอก3) Secure Socket Layer Protocol (SSL) สำหรับตรวจสอบและเข้ารหัสลับการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องภายในระบบ เพื่อป้องกันเครื่องแปลกปลอมที่เข้าสู่ระบบ
4) Public Key Infrastructure (PKI) & Digital Key การสร้างรหัสส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล
5) Anti - Virus System ป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส ที่อาจจะแพร่กระจายในเครือข่าย และเครื่องระบบ GFMIS ที่ส่วนราชการต่าง ๆ ทั่วประเทศ
6. ระบบการสื่อสารและประสิทธิภาพเครือข่าย (GFMIS) ทั่วประเทศ GFMIS Nation - Wide - Backbone Network) เชื่อมโยง 670 หน่วยงาน ในการใช้งานวันที่ 1 ตุลาคม 2547 โดยมีคุณลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
1) เครือข่ายแบบ Virtual Private Network (VPN)
2) เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่ความเร็วไม่ต่ำกว่า 128 KBPS แบบ 7x24x365 ที่ Response Time โดยเฉลี่ย 3 วินาทีต่อรายการ ในสภาวะการทำงานปกติ 1,200 Terminal
3) มีระบบป้องกันการบุกรุกและไวรัส ที่มีประสิทธิภาพสูง ภายใต้การบริหารจัดการจากศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง
4) มีระบบสำรองของเครือข่ายหลัก
5) มีการใช้ระบบ GFMIS Card (บัตรกำหนดสิทธิของผู้ใช้งานในระบบ GFMIS) โดยนำสัญลักษณ์นกวายุภักษ์ของกระทรวงการคลัง มาใช้คู่กับสัญลักษณ์ครุฑของสำนักนายกรัฐมนตรี บนรูปแบบของบัตร GFMIS Card ที่จะออกใช้
7. โครงสร้างการรับ - จ่าย และบริหารเงินสดภาครัฐ มอบหมายให้สำนักงาน GFMIS ศึกษา ทบทวน และประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการออกแบบและจัดจ้างระบบ การรับจ่ายและโอนเงินให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นกลาง และประหยัด โดยจะทำ Payment Gateway และเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์กันกับระบบการเบิกจ่ายผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยไปสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ตามเดิม ภายใต้กรอบของกฎหมายปัจจุบัน แต่หากจำเป็นจะต้องแก้ไขกฎหมายในอนาคต ให้เสนอให้นายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป โดยในระยะเริ่มต้นขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงระบบการแต่งตั้งคลังจังหวัดให้เป็นตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไปอีกในปีงบประมาณ 2548 ระยะหนึ่ง เพื่อให้การเบิกจ่ายไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติในช่วงการเริ่มการใช้ระบบเบิกจ่ายตรงของ GFMIS
8. การปฏิบัติการในโครงการ GFMIS ในปัจจุบันและอนาคต
คณะกรรมการฯได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานโครงการ GFMIS และส่วนราชการที่ใช้ระบบ GFMIS ดำเนินการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1) ในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2547 ให้ใช้ระบบเดิมควบคู่ไปกับระบบใหม่เป็นการทดลอง และในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ให้ใช้ระบบงาน GFMIS ใหม่เป็นระบบหลัก และใช้ระบบเดิมคู่ขนานตามความจำเป็น และทยอยให้ใช้ระบบงาน GFMIS ตามความพร้อมและความเห็นชอบของสำนักงานโครงการฯ
2) ให้สำนักงานจัดแผนการฝึกอบรมส่วนราชการหลัก และผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาการฝึกให้เป็น Knowledge Worker ในขั้นสุดท้าย
3) ในส่วน Help Desk ให้ทุกส่วนราชการหลักจัดตั้งทีมงานร่วมตอบคำถาม และแก้ปัญหาของทุกส่วนราชการที่ร้องขอ ร่วมกับสำนักงาน GFMIS แบบ Tele - medicine หรือแบบรักษาทางไกล และสร้าง Website Knowledge Management ตอบปัญหาและสร้างระบบ Search และ Standard Process เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำหน้าที่ได้รวดเร็วและสะดวก
4) ให้สำนักงาน GFMIS ประสานงานกับหัวหน้าส่วนราชการในการใช้และการสาธิตระบบ MIS และ สร้าง KPI (Key Performance Indicator) ร่วมกัน เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการหารือประเด็นปัญหาในการใช้ระบบอย่างต่อเนื่อง
5) เห็นชอบข้อเสนอการขอเพิ่มจำนวน GFMIS Terminal จาก 1,000 เป็น 1,200 Terminal เพื่อติดตั้งในเขตภูมิภาคเป็นหลัก ในเงินลงทุนเดิม
6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เจรจา ทำสัญญา และทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารกรุงไทย สำหรับวงเงินลงทุน ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานและค่าบำรุงรักษา และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับงานตามเงื่อนไขของสัญญา และนัยมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 และเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบต่อไป ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองประธานกรรมการ อธิบดีกรมบัญชีกลาง รองประธานกรรมการ และกรรมการ ประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นางธนนุช ตรีทิพยบุตร) อัยการสูงสุด หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานกำกับและบริหารโครงการ GFMIS เป็นกรรมการและเลขานุการ นายนิพัทธ พุกกะณะสุต รองผู้อำนวยการสำนักงานกำกับและบริหารโครงการ GFMIS เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
7) เห็นชอบให้ทำบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติการระหว่างสำนักงานกำกับและบริหารโครงการฯ กับทุกส่วนราชการ และหน่วยงานอิสระ เพื่อเป็นกรอบกำหนดความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ และ เงื่อนไขการปฏิบัติในระบบ GFMIS โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ และให้ความเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติการ GFMIS และนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้ทุกส่วนราชการลงนามกับสำนักงานกำกับและบริหารโครงการ GFMIS และถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป และให้ถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายและนโยบายของรัฐบาลต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการปรับปรุงระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 และได้มีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 เห็นชอบในหลักการลงเงินค่าใช้จ่ายลงทุนโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) จำนวน 1,400 ล้านบาท เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2547 งบกลาง และให้สำนักงบประมาณดำเนินการต่อไปได้นั้น
คณะกรรมการปรับปรุงระบบการบริหารการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ได้ประชุมพิจารณาผลคืบหน้าการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ที่ธนาคารกรุงไทยได้ดำเนินการออกแบบจัดหา และจัดสร้างระบบงานและเครือข่ายทั่วประเทศ ตามเงื่อนไข เป้าหมาย ขอบเขต นโยบายและความต้องการที่คณะกรรมการกำกับฯ ได้กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เพื่อนำออกใช้ในทุกส่วนราชการ และหน่วยงานอิสระ โดยมีรายละเอียดและสาระสำคัญดังนี้
1. เป้าหมายระบบงาน GFMIS ประกอบด้วย
1) รวบรวมกระบวนงานด้านงบประมาณทั้งหมด ในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นรูปแบบสมบูรณ์ อาทิ AS-IS Business Blueprint ขึ้นจนครบวงจร ในด้านงบประมาณ การรับและเบิกจ่าย การบัญชีของรัฐ การกำหนดมาตรฐานข้อมูล การประเมินผลและการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถปฏิบัติการได้ครบวงจร ขนานไปกับการดำเนินการในระบบเอกสารเดิมเท่าที่จำเป็น
2) กำหนดมาตรฐานรหัส และกระบวนหลักทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เชื่อมโยงกับทุกส่วนราชการให้เป็นระบบมาตรฐานการเงินการคลัง การบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่าย ที่สามารถตรวจสอบได้อย่าง Online-Real time และสร้างศูนย์ข้อมูลกลาง
3) สร้างระบบเครือข่ายที่สามารถรองรับขอบเขต ปริมาณงานตามความต้องการของส่วนราชการหลัก และรองรับการปฏิบัติงานทั่วประเทศแบบรวมศูนย์ โดยให้ข้าราชการของทุกส่วนราชการปฏิบัติงานทั้งในระบบและกระบวนงานปัจจุบัน (AS-IS) เพื่อวัดผลและพัฒนากระบวนงาน และระบบงานเข้าสู่ระบบบูรณาการที่สมบูรณ์ (TO-BE) ในปีงบประมาณ 2549 และต่อเนื่องอย่างถาวร
4) สร้างศูนย์ข้อมูลกลาง และศูนย์ข้อมูลปฏิบัติการของหน่วยราชการระดับกรม กระทรวง และประเทศ และพัฒนาศักยภาพของระบบงาน GFMIS ให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาลในด้านความถูกต้อง โปร่งใส ขจัดการประพฤติมิชอบ เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อความผาสุขของประชาชน
2. การกำหนด 5 กลุ่มมาตรฐานรหัส ประกอบด้วย
- มาตรฐานกลุ่มรหัสโครงสร้างส่วนราชการและพื้นที่
- มาตรฐานกลุ่มรหัสงบประมาณและผลผลิต
- มาตรฐานผังบัญชี รหัสบัญชีแยกประเภท บัญชีต้นทุนและบัญชีบริหาร
- มาตรฐานกลุ่มรหัสพัสดุ GPSC (Government Product and Service Code)
- มาตรฐานกลุ่มรหัสบุคลากร
3. การกำหนด 5 กระบวนงานหลักอิเล็กทรอนิกส์
1) กระบวนงานการจัดสรร โอน/ ย้ายงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการปรับเปลี่ยน การจัดสรร/อนุมัติเงินงวด ให้เป็นไปตามแผนการใช้เงินรายเดือนของส่วนราชการที่เสนอ และสำนักงบประมาณเห็นชอบ รวมถึงดำเนินการโอน/ย้ายงบประมาณในระบบ GFMIS โดยตรง และเตรียมการยกเลิกการพิมพ์ใบงวดให้แก่ส่วนราชการ เนื่องจากส่วนราชการผู้ใช้ระบบ GFMIS สามารถเรียกดูข้อมูลการจัดสรร โอน/ย้ายงบประมาณได้ทันทีจากระบบ
2) กระบวนงานการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ การรับรู้/นำส่งรายได้แผ่นดิน และเบิกจ่ายฎีกาอิเล็กทรอนิกส์
(1) ปรับขั้นตอนการบันทึกการรับรู้/การนำส่งรายได้แผ่นดิน และการกระทบยอดรายการของส่วนราชการ โดยส่วนราชการทำการบันทึกรายการตรงในระบบ ในกรณีส่วนราชการจัดเก็บรายได้หลักที่มีปริมาณรายการมาก เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร ระบบ GFMIS จะเชื่อมโยงตรงสู่ระบบ
(2) ในด้านจ่าย ดำเนินการจ่ายตรง โอนเงินเข้าสู่บัญชีผู้ขาย และข้าราชการ เตรียมการลด/ยกเลิกเอกสารการเบิกจ่ายระหว่างส่วนราชการและกรมบัญชีกลาง/คลังจังหวัดเพื่อลดขั้นตอน เพิ่มความรวดเร็วในการเบิกจ่าย
3) กระบวนงานการจัดทำบัญชีอิเล็กทรอนิกส์แบบเกณฑ์คงค้าง บัญชีต้นทุน และบัญชีบริหาร เพื่อสร้างให้เกิดระบบงานมาตรฐานด้านการบัญชีของทุกส่วนราชการและประเทศ ทั้งนี้ เพื่อลดภาระในการปฏิบัติงาน เพิ่มความสะดวก ความรวดเร็วในการปิดบัญชี และจัดทำรายการของทุกส่วนราชการ รวมถึงการจัดทำทะเบียนสินทรัพย์ถาวรกลาง และเริ่มการบันทึกรายการบัญชีต้นทุน
4) กระบวนงานการตรวจสอบอิเล็กทรอนิกส์ สร้างให้เกิดข้อมูลเพื่อการติดตาม ตรวจสอบในระบบรวมถึงการจัดเก็บข้อมูลย้อนหลังเพื่อการตรวจสอบใน Electronic Media แทนการจัดเก็บรายการที่เป็นกระดาษ ทำให้ลดปริมาณเอกสาร และสถานที่จัดเก็บของส่วนราชการ
5) กระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดมาตรฐานรหัสพัสดุ GPSC (เพื่อสร้างให้เกิด Catalog อิเล็กทรอนิกส์กลาง เพื่อสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแบบ e-Shopping, e-Auction และ e-Tendering ในอนาคต) โดยบันทึกรายการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ ทั้งการจัดซื้อโครงการมูลค่าสูง และการจัดซื้อวัสดุใช้สอยทั่วไป มูลค่าต่ำแต่มีปริมาณมาก รวมถึงวิเคราะห์ เปรียบเทียบราคากลางพัสดุแต่ละกลุ่ม/ประเภท
4. อุปกรณ์การทำงานของศูนย์ข้อมูลหลัก (Data Center) และศูนย์สำรอง (Disaster Recovery Center)
1) ศูนย์คอมพิวเตอร์ GFMIS ประกอบไปด้วยระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Computer Servers) ที่มีสมรรถนะสูงจำนวน 38 เครื่อง ด้วยความจุ 1.2 Terra Bytes รองรับการบันทึกรายการปัจจุบันได้พร้อมกัน 1,200 Terminals และอาจรองรับเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า ในกรณีจำเป็น ซึ่งเพียงพอต่อปริมาณงานของรัฐบาลไทยอย่างน้อย 5 ปี
2) ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะ On Line Transaction Process (OLTP) และ Online Analytical Process (OLAP) ในแบบ 7x24x365 ที่ Response Time โดยเฉลี่ยไม่เกิน 3 วินาที ต่อรายการ ในสภาวะการทำงานปกติตามมาตรฐานเฉลี่ยสากล สำหรับ 1,200 Terminal
3) ศูนย์คอมพิวเตอร์ทั้งสองศูนย์แยกกัน มีการเชื่อมโยงเพื่อถ่ายโอนข้อมูลกันตลอดเวลาด้วยความเร็ว 34 MBPS เพื่อป้องกันระบบขัดข้อง และสามารถทำให้ระบบทำงานได้ตลอดเวลา (7x24x365)
4) ระบบ GFMIS มีขีดความสามารถรองรับจำนวนรายการการปฏิบัติงานของส่วนราชการได้ไม่ต่ำกว่า 4 ล้านรายการ หรือปริมาณงานประมาณ 1 ปี โดยไม่ต้องสำรองข้อมูลลงในสื่ออื่น ๆ เช่น Backup Tape
5. ระบบความปลอดภัย (Security System) ระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ของ GFMIS ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่มีคุณลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้1) Firewall สำหรับป้องกันข้อมูลแปลกปลอม และการบุกรุกจากบุคคลภายนอก2) Intrusion Detection System (IDS) สำหรับการตรวจจับการบุกรุกจากบุคคลภายนอก3) Secure Socket Layer Protocol (SSL) สำหรับตรวจสอบและเข้ารหัสลับการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องภายในระบบ เพื่อป้องกันเครื่องแปลกปลอมที่เข้าสู่ระบบ
4) Public Key Infrastructure (PKI) & Digital Key การสร้างรหัสส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล
5) Anti - Virus System ป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส ที่อาจจะแพร่กระจายในเครือข่าย และเครื่องระบบ GFMIS ที่ส่วนราชการต่าง ๆ ทั่วประเทศ
6. ระบบการสื่อสารและประสิทธิภาพเครือข่าย (GFMIS) ทั่วประเทศ GFMIS Nation - Wide - Backbone Network) เชื่อมโยง 670 หน่วยงาน ในการใช้งานวันที่ 1 ตุลาคม 2547 โดยมีคุณลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
1) เครือข่ายแบบ Virtual Private Network (VPN)
2) เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่ความเร็วไม่ต่ำกว่า 128 KBPS แบบ 7x24x365 ที่ Response Time โดยเฉลี่ย 3 วินาทีต่อรายการ ในสภาวะการทำงานปกติ 1,200 Terminal
3) มีระบบป้องกันการบุกรุกและไวรัส ที่มีประสิทธิภาพสูง ภายใต้การบริหารจัดการจากศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง
4) มีระบบสำรองของเครือข่ายหลัก
5) มีการใช้ระบบ GFMIS Card (บัตรกำหนดสิทธิของผู้ใช้งานในระบบ GFMIS) โดยนำสัญลักษณ์นกวายุภักษ์ของกระทรวงการคลัง มาใช้คู่กับสัญลักษณ์ครุฑของสำนักนายกรัฐมนตรี บนรูปแบบของบัตร GFMIS Card ที่จะออกใช้
7. โครงสร้างการรับ - จ่าย และบริหารเงินสดภาครัฐ มอบหมายให้สำนักงาน GFMIS ศึกษา ทบทวน และประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการออกแบบและจัดจ้างระบบ การรับจ่ายและโอนเงินให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นกลาง และประหยัด โดยจะทำ Payment Gateway และเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์กันกับระบบการเบิกจ่ายผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยไปสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ตามเดิม ภายใต้กรอบของกฎหมายปัจจุบัน แต่หากจำเป็นจะต้องแก้ไขกฎหมายในอนาคต ให้เสนอให้นายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป โดยในระยะเริ่มต้นขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงระบบการแต่งตั้งคลังจังหวัดให้เป็นตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไปอีกในปีงบประมาณ 2548 ระยะหนึ่ง เพื่อให้การเบิกจ่ายไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติในช่วงการเริ่มการใช้ระบบเบิกจ่ายตรงของ GFMIS
8. การปฏิบัติการในโครงการ GFMIS ในปัจจุบันและอนาคต
คณะกรรมการฯได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานโครงการ GFMIS และส่วนราชการที่ใช้ระบบ GFMIS ดำเนินการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1) ในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2547 ให้ใช้ระบบเดิมควบคู่ไปกับระบบใหม่เป็นการทดลอง และในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ให้ใช้ระบบงาน GFMIS ใหม่เป็นระบบหลัก และใช้ระบบเดิมคู่ขนานตามความจำเป็น และทยอยให้ใช้ระบบงาน GFMIS ตามความพร้อมและความเห็นชอบของสำนักงานโครงการฯ
2) ให้สำนักงานจัดแผนการฝึกอบรมส่วนราชการหลัก และผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาการฝึกให้เป็น Knowledge Worker ในขั้นสุดท้าย
3) ในส่วน Help Desk ให้ทุกส่วนราชการหลักจัดตั้งทีมงานร่วมตอบคำถาม และแก้ปัญหาของทุกส่วนราชการที่ร้องขอ ร่วมกับสำนักงาน GFMIS แบบ Tele - medicine หรือแบบรักษาทางไกล และสร้าง Website Knowledge Management ตอบปัญหาและสร้างระบบ Search และ Standard Process เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำหน้าที่ได้รวดเร็วและสะดวก
4) ให้สำนักงาน GFMIS ประสานงานกับหัวหน้าส่วนราชการในการใช้และการสาธิตระบบ MIS และ สร้าง KPI (Key Performance Indicator) ร่วมกัน เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการหารือประเด็นปัญหาในการใช้ระบบอย่างต่อเนื่อง
5) เห็นชอบข้อเสนอการขอเพิ่มจำนวน GFMIS Terminal จาก 1,000 เป็น 1,200 Terminal เพื่อติดตั้งในเขตภูมิภาคเป็นหลัก ในเงินลงทุนเดิม
6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เจรจา ทำสัญญา และทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารกรุงไทย สำหรับวงเงินลงทุน ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานและค่าบำรุงรักษา และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับงานตามเงื่อนไขของสัญญา และนัยมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 และเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบต่อไป ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองประธานกรรมการ อธิบดีกรมบัญชีกลาง รองประธานกรรมการ และกรรมการ ประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นางธนนุช ตรีทิพยบุตร) อัยการสูงสุด หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานกำกับและบริหารโครงการ GFMIS เป็นกรรมการและเลขานุการ นายนิพัทธ พุกกะณะสุต รองผู้อำนวยการสำนักงานกำกับและบริหารโครงการ GFMIS เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
7) เห็นชอบให้ทำบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติการระหว่างสำนักงานกำกับและบริหารโครงการฯ กับทุกส่วนราชการ และหน่วยงานอิสระ เพื่อเป็นกรอบกำหนดความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ และ เงื่อนไขการปฏิบัติในระบบ GFMIS โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ และให้ความเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติการ GFMIS และนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้ทุกส่วนราชการลงนามกับสำนักงานกำกับและบริหารโครงการ GFMIS และถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป และให้ถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายและนโยบายของรัฐบาลต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-