คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้กรมปศุสัตว์ใช้เงินงบกลางที่เหลือจ่ายจากยอดค่าใช้จ่ายในการทำลายสัตว์ปีก 500 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 ซึ่งคงเหลือประมาณ 208 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำลายสัตว์ปีกและค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้หวัดนกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2547-31 มีนาคม 2548 ดังนี้
1. เพื่อเป็นค่าชดเชยใช้ในการทำลายสัตว์ปีกที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกหรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกในอัตราร้อยละ 75 ของราคาสัตว์ ซึ่งอาจขายได้ในตลาดท้องที่เขตเกิดโรคระบาดสัตว์ปีก ได้แก่
1.1 สัตว์ปีกประเภทไก่ เป็ด ห่าน ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
1.2 สัตว์ปีกประเภทนก
2. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการป้องกันและควบคุมไข้หวัดนกตามที่คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธานได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. การระบาดของโรคไข้หวัดนกในรอบที่สองในช่วงเดือนกรกฎาคม 2547 กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการทำลายสัตว์ปีกที่เป็นโรคระบาดหรือเป็นพาหนะของโรคดังกล่าวในทันทีพร้อมกับมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด เนื่องจากการช่วยเหลือเกษตรกรตามหลักเกณฑ์เดิมเป็นการช่วยเหลือและชดเชยให้กับเกษตรกรในราคาที่สูงมากทำให้เกษตรกรบางรายพยายามแจ้งข้อมูลเท็จหรือชอบที่จะให้สัตว์ปีกที่เลี้ยงอยู่ถูกทำลาย เพื่อรับเงินค่าช่วยเหลือ ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการทำลายและชดใช้เงินให้กับเจ้าของสัตว์ปีกในวงเงินร้อยละ 75 ของราคาสัตว์ปีก ซึ่งอาจขายได้ในตลาดท้องถิ่นก่อนเกิดโรคระบาด
2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 กรมปศุสัตว์ได้รับงบประมาณเพื่อการนี้เพียง 1,500,000 บาท จึงไม่เพียงพอต่อการชดใช้ให้กับเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้ประมาณ 30 ล้านบาท จากจำนวนสัตว์ปีกที่ทำลายไปแล้วในรอบที่สองและคาดว่าต้องทำลาย จำนวน 300,000 ตัว จึงมีความจำเป็นต้องขอโอนเปลี่ยนแปลงงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อมาเป็นค่าชดเชยในการทำลายสัตว์ป่วยดังกล่าว และในการชดใช้ค่าทำลายสัตว์ป่วยในรอบที่สอง กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2499) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ซึ่งจ่ายในอัตราร้อยละ 75 ของราคาสัตว์ ซึ่งอาจขายได้ในตลาดท้องที่ก่อนเกิดโรคระบาด จึงไม่สอดคล้องกับแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 ซึ่งให้จ่ายทั้งเงินช่วยเหลือและชดเชย (เกินกว่าร้อยละ 100 ของราคาสัตว์)
3. สัตว์ปีกประเภทนก ได้แก่ นกกระทา นกกระจอกเทศและนกพิราบ เป็นต้น มีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในหลายท้องที่ จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดสัตว์และการทำลายสัตว์ปีกประเภทนกยังมิได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเพิ่มเติมในกฎหมายกำหนดให้สัตว์ปีกประเภทนกสามารถใช้กฎหมายควบคุมในการทำลายได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. เพื่อเป็นค่าชดเชยใช้ในการทำลายสัตว์ปีกที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกหรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกในอัตราร้อยละ 75 ของราคาสัตว์ ซึ่งอาจขายได้ในตลาดท้องที่เขตเกิดโรคระบาดสัตว์ปีก ได้แก่
1.1 สัตว์ปีกประเภทไก่ เป็ด ห่าน ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
1.2 สัตว์ปีกประเภทนก
2. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการป้องกันและควบคุมไข้หวัดนกตามที่คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธานได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. การระบาดของโรคไข้หวัดนกในรอบที่สองในช่วงเดือนกรกฎาคม 2547 กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการทำลายสัตว์ปีกที่เป็นโรคระบาดหรือเป็นพาหนะของโรคดังกล่าวในทันทีพร้อมกับมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด เนื่องจากการช่วยเหลือเกษตรกรตามหลักเกณฑ์เดิมเป็นการช่วยเหลือและชดเชยให้กับเกษตรกรในราคาที่สูงมากทำให้เกษตรกรบางรายพยายามแจ้งข้อมูลเท็จหรือชอบที่จะให้สัตว์ปีกที่เลี้ยงอยู่ถูกทำลาย เพื่อรับเงินค่าช่วยเหลือ ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการทำลายและชดใช้เงินให้กับเจ้าของสัตว์ปีกในวงเงินร้อยละ 75 ของราคาสัตว์ปีก ซึ่งอาจขายได้ในตลาดท้องถิ่นก่อนเกิดโรคระบาด
2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 กรมปศุสัตว์ได้รับงบประมาณเพื่อการนี้เพียง 1,500,000 บาท จึงไม่เพียงพอต่อการชดใช้ให้กับเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้ประมาณ 30 ล้านบาท จากจำนวนสัตว์ปีกที่ทำลายไปแล้วในรอบที่สองและคาดว่าต้องทำลาย จำนวน 300,000 ตัว จึงมีความจำเป็นต้องขอโอนเปลี่ยนแปลงงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อมาเป็นค่าชดเชยในการทำลายสัตว์ป่วยดังกล่าว และในการชดใช้ค่าทำลายสัตว์ป่วยในรอบที่สอง กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2499) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ซึ่งจ่ายในอัตราร้อยละ 75 ของราคาสัตว์ ซึ่งอาจขายได้ในตลาดท้องที่ก่อนเกิดโรคระบาด จึงไม่สอดคล้องกับแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 ซึ่งให้จ่ายทั้งเงินช่วยเหลือและชดเชย (เกินกว่าร้อยละ 100 ของราคาสัตว์)
3. สัตว์ปีกประเภทนก ได้แก่ นกกระทา นกกระจอกเทศและนกพิราบ เป็นต้น มีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในหลายท้องที่ จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดสัตว์และการทำลายสัตว์ปีกประเภทนกยังมิได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเพิ่มเติมในกฎหมายกำหนดให้สัตว์ปีกประเภทนกสามารถใช้กฎหมายควบคุมในการทำลายได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-