คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่อง รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.) 5 ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.) ซึ่งมี พลเอกวัฒนชัย วุฒิศิริ เป็นประธาน เสนอรายงานมาโดยสรุปได้ดังนี้
1. กองทัพบกเป็นส่วนราชการประเภทนิติบุคคลของกระทรวงกลาโหมต่อมาได้จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) ขึ้นเป็นส่วนงานย่อยเมื่อ พ.ศ.2500 เพื่อฝึกเจ้าหน้าที่ด้านวิทยุโทรทัศน์ เพื่อฝึกเจ้าหน้าที่ด้านวิทยุโทรทัศน์ เพื่อบริการความรู้และความบันเทิง และเพื่อเป็นสื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกิจการทหารกับประชาชน มีคณะกรรมการบริหารวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ซึ่งมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นประธาน เป็นผู้กำกับดูแล มีผู้อำนวยการสถานีเป็นผู้บริหารงาน และสำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก เป็นหน่วยตรวจสอบภายใน จนเมื่อ 2542 จึงได้ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบ
2. ในเดือนมีนาคม 2540 ได้มีการจัดตั้งบริษัท ททบ.5 จำกัด ขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการดำเนินธุรกิจให้สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ในการบริหารงานอย่างคล่องตัวและสามารถแข่งขันกับธุรกิจทำนองเดียวกันได้ โดยมีทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท และทุนชำระแล้ว 250 ล้านบาท กองทัพบกถือหุ้นร้อยละ 100 ต่อมาใน พ.ศ.2541 ธนาคารทหารไทยประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ กองทัพบกเห็นว่า เนื่องจากหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมถือหุ้นอยู่เป็นจำนวนมากและผู้ถือหุ้นไม่น้อยเป็นข้าราชการทหาร จึงได้เข้าช่วยเหลือโดยบริษัท ททบ.5 จำกัดกู้เงินจากสถานี ททบ.5 เพื่อนำไปซื้อหุ้นของธนาคารจำนวน 144,677,494 หุ้น เป็นเงิน 1,446,774,940 บาท ต่อมาสถานีได้แต่งตั้งให้ บริษัท ททบ. 5 จำกัด เป็นตัวแทนกู้เงินจากธนาคารทหารไทย เป็นเงิน 1,615,298,000 บาท มาลงทุนในโครงการโทรทัศน์ดาวเทียมของสถานี หนึ้สินดังกล่าวเป็นต้นเหตุของปัญหาที่เกิดกับสถานี บริษัทและกองทัพบกสืบมาปัจจุบันบริษัทเป็นหนี้สถานี 1,320,274,940 บาท และเป็นหนี้ธนาคาร 1,536,298,000 บาท ขณะที่สถานีเป็นหนี้บริษัทในจำนวนเดียวกัน หากหักกลบลบหนี้ทางบัญชีกันแล้วโดยบริษัทใช้หนี้สถานี สถานียังจะต้องคืนเงินแก่บริษัท ททบ. 5 จำกัด ในส่วนที่ยังขาดอยู่อีก 216,023,060 บาท
3. ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัท ทบบ.5 จำกัดเป็นบริษัทอาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) ปัญหาที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ เกิดจากการที่กองทัพบกต้องการแก้ปัญหาที่มีอยู่ด้วยการนำเอาบริษัทดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนและสร้างความโปร่งใสตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินการ สถานีได้ให้บริษัทเช่าเวลาและทำการตลาดเพื่อออกอากาศ โดยหวังจะเพิ่มมูลค่าของธุรกิจและศักยภาพในการแข่งขัน คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ เห็นว่า กองทัพบกไม่ได้นำสถานี ททบ.5 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หากแต่เป็นการนำบริษัท อาร์ทีเอฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากและมีวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อันเป็นเรื่องของการประกอบธุรกิจตามปกติโดยไม่ได้ให้บริษัทดังกล่าวเข้าบริหารสถานี ททบ.5 เสียเองแต่อย่างใด
4. อย่างไรก็ตามมีข้อที่น่าสังเกตว่าคณะกรรมการตรวจสอบฯ พบว่าในการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทในเวลาต่อมา บริษัทได้ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ถือหุ้นรายเดิมคนหนึ่ง คือ นายจักร จามิกรณ์ ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นสิทธิของบริษัทโดยไม่มีข้อห้ามทางกฎหมายแต่คณะกรรมการตรวจสอบฯ เห็นว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะไม่โปร่งใส ไม่สามารถอธิบายได้
5. ต่อมาบริษัทยังได้ให้บริษัทไพรเวทมีเดีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทต่างด้าวจดทะเบียนที่บริติชเวอร์จิ้น ไอส์แลนด์ เข้ามาถือหุ้นในบริษัทภายหลังการเพิ่มทุนและได้โอนสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุนธนาคารทหารไทยให้แก่บริษัทไพรเวทฯ อีกด้วย ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบฯ เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถอธิบายเหตุผลและความเหมาะสมได้เช่นกัน
6. สำหรับการให้บริษัทเช่าเวลาและทำการตลาดเป็นเวลา 30 ปี นั้น คณะกรรมการตรวจสอบฯ เห็นว่า ไม่ใช่การจัดสรรคลื่นความถี่ ไม่ใช่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการ หรืออนุญาตให้ประกอบกิจการเพิ่มเติม อันจะเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 40 และการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นความพยายามที่จะแก้ปัญหาหนี้สินสะสมที่ค้างมาเป็นเวลานานโดยใช้บริษัทเป็นกลไก ซึ่งต่อไปจะสามารถเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของกองทัพบกจากร้อยละ 30 เป็นไม่น้อยร้อยละ 70 อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของสถานี ททบ.5 ไปในตัว แนวทางการดำเนินการดังกล่าวนี้ บริษัทหลักทรัพย์ที่มีชื่อเสียงสองแห่งเป็นผู้ให้คำแนะนำและคณะกรรมการ ฯ เห็นว่าไม่ผิดปกติไปจากแนวทางที่บริษัทมหาชนจะพึงเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจ นอกจากนี้คณะกรรมการ ฯ เห็นว่า สัญญานี้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้ามาร่วมงานฯ และไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ ในข้อเท็จจริงสถานี ททบ.5 ยังคงเป็นผู้ประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์และเป็นเจ้าของคลื่นความถี่อย่างเดิม แต่คณะกรรมการเห็นว่า การทำสัญญามีระยะเวลายาว 30 ปี อาจตีความว่าเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 24 พ.ย. 2541 ที่ไม่ให้มีการทำสัญญา ขยายสัญญาหรือสัมปทานเดิมเกินสองปีหากเกินปีให้รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบก่อนการลงนามก็เป็นได้ ซึ่งควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณาประเด็นนี้ต่อไป
ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้วมีความเห็นดังนี้
1. โดยที่ทำการสัญญาให้บริษัทอาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) เช่าเวลาและทำการตลาดเป็นเวลา 30 ปี นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 และให้สิทธิบริษัทต่ออายุสัญญาได้คราวละ 10 ปี ตามสัญญาที่ทำเมื่อเดือนมิถุนายน 2547 นั้น มีระยะเวลายาวเกินไป ไม่ว่าจะเห็นว่าขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 ที่เจตนาจะระมัดระวังในการนำคลื่นความถี่ไปจัดสรรหรือขยายสัญญาหรือสัมปทานที่จะมีผลผูกพันในระยะยาวหรือไม่ก็ตาม และอันที่จริงในกรณีมีปัญหาเป็นที่สงสัย สถานี ททบ.5 ควรหารือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในการตีความมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวตามแนวปฏิบัติของส่วนราชการต่าง ๆ หรือควรหารือคณะรัฐมนตรี เพราะเป็นสัญญาที่มีผลผูกพันส่วนราชการในระยะยาวอันอาจก่อให้เกิดภาระแก่ส่วนราชการ ดังนั้น จึงควรให้กองทัพบกหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุดและกรมพระธรรมนูญ เพื่อพิจารณาสั่งการให้สถานีบอกเลิกสัญญาดังกล่าวตามความในสัญญา ข้อ 11
2. คณะกรรมการ ฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินการที่ผ่านมาหลายเรื่องน่าจะไม่โปร่งใส ไม่อาจอธิบายได้ แม้คณะกรรมการฯ จะยังมิได้สรุปว่าไม่มีการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่นับว่าไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) นั่นเอง อีกประการหนึ่ง การที่ผู้บริหารระดับสูงของกองทัพบกสถานี ททบ.5 และบริษัทอาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นรายเดียวกัน ทั้งฝ่ายผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาแล้วต่างเข้ามาทำธุรกิจด้วยกัน น่าจะเป็นเรื่องไม่เหมาะสมเสี่ยงต่อคำครหา และการตรวจสอบตามหลักการบริหารกิจการที่ดีด้วยเช่นกัน จึงควรให้กองทัพบกพิจารณาจำหน่ายหุ้นในบริษัทดังกล่าวออกไปทั้งหมด หากประสงค์จะให้บริษัทเข้ามาทำธุรกิจกับสถานี
3. โดยที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงมีข้อจำกัดหลายประการ ไม่ว่าระยะเวลาในการทำงาน ตัวบุคคลที่เป็นกรรมการ และอำนาจในการเรียกบุคคลผู้เกี่ยวข้องซึ่งมิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาสอบถาม โดยเฉพาะในเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการพยายามนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประกอบกับกรรมการบางคนตั้งข้อสังเกตว่า ก่อน พ.ศ. 2542 สถานี ททบ.5 ยังไม่มีระเบียบข้อบังคับในการจัดการเกี่ยวกับกำไร การจ่ายหรือการจัดสรรเงินกำไรของสถานีที่ชัดเจน ซึ่งแสดงว่าควรมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป แต่การตรวจสอบคงต้องใช้เวลานานและประสบปัญหาอย่างเดิมอีก และโดยที่เรื่องทำนองนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เคยรับเรื่องไว้ตรวจสอบมาก่อนแล้ว จึงควรส่งรายงานผลการตรวจสอบของคณะกรรมการชุดนี้และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับไปพิจารณาประกอบการดำเนินการโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ยังอยู่ในราชการหรืออยู่ในข่ายที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังคงมีอำนาจตรวจสอบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.) ซึ่งมี พลเอกวัฒนชัย วุฒิศิริ เป็นประธาน เสนอรายงานมาโดยสรุปได้ดังนี้
1. กองทัพบกเป็นส่วนราชการประเภทนิติบุคคลของกระทรวงกลาโหมต่อมาได้จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) ขึ้นเป็นส่วนงานย่อยเมื่อ พ.ศ.2500 เพื่อฝึกเจ้าหน้าที่ด้านวิทยุโทรทัศน์ เพื่อฝึกเจ้าหน้าที่ด้านวิทยุโทรทัศน์ เพื่อบริการความรู้และความบันเทิง และเพื่อเป็นสื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกิจการทหารกับประชาชน มีคณะกรรมการบริหารวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ซึ่งมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นประธาน เป็นผู้กำกับดูแล มีผู้อำนวยการสถานีเป็นผู้บริหารงาน และสำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก เป็นหน่วยตรวจสอบภายใน จนเมื่อ 2542 จึงได้ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบ
2. ในเดือนมีนาคม 2540 ได้มีการจัดตั้งบริษัท ททบ.5 จำกัด ขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการดำเนินธุรกิจให้สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ในการบริหารงานอย่างคล่องตัวและสามารถแข่งขันกับธุรกิจทำนองเดียวกันได้ โดยมีทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท และทุนชำระแล้ว 250 ล้านบาท กองทัพบกถือหุ้นร้อยละ 100 ต่อมาใน พ.ศ.2541 ธนาคารทหารไทยประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ กองทัพบกเห็นว่า เนื่องจากหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมถือหุ้นอยู่เป็นจำนวนมากและผู้ถือหุ้นไม่น้อยเป็นข้าราชการทหาร จึงได้เข้าช่วยเหลือโดยบริษัท ททบ.5 จำกัดกู้เงินจากสถานี ททบ.5 เพื่อนำไปซื้อหุ้นของธนาคารจำนวน 144,677,494 หุ้น เป็นเงิน 1,446,774,940 บาท ต่อมาสถานีได้แต่งตั้งให้ บริษัท ททบ. 5 จำกัด เป็นตัวแทนกู้เงินจากธนาคารทหารไทย เป็นเงิน 1,615,298,000 บาท มาลงทุนในโครงการโทรทัศน์ดาวเทียมของสถานี หนึ้สินดังกล่าวเป็นต้นเหตุของปัญหาที่เกิดกับสถานี บริษัทและกองทัพบกสืบมาปัจจุบันบริษัทเป็นหนี้สถานี 1,320,274,940 บาท และเป็นหนี้ธนาคาร 1,536,298,000 บาท ขณะที่สถานีเป็นหนี้บริษัทในจำนวนเดียวกัน หากหักกลบลบหนี้ทางบัญชีกันแล้วโดยบริษัทใช้หนี้สถานี สถานียังจะต้องคืนเงินแก่บริษัท ททบ. 5 จำกัด ในส่วนที่ยังขาดอยู่อีก 216,023,060 บาท
3. ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัท ทบบ.5 จำกัดเป็นบริษัทอาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) ปัญหาที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ เกิดจากการที่กองทัพบกต้องการแก้ปัญหาที่มีอยู่ด้วยการนำเอาบริษัทดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนและสร้างความโปร่งใสตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินการ สถานีได้ให้บริษัทเช่าเวลาและทำการตลาดเพื่อออกอากาศ โดยหวังจะเพิ่มมูลค่าของธุรกิจและศักยภาพในการแข่งขัน คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ เห็นว่า กองทัพบกไม่ได้นำสถานี ททบ.5 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หากแต่เป็นการนำบริษัท อาร์ทีเอฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากและมีวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อันเป็นเรื่องของการประกอบธุรกิจตามปกติโดยไม่ได้ให้บริษัทดังกล่าวเข้าบริหารสถานี ททบ.5 เสียเองแต่อย่างใด
4. อย่างไรก็ตามมีข้อที่น่าสังเกตว่าคณะกรรมการตรวจสอบฯ พบว่าในการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทในเวลาต่อมา บริษัทได้ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ถือหุ้นรายเดิมคนหนึ่ง คือ นายจักร จามิกรณ์ ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นสิทธิของบริษัทโดยไม่มีข้อห้ามทางกฎหมายแต่คณะกรรมการตรวจสอบฯ เห็นว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะไม่โปร่งใส ไม่สามารถอธิบายได้
5. ต่อมาบริษัทยังได้ให้บริษัทไพรเวทมีเดีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทต่างด้าวจดทะเบียนที่บริติชเวอร์จิ้น ไอส์แลนด์ เข้ามาถือหุ้นในบริษัทภายหลังการเพิ่มทุนและได้โอนสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุนธนาคารทหารไทยให้แก่บริษัทไพรเวทฯ อีกด้วย ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบฯ เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถอธิบายเหตุผลและความเหมาะสมได้เช่นกัน
6. สำหรับการให้บริษัทเช่าเวลาและทำการตลาดเป็นเวลา 30 ปี นั้น คณะกรรมการตรวจสอบฯ เห็นว่า ไม่ใช่การจัดสรรคลื่นความถี่ ไม่ใช่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการ หรืออนุญาตให้ประกอบกิจการเพิ่มเติม อันจะเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 40 และการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นความพยายามที่จะแก้ปัญหาหนี้สินสะสมที่ค้างมาเป็นเวลานานโดยใช้บริษัทเป็นกลไก ซึ่งต่อไปจะสามารถเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของกองทัพบกจากร้อยละ 30 เป็นไม่น้อยร้อยละ 70 อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของสถานี ททบ.5 ไปในตัว แนวทางการดำเนินการดังกล่าวนี้ บริษัทหลักทรัพย์ที่มีชื่อเสียงสองแห่งเป็นผู้ให้คำแนะนำและคณะกรรมการ ฯ เห็นว่าไม่ผิดปกติไปจากแนวทางที่บริษัทมหาชนจะพึงเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจ นอกจากนี้คณะกรรมการ ฯ เห็นว่า สัญญานี้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้ามาร่วมงานฯ และไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ ในข้อเท็จจริงสถานี ททบ.5 ยังคงเป็นผู้ประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์และเป็นเจ้าของคลื่นความถี่อย่างเดิม แต่คณะกรรมการเห็นว่า การทำสัญญามีระยะเวลายาว 30 ปี อาจตีความว่าเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 24 พ.ย. 2541 ที่ไม่ให้มีการทำสัญญา ขยายสัญญาหรือสัมปทานเดิมเกินสองปีหากเกินปีให้รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบก่อนการลงนามก็เป็นได้ ซึ่งควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณาประเด็นนี้ต่อไป
ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้วมีความเห็นดังนี้
1. โดยที่ทำการสัญญาให้บริษัทอาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) เช่าเวลาและทำการตลาดเป็นเวลา 30 ปี นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 และให้สิทธิบริษัทต่ออายุสัญญาได้คราวละ 10 ปี ตามสัญญาที่ทำเมื่อเดือนมิถุนายน 2547 นั้น มีระยะเวลายาวเกินไป ไม่ว่าจะเห็นว่าขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 ที่เจตนาจะระมัดระวังในการนำคลื่นความถี่ไปจัดสรรหรือขยายสัญญาหรือสัมปทานที่จะมีผลผูกพันในระยะยาวหรือไม่ก็ตาม และอันที่จริงในกรณีมีปัญหาเป็นที่สงสัย สถานี ททบ.5 ควรหารือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในการตีความมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวตามแนวปฏิบัติของส่วนราชการต่าง ๆ หรือควรหารือคณะรัฐมนตรี เพราะเป็นสัญญาที่มีผลผูกพันส่วนราชการในระยะยาวอันอาจก่อให้เกิดภาระแก่ส่วนราชการ ดังนั้น จึงควรให้กองทัพบกหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุดและกรมพระธรรมนูญ เพื่อพิจารณาสั่งการให้สถานีบอกเลิกสัญญาดังกล่าวตามความในสัญญา ข้อ 11
2. คณะกรรมการ ฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินการที่ผ่านมาหลายเรื่องน่าจะไม่โปร่งใส ไม่อาจอธิบายได้ แม้คณะกรรมการฯ จะยังมิได้สรุปว่าไม่มีการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่นับว่าไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) นั่นเอง อีกประการหนึ่ง การที่ผู้บริหารระดับสูงของกองทัพบกสถานี ททบ.5 และบริษัทอาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นรายเดียวกัน ทั้งฝ่ายผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาแล้วต่างเข้ามาทำธุรกิจด้วยกัน น่าจะเป็นเรื่องไม่เหมาะสมเสี่ยงต่อคำครหา และการตรวจสอบตามหลักการบริหารกิจการที่ดีด้วยเช่นกัน จึงควรให้กองทัพบกพิจารณาจำหน่ายหุ้นในบริษัทดังกล่าวออกไปทั้งหมด หากประสงค์จะให้บริษัทเข้ามาทำธุรกิจกับสถานี
3. โดยที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงมีข้อจำกัดหลายประการ ไม่ว่าระยะเวลาในการทำงาน ตัวบุคคลที่เป็นกรรมการ และอำนาจในการเรียกบุคคลผู้เกี่ยวข้องซึ่งมิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาสอบถาม โดยเฉพาะในเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการพยายามนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประกอบกับกรรมการบางคนตั้งข้อสังเกตว่า ก่อน พ.ศ. 2542 สถานี ททบ.5 ยังไม่มีระเบียบข้อบังคับในการจัดการเกี่ยวกับกำไร การจ่ายหรือการจัดสรรเงินกำไรของสถานีที่ชัดเจน ซึ่งแสดงว่าควรมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป แต่การตรวจสอบคงต้องใช้เวลานานและประสบปัญหาอย่างเดิมอีก และโดยที่เรื่องทำนองนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เคยรับเรื่องไว้ตรวจสอบมาก่อนแล้ว จึงควรส่งรายงานผลการตรวจสอบของคณะกรรมการชุดนี้และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับไปพิจารณาประกอบการดำเนินการโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ยังอยู่ในราชการหรืออยู่ในข่ายที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังคงมีอำนาจตรวจสอบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-