คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาค้าส่งค้าปลีกไทย ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาค้าส่งค้าปลีกไทย ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 โดย รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) เป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงที่เกี่ยวข้องและผู้บริหาร บริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานและแผนงานของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด สาระสำคัญของการประชุม สรุปดังนี้
1. ผลการดำเนินงานของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด ปี 2545-46
1.1 ร้านค้าปลีกสมัครเป็นสมาชิกสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ฯ จำนวน 40,000 ราย แต่ติดปัญหาด้านสินเชื่อธนาคารกรุงไทยที่ไม่พิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับสมาชิกร้านค้าปลีก ส่วนธนาคารนครหลวงไทยเกิดปัญหาการตรวจสอบเครดิต บูโร ทำให้ในระยะเวลา 9-10 เดือนแรกของการดำเนินงานปี 2545-2546 บริษัท ฯ ไม่มีผลงานจึงปรับปรุงรูปแบบธุรกิจ โดยบริษัท ฯ ทำหน้าที่พิจารณาให้สินเชื่อในการซื้อสินค้าและจัดตั้งศูนย์โทรศัพท์อัตโนมัติ เพื่อรับสั่งซื้อสินค้าโดยตรง ซึ่งผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 ถึงเดือนมิถุนายน 2547 สามารถรับสมัครสมาชิกได้ 13,120 ราย ตรวจสอบอนุมัติสินเชื่อ 6,123 ราย
1.2 เพิ่มประสิทธิภาพร้านค้าปลีกให้มีความสามารถยืนหยัดและได้รับความรู้ด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ อบรมให้ความรู้สมาชิก ประมาณ 50 ครั้ง และพัฒนาร้านค้าให้มีการบริหารจัดการสมัยใหม่ร้านค้าสะอาด วางสินค้าเป็นระเบียบ
1.3 ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น ทั้งนี้บริษัทฯ จัดสร้างร้านซื้อสะดวกเป็นร้านต้นแบบแฟรนไชส์ โดยวางระบบการบริหารงาน และได้มีการปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ ให้มีความเข้มแข็งขึ้นตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
(นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) ให้แนวคิด
1.4 รักษาสมดุลโครงสร้างภาคการค้าไทย และเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยดำเนินการพัฒนาการตาลาดทั้งหมดของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งติดตราสัญลักษณ์ของบริษัทฯ เพื่อวางจำหน่ายภายในประเทศและออกจำหน่ายในเดือนสิงหาคม 2547
1.5 ชักจูงให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบการจัดเก็บภาษีที่ถูกต้อง และทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว สมาชิกร้านค้าปลีกจะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มโดยร้านต้นแบบแฟรนไชส์ได้เข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องแล้ว
1.6 ดำเนินงานด้วยความเป็นมืออาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัย ทำให้ต้องมีการลงทุนด้านเทคโนโลยี สารสนเทศสูง เนื่องจากจะต้องมีการดำเนินธุรกรรมในปริมาณมาก
2. รูปแบบธุรกิจของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด ปี 2547-2549 การดำเนินงานและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในปี 2546 ทำให้ต้องปรับปรุงแบบธุรกิจ
2.1 ร้านค้าสมาชิกทั่วไปเป้าหมายปี 2547 จำนวน 12,398 ร้าน มูลค่าการซื้อสินค้า 60 ล้านบาท ปี 2548 จำนวน 30,398 ร้าน มูลค่าการซื้อสินค้า 287 ล้านบาท และปี 2549 จำนวน 47,198 ร้าน มูลค่าซื้อสินค้า 682 ล้านบาท
2.2 ร้านค้าต้นแบบ ปี 2547 ตั้งเป้าหมาย จำนวน 135 ร้าน ยอดขาย 86 ล้านบาท ปี 2548 จำนวน 384 ร้าน ยอดขาย 764 ล้านบาท และปี 2549 จำนวน 624 ร้าน ยอดขาย 1,784 ล้านบาท
2.3 สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2549 เป้าหมาย 14 รายการ ยอดขาย 50 ล้านบาท ปี 2548 จำนวน 75 รายการ ยอดขาย 403 ล้านบาท
2.4 โครงการโชว์ห่วยติดล้อ หน่วยเคลื่อนที่จำหน่ายสินค้า เช่น น้ำอัดลม หมากฝรั่ง บุหรี่ เบียร์ และบัตรเติมเงิน เป็นต้น มูลค่ารถและสินค้า รวม 30,000 บาท โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จะให้สินเชื่อ ทั้งนี้เริ่มต้นจากข้าราชการทหาร ปี 2547 เป้าหมาย 500 คัน ยอดขาย 37 ล้านบาท ปี 2548 จำนวน 3,000 คัน ยอดขาย 197 ล้านบาท และปี 2549 จำนวน 5,000 คัน ยอดขาย 221 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัท ฯ จะมุ่งมั่นดำเนินการให้บรรลุความสำเร็จ โดยไม่ต้องของบสนับสนุนจากภาครัฐเพิ่มอีกและพร้อมแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อครบ 5 ปี
3. ฐานะการเงินของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด
บริษัท ฯ ได้รับงบประมาณเพื่อเป็นเงินประเดิมหุ้น จำนวน 395 ล้านบาท ปี 2545-2546 โดยได้ใช้จ่ายจัดซื้อทรัพย์สินถาวรรวมทั้งครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ มูลค่า 235 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายรายเดือน เฉลี่ยเดือนละ 5 ล้านบาท รวม 80 ล้านบาท คงเหลือเงินสด เงินฝากธนาคารและตั๋วแลกเงินธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการปี 2547 จำนวน 80 ล้านบาท
4. การขอความร่วมมือจากภาครัฐ
4.1 สื่อประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของบริษัท ฯ
4.2 ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง
4.3 การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.4 ความร่วมมือของกระทรวงพาณิชย์ในการอบรมพัฒนาร้านค้าปลีก และขอพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ในการจัดตั้งร้านค้าต้นแบบแฟรนไชส์ รวมถึงกระทรวงอื่นด้วย
4.5 ให้รัฐขอความร่วมมือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ในการนำสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เข้าจำหน่ายโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้า
5. มติที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาค้าส่งปลีกไทย รับทราบการดำเนินงานของบริษัท ฯ และประธานคณะกรรมการค้าส่งค้าปลีกไทยให้ข้อสังเกตว่า การปรับแผนธุรกิจโดยขยายขอบเขตการดำเนินงานในส่วนของการสร้างผู้ประกอบการใหม่ เป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตามขอให้บริษัทฯ ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงสร้างความเข้มแข็งผู้ค้าปลีกรายย่อยที่ต้องการช่วยเหลือผู้ค้าปลีกรายย่อยที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว ตามที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาค้าส่งค้าปลีกไทย ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 โดย รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) เป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงที่เกี่ยวข้องและผู้บริหาร บริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานและแผนงานของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด สาระสำคัญของการประชุม สรุปดังนี้
1. ผลการดำเนินงานของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด ปี 2545-46
1.1 ร้านค้าปลีกสมัครเป็นสมาชิกสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ฯ จำนวน 40,000 ราย แต่ติดปัญหาด้านสินเชื่อธนาคารกรุงไทยที่ไม่พิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับสมาชิกร้านค้าปลีก ส่วนธนาคารนครหลวงไทยเกิดปัญหาการตรวจสอบเครดิต บูโร ทำให้ในระยะเวลา 9-10 เดือนแรกของการดำเนินงานปี 2545-2546 บริษัท ฯ ไม่มีผลงานจึงปรับปรุงรูปแบบธุรกิจ โดยบริษัท ฯ ทำหน้าที่พิจารณาให้สินเชื่อในการซื้อสินค้าและจัดตั้งศูนย์โทรศัพท์อัตโนมัติ เพื่อรับสั่งซื้อสินค้าโดยตรง ซึ่งผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 ถึงเดือนมิถุนายน 2547 สามารถรับสมัครสมาชิกได้ 13,120 ราย ตรวจสอบอนุมัติสินเชื่อ 6,123 ราย
1.2 เพิ่มประสิทธิภาพร้านค้าปลีกให้มีความสามารถยืนหยัดและได้รับความรู้ด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ อบรมให้ความรู้สมาชิก ประมาณ 50 ครั้ง และพัฒนาร้านค้าให้มีการบริหารจัดการสมัยใหม่ร้านค้าสะอาด วางสินค้าเป็นระเบียบ
1.3 ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น ทั้งนี้บริษัทฯ จัดสร้างร้านซื้อสะดวกเป็นร้านต้นแบบแฟรนไชส์ โดยวางระบบการบริหารงาน และได้มีการปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ ให้มีความเข้มแข็งขึ้นตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
(นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) ให้แนวคิด
1.4 รักษาสมดุลโครงสร้างภาคการค้าไทย และเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยดำเนินการพัฒนาการตาลาดทั้งหมดของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งติดตราสัญลักษณ์ของบริษัทฯ เพื่อวางจำหน่ายภายในประเทศและออกจำหน่ายในเดือนสิงหาคม 2547
1.5 ชักจูงให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบการจัดเก็บภาษีที่ถูกต้อง และทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว สมาชิกร้านค้าปลีกจะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มโดยร้านต้นแบบแฟรนไชส์ได้เข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องแล้ว
1.6 ดำเนินงานด้วยความเป็นมืออาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัย ทำให้ต้องมีการลงทุนด้านเทคโนโลยี สารสนเทศสูง เนื่องจากจะต้องมีการดำเนินธุรกรรมในปริมาณมาก
2. รูปแบบธุรกิจของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด ปี 2547-2549 การดำเนินงานและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในปี 2546 ทำให้ต้องปรับปรุงแบบธุรกิจ
2.1 ร้านค้าสมาชิกทั่วไปเป้าหมายปี 2547 จำนวน 12,398 ร้าน มูลค่าการซื้อสินค้า 60 ล้านบาท ปี 2548 จำนวน 30,398 ร้าน มูลค่าการซื้อสินค้า 287 ล้านบาท และปี 2549 จำนวน 47,198 ร้าน มูลค่าซื้อสินค้า 682 ล้านบาท
2.2 ร้านค้าต้นแบบ ปี 2547 ตั้งเป้าหมาย จำนวน 135 ร้าน ยอดขาย 86 ล้านบาท ปี 2548 จำนวน 384 ร้าน ยอดขาย 764 ล้านบาท และปี 2549 จำนวน 624 ร้าน ยอดขาย 1,784 ล้านบาท
2.3 สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2549 เป้าหมาย 14 รายการ ยอดขาย 50 ล้านบาท ปี 2548 จำนวน 75 รายการ ยอดขาย 403 ล้านบาท
2.4 โครงการโชว์ห่วยติดล้อ หน่วยเคลื่อนที่จำหน่ายสินค้า เช่น น้ำอัดลม หมากฝรั่ง บุหรี่ เบียร์ และบัตรเติมเงิน เป็นต้น มูลค่ารถและสินค้า รวม 30,000 บาท โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จะให้สินเชื่อ ทั้งนี้เริ่มต้นจากข้าราชการทหาร ปี 2547 เป้าหมาย 500 คัน ยอดขาย 37 ล้านบาท ปี 2548 จำนวน 3,000 คัน ยอดขาย 197 ล้านบาท และปี 2549 จำนวน 5,000 คัน ยอดขาย 221 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัท ฯ จะมุ่งมั่นดำเนินการให้บรรลุความสำเร็จ โดยไม่ต้องของบสนับสนุนจากภาครัฐเพิ่มอีกและพร้อมแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อครบ 5 ปี
3. ฐานะการเงินของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด
บริษัท ฯ ได้รับงบประมาณเพื่อเป็นเงินประเดิมหุ้น จำนวน 395 ล้านบาท ปี 2545-2546 โดยได้ใช้จ่ายจัดซื้อทรัพย์สินถาวรรวมทั้งครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ มูลค่า 235 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายรายเดือน เฉลี่ยเดือนละ 5 ล้านบาท รวม 80 ล้านบาท คงเหลือเงินสด เงินฝากธนาคารและตั๋วแลกเงินธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการปี 2547 จำนวน 80 ล้านบาท
4. การขอความร่วมมือจากภาครัฐ
4.1 สื่อประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของบริษัท ฯ
4.2 ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง
4.3 การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.4 ความร่วมมือของกระทรวงพาณิชย์ในการอบรมพัฒนาร้านค้าปลีก และขอพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ในการจัดตั้งร้านค้าต้นแบบแฟรนไชส์ รวมถึงกระทรวงอื่นด้วย
4.5 ให้รัฐขอความร่วมมือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ในการนำสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เข้าจำหน่ายโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้า
5. มติที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาค้าส่งปลีกไทย รับทราบการดำเนินงานของบริษัท ฯ และประธานคณะกรรมการค้าส่งค้าปลีกไทยให้ข้อสังเกตว่า การปรับแผนธุรกิจโดยขยายขอบเขตการดำเนินงานในส่วนของการสร้างผู้ประกอบการใหม่ เป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตามขอให้บริษัทฯ ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงสร้างความเข้มแข็งผู้ค้าปลีกรายย่อยที่ต้องการช่วยเหลือผู้ค้าปลีกรายย่อยที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว ตามที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-