คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การจัดสรรเงินรางวัลจากการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 8 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ดังนี้
1. ให้กระทรวงการคลังนำหลักเกณฑ์การกันเงินงบประมาณเหลือจ่ายไว้เบิกเหลื่อมปี กรณีไม่มีหนี้ผูกผันเพื่อนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนแจ้งให้ส่วนราชการถือปฏิบัติต่อไป โดยให้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ กรณีเงินรางวัลที่จะนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจนั้น ให้กระทรวงการคลังและสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกันออกหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลตามหลัก Good Governance ทั้งของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรวมทั้งราชการส่วนท้องถิ่นด้วยโดยให้พิจารณาเรื่องการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การเลื่อนขั้นกรณีพิเศษ การไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ และการได้รับจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นในปีถัดไป เป็นต้น
2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 ต่อไป
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่าจากการที่รัฐบาลได้ประกาศสงครามเพื่อเอาชนะปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้ความสำคัญต่อการกำหนดสถานที่กลางเพื่อเป็นศูนย์รวมข่าวสารการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งส่งประกาศและเอกสารประกวดราคาให้จังหวัดก่อนวันรับซองไม่น้อยกว่า 20 วันและให้จังหวัดตรวจสอบเงื่อนไขรายละเอียดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในประกาศและเอกสารประกวดราคาว่าเป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่
(3) ให้จังหวัดสรุปผลการประกวดราคาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบครั้งแรกภายในวันที่ 15 กรกฎาคม และรายงานครั้งต่อไปภายในวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี
จากมาตรการข้างต้นหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างโดยโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความสามารถในการประหยัดงบประมาณ โดยมีวงเงินจากการประกวดราคาจำนวนหนึ่งเหลืออยู่ ควรที่จะกำหนดหลักเกณฑ์สร้างแรงจูงใจเพื่อให้ได้รับรางวัลจากการดำเนินการโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง และให้เกิดการประหยัดงบประมาณ ซึ่งเป็นแนวที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
กระทรวงมหาดไทยจึงเห็นควรกำหนดมาตรการในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกรณีสามารถประหยัดงบประมาณจากการประกวดราคาที่ต่ำกว่าราคากลาง ดังนี้
1. จัดสรรวงเงินงบประมาณที่เหลือจากการลงนามในสัญญาจ้างในส่วนที่ต่ำกว่าราคากลางออกเป็น 2 ส่วน ๆ ละเท่ากัน โดยส่วนที่ 1 ร้อยละ 50 คนเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และส่วนที่ 2 ร้อยละ 50 จัดสรรเป็นเงินรางวัลแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
2. ในส่วนที่ 2 ร้อยละ 50 กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดสรรเป็นเงินรางวัลแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
2.1 จัดสรรให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 96
2.2 จัดสรรให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภูมิภาคที่มีหน้าที่กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 3
2.3 จัดสรรให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลางที่มีหน้าที่สนับสนุน กำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 1
ทั้งนี้ หน่วยงานตาม 2.2 และ 2.3 มีส่วนช่วยเหลือเงินสนับสนุนการบริหารงบประมาณการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง ให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรมและเกิดประสิทธิภาพ ดังนี้
หน่วยงานส่วนภูมิภาค ตาม 2.2 มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามโครงการท้องถิ่นไทยใสสะอาด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ และลดปัญหาการร้องเรียนในการทุจริต ประพฤติมิชอบให้น้อยลง อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
หน่วยงานกลาง ตาม 2.3 ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติให้จังหวัดกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามภารกิจให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจนติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกำหนดราคากลางให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตลอดจนเกิดผลผลิต
สำหรับการดำเนินการจัดสรรเงินรางวัลตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นหากได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามบทกฎหมาย จะได้ดำเนินการออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดสรรเงินรางวัลต่อไป
การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ต้องได้รับการสนับสนุนจาก
1. สำนักงบประมาณ เนื่องจากมาตรการสร้างแรงจูงใจดังกล่าวเป็นการนำเงินที่เหลือจากการประกวดราคาไปจัดสรรเป็นเงินรางวัล ซึ่งในส่วนนี้ต้องได้รับความเห็นชอบในหลักการให้นำเงินงบประมาณเหลือจ่ายจากการประกวดราคาไปใช้ในการจัดสรรเป็นเงินรางวัล
2. กรมบัญชีกลาง เนื่องจากต้องโอนเงินในส่วนที่ต่ำกว่าราคากลางและค้างอยู่ที่คลังจังหวัด โอนเข้าบัญชีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดสรรเป็นเงินรางวัล
เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการจัดซื้อจัดจ้างโดยโปร่งใส และไม่ทำให้ข้าราชการเสียประโยชน์ จึงเห็นควรให้มีมาตรการเสริม ประกอบด้วย
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการกำหนดราคราคากลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่กำหนดราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ ให้ยึดถือตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการกำหนดราคากลางของจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ กำกับดูแล ตรวจสอบ การพิจารณากำหนดราคากลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. กำหนดมาตรการให้รางวัลและมีบทลงโทษคณะกรรมการกำหนดราคากลางในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการกำหนดราคากลางในจังหวัดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการกำกับดูแล
4. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณโครงการประเภทการก่อสร้าง/ปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง ให้จัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการโดยใช้วัสดุ ครุภัณฑ์ ค่าแรงตามประกาศของทางราชการเป็นหลัก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ให้กระทรวงการคลังนำหลักเกณฑ์การกันเงินงบประมาณเหลือจ่ายไว้เบิกเหลื่อมปี กรณีไม่มีหนี้ผูกผันเพื่อนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนแจ้งให้ส่วนราชการถือปฏิบัติต่อไป โดยให้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ กรณีเงินรางวัลที่จะนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจนั้น ให้กระทรวงการคลังและสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกันออกหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลตามหลัก Good Governance ทั้งของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรวมทั้งราชการส่วนท้องถิ่นด้วยโดยให้พิจารณาเรื่องการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การเลื่อนขั้นกรณีพิเศษ การไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ และการได้รับจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นในปีถัดไป เป็นต้น
2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 ต่อไป
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่าจากการที่รัฐบาลได้ประกาศสงครามเพื่อเอาชนะปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้ความสำคัญต่อการกำหนดสถานที่กลางเพื่อเป็นศูนย์รวมข่าวสารการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งส่งประกาศและเอกสารประกวดราคาให้จังหวัดก่อนวันรับซองไม่น้อยกว่า 20 วันและให้จังหวัดตรวจสอบเงื่อนไขรายละเอียดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในประกาศและเอกสารประกวดราคาว่าเป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่
(3) ให้จังหวัดสรุปผลการประกวดราคาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบครั้งแรกภายในวันที่ 15 กรกฎาคม และรายงานครั้งต่อไปภายในวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี
จากมาตรการข้างต้นหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างโดยโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความสามารถในการประหยัดงบประมาณ โดยมีวงเงินจากการประกวดราคาจำนวนหนึ่งเหลืออยู่ ควรที่จะกำหนดหลักเกณฑ์สร้างแรงจูงใจเพื่อให้ได้รับรางวัลจากการดำเนินการโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง และให้เกิดการประหยัดงบประมาณ ซึ่งเป็นแนวที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
กระทรวงมหาดไทยจึงเห็นควรกำหนดมาตรการในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกรณีสามารถประหยัดงบประมาณจากการประกวดราคาที่ต่ำกว่าราคากลาง ดังนี้
1. จัดสรรวงเงินงบประมาณที่เหลือจากการลงนามในสัญญาจ้างในส่วนที่ต่ำกว่าราคากลางออกเป็น 2 ส่วน ๆ ละเท่ากัน โดยส่วนที่ 1 ร้อยละ 50 คนเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และส่วนที่ 2 ร้อยละ 50 จัดสรรเป็นเงินรางวัลแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
2. ในส่วนที่ 2 ร้อยละ 50 กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดสรรเป็นเงินรางวัลแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
2.1 จัดสรรให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 96
2.2 จัดสรรให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภูมิภาคที่มีหน้าที่กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 3
2.3 จัดสรรให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลางที่มีหน้าที่สนับสนุน กำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 1
ทั้งนี้ หน่วยงานตาม 2.2 และ 2.3 มีส่วนช่วยเหลือเงินสนับสนุนการบริหารงบประมาณการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง ให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรมและเกิดประสิทธิภาพ ดังนี้
หน่วยงานส่วนภูมิภาค ตาม 2.2 มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามโครงการท้องถิ่นไทยใสสะอาด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ และลดปัญหาการร้องเรียนในการทุจริต ประพฤติมิชอบให้น้อยลง อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
หน่วยงานกลาง ตาม 2.3 ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติให้จังหวัดกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามภารกิจให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจนติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกำหนดราคากลางให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตลอดจนเกิดผลผลิต
สำหรับการดำเนินการจัดสรรเงินรางวัลตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นหากได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามบทกฎหมาย จะได้ดำเนินการออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดสรรเงินรางวัลต่อไป
การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ต้องได้รับการสนับสนุนจาก
1. สำนักงบประมาณ เนื่องจากมาตรการสร้างแรงจูงใจดังกล่าวเป็นการนำเงินที่เหลือจากการประกวดราคาไปจัดสรรเป็นเงินรางวัล ซึ่งในส่วนนี้ต้องได้รับความเห็นชอบในหลักการให้นำเงินงบประมาณเหลือจ่ายจากการประกวดราคาไปใช้ในการจัดสรรเป็นเงินรางวัล
2. กรมบัญชีกลาง เนื่องจากต้องโอนเงินในส่วนที่ต่ำกว่าราคากลางและค้างอยู่ที่คลังจังหวัด โอนเข้าบัญชีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดสรรเป็นเงินรางวัล
เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการจัดซื้อจัดจ้างโดยโปร่งใส และไม่ทำให้ข้าราชการเสียประโยชน์ จึงเห็นควรให้มีมาตรการเสริม ประกอบด้วย
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการกำหนดราคราคากลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่กำหนดราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ ให้ยึดถือตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการกำหนดราคากลางของจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ กำกับดูแล ตรวจสอบ การพิจารณากำหนดราคากลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. กำหนดมาตรการให้รางวัลและมีบทลงโทษคณะกรรมการกำหนดราคากลางในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการกำหนดราคากลางในจังหวัดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการกำกับดูแล
4. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณโครงการประเภทการก่อสร้าง/ปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง ให้จัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการโดยใช้วัสดุ ครุภัณฑ์ ค่าแรงตามประกาศของทางราชการเป็นหลัก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-