คณะรัฐมนตรีรับทราบการยุติมาตรการที่ 3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการ และนำมาตรการใหม่มาใช้ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
ทั้งนี้ คณะกรรมการ ก.พ. ได้พิจารณาปัญหาและแนวทางการประชาสัมพันธ์ที่ดำเนินการมาแล้ว เสียงสะท้อนจากข้าราชการที่ผ่านทางเว็บไซต์ จดหมาย สื่อมวลชนและจากสมาชิกรัฐสภาในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548 แล้วมีความเห็นดังนี้
1. มาตรการที่ 3 ดังกล่าว มีข้อดีมากกว่าข้อด้อย ในบางหน่วยงานที่มีข่าวลือมากจนก่อให้เกิดการตื่นตระหนก เช่น ครู แพทย์ พยาบาล แท้จริงปรากฎผลว่ามีการนำข้าราชการขึ้นบัญชีให้เป็นผู้เข้าร่วมมาตรการไม่มากนัก แต่โดยที่ยังมีข้อด้อยหรือจุดอ่อนดังกล่าว หากจะใช้เวลาปรับปรุงใหม่ให้ชัดเจน รัดกุม และเป็นธรรมยิ่งขึ้น ก็น่าจะเหมาะสมโดยยังสามารถสนองหลักการเดิมได้
2. เห็นควรให้นำมาตรการที่ 3 ตามที่ได้ดำเนินการมาแล้ว มาใช้บางส่วนเพียงเท่าที่ดำเนินการมาจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 เท่านั้น คือ ให้ข้าราชการที่มีปัญหาทางสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตโดยมีใบรับรองแพทย์อย่างเป็นทางการมาแสดงและประสงค์จะออกจากราชการ สามารถออกจากราชการได้โดยได้รับเงิน 8 เท่าของเงินเดือนและได้บำเหน็จบำนาญตามสิทธิเดิมเช่นเดียวกับข้าราชการที่ถูกประเมินให้อยู่ในข่าย และ อ.ก.พ. กรมเห็นควรให้เข้าร่วมมาตรการที่ 3 ได้ ซึ่งประสงค์จะออกจากราชการตั้งแต่บัดนี้ ก็ให้ออกจากราชการได้โดยได้รับเงินเดือน 8 เท่าของเงินเดือนเช่นเดียวกัน ส่วนราชการดำเนินการต่อจากนั้นไปตามมาตรการที่ 3 ให้เป็นอันยุติ
3. แม้จะยุติมาตรการที่ 3 แล้ว แต่โดยที่การพัฒนาข้าราชการที่มีจุดอ่อนหย่อนประสิทธิภาพยังจำเป็นต้องมีอยู่ต่อไป และเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาจะต้องพัฒนาข้าราชการเหล่านั้นตามมาตรา 76 มาตรา 79 และมาตรา 99 จึงให้มีมาตรการใหม่ชื่อ "มาตรการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ" เรียกโดยย่อว่า "มาตรการพัฒนาข้าราชการ" ซึ่งเน้นการฝึกฝน อบรบ ฟื้นฟู พัฒนาอารมณ์ จิตใจ ทัศนคติ วิชาความรู้ ทักษะ รวมถึงการที่อาจต้องเปลี่ยนงาน เปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ข้าราชการดังกล่าว เพื่อความเหมาะสมในการพัฒนาตนเอง โดยยังคงมีการประเมินแต่มีระยะเวลาประเมินที่ยาวนานกว่ามาตรการที่ 3 ซึ่งใช้เวลาประเมินพียง 2 วงรอบ (รวมแล้ว 1 ปี) แต่ตามมาตรการใหม่นี้ถือว่าการพิสูจน์ความพร้อมและประสิทธิภาพน่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 4 วงรอบ (รวม 2 ปี) เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาและคณะบุคคลผู้ประเมินที่หลากหลายมาร่วมในการประเมิน นอกจากนี้ แบบในการประเมินก็ควรออกแบบใหม่ตามผลพิจารณาร่วมกันระหว่าง ก.พ. ก.พ.ร. และสมาคมข้าราชการพลเรือนเพื่อให้มีมาตรฐาน ผู้ประเมินเองก็ให้ใช้องค์คณะบุคคล คือ อ.ก.พ.กรม มิใช่เพียงลำพังผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาเป็นเพียงผู้เสนอแนะเบื้องต้นเท่านั้น โดยให้ ก.พ. แก้ไขกฎ ก.พ. ตามมาตรา 21 ที่ว่า ใน อ.ก.พ.กรม ให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เป็นว่า ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวต้องเป็นบุคคลภายนอกกรม มาตรการใหม่นี้จะไม่มีการนำเรื่องร้อยละ 5 มาใช้ และอาจมีหรือไม่มีการให้เงินก้อนแก่ผู้ที่เข้าร่วมมาตรการที่ประสงค์จะออกจากราชการ หรือหากมีก็อาจไม่ถึง 8 เท่าของเงินเดือน มาตรการใหม่นี้จึงมีลักษณะเป็นมาตรการเอื้ออาทรแก่ข้าราชการที่มีจุดอ่อนต้องการการพัฒนาประสิทธิภาพ และเอื้ออาทรต่อความต้องการของประชาชนที่อยากได้รับบริการที่ดีจากข้าราชการ โดยเริ่มใช้มาตรการใหม่นี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไปดังนั้นการประเมินยังต้องมีต่อไปเช่นเดิมทุกวงรอบ 6 เดือน (มีนาคม 2548 กันยายน 2548 มีนาคม 2549) สำหรับผู้ไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์หรือตามที่กลุ่มที่กำหนดถือว่าไม่อาจพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพได้ จึงมีการนำมาตรการซึ่งอาจนำไปสู่การนำมาตรา 114 (6) มาใช้ ข้าราชการจึงควรพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
4. สำหรับผลการประเมินที่ดำเนินการไปแล้วในวงรอบที่ 1 ณ วันที่ 30 กันยายน 2547 ผู้บังคับบัญชายังคงต้องเสนอ อ.ก.พ. กรมพิจารณาตามเดิมและให้ อ.ก.พ.กรมเสนอรายชื่อพร้อมทั้งเหตุผลของการจัดลำดับให้ ก.พ. ทราบว่าได้ดำเนินการมาด้วยความเป็นธรรมหรือไม่ แม้จะไม่มีการนำผลดังกล่าวไปใช้ก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อ ก.พ. จะได้ประเมินคุณธรรมของผู้บังคับบัญชาและ อ.ก.พ. กรม ประกอบคำร้องเรียนที่เคยได้รับมาแล้ว
5. รายชื่อผู้ได้รับการประเมินในมาตรการที่ 3 และมาตรการใหม่ให้รักษาเป็นความลับ แต่ผู้บังคับบัญชาควรเรียกตัวข้าราชการผู้นั้นมาหารือว่าควรแก้ไขอย่างไร หรือผู้นั้นต้องการรับความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง ผู้บังคับบัญชาที่ข่มขู่ผู้ใต้บังคับบัญชาว่าถ้าไม่ยอมทำตามที่ตนเรียกร้องโดยไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อต่อข้าราชการด้วยกัน ถือเป็นความผิดวินัยตามมาตรา 82 และมาตรา 93
6. ให้ ก.พ. กำหนดรายละเอียดในการดำเนินการตามมาตรการใหม่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพในการพัฒนาข้าราชการความเป็นธรรม และการป้องกันการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบ หากเป็นไปได้ การประเมินผลคราวต่อไปควรมาจากผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และประชาชนผู้ใช้บริการประกอบกัน โดยมีระยะเวลาประเมินที่ยาวนานต่อเนื่องพอสมควร และแบบประเมินผลต้องมีมาตรฐาน อีกทั้งควรรับฟังความเห็นจากประชาชนด้วยว่า การจะพัฒนาให้ข้าราชการมีประสิทธิภาพควรทำอย่างไร
7. ให้นำเงินเหลือจ่ายจากมาตรการที่ 1 และ 2 มาใช้แก่ผู้เข้าร่วมมาตรการที่ 3 ที่นำมาใช้บางส่วนตามข้อ 2 ได้ และให้ ก.พ. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เร่งแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกา และ กฎ ก.พ. ที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติไปแล้วหรือยังไม่ได้อนุมัติ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการข้างต้นนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
ทั้งนี้ คณะกรรมการ ก.พ. ได้พิจารณาปัญหาและแนวทางการประชาสัมพันธ์ที่ดำเนินการมาแล้ว เสียงสะท้อนจากข้าราชการที่ผ่านทางเว็บไซต์ จดหมาย สื่อมวลชนและจากสมาชิกรัฐสภาในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548 แล้วมีความเห็นดังนี้
1. มาตรการที่ 3 ดังกล่าว มีข้อดีมากกว่าข้อด้อย ในบางหน่วยงานที่มีข่าวลือมากจนก่อให้เกิดการตื่นตระหนก เช่น ครู แพทย์ พยาบาล แท้จริงปรากฎผลว่ามีการนำข้าราชการขึ้นบัญชีให้เป็นผู้เข้าร่วมมาตรการไม่มากนัก แต่โดยที่ยังมีข้อด้อยหรือจุดอ่อนดังกล่าว หากจะใช้เวลาปรับปรุงใหม่ให้ชัดเจน รัดกุม และเป็นธรรมยิ่งขึ้น ก็น่าจะเหมาะสมโดยยังสามารถสนองหลักการเดิมได้
2. เห็นควรให้นำมาตรการที่ 3 ตามที่ได้ดำเนินการมาแล้ว มาใช้บางส่วนเพียงเท่าที่ดำเนินการมาจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 เท่านั้น คือ ให้ข้าราชการที่มีปัญหาทางสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตโดยมีใบรับรองแพทย์อย่างเป็นทางการมาแสดงและประสงค์จะออกจากราชการ สามารถออกจากราชการได้โดยได้รับเงิน 8 เท่าของเงินเดือนและได้บำเหน็จบำนาญตามสิทธิเดิมเช่นเดียวกับข้าราชการที่ถูกประเมินให้อยู่ในข่าย และ อ.ก.พ. กรมเห็นควรให้เข้าร่วมมาตรการที่ 3 ได้ ซึ่งประสงค์จะออกจากราชการตั้งแต่บัดนี้ ก็ให้ออกจากราชการได้โดยได้รับเงินเดือน 8 เท่าของเงินเดือนเช่นเดียวกัน ส่วนราชการดำเนินการต่อจากนั้นไปตามมาตรการที่ 3 ให้เป็นอันยุติ
3. แม้จะยุติมาตรการที่ 3 แล้ว แต่โดยที่การพัฒนาข้าราชการที่มีจุดอ่อนหย่อนประสิทธิภาพยังจำเป็นต้องมีอยู่ต่อไป และเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาจะต้องพัฒนาข้าราชการเหล่านั้นตามมาตรา 76 มาตรา 79 และมาตรา 99 จึงให้มีมาตรการใหม่ชื่อ "มาตรการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ" เรียกโดยย่อว่า "มาตรการพัฒนาข้าราชการ" ซึ่งเน้นการฝึกฝน อบรบ ฟื้นฟู พัฒนาอารมณ์ จิตใจ ทัศนคติ วิชาความรู้ ทักษะ รวมถึงการที่อาจต้องเปลี่ยนงาน เปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ข้าราชการดังกล่าว เพื่อความเหมาะสมในการพัฒนาตนเอง โดยยังคงมีการประเมินแต่มีระยะเวลาประเมินที่ยาวนานกว่ามาตรการที่ 3 ซึ่งใช้เวลาประเมินพียง 2 วงรอบ (รวมแล้ว 1 ปี) แต่ตามมาตรการใหม่นี้ถือว่าการพิสูจน์ความพร้อมและประสิทธิภาพน่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 4 วงรอบ (รวม 2 ปี) เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาและคณะบุคคลผู้ประเมินที่หลากหลายมาร่วมในการประเมิน นอกจากนี้ แบบในการประเมินก็ควรออกแบบใหม่ตามผลพิจารณาร่วมกันระหว่าง ก.พ. ก.พ.ร. และสมาคมข้าราชการพลเรือนเพื่อให้มีมาตรฐาน ผู้ประเมินเองก็ให้ใช้องค์คณะบุคคล คือ อ.ก.พ.กรม มิใช่เพียงลำพังผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาเป็นเพียงผู้เสนอแนะเบื้องต้นเท่านั้น โดยให้ ก.พ. แก้ไขกฎ ก.พ. ตามมาตรา 21 ที่ว่า ใน อ.ก.พ.กรม ให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เป็นว่า ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวต้องเป็นบุคคลภายนอกกรม มาตรการใหม่นี้จะไม่มีการนำเรื่องร้อยละ 5 มาใช้ และอาจมีหรือไม่มีการให้เงินก้อนแก่ผู้ที่เข้าร่วมมาตรการที่ประสงค์จะออกจากราชการ หรือหากมีก็อาจไม่ถึง 8 เท่าของเงินเดือน มาตรการใหม่นี้จึงมีลักษณะเป็นมาตรการเอื้ออาทรแก่ข้าราชการที่มีจุดอ่อนต้องการการพัฒนาประสิทธิภาพ และเอื้ออาทรต่อความต้องการของประชาชนที่อยากได้รับบริการที่ดีจากข้าราชการ โดยเริ่มใช้มาตรการใหม่นี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไปดังนั้นการประเมินยังต้องมีต่อไปเช่นเดิมทุกวงรอบ 6 เดือน (มีนาคม 2548 กันยายน 2548 มีนาคม 2549) สำหรับผู้ไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์หรือตามที่กลุ่มที่กำหนดถือว่าไม่อาจพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพได้ จึงมีการนำมาตรการซึ่งอาจนำไปสู่การนำมาตรา 114 (6) มาใช้ ข้าราชการจึงควรพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
4. สำหรับผลการประเมินที่ดำเนินการไปแล้วในวงรอบที่ 1 ณ วันที่ 30 กันยายน 2547 ผู้บังคับบัญชายังคงต้องเสนอ อ.ก.พ. กรมพิจารณาตามเดิมและให้ อ.ก.พ.กรมเสนอรายชื่อพร้อมทั้งเหตุผลของการจัดลำดับให้ ก.พ. ทราบว่าได้ดำเนินการมาด้วยความเป็นธรรมหรือไม่ แม้จะไม่มีการนำผลดังกล่าวไปใช้ก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อ ก.พ. จะได้ประเมินคุณธรรมของผู้บังคับบัญชาและ อ.ก.พ. กรม ประกอบคำร้องเรียนที่เคยได้รับมาแล้ว
5. รายชื่อผู้ได้รับการประเมินในมาตรการที่ 3 และมาตรการใหม่ให้รักษาเป็นความลับ แต่ผู้บังคับบัญชาควรเรียกตัวข้าราชการผู้นั้นมาหารือว่าควรแก้ไขอย่างไร หรือผู้นั้นต้องการรับความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง ผู้บังคับบัญชาที่ข่มขู่ผู้ใต้บังคับบัญชาว่าถ้าไม่ยอมทำตามที่ตนเรียกร้องโดยไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อต่อข้าราชการด้วยกัน ถือเป็นความผิดวินัยตามมาตรา 82 และมาตรา 93
6. ให้ ก.พ. กำหนดรายละเอียดในการดำเนินการตามมาตรการใหม่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพในการพัฒนาข้าราชการความเป็นธรรม และการป้องกันการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบ หากเป็นไปได้ การประเมินผลคราวต่อไปควรมาจากผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และประชาชนผู้ใช้บริการประกอบกัน โดยมีระยะเวลาประเมินที่ยาวนานต่อเนื่องพอสมควร และแบบประเมินผลต้องมีมาตรฐาน อีกทั้งควรรับฟังความเห็นจากประชาชนด้วยว่า การจะพัฒนาให้ข้าราชการมีประสิทธิภาพควรทำอย่างไร
7. ให้นำเงินเหลือจ่ายจากมาตรการที่ 1 และ 2 มาใช้แก่ผู้เข้าร่วมมาตรการที่ 3 ที่นำมาใช้บางส่วนตามข้อ 2 ได้ และให้ ก.พ. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เร่งแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกา และ กฎ ก.พ. ที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติไปแล้วหรือยังไม่ได้อนุมัติ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการข้างต้นนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-