คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ ตามมติ ก.พ. สำหรับงบประมาณที่จะต้องใช้จ่ายให้เจียดค่าใช้จ่ายจากงบประมาณของส่วนราชการเอง
โดยให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป และให้กระทรวงมหาดไทยรับประเด็นอภิปรายไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ ผู้ว่าราชการจังหวัดควรมีสิทธิที่จะคัดเลือก ข้าราชการบางตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ปลัดจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด ที่มีความรู้ ความสามารถเข้าร่วมปฏิบัติงาน เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำนักงาน ก.พ. เสนอว่า
1. ได้เสนอมาตรการช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ต่อที่ประชุม ก.พ. ในการประชุมครั้งที่ 6/2547 วันที่ 12 กรกฎาคม 2547 แล้ว โดย ก.พ. มีมติเห็นชอบในหลักการในเรื่อง การบริหารงานบุคคลในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ใช้กับข้าราชการทุกสังกัดที่ไปปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังกล่าว ดังนี้
1.1 ให้ข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ฯ ได้รับการพิจารณาบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ โดยให้มีโควตา การเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เป็นกรณีพิเศษเพิ่มขึ้นจากโควตาปกติ โดยกำหนดให้ได้รับโควตาพิเศษในอัตราร้อยละ 1 ของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ และเสนอให้เพิ่มให้ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ดังกล่าว ได้รับสิทธิการพิจารณาโควตาพิเศษเช่นเดียวกับข้าราชการด้วย
1.2 การนับระยะเวลาขั้นต่ำหรือระยะเวลาที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลในการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นให้นับ ดังนี้
1) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (ตำแหน่งประเภททั่วไป) และตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (6ว/7ว/8ว หรือ 6ว/7วช./8วช.) สำหรับสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 และระดับ 4 ให้นับระยะเวลาปฏิบัติงานในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2547 เป็นต้นไป เป็นเวลาทวีคูณตามหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในกรณีประกาศกฎอัยการศึกเพื่อประโยชน์เฉพาะในการนับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งจนกว่าจะมีการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ดังกล่าว
2) ตำแหน่งซึ่งมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติโดยอาศัยความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์เฉพาะตัว (4/5 หรือ 4/5/6) สำหรับสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 และระดับ 2 ให้นับระยะเวลาปฏิบัติงานในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2547 เป็นต้นไป เป็นเวลาทวีคูณ ตามหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรณีประกาศกฎอัยการศึก เพื่อประโยชน์เฉพาะในการนับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้ง และให้ยกเว้น หลักเกณฑ์ ในส่วนที่กำหนดคุณสมบัติของผู้ซึ่งจะเลื่อนตำแหน่งในเรื่องการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะเลื่อนติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนกว่าจะมีการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ดังกล่าว
1.3 การนำเสนอผลงานประเมินเพื่อการขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานย้อนหลัง 3 ปี พร้อมทั้งให้ข้าราชการนำเสนอแนวคิด วิธีการ/การแก้ปัญหางานที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ให้มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างน้อย 1 เรื่อง โดยมีรูปแบบการนำเสนอที่ไม่ยุ่งยาก
1.4 ให้ทุกส่วนราชการตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นกรณีเฉพาะ หากมีคุณสมบัติครบถ้วนมีความเหมาะสมและมีผลงานที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นเมื่อใดให้เร่งดำเนินการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยเร็ว
2. ให้นำแนวทางตามมติ ก.พ. ข้อ 1 ดังกล่าวไปปรับใช้กับข้าราชการตามกฎหมายอื่นตามความเหมาะสม
3. สนับสนุนให้ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้รับสิทธิการพิจารณาโควตาพิเศษเช่นเดียวกับข้าราชการด้วย โดยขอให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาต่อไป
4. ในขณะนี้สำนักงาน ก.พ. อยู่ในระหว่างการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 ซึ่งให้ดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเป้าหมายโดยรวมคือระบบการบริหารงานบุคคลที่ประยุกต์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นลักษณะเฉพาะพื้นที่ (Area approach) ซึ่งเอื้อให้ ภาคราชการสามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำลังศึกษาโครงการรวม 4 โครงการใหญ่ รวมถึงกำลังศึกษาถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ควรเพิ่มเติมให้แก่ข้าราชการที่ได้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
โดยให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป และให้กระทรวงมหาดไทยรับประเด็นอภิปรายไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ ผู้ว่าราชการจังหวัดควรมีสิทธิที่จะคัดเลือก ข้าราชการบางตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ปลัดจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด ที่มีความรู้ ความสามารถเข้าร่วมปฏิบัติงาน เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำนักงาน ก.พ. เสนอว่า
1. ได้เสนอมาตรการช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ต่อที่ประชุม ก.พ. ในการประชุมครั้งที่ 6/2547 วันที่ 12 กรกฎาคม 2547 แล้ว โดย ก.พ. มีมติเห็นชอบในหลักการในเรื่อง การบริหารงานบุคคลในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ใช้กับข้าราชการทุกสังกัดที่ไปปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังกล่าว ดังนี้
1.1 ให้ข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ฯ ได้รับการพิจารณาบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ โดยให้มีโควตา การเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เป็นกรณีพิเศษเพิ่มขึ้นจากโควตาปกติ โดยกำหนดให้ได้รับโควตาพิเศษในอัตราร้อยละ 1 ของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ และเสนอให้เพิ่มให้ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ดังกล่าว ได้รับสิทธิการพิจารณาโควตาพิเศษเช่นเดียวกับข้าราชการด้วย
1.2 การนับระยะเวลาขั้นต่ำหรือระยะเวลาที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลในการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นให้นับ ดังนี้
1) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (ตำแหน่งประเภททั่วไป) และตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (6ว/7ว/8ว หรือ 6ว/7วช./8วช.) สำหรับสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 และระดับ 4 ให้นับระยะเวลาปฏิบัติงานในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2547 เป็นต้นไป เป็นเวลาทวีคูณตามหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในกรณีประกาศกฎอัยการศึกเพื่อประโยชน์เฉพาะในการนับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งจนกว่าจะมีการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ดังกล่าว
2) ตำแหน่งซึ่งมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติโดยอาศัยความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์เฉพาะตัว (4/5 หรือ 4/5/6) สำหรับสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 และระดับ 2 ให้นับระยะเวลาปฏิบัติงานในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2547 เป็นต้นไป เป็นเวลาทวีคูณ ตามหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรณีประกาศกฎอัยการศึก เพื่อประโยชน์เฉพาะในการนับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้ง และให้ยกเว้น หลักเกณฑ์ ในส่วนที่กำหนดคุณสมบัติของผู้ซึ่งจะเลื่อนตำแหน่งในเรื่องการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะเลื่อนติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนกว่าจะมีการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ดังกล่าว
1.3 การนำเสนอผลงานประเมินเพื่อการขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานย้อนหลัง 3 ปี พร้อมทั้งให้ข้าราชการนำเสนอแนวคิด วิธีการ/การแก้ปัญหางานที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ให้มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างน้อย 1 เรื่อง โดยมีรูปแบบการนำเสนอที่ไม่ยุ่งยาก
1.4 ให้ทุกส่วนราชการตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นกรณีเฉพาะ หากมีคุณสมบัติครบถ้วนมีความเหมาะสมและมีผลงานที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นเมื่อใดให้เร่งดำเนินการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยเร็ว
2. ให้นำแนวทางตามมติ ก.พ. ข้อ 1 ดังกล่าวไปปรับใช้กับข้าราชการตามกฎหมายอื่นตามความเหมาะสม
3. สนับสนุนให้ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้รับสิทธิการพิจารณาโควตาพิเศษเช่นเดียวกับข้าราชการด้วย โดยขอให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาต่อไป
4. ในขณะนี้สำนักงาน ก.พ. อยู่ในระหว่างการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 ซึ่งให้ดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเป้าหมายโดยรวมคือระบบการบริหารงานบุคคลที่ประยุกต์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นลักษณะเฉพาะพื้นที่ (Area approach) ซึ่งเอื้อให้ ภาคราชการสามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำลังศึกษาโครงการรวม 4 โครงการใหญ่ รวมถึงกำลังศึกษาถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ควรเพิ่มเติมให้แก่ข้าราชการที่ได้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-