คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์นำเสนอความรุนแรงทางสื่อตามที่ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ดังนี้
1. มอบรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแลในภารกิจการขับเคลื่อนการกำจัดสื่อลามก และแหล่งจำหน่าย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย
1.1 สื่อลามกทุกรูปแบบทุกประเภทที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้กำลังฉุดคร่า ข่มขืน
1.2 สื่อลามกที่มีการนำเสนอการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว
1.3 สื่อลามกที่ใช้เด็กไม่ว่าชายหรือหญิงที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่ายินยอมหรือไม่ก็ตาม
1.4 การ์ตูนลามก
1.5 การโฆษณาจำหน่ายสื่อหรือวัตถุอันลามกในสื่อโฆษณาทุกรูปแบบ รวมทั้งการขายตรงโดยระบบไปรษณีย์ด้วย
1.6 แหล่งจำหน่าย
1.7 การจำหน่ายจ่ายแจกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่อวดอ้างสรรพคุณในการกระตุ้นเร้าอารมณ์ทางเพศที่มิใช่ยาแผนโบราณ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสั่งให้ถูกต้องตามวิชาชีพและจรรยาบรรณสื่อลามกที่เป็นที่รับรู้ในสังคมในท้องที่ต่าง ๆ
2. มอบให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีที่รับมอบหมายเป็นผู้กำกับดูแลและนำเสนอองค์ประกอบของคณะทำงานที่ประกอบด้วยหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานรอง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และหน่วยงานสนับสนุน เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ โดยให้ดำเนินการให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
3. ให้หน่วยงานของรัฐร่วมมือกับภาคประชาสังคมสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังร่วมกันอย่างมีบทบาท
4. มอบให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และกระทรวงที่เกี่ยวข้องศึกษาปัญหาเหล่านี้ ทั้งในมิติการปรับปรุงกฎหมาย เครื่องมือและยุทธศาสตร์การทำงานในการกำจัดสื่อลามกกลุ่มเป้าหมายและเสนอระบบกำกับสื่อภาพยนตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณากลางแจ้งให้เป็นระบบโดยเฉพาะการศึกษาเรตติ้งที่จัดกันในประเทศต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย และความเหมาะสมในการปรับใช้ในสังคมไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการนำมาประกอบการร่างนโยบายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมรายงานว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเผยแพร่สื่อลามกและสื่อที่ขัดต่อวัฒนธรรม เพื่อแสวงหากลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้จัดให้มีการสัมมนาระดมความคิดเรื่อง การแก้ไขปัญหาวิกฤติการนำเสนอความรุนแรงทางวัฒนธรรม ขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 เพื่อระดมความคิดจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่รับผิดชอบการดำเนินงานด้านสังคม และได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. มอบรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแลในภารกิจการขับเคลื่อนการกำจัดสื่อลามก และแหล่งจำหน่าย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย
1.1 สื่อลามกทุกรูปแบบทุกประเภทที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้กำลังฉุดคร่า ข่มขืน
1.2 สื่อลามกที่มีการนำเสนอการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว
1.3 สื่อลามกที่ใช้เด็กไม่ว่าชายหรือหญิงที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่ายินยอมหรือไม่ก็ตาม
1.4 การ์ตูนลามก
1.5 การโฆษณาจำหน่ายสื่อหรือวัตถุอันลามกในสื่อโฆษณาทุกรูปแบบ รวมทั้งการขายตรงโดยระบบไปรษณีย์ด้วย
1.6 แหล่งจำหน่าย
1.7 การจำหน่ายจ่ายแจกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่อวดอ้างสรรพคุณในการกระตุ้นเร้าอารมณ์ทางเพศที่มิใช่ยาแผนโบราณ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสั่งให้ถูกต้องตามวิชาชีพและจรรยาบรรณสื่อลามกที่เป็นที่รับรู้ในสังคมในท้องที่ต่าง ๆ
2. มอบให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีที่รับมอบหมายเป็นผู้กำกับดูแลและนำเสนอองค์ประกอบของคณะทำงานที่ประกอบด้วยหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานรอง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และหน่วยงานสนับสนุน เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ โดยให้ดำเนินการให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
3. ให้หน่วยงานของรัฐร่วมมือกับภาคประชาสังคมสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังร่วมกันอย่างมีบทบาท
4. มอบให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และกระทรวงที่เกี่ยวข้องศึกษาปัญหาเหล่านี้ ทั้งในมิติการปรับปรุงกฎหมาย เครื่องมือและยุทธศาสตร์การทำงานในการกำจัดสื่อลามกกลุ่มเป้าหมายและเสนอระบบกำกับสื่อภาพยนตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณากลางแจ้งให้เป็นระบบโดยเฉพาะการศึกษาเรตติ้งที่จัดกันในประเทศต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย และความเหมาะสมในการปรับใช้ในสังคมไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการนำมาประกอบการร่างนโยบายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมรายงานว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเผยแพร่สื่อลามกและสื่อที่ขัดต่อวัฒนธรรม เพื่อแสวงหากลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้จัดให้มีการสัมมนาระดมความคิดเรื่อง การแก้ไขปัญหาวิกฤติการนำเสนอความรุนแรงทางวัฒนธรรม ขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 เพื่อระดมความคิดจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่รับผิดชอบการดำเนินงานด้านสังคม และได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-