คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการเรื่อง การช่วยเหลือลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในระบบราชการ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอดังนี้
1. ให้ลูกจ้างประจำของฝ่ายบริหารได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพพิเศษได้เหมือนข้าราชการ
2. ให้ลูกจ้างชั่วคราวของฝ่ายบริหารที่มีอายุงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี บรรจุเป็นพนักงานราชการ และรับเงินช่วยค่าครองชีพพิเศษได้เหมือนข้าราชการ
3. ให้เจ้าสังกัดของลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการอื่นนอกจากฝ่ายบริหาร ตลอดจนลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาให้ความช่วยเหลือได้ตามที่เจ้าสังกัดกำหนด แต่อยู่ภายในกรอบงบประมาณของตนเอง
รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) รายงานการหารือเรื่อง การช่วยเหลือลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในระบบราชการ ร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการ ก.พ.ร. และผู้แทนกรมบัญชีกลางแล้ว สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ลูกจ้างประจำในราชการฝ่ายบริหาร ลูกจ้างประจำเป็นผู้ที่ส่วนราชการจ้างให้ทำงานบางอย่างแทนข้าราชการ ซึ่งยังไม่มีอัตรากำลังเปิดรองรับ โดยได้สิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับข้าราชการ แต่ไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ หากแต่ได้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และไม่มีสิทธิเป็นสมาชิก กบข. ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เคยมีมาแล้ว ลูกจ้างประจำเหล่านี้จะค่อย ๆ เกษียณอายุหมดไปในที่สุด โดยไม่มีการบรรจุแต่งตั้งเพิ่ม เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ปัจจุบันมีกรอบอัตราลูกจ้างประจำในราชการฝ่ายบริหาร รวม 157,446 อัตรา
ในการเสนอเรื่องเงินช่วยเหลือพิเศษต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547 สำนักงาน ก.พ. และกระทรวงการคลัง ได้รวมการช่วยเหลือบุคลากรประเภทนี้ไว้ในจำนวนผู้อยู่ในข่าย 350,000 คน และวงเงินที่เตรียมไว้ 3,700 ล้านบาทแล้ว
2. ลูกจ้างประจำในราชการฝ่ายอื่น ปัจจุบันราชการฝ่ายอื่น เช่น รัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง กกต. ป.ป.ช. มีลูกจ้างประจำของตนเอง โดยที่ทางราชการบริหาร (ก.พ. กระทรวงการคลัง) ไม่ได้กำหนดกรอบอัตรากำลังให้ จึงไม่มีสถิติตัวเลขและวงเงินงบประมาณที่จะต้องใช้ ดังนั้น การที่ราชการฝ่ายอื่นจะให้ลูกจ้างประจำของตนเองซึ่งบรรจุแต่งตั้งเอง และกำหนดอัตราค่าตอบแทนเองอยู่แล้ว มีสิทธิรับเงินช่วยค่าครองชีพพิเศษหรือไม่ จึงอยู่ในอำนาจของเจ้าสังกัดจะพิจารณา และอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณของตนเอง
3. ลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น อบต. อบจ. เทศบาล สามารถบรรจุแต่งตั้งลูกจ้างประจำได้เอง และกำหนดอัตราค่าตอบแทนได้เองอยู่แล้ว ดังนั้นการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดจะให้ลูกจ้างประจำของตนเองมีสิทธิรับเงินช่วยค่าครองชีพพิเศษหรือไม่ ในอัตราเท่าใด จึงอยู่ในอำนาจของเจ้าสังกัดจะพิจารณา และอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณของตนเอง
4. ลูกจ้างชั่วคราวในราชการฝ่ายบริหาร ลูกจ้างชั่วคราวหมายถึง ผู้ที่ส่วนราชการจ้างให้ทำงานบางอย่างซึ่งโดยปกติแล้วไม่ถือเป็นการปฏิบัติราชการโดยตรง แต่สนับสนุนให้การปฏิบัติราชการเป็นไปได้โดยเรียบร้อย ประหยัด และมีกำหนดเวลาสิ้นสุดภารกิจ เช่น การขับรถ การส่งเอกสาร การปลูกป่า การทำสวน การดูแลรักษาสถานที่ การวิจัย การพิมพ์เอกสาร หรือการทำงานตามโครงการเฉพาะกิจ การจ้างลูกจ้างชั่วคราวอาจเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือนหรือรายปีแต่จ้างได้คราวละไม่เกินหนึ่งปี ลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถขึ้นเงินเดือนได้ ไม่มีบำเหน็จบำนาญ ไม่มีสวัสดิการอย่างข้าราชการ ได้รับสิทธิเฉพาะเรื่องการลาและประกันสังคม
ลูกจ้างชั่วคราวในระบบราชการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากงบประมาณหมวดค่าตอบแทนบุคลากร เช่น ขับรถ พิมพ์ดีด
ประเภทที่ 2 ลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากงบประมาณโครงการเฉพาะกิจของส่วนราชการ เช่น ปลูกป่า
ประเภทที่ 3 ลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินนอกงบประมาณ เช่น ลูกจ้างในมหาวิทยาลัย ลูกจ้างของโรงพยาบาล
สำหรับลูกจ้างประเภทที่ 2 และ 3 นั้น โดยที่เป็นเรื่องภายในของแต่ละส่วนราชการ ก.พ. และกระทรวงการคลังไม่ได้เป็นผู้ดูแลกรอบอัตรากำลังและวงเงินงบประมาณให้ จึงเป็นเรื่องภายในส่วนราชการนั้น ๆ ที่จะพิจารณาให้การช่วยเหลือเอง แต่ที่คณะรัฐมนตรีควรพิจารณามาตรการความช่วยเหลือเป็นพิเศษคือ ลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1
ปัจจุบันมีกรอบอัตราลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1 ในราชการฝ่ายบริหารรวม 449,193 อัตรา แต่มีตัวคนบรรจุอยู่จริง 207,255 คน
ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การให้เงินค่าครองชีพพิเศษแก่ลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1 (ใช้งบประมาณหมวดค่าตอบแทนแทนบุคลากร) เหมือนกับการให้แก่ลูกจ้างประจำยังไม่สมควร เพราะโดยสถานะแล้วก็เป็นเรื่องระยะสั้น (ชั่วโมง วัน เดือน หนึ่งปี) ตามข้อตกลงก็เป็นเรื่องที่รับทราบอยู่แล้วว่าจะไม่มีการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือสิทธิประโยชน์อื่น การเพิ่มเงินพิเศษจึงเป็นการเสียหลักการของการมีลูกจ้างสองแบบ รวมทั้งจะเป็นภาระงบประมาณเป็นอันมาก แต่ควรมีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้
(1) ลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1 (ใช้งบประมาณหมวดค่าตอบแทนบุคลากร) ที่ปฏิบัติงานต่อเนื่อง (อาจเว้นช่วงได้ ถ้าเป็นการรอต่อสัญญา) และทำงานในลักษณะประจำ ซ้ำตัวบุคคลมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีติดต่อกัน ให้ผู้บังคับบัญชาเจ้าสังกัดบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานราชการ (สถานะเหมือนลูกจ้างประจำ แต่มีค่าตอบแทนสูงกว่าเดิมประมาณร้อยละ 20 และมีกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างไม่เกินคราวละ 5 ปี) โดยมีระยะเวลาทดลองการปฏิบัติงานพนักงานราชการ 1 ปี การที่ไม่ให้เป็นลูกจ้างประจำเพราะจะมีระยะเวลาปฏิบัติงานยาวเกินไปจนอาจเกินกว่าภารกิจ เช่น การทำสวน ทำความสะอาด ขับรถ ซึ่งอาจมอบให้เอกชนเข้ามารับทำได้ และคณะรัฐมนตรีเองก็มีนโยบายให้ลูกจ้างประจำลดลงอยู่แล้ว
(2) ให้พนักงานราชการทุกประเภท (รวมทั้งที่แปลงสถานะมาจากลูกจ้างชั่วคราว) มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพพิเศษเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำหรือข้าราชการชั้นผู้น้อย
(3) ให้ทุกส่วนราชการที่มีลูกจ้างชั่วคราว จัดทำกรอบอัตราของตนเสนอไปยังสำนักงาน ก.พ. ภายในเดือนตุลาคม 2547 เพื่อขออนุมัติและบรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่มีคุณสมบัติตาม (1) ลงในกรอบอัตราพนักงานราชการให้ทันภายใน พ.ศ. 2547
5. ลูกจ้างชั่วคราวในราชการฝ่ายอื่น และ
6. ลูกจ้างชั่วคราวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เจ้าสังกัดพิจารณาปรับสถานะหรือให้เงินช่วยค่าครองชีพพิเศษตามที่เห็นสมควร โดยใช้กรอบงบประมาณของตนเองเหมือนกรณีลูกจ้างประจำ
อนึ่ง คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547 กำหนดมาตรการช่วยเหลือข้าราชการผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 7,000 บาท ให้ได้รับเพิ่มจนถึง 7,000 บาท และที่ได้รับเกิน 7,000 บาท แต่ไม่ถึง 10,000 บาท ให้ได้รับเพิ่มอีกเดือนละ 1,000 บาท แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 10,000 บาท รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)รับไปหารือกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในระบบราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ให้ลูกจ้างประจำของฝ่ายบริหารได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพพิเศษได้เหมือนข้าราชการ
2. ให้ลูกจ้างชั่วคราวของฝ่ายบริหารที่มีอายุงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี บรรจุเป็นพนักงานราชการ และรับเงินช่วยค่าครองชีพพิเศษได้เหมือนข้าราชการ
3. ให้เจ้าสังกัดของลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการอื่นนอกจากฝ่ายบริหาร ตลอดจนลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาให้ความช่วยเหลือได้ตามที่เจ้าสังกัดกำหนด แต่อยู่ภายในกรอบงบประมาณของตนเอง
รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) รายงานการหารือเรื่อง การช่วยเหลือลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในระบบราชการ ร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการ ก.พ.ร. และผู้แทนกรมบัญชีกลางแล้ว สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ลูกจ้างประจำในราชการฝ่ายบริหาร ลูกจ้างประจำเป็นผู้ที่ส่วนราชการจ้างให้ทำงานบางอย่างแทนข้าราชการ ซึ่งยังไม่มีอัตรากำลังเปิดรองรับ โดยได้สิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับข้าราชการ แต่ไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ หากแต่ได้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และไม่มีสิทธิเป็นสมาชิก กบข. ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เคยมีมาแล้ว ลูกจ้างประจำเหล่านี้จะค่อย ๆ เกษียณอายุหมดไปในที่สุด โดยไม่มีการบรรจุแต่งตั้งเพิ่ม เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ปัจจุบันมีกรอบอัตราลูกจ้างประจำในราชการฝ่ายบริหาร รวม 157,446 อัตรา
ในการเสนอเรื่องเงินช่วยเหลือพิเศษต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547 สำนักงาน ก.พ. และกระทรวงการคลัง ได้รวมการช่วยเหลือบุคลากรประเภทนี้ไว้ในจำนวนผู้อยู่ในข่าย 350,000 คน และวงเงินที่เตรียมไว้ 3,700 ล้านบาทแล้ว
2. ลูกจ้างประจำในราชการฝ่ายอื่น ปัจจุบันราชการฝ่ายอื่น เช่น รัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง กกต. ป.ป.ช. มีลูกจ้างประจำของตนเอง โดยที่ทางราชการบริหาร (ก.พ. กระทรวงการคลัง) ไม่ได้กำหนดกรอบอัตรากำลังให้ จึงไม่มีสถิติตัวเลขและวงเงินงบประมาณที่จะต้องใช้ ดังนั้น การที่ราชการฝ่ายอื่นจะให้ลูกจ้างประจำของตนเองซึ่งบรรจุแต่งตั้งเอง และกำหนดอัตราค่าตอบแทนเองอยู่แล้ว มีสิทธิรับเงินช่วยค่าครองชีพพิเศษหรือไม่ จึงอยู่ในอำนาจของเจ้าสังกัดจะพิจารณา และอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณของตนเอง
3. ลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น อบต. อบจ. เทศบาล สามารถบรรจุแต่งตั้งลูกจ้างประจำได้เอง และกำหนดอัตราค่าตอบแทนได้เองอยู่แล้ว ดังนั้นการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดจะให้ลูกจ้างประจำของตนเองมีสิทธิรับเงินช่วยค่าครองชีพพิเศษหรือไม่ ในอัตราเท่าใด จึงอยู่ในอำนาจของเจ้าสังกัดจะพิจารณา และอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณของตนเอง
4. ลูกจ้างชั่วคราวในราชการฝ่ายบริหาร ลูกจ้างชั่วคราวหมายถึง ผู้ที่ส่วนราชการจ้างให้ทำงานบางอย่างซึ่งโดยปกติแล้วไม่ถือเป็นการปฏิบัติราชการโดยตรง แต่สนับสนุนให้การปฏิบัติราชการเป็นไปได้โดยเรียบร้อย ประหยัด และมีกำหนดเวลาสิ้นสุดภารกิจ เช่น การขับรถ การส่งเอกสาร การปลูกป่า การทำสวน การดูแลรักษาสถานที่ การวิจัย การพิมพ์เอกสาร หรือการทำงานตามโครงการเฉพาะกิจ การจ้างลูกจ้างชั่วคราวอาจเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือนหรือรายปีแต่จ้างได้คราวละไม่เกินหนึ่งปี ลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถขึ้นเงินเดือนได้ ไม่มีบำเหน็จบำนาญ ไม่มีสวัสดิการอย่างข้าราชการ ได้รับสิทธิเฉพาะเรื่องการลาและประกันสังคม
ลูกจ้างชั่วคราวในระบบราชการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากงบประมาณหมวดค่าตอบแทนบุคลากร เช่น ขับรถ พิมพ์ดีด
ประเภทที่ 2 ลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากงบประมาณโครงการเฉพาะกิจของส่วนราชการ เช่น ปลูกป่า
ประเภทที่ 3 ลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินนอกงบประมาณ เช่น ลูกจ้างในมหาวิทยาลัย ลูกจ้างของโรงพยาบาล
สำหรับลูกจ้างประเภทที่ 2 และ 3 นั้น โดยที่เป็นเรื่องภายในของแต่ละส่วนราชการ ก.พ. และกระทรวงการคลังไม่ได้เป็นผู้ดูแลกรอบอัตรากำลังและวงเงินงบประมาณให้ จึงเป็นเรื่องภายในส่วนราชการนั้น ๆ ที่จะพิจารณาให้การช่วยเหลือเอง แต่ที่คณะรัฐมนตรีควรพิจารณามาตรการความช่วยเหลือเป็นพิเศษคือ ลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1
ปัจจุบันมีกรอบอัตราลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1 ในราชการฝ่ายบริหารรวม 449,193 อัตรา แต่มีตัวคนบรรจุอยู่จริง 207,255 คน
ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การให้เงินค่าครองชีพพิเศษแก่ลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1 (ใช้งบประมาณหมวดค่าตอบแทนแทนบุคลากร) เหมือนกับการให้แก่ลูกจ้างประจำยังไม่สมควร เพราะโดยสถานะแล้วก็เป็นเรื่องระยะสั้น (ชั่วโมง วัน เดือน หนึ่งปี) ตามข้อตกลงก็เป็นเรื่องที่รับทราบอยู่แล้วว่าจะไม่มีการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือสิทธิประโยชน์อื่น การเพิ่มเงินพิเศษจึงเป็นการเสียหลักการของการมีลูกจ้างสองแบบ รวมทั้งจะเป็นภาระงบประมาณเป็นอันมาก แต่ควรมีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้
(1) ลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1 (ใช้งบประมาณหมวดค่าตอบแทนบุคลากร) ที่ปฏิบัติงานต่อเนื่อง (อาจเว้นช่วงได้ ถ้าเป็นการรอต่อสัญญา) และทำงานในลักษณะประจำ ซ้ำตัวบุคคลมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีติดต่อกัน ให้ผู้บังคับบัญชาเจ้าสังกัดบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานราชการ (สถานะเหมือนลูกจ้างประจำ แต่มีค่าตอบแทนสูงกว่าเดิมประมาณร้อยละ 20 และมีกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างไม่เกินคราวละ 5 ปี) โดยมีระยะเวลาทดลองการปฏิบัติงานพนักงานราชการ 1 ปี การที่ไม่ให้เป็นลูกจ้างประจำเพราะจะมีระยะเวลาปฏิบัติงานยาวเกินไปจนอาจเกินกว่าภารกิจ เช่น การทำสวน ทำความสะอาด ขับรถ ซึ่งอาจมอบให้เอกชนเข้ามารับทำได้ และคณะรัฐมนตรีเองก็มีนโยบายให้ลูกจ้างประจำลดลงอยู่แล้ว
(2) ให้พนักงานราชการทุกประเภท (รวมทั้งที่แปลงสถานะมาจากลูกจ้างชั่วคราว) มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพพิเศษเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำหรือข้าราชการชั้นผู้น้อย
(3) ให้ทุกส่วนราชการที่มีลูกจ้างชั่วคราว จัดทำกรอบอัตราของตนเสนอไปยังสำนักงาน ก.พ. ภายในเดือนตุลาคม 2547 เพื่อขออนุมัติและบรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่มีคุณสมบัติตาม (1) ลงในกรอบอัตราพนักงานราชการให้ทันภายใน พ.ศ. 2547
5. ลูกจ้างชั่วคราวในราชการฝ่ายอื่น และ
6. ลูกจ้างชั่วคราวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เจ้าสังกัดพิจารณาปรับสถานะหรือให้เงินช่วยค่าครองชีพพิเศษตามที่เห็นสมควร โดยใช้กรอบงบประมาณของตนเองเหมือนกรณีลูกจ้างประจำ
อนึ่ง คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547 กำหนดมาตรการช่วยเหลือข้าราชการผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 7,000 บาท ให้ได้รับเพิ่มจนถึง 7,000 บาท และที่ได้รับเกิน 7,000 บาท แต่ไม่ถึง 10,000 บาท ให้ได้รับเพิ่มอีกเดือนละ 1,000 บาท แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 10,000 บาท รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)รับไปหารือกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในระบบราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-