คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสัมพันธ์ผู้สอนศาสนาอิสลาม (อุสตาด) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2547 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้อนุมัติแผนดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสัมพันธ์ผู้สอนศาสนาอิสลาม (อุสตาด) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2547 โดยใช้งบประมาณงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านความมั่นคง ปีงบประมาณ 2547 โครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนตาดีกา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,275,000 บาท ซึ่งกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) ได้กำหนดให้มีการสัมมนาผู้สอนศาสนาอิสลาม (อุสตาด) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2547 ณ จังหวัดยะลา สระบุรี ชลบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 รุ่น หลักสูตร 7 วัน ระหว่างวันที่ 20-26 กันยายน 2547 ผู้เข้าสัมมนาประกอบด้วย ผู้สอนศาสนาอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) รุ่นละ 1 จังหวัด ๆ ละ 80 คน รวม 240 คน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทำหน้าที่ พี่เลี้ยงในการสัมมนา จำนวนจังหวัดละ 12 คน รวม 36 คน
นายมะรูดิง สาแลแม เลขานุการกลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้นำเสนอสรุปปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระหว่างการพบปะผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ซึ่งประธานรุ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ดำเนินงานโครงการทราบว่าเป็นแนวคิดเฉพาะของนายมะรูดิงฯ เป็นการส่วนตัว ดังนี้
1. ปัญหา
1) สิ่งมอมเมามีมาก ทำให้ประชาชนละเลยการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา 2) ผู้ปกครอง และผู้นำ ชุมชน ไม่ให้การดูแลชุมชนอย่างเต็มที่ 3) ข้าราชการในพื้นที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่แก้ไขอย่างจริงจัง 4) ครูสอนศาสนา กรรมการ อิสลามประจำมัสยิด และประจำจังหวัดไม่ได้รับการดูแลสวัสดิการจากรัฐอย่างเพียงพอ ทำให้การปฏิบัติทำได้ไม่เต็มที่ 5) กลุ่มคนไม่ดีซึ่งมีจำนวนมาก มักจะทำไม่ดีแล้วทำให้เข้าใจผิดว่ากลุ่มคนดีเป็นผู้ทำ
2. แนวทางแก้ไข
1) ต้องแก้ไขให้ถูกจุด จริงจัง จริงใจ และทำจริง ๆ 2) มีแผนในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง 3) โครงการ และกิจกรรมที่ดำเนินการ ควรเน้นการพัฒนาระบบชีวิตมากกว่าการพัฒนาวัตถุ 4) ควรติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ตามที่ปฏิบัติจริง ไม่ใช่ติดตาม และสรุปผลตามเอกสารที่ได้รับรายงาน 5) ควรให้มีแผนป้องกันปัญหามากกว่าแผนแก้ปัญหา
ประธานจังหวัดทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้นำเสนอมติที่ประชุมที่ได้หารือกันระหว่างการสัมมนา ดังนี้
1. ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตามข้อ 15 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ที่สอนศาสนาควบคู่กับวิชาสามัญ
1) สวัสดิการ
ก. เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลได้ ข. เพิ่มเงินช่วยเหลือบุตรจาก 50 บาท เป็น 100 บาท ค. ให้ช่วยเหลือครูที่เสียชิวิตในระหว่างที่เป็นครูในโรงเรียน
2) เงินเดือนครู
ก. จ่ายเงินเดือนครูผ่านธนาคารของรัฐ ข. บรรจุครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็น ลูกจ้างประจำ ค. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหน่วยดูแลครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
2. ให้สวัสดิการครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตามข้อ 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ที่สอนเฉพาะศาสนา เช่นเดียวกับสถานศึกษาปอเนาะ และให้เพิ่มเงินอุดหนุนให้มากขึ้นกว่าเดิม
3. ให้มีการสัมมนาสร้างเสริมสัมพันธ์ผู้สอนศาสนาอิสลาม และผู้สอนวิชาสามัญอย่างต่อเนื่อง ปีละ 2 ครั้ง โดยให้มีการทัศนศึกษาทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ปีละ 1 ครั้ง
4. แต่งตั้งคณะทำงานประสานการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ภาคใต้ประกอบด้วยฝ่าย การปกครองระดับอำเภอ ประธานผู้สอนศาสนาอิสลามระดับจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด และประธานผู้สอนศาสนาอิสลามของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเลือกตั้งจากผู้เข้าสัมมนาสร้างเสริมสัมพันธ์ผู้สอนศาสนาอิสลาม (อุสตาด) จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้มีการประชุมกันอย่างน้อย 4 เดือนต่อครั้ง
5. ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
6. ให้ศูนย์ประสานงานปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปต.) ส่วนประสานราชการสำนักกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งสมาคม/ชมรมปัญญาชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นเครือข่ายการทำงานของกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยมีความเห็นว่า ผู้สอนศาสนาอิสลามเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำ และมีความใกล้ชิดกับเยาวชนไทยมุสลิมมากที่สุด เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาที่จบการศึกษามาจากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นที่เคารพนับถือของสังคมมุสลิม ให้เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ หลักการ แนวทางการดำเนินชีวิต และวิถีของศาสนาอิสลามแก่เยาวชนมุสลิม เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี กระทรวงมหาดไทยจึงจะขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมกลุ่มผู้สอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมดในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้อนุมัติแผนดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสัมพันธ์ผู้สอนศาสนาอิสลาม (อุสตาด) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2547 โดยใช้งบประมาณงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านความมั่นคง ปีงบประมาณ 2547 โครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนตาดีกา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,275,000 บาท ซึ่งกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) ได้กำหนดให้มีการสัมมนาผู้สอนศาสนาอิสลาม (อุสตาด) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2547 ณ จังหวัดยะลา สระบุรี ชลบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 รุ่น หลักสูตร 7 วัน ระหว่างวันที่ 20-26 กันยายน 2547 ผู้เข้าสัมมนาประกอบด้วย ผู้สอนศาสนาอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) รุ่นละ 1 จังหวัด ๆ ละ 80 คน รวม 240 คน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทำหน้าที่ พี่เลี้ยงในการสัมมนา จำนวนจังหวัดละ 12 คน รวม 36 คน
นายมะรูดิง สาแลแม เลขานุการกลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้นำเสนอสรุปปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระหว่างการพบปะผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ซึ่งประธานรุ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ดำเนินงานโครงการทราบว่าเป็นแนวคิดเฉพาะของนายมะรูดิงฯ เป็นการส่วนตัว ดังนี้
1. ปัญหา
1) สิ่งมอมเมามีมาก ทำให้ประชาชนละเลยการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา 2) ผู้ปกครอง และผู้นำ ชุมชน ไม่ให้การดูแลชุมชนอย่างเต็มที่ 3) ข้าราชการในพื้นที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่แก้ไขอย่างจริงจัง 4) ครูสอนศาสนา กรรมการ อิสลามประจำมัสยิด และประจำจังหวัดไม่ได้รับการดูแลสวัสดิการจากรัฐอย่างเพียงพอ ทำให้การปฏิบัติทำได้ไม่เต็มที่ 5) กลุ่มคนไม่ดีซึ่งมีจำนวนมาก มักจะทำไม่ดีแล้วทำให้เข้าใจผิดว่ากลุ่มคนดีเป็นผู้ทำ
2. แนวทางแก้ไข
1) ต้องแก้ไขให้ถูกจุด จริงจัง จริงใจ และทำจริง ๆ 2) มีแผนในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง 3) โครงการ และกิจกรรมที่ดำเนินการ ควรเน้นการพัฒนาระบบชีวิตมากกว่าการพัฒนาวัตถุ 4) ควรติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ตามที่ปฏิบัติจริง ไม่ใช่ติดตาม และสรุปผลตามเอกสารที่ได้รับรายงาน 5) ควรให้มีแผนป้องกันปัญหามากกว่าแผนแก้ปัญหา
ประธานจังหวัดทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้นำเสนอมติที่ประชุมที่ได้หารือกันระหว่างการสัมมนา ดังนี้
1. ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตามข้อ 15 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ที่สอนศาสนาควบคู่กับวิชาสามัญ
1) สวัสดิการ
ก. เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลได้ ข. เพิ่มเงินช่วยเหลือบุตรจาก 50 บาท เป็น 100 บาท ค. ให้ช่วยเหลือครูที่เสียชิวิตในระหว่างที่เป็นครูในโรงเรียน
2) เงินเดือนครู
ก. จ่ายเงินเดือนครูผ่านธนาคารของรัฐ ข. บรรจุครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็น ลูกจ้างประจำ ค. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหน่วยดูแลครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
2. ให้สวัสดิการครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตามข้อ 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ที่สอนเฉพาะศาสนา เช่นเดียวกับสถานศึกษาปอเนาะ และให้เพิ่มเงินอุดหนุนให้มากขึ้นกว่าเดิม
3. ให้มีการสัมมนาสร้างเสริมสัมพันธ์ผู้สอนศาสนาอิสลาม และผู้สอนวิชาสามัญอย่างต่อเนื่อง ปีละ 2 ครั้ง โดยให้มีการทัศนศึกษาทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ปีละ 1 ครั้ง
4. แต่งตั้งคณะทำงานประสานการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ภาคใต้ประกอบด้วยฝ่าย การปกครองระดับอำเภอ ประธานผู้สอนศาสนาอิสลามระดับจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด และประธานผู้สอนศาสนาอิสลามของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเลือกตั้งจากผู้เข้าสัมมนาสร้างเสริมสัมพันธ์ผู้สอนศาสนาอิสลาม (อุสตาด) จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้มีการประชุมกันอย่างน้อย 4 เดือนต่อครั้ง
5. ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
6. ให้ศูนย์ประสานงานปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปต.) ส่วนประสานราชการสำนักกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งสมาคม/ชมรมปัญญาชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นเครือข่ายการทำงานของกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยมีความเห็นว่า ผู้สอนศาสนาอิสลามเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำ และมีความใกล้ชิดกับเยาวชนไทยมุสลิมมากที่สุด เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาที่จบการศึกษามาจากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นที่เคารพนับถือของสังคมมุสลิม ให้เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ หลักการ แนวทางการดำเนินชีวิต และวิถีของศาสนาอิสลามแก่เยาวชนมุสลิม เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี กระทรวงมหาดไทยจึงจะขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมกลุ่มผู้สอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมดในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-