คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขออนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2547 เพิ่มเติมตามโครงการรณรงค์ความปลอดภัยด้านอาหาร ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการและอนุมัติวงเงินงบประมาณจากงบกลางปี 2547 ดังนี้
1. งบประมาณเพื่อดำเนินการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการวัสดุวิทยาศาสตร์ และการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน วงเงินรวม 158.99 ล้านบาท
2. งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาตลาดสด แผงจำหน่ายอาหารในตลาด ร้านอาหาร แผงลอย และสถานที่ผลิตอาหาร ในรูปแบบเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาว บริหารจัดการโดย SME Bank วงเงิน 8,938 ล้านบาท
3. เงินช่วยเหลือเพื่อชดเชยแก่ธนาคาร อัตราร้อยละ 2 ต่อปี จากวงเงินกู้ ข้อ 2 กำหนดระยะเวลา 10 ปี วงเงินรวมประมาณ 178.76 ล้านบาทต่อปี
กระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า
1. จากการประชุมนโยบายความปลอดภัย ด้านอาหาร (Food safety) ในปี 2547 กระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบให้เป็นหน่วยงานออกมาตรฐานด้านกฎมาย ตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารและการดำเนินการตามกฎหมาย รวมทั้งติดตามความปลอดภัย โดยให้ดำเนินงานความปลอดภัยด้านอาหารอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง เร่งดำเนิน-การพัฒนาตลาดสด ร้านอาหารและโรงเรียน เน้นการประชาสัมพันธ์ สร้างวินัย รักษาความสะอาดแก่ประชาชน การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีการลงทุนปรับโครงสร้างตลาดสด ให้เป็นตลาดที่สะอาด จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย โดยให้ประสานงานกับ SME Bank สนับสนุนเงินกู้ยืมระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำแก่ตลาดที่มีความพร้อม จัดทำเป็นตลาดนำร่องและให้เป็นที่ดูงานแก่ตลาดอื่น ๆ รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขจัดหาชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kits) พร้อม คู่มือ อบรมให้ความรู้แก่ประชาชน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและผู้ประกอบการตลาด โดยให้ใช้งบประมาณจากภาครัฐ เพื่อมิให้ภาระตกแก่ประชาชน โดยให้ดำเนินการประกาศผลความสำเร็จอาหารปลอดภัยทั่วประเทศ ภายในวันที่ 1 เมษายน 2548
2. เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร จึงขอเสนอโครงการขอรับงบประมาณต่อเนื่อง เพื่อรณรงค์พัฒนาตลาดสด แหล่งจำหน่ายและสถานที่ผลิตอาหารให้ได้มาตรฐาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ 1) สร้างกระแสความตื่นตัวด้านสุขอนามัย การป้องกันโรค และการรักษาความสะอาด 2) พัฒนาตลาดสด แหล่งจำหน่าย และสถานที่ผลิตอาหารให้ได้คุณภาพ และมาตรฐาน 3) รณรงค์ให้ทุกครัวมีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ มีพฤติกรรมอนามัยที่ดี 4) สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน และสร้างภาพพจน์ที่ดีแก่ประเทศไทย 5) สร้างความเข้มแข็งในภาคประชาชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีบทบาท ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชน 6) ติดตามกำกับการใช้มาตรการทางกฎหมายและประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน
2.2 เป้าหมาย 1) ตลาดสดประเภทที่ 1 (ตลาดที่มีโครงสร้างถาวรและจำหน่ายเป็นประจำ) ในทุกจังหวัด จำนวน 1,505 แห่ง 2) ตลาดสดทั่วไปและแผงขายอาหารรอบตลาด จำนวน 495 แห่ง 3) ร้านอาหารแผงลอย จำนวน 39,000 แห่ง 4) สถานที่ผลิตอาหาร จำนวน 3,000 แห่ง 5) โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขยายโอกาสทั่วประเทศ จำนวน 10,000 แห่ง 6) โรงครัวในโรงพยาบาลทั่วประเทศ จำนวน 1,000 แห่ง 7) ประชากรไทยในครัวเรือนทั่วประเทศ จำนวน 16 ล้านครัวเรือน 8) ศูนย์อาหารในตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล (นำร่อง) จำนวน 30 แห่ง 9) ร้านค้าประจำหมู่บ้านใน 75 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,080 แห่ง 10) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 10 แห่ง 11) พนักงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ทั่วประเทศใน จำนวน 20,000 คน ใน 75 จังหวัด/795 อำเภอ/81 กิ่งอำเภอ/7,255 ตำบล 12) เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (1) กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต (2) เทศบาล จำนวน 1,130 เทศบาล 13) ผู้นำอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และชมรมสร้างสุขภาพ จำนวน 400 คน
2.3 ระยะเวลาดำเนินการ : กันยายน 2547 - พฤษภาคม 2548
2.4 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ โดยมีหน่วยงานร่วมรับผิดชอบ ได้แก่ กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
2.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1) ตลาดสด ร้านอาหาร แผงลอย และสถานที่ผลิตอาหารได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจและมีทางเลือกในการซื้ออาหารที่สะอาดและปลอดภัย 3) ผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายอาหารทุกประเภทมีความตระหนักในการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดีมีคุณภาพ4) ประชาชนมีพฤติกรรมอนามัยที่ดีในการปรุงประกอบและเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยและมีคุณค่าต่อสุขภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. งบประมาณเพื่อดำเนินการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการวัสดุวิทยาศาสตร์ และการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน วงเงินรวม 158.99 ล้านบาท
2. งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาตลาดสด แผงจำหน่ายอาหารในตลาด ร้านอาหาร แผงลอย และสถานที่ผลิตอาหาร ในรูปแบบเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาว บริหารจัดการโดย SME Bank วงเงิน 8,938 ล้านบาท
3. เงินช่วยเหลือเพื่อชดเชยแก่ธนาคาร อัตราร้อยละ 2 ต่อปี จากวงเงินกู้ ข้อ 2 กำหนดระยะเวลา 10 ปี วงเงินรวมประมาณ 178.76 ล้านบาทต่อปี
กระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า
1. จากการประชุมนโยบายความปลอดภัย ด้านอาหาร (Food safety) ในปี 2547 กระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบให้เป็นหน่วยงานออกมาตรฐานด้านกฎมาย ตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารและการดำเนินการตามกฎหมาย รวมทั้งติดตามความปลอดภัย โดยให้ดำเนินงานความปลอดภัยด้านอาหารอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง เร่งดำเนิน-การพัฒนาตลาดสด ร้านอาหารและโรงเรียน เน้นการประชาสัมพันธ์ สร้างวินัย รักษาความสะอาดแก่ประชาชน การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีการลงทุนปรับโครงสร้างตลาดสด ให้เป็นตลาดที่สะอาด จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย โดยให้ประสานงานกับ SME Bank สนับสนุนเงินกู้ยืมระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำแก่ตลาดที่มีความพร้อม จัดทำเป็นตลาดนำร่องและให้เป็นที่ดูงานแก่ตลาดอื่น ๆ รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขจัดหาชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kits) พร้อม คู่มือ อบรมให้ความรู้แก่ประชาชน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและผู้ประกอบการตลาด โดยให้ใช้งบประมาณจากภาครัฐ เพื่อมิให้ภาระตกแก่ประชาชน โดยให้ดำเนินการประกาศผลความสำเร็จอาหารปลอดภัยทั่วประเทศ ภายในวันที่ 1 เมษายน 2548
2. เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร จึงขอเสนอโครงการขอรับงบประมาณต่อเนื่อง เพื่อรณรงค์พัฒนาตลาดสด แหล่งจำหน่ายและสถานที่ผลิตอาหารให้ได้มาตรฐาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ 1) สร้างกระแสความตื่นตัวด้านสุขอนามัย การป้องกันโรค และการรักษาความสะอาด 2) พัฒนาตลาดสด แหล่งจำหน่าย และสถานที่ผลิตอาหารให้ได้คุณภาพ และมาตรฐาน 3) รณรงค์ให้ทุกครัวมีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ มีพฤติกรรมอนามัยที่ดี 4) สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน และสร้างภาพพจน์ที่ดีแก่ประเทศไทย 5) สร้างความเข้มแข็งในภาคประชาชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีบทบาท ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชน 6) ติดตามกำกับการใช้มาตรการทางกฎหมายและประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน
2.2 เป้าหมาย 1) ตลาดสดประเภทที่ 1 (ตลาดที่มีโครงสร้างถาวรและจำหน่ายเป็นประจำ) ในทุกจังหวัด จำนวน 1,505 แห่ง 2) ตลาดสดทั่วไปและแผงขายอาหารรอบตลาด จำนวน 495 แห่ง 3) ร้านอาหารแผงลอย จำนวน 39,000 แห่ง 4) สถานที่ผลิตอาหาร จำนวน 3,000 แห่ง 5) โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขยายโอกาสทั่วประเทศ จำนวน 10,000 แห่ง 6) โรงครัวในโรงพยาบาลทั่วประเทศ จำนวน 1,000 แห่ง 7) ประชากรไทยในครัวเรือนทั่วประเทศ จำนวน 16 ล้านครัวเรือน 8) ศูนย์อาหารในตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล (นำร่อง) จำนวน 30 แห่ง 9) ร้านค้าประจำหมู่บ้านใน 75 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,080 แห่ง 10) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 10 แห่ง 11) พนักงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ทั่วประเทศใน จำนวน 20,000 คน ใน 75 จังหวัด/795 อำเภอ/81 กิ่งอำเภอ/7,255 ตำบล 12) เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (1) กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต (2) เทศบาล จำนวน 1,130 เทศบาล 13) ผู้นำอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และชมรมสร้างสุขภาพ จำนวน 400 คน
2.3 ระยะเวลาดำเนินการ : กันยายน 2547 - พฤษภาคม 2548
2.4 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ โดยมีหน่วยงานร่วมรับผิดชอบ ได้แก่ กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
2.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1) ตลาดสด ร้านอาหาร แผงลอย และสถานที่ผลิตอาหารได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจและมีทางเลือกในการซื้ออาหารที่สะอาดและปลอดภัย 3) ผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายอาหารทุกประเภทมีความตระหนักในการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดีมีคุณภาพ4) ประชาชนมีพฤติกรรมอนามัยที่ดีในการปรุงประกอบและเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยและมีคุณค่าต่อสุขภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-