คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในจังหวัดระนอง ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 ได้มีการพิจารณาแผนการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าภาคกลาง - ภาคใต้ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สอบถามกรณีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับบริเวณภาคใต้ ณ จังหวัดระนอง และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547 ที่ผ่านมา และมีมติม อบหมายให้ กฟผ. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา โดยให้กระทรวงพลังงานรับไปประสานการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป นั้น
กระทรวงพลังงานได้จัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปความคืบหน้าการดำเนินการได้ดังนี้การดำเนินงานของ กฟผ.
1. กฟผ. ได้ปรับปรุงแผนการก่อสร้างสายส่ง 115 กิโลโวลท์ หลังสวน-ระนอง ให้เสร็จเร็วขึ้นอีก 9 เดือน จากเดิมในเดือนธันวาคม 2549 เป็นเดือนมีนาคม 2549 อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการยังมีประเด็นอุปสรรค 2 ประการ ดังนี้
1.1 ปัญหาอุปสรรคในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในการดำเนินโครงการสายส่ง 115 กิโลโวลท์ หลังสวน - ระนอง จะต้องมีการพาดสายผ่านพื้นที่ที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองประมาณ 500 ราย ตลอดระยะทาง 65 กิโลเมตร โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ได้เรียกร้องค่าทดแทนที่ดินสูงเกินความเป็นจริงหรือสูงกว่าราคาประเมินถึง 2.5-20 เท่า นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องค่าทดแทนต้นไม้ในวงเงินที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับราคากลางของ กฟผ. และราคาที่ส่วนราชการอื่นประเมิน ทั้งนี้หากผู้ได้รับผลกระทบไม่ได้รับค่าตอบแทนตามที่เรียกร้อง อาจเกิดการคัดค้านการเข้าก่อสร้างได้
1.2 ปัญหาการพาดสายผ่านพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งบางส่วนเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (Zone C): ในการพาดสายส่งจะต้องพาดผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติยาว 17 ก.ม. ซึ่งในการขออนุญาตจะต้องมีการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environment Examination: IEE) รวมทั้งต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาหลายขั้นตอน
2. อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงานได้ให้ กฟผ. เร่งกำหนดการแล้วเสร็จให้เร็วขึ้นจากเดือนมีนาคม 2549 เป็นเดือนธันวาคม 2548 และได้ประสานขอความอนุเคราะห์ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง ช่วยเหลือในการเจรจาค่าทดแทนกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ปัญหาการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินคลี่คลายโดยเร็ว รวมทั้งได้ประสานกับสำนัก-งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อเร่งรัดขั้นตอนการพิจารณารายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนการอนุมัติการพาดสายส่งผ่านที่ดินป่าสงวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
การดำเนินงานของ กฟภ.
1. กฟภ. มีแผนการเสริมความมั่นคงระบบจำหน่ายในบริเวณจังหวัดระนอง โดยจะติดตั้งหม้อแปลงเปลี่ยนระดับแรงดัน (Plug in) ระหว่างจุดชุมพร - ระนอง 2 มีกำหนดการแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2547 ประกอบกับจะมีการก่อสร้างสายจำหน่ายเพิ่มเติมและติดตั้งหม้อแปลงเปลี่ยนระดับแรงดันระหว่างจุดหลังสวน - อำเภอพาโต๊ะ - ระนอง 1 มีกำหนดการแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งการเสริมระบบดังกล่าว (32 เมกะวัตต์) จะทำให้สามารถจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ได้มากขึ้นประมาณร้อยละ 25 ของความต้องการไฟฟ้าในจังหวัดระนองหรือคิดเป็นจำนวน 8 เมกะวัตต์
2. นอกจากนี้ ในกรณีเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ กฟภ. สามารถนำเครื่องผลิตไฟฟ้าสำรอง จากจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร มีกำลังการผลิตไฟฟ้าได้ภายใน 2-6 ชั่วโมง
3. ในระยะยาว กฟภ. มีแผนติดตั้งหม้อแปลงขนาด 50 MVA เพิ่มอีก 1 เครื่องที่สถานีไฟฟ้าระนอง 2 ในวงเงินประมาณ 25 ล้านบาท มีกำหนดการแล้วเสร็จในปี 2551 ซึ่ง กฟภ. แจ้งว่าขณะนี้ยังไม่ได้จัดหาเงินกู้ดำเนินโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กฟภ. จะเร่งดำเนินการจัดหาเงินกู้ให้ได้โดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 ได้มีการพิจารณาแผนการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าภาคกลาง - ภาคใต้ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สอบถามกรณีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับบริเวณภาคใต้ ณ จังหวัดระนอง และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547 ที่ผ่านมา และมีมติม อบหมายให้ กฟผ. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา โดยให้กระทรวงพลังงานรับไปประสานการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป นั้น
กระทรวงพลังงานได้จัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปความคืบหน้าการดำเนินการได้ดังนี้การดำเนินงานของ กฟผ.
1. กฟผ. ได้ปรับปรุงแผนการก่อสร้างสายส่ง 115 กิโลโวลท์ หลังสวน-ระนอง ให้เสร็จเร็วขึ้นอีก 9 เดือน จากเดิมในเดือนธันวาคม 2549 เป็นเดือนมีนาคม 2549 อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการยังมีประเด็นอุปสรรค 2 ประการ ดังนี้
1.1 ปัญหาอุปสรรคในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในการดำเนินโครงการสายส่ง 115 กิโลโวลท์ หลังสวน - ระนอง จะต้องมีการพาดสายผ่านพื้นที่ที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองประมาณ 500 ราย ตลอดระยะทาง 65 กิโลเมตร โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ได้เรียกร้องค่าทดแทนที่ดินสูงเกินความเป็นจริงหรือสูงกว่าราคาประเมินถึง 2.5-20 เท่า นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องค่าทดแทนต้นไม้ในวงเงินที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับราคากลางของ กฟผ. และราคาที่ส่วนราชการอื่นประเมิน ทั้งนี้หากผู้ได้รับผลกระทบไม่ได้รับค่าตอบแทนตามที่เรียกร้อง อาจเกิดการคัดค้านการเข้าก่อสร้างได้
1.2 ปัญหาการพาดสายผ่านพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งบางส่วนเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (Zone C): ในการพาดสายส่งจะต้องพาดผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติยาว 17 ก.ม. ซึ่งในการขออนุญาตจะต้องมีการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environment Examination: IEE) รวมทั้งต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาหลายขั้นตอน
2. อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงานได้ให้ กฟผ. เร่งกำหนดการแล้วเสร็จให้เร็วขึ้นจากเดือนมีนาคม 2549 เป็นเดือนธันวาคม 2548 และได้ประสานขอความอนุเคราะห์ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง ช่วยเหลือในการเจรจาค่าทดแทนกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ปัญหาการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินคลี่คลายโดยเร็ว รวมทั้งได้ประสานกับสำนัก-งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อเร่งรัดขั้นตอนการพิจารณารายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนการอนุมัติการพาดสายส่งผ่านที่ดินป่าสงวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
การดำเนินงานของ กฟภ.
1. กฟภ. มีแผนการเสริมความมั่นคงระบบจำหน่ายในบริเวณจังหวัดระนอง โดยจะติดตั้งหม้อแปลงเปลี่ยนระดับแรงดัน (Plug in) ระหว่างจุดชุมพร - ระนอง 2 มีกำหนดการแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2547 ประกอบกับจะมีการก่อสร้างสายจำหน่ายเพิ่มเติมและติดตั้งหม้อแปลงเปลี่ยนระดับแรงดันระหว่างจุดหลังสวน - อำเภอพาโต๊ะ - ระนอง 1 มีกำหนดการแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งการเสริมระบบดังกล่าว (32 เมกะวัตต์) จะทำให้สามารถจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ได้มากขึ้นประมาณร้อยละ 25 ของความต้องการไฟฟ้าในจังหวัดระนองหรือคิดเป็นจำนวน 8 เมกะวัตต์
2. นอกจากนี้ ในกรณีเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ กฟภ. สามารถนำเครื่องผลิตไฟฟ้าสำรอง จากจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร มีกำลังการผลิตไฟฟ้าได้ภายใน 2-6 ชั่วโมง
3. ในระยะยาว กฟภ. มีแผนติดตั้งหม้อแปลงขนาด 50 MVA เพิ่มอีก 1 เครื่องที่สถานีไฟฟ้าระนอง 2 ในวงเงินประมาณ 25 ล้านบาท มีกำหนดการแล้วเสร็จในปี 2551 ซึ่ง กฟภ. แจ้งว่าขณะนี้ยังไม่ได้จัดหาเงินกู้ดำเนินโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กฟภ. จะเร่งดำเนินการจัดหาเงินกู้ให้ได้โดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-