คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนปฏิบัติการเบื้องต้นในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในวงราชการ อันประกอบด้วยมาตรการ วิธีการ และผู้รับผิดชอบดำเนินการตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ
ทั้งนี้ ให้มีระยะเวลาประเมินผลมาตรการและวิธีการต่าง ๆ ภายในหนึ่งปี ดังนี้มาตรการวิธีการ ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
1. สร้างความแข็งแกร่งแก่ ป.ป.ช. ในการปฏิบัติตามหน้าที่
1. แก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตามที่ ป.ป.ช.เสนอ
2. กำชับส่วนราชการให้ดำเนินการตามมติ ป.ป.ช. ภายในกำหนด ไม่ว่าเรื่องขอให้ลงโทษทางวินัยหรือขอความร่วมมือให้ส่งเอกสารก็ตาม
- รอง นรม. (วิษณุฯ)หารือกับ ป.ป.ช.
- มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 21 ก.ย. 47 แล้วทุกส่วนราชการต้องปฎิบัติตาม
2. สร้างความแข็งแกร่งแก่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ในการปฏิบัติตามหน้าที่
1. แก้ไขกฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตามที่ คตง. เสนอ
2. กำชับส่วนราชการให้ดำเนินการตามมติ คตง. ภายในกำหนด
- รอง นรม. (วิษณุฯ)หารือกับ คตง.
3. สร้างความแข็งแกร่งให้แก่คณะกรรม-การการเลือกตั้งในการปฏิบัติตามหน้าที่แก้ไขกฎหมายและอำนวยความสะดวกแก่ กกต. ในการจัดการเลือกตั้งทุกระดับให้เรียบร้อยขจัดการซื้อเสียงและการทุจริตคดโกงการเลือกตั้งอันเป็นบ่อเกิดหนึ่งของการทุจริต
- รองนายกรัฐมนตรี (ธรรมรักษ์ฯ) รมว. มหาดไทย
4. แบ่งเบาภาระงานของ ป.ป.ช. มาดำเนินการเองหรือเพิ่มตัวช่วยแก่ ป.ป.ช. เพื่อความรวดเร็วให้มีกฎหมายว่าด้วยการตรวจสอบการทุจริตในฝ่ายบริหาร (ข้าราชการระดับ 1-8) เพื่อแบ่งเบาภาระ ป.ป.ช. โดยไม่ตัดอำนาจ ป.ป.ช. ที่จะหยิบยกบางเรื่องไปพิจารณาเอง
- รมว.ยุติธรรม ครม. รับหลักการร่าง พ.ร.บ. นี้แล้ว ขณะนี้เรื่องอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
5. สร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
1. ให้ ป.ป.ช. พิจารณาความเหมาะสมของตำแหน่งที่ควรกำหนดให้ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเพิ่มเติมและครอบคลุมมากขึ้น เช่น กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ข้าราชการระดับล่างบางตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐบางแห่ง
2. ให้หน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องรับตอบข้อหารือเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือส่วนราชการสงสัยว่าพฤติการณ์ใดทำได้หรือไม่เพียงใด
3. ยกร่างมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการการเมืองทุกระดับตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 - สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับ ป.ป.ช.
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับ ป.ป.ช., คตง. กระทรวงการคลัง (เรื่องพัสดุ) ก.พ. ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- รอง นรม. (ปุระชัยฯ) สำนัเลขาธิการ-นายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก.พ.ร.
6. สนับสนุนภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม
1. ส่งเสริมมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
2. ส่งเสริมให้ ป.ป.ช.จัดตั้งมูลนิธิทำนองเดียวกันเพื่อดำเนินการด้าน ป.ป.ช. ภาคประชาชน
3. ขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา คณะสงฆ์ วงการศาสนา สื่อมวลชน
- ก.พ.
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรีประสานกับ ป.ป.ช.
- รอง นรม. (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธนายจาตุรนต์ ฉายแสง,นายวิษณุ เครืองาม)มาตรการ วิธีการ ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
4. วางมาตรการคุ้มครองพยานและผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต
5. ตั้งหน่วยพิเศษรับแจ้งเบาะแสและสืบเสาะในทางลับ เพื่อส่งเรื่องให้ผู้เกี่ยวข้อง
6. ให้รางวัลนำจับผู้ชี้ช่องจับทุจริตจนได้ผู้กระทำผิดหรือเรียกเอาทรัพย์คืนได้
7. ยกย่องคุณงามความดีผู้แจ้งแบาะแส เช่น ประกาศเกียรติคุณขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ก.พ. สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หารือกับ ป.ป.ช.
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- รอง นรม. (วิษณุฯ) กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
7. รณรงค์ด้านวัฒนธรรมและส่งเสริมค่านิยมรักความซื่อสัตย์สุจริต
1 ใช้หลักธรรมทางศาสนาและการประชาสัมพันธ์
2. เน้นกลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนและนักเรียน
3. เน้นค่านิยมเรื่องการตรงต่อเวลาการประหยัด การแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องส่วนรวมและหลักที่ว่า "ของหลวงตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้" กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ ก.พ. ก.พ.ร. กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
8. เพิ่มการตรวจตราและเพ่งเล็งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บางหน่วยงานที่มีรายงานการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ค่อนข้างมากเป็นพิเศษ เพ่งเล็งส่วนราชการที่ปรากฏตามรายงานของ ป.ป.ช. และ คตง. ว่ามีการตรวจพบการทุจริตต่อเนื่องกันค่อนข้างมาก
- ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานดังกล่าวทุกระดับรองนายกรัฐมนตรีทุกคน สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ ป.ป.ง.
9. แก้ไขกฎระเบียบที่เอื้อต่อการทุจริต
1. ปรับปรุงระเบียบพัสดุว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
2. ปรับราคากลางให้ทันสมัยตรงต่อความเป็นจริงอยู่เสมอ
3. เพิ่มระบบการติดตามตรวจสอบภายหลังการรับมอบแล้วว่ายังใช้การได้สมความมุ่งหมายหรือไม่
4. ปรับปรุงระเบียบอื่น ๆ
- คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ กระทรวงการคลัง
- กระทรวงการคลังร่วมกับสมาคม วิชาชีพ
- กระทรวงการคลัง
- ทุกกระทรวง
10. แก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1. เพื่อให้การรวบรวมพยานหลักฐานทำได้ง่ายขึ้น ให้ทบทวนว่ายังควรกำหนดว่า ผู้ให้สินบนที่ยอมมาเป็นพยานแก่รัฐควรมีความผิดอาญาหรือไม่
2. ทบทวนว่าคดีทุจริตควรมีอายุความยาวกว่าปัจจุบันหรือไม่
3. ทบทวนกฎหมายที่ให้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่มากเกินไปในการอนุญาตอนุมัติ รอง นรม. (วิษณุ) รมว. ยุติธรรมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
11. จัดระบบงานการเงิน การคลังของรัฐและงบประมาณให้โปร่งใส
1. นำระบบ GFMIS มาใช้ในระบบการเงิน การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
2. นำระบบ e-Government มาใช้
- สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
12. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และขยายโอกาสแก่ข้าราชการ
1. ออกระเบียบหรือมติคณะรัฐมนตรี ที่มุ่งลดรายจ่ายของข้าราชการ เช่น ห้ามการเรี่ยไร การขอรับบริจาค การซื้อขายบัตรการกุศล การบริจาคที่เกินอัตราเหมาะสม
- ก.พ.มาตรการ วิธีการ ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
2. เพิ่มรายได้แก่บุคลากรชั้นผู้น้อยของรัฐโดยเฉพาะผู้มีรายได้ไม่ถึงเดือนละ 7,000 บาท
3. ส่งเสริมให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้และวิทยฐานะ
- ก.พ. สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง (มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 27 กันยายน 2547 แล้ว)
- ตำรวจ ทหาร ก.พ.13. ส่งเสริมคุณธรรมในระบบราชการ โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายและป้องกันการกลั่นแกล้ง ให้มีคณะกรรมการฝ่ายพิทักษ์คุณธรรม (Merit Protection Agency) รับเรื่องร้องทุกข์จากข้าราชการที่กล่าวโทษข้าราชการด้วยกันเองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือถูกกลั่นแกล้งในการแต่งตั้งโยกย้าย เลื่อนเงินเดือนและการประเมิน
- ก.พ.14. นำเอามาตรการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาลในการปฏิรูประบบราชการมาใช้อย่างจริงจัง บังคับใช้ พรฎ.ว่าด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546 อย่างเคร่งครัด
- ก.พ.ร. และทุกกระทรวง15. ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้ข้าราชการการเมืองทุกตำแหน่งปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่ข้าราชการประจำชั้นผู้ใหญ่ในเรื่องความสุจริตและชั้นผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างแก่ชั้นผู้น้อย รวมทั้งสอดส่องดูแลการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่ง ครัดในกรณีตรวจพบว่ามีการกระทำผิดข้าราชการการเมืองทุกคน และข้าราชการทุกกระทรวง
16. จัดระบบการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ
1. จัดให้มีระบบการตรวจสอบภายในในทุกกระทรวง รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ
2. ปรับปรุงผู้ตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นอิสระมีความเจริญก้าวหน้า มีคุณภาพโดยอาจพิจารณาให้ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
3. ปรับปรุงระบบผู้ตรวจราชการกระทรวงให้มีประสิทธิภาพและช่วยตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการทุจริตด้วย
- รองนรม. (สุชาติฯ) ก.พ. ก.พ.ร. กระทรวงการคลัง
- ก.พ. ก.พ.ร.
- รอง นรม. (วิษณุฯ) และทุกกระทรวง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
ทั้งนี้ ให้มีระยะเวลาประเมินผลมาตรการและวิธีการต่าง ๆ ภายในหนึ่งปี ดังนี้มาตรการวิธีการ ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
1. สร้างความแข็งแกร่งแก่ ป.ป.ช. ในการปฏิบัติตามหน้าที่
1. แก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตามที่ ป.ป.ช.เสนอ
2. กำชับส่วนราชการให้ดำเนินการตามมติ ป.ป.ช. ภายในกำหนด ไม่ว่าเรื่องขอให้ลงโทษทางวินัยหรือขอความร่วมมือให้ส่งเอกสารก็ตาม
- รอง นรม. (วิษณุฯ)หารือกับ ป.ป.ช.
- มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 21 ก.ย. 47 แล้วทุกส่วนราชการต้องปฎิบัติตาม
2. สร้างความแข็งแกร่งแก่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ในการปฏิบัติตามหน้าที่
1. แก้ไขกฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตามที่ คตง. เสนอ
2. กำชับส่วนราชการให้ดำเนินการตามมติ คตง. ภายในกำหนด
- รอง นรม. (วิษณุฯ)หารือกับ คตง.
3. สร้างความแข็งแกร่งให้แก่คณะกรรม-การการเลือกตั้งในการปฏิบัติตามหน้าที่แก้ไขกฎหมายและอำนวยความสะดวกแก่ กกต. ในการจัดการเลือกตั้งทุกระดับให้เรียบร้อยขจัดการซื้อเสียงและการทุจริตคดโกงการเลือกตั้งอันเป็นบ่อเกิดหนึ่งของการทุจริต
- รองนายกรัฐมนตรี (ธรรมรักษ์ฯ) รมว. มหาดไทย
4. แบ่งเบาภาระงานของ ป.ป.ช. มาดำเนินการเองหรือเพิ่มตัวช่วยแก่ ป.ป.ช. เพื่อความรวดเร็วให้มีกฎหมายว่าด้วยการตรวจสอบการทุจริตในฝ่ายบริหาร (ข้าราชการระดับ 1-8) เพื่อแบ่งเบาภาระ ป.ป.ช. โดยไม่ตัดอำนาจ ป.ป.ช. ที่จะหยิบยกบางเรื่องไปพิจารณาเอง
- รมว.ยุติธรรม ครม. รับหลักการร่าง พ.ร.บ. นี้แล้ว ขณะนี้เรื่องอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
5. สร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
1. ให้ ป.ป.ช. พิจารณาความเหมาะสมของตำแหน่งที่ควรกำหนดให้ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเพิ่มเติมและครอบคลุมมากขึ้น เช่น กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ข้าราชการระดับล่างบางตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐบางแห่ง
2. ให้หน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องรับตอบข้อหารือเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือส่วนราชการสงสัยว่าพฤติการณ์ใดทำได้หรือไม่เพียงใด
3. ยกร่างมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการการเมืองทุกระดับตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 - สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับ ป.ป.ช.
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับ ป.ป.ช., คตง. กระทรวงการคลัง (เรื่องพัสดุ) ก.พ. ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- รอง นรม. (ปุระชัยฯ) สำนัเลขาธิการ-นายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก.พ.ร.
6. สนับสนุนภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม
1. ส่งเสริมมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
2. ส่งเสริมให้ ป.ป.ช.จัดตั้งมูลนิธิทำนองเดียวกันเพื่อดำเนินการด้าน ป.ป.ช. ภาคประชาชน
3. ขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา คณะสงฆ์ วงการศาสนา สื่อมวลชน
- ก.พ.
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรีประสานกับ ป.ป.ช.
- รอง นรม. (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธนายจาตุรนต์ ฉายแสง,นายวิษณุ เครืองาม)มาตรการ วิธีการ ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
4. วางมาตรการคุ้มครองพยานและผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต
5. ตั้งหน่วยพิเศษรับแจ้งเบาะแสและสืบเสาะในทางลับ เพื่อส่งเรื่องให้ผู้เกี่ยวข้อง
6. ให้รางวัลนำจับผู้ชี้ช่องจับทุจริตจนได้ผู้กระทำผิดหรือเรียกเอาทรัพย์คืนได้
7. ยกย่องคุณงามความดีผู้แจ้งแบาะแส เช่น ประกาศเกียรติคุณขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ก.พ. สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หารือกับ ป.ป.ช.
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- รอง นรม. (วิษณุฯ) กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
7. รณรงค์ด้านวัฒนธรรมและส่งเสริมค่านิยมรักความซื่อสัตย์สุจริต
1 ใช้หลักธรรมทางศาสนาและการประชาสัมพันธ์
2. เน้นกลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนและนักเรียน
3. เน้นค่านิยมเรื่องการตรงต่อเวลาการประหยัด การแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องส่วนรวมและหลักที่ว่า "ของหลวงตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้" กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ ก.พ. ก.พ.ร. กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
8. เพิ่มการตรวจตราและเพ่งเล็งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บางหน่วยงานที่มีรายงานการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ค่อนข้างมากเป็นพิเศษ เพ่งเล็งส่วนราชการที่ปรากฏตามรายงานของ ป.ป.ช. และ คตง. ว่ามีการตรวจพบการทุจริตต่อเนื่องกันค่อนข้างมาก
- ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานดังกล่าวทุกระดับรองนายกรัฐมนตรีทุกคน สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ ป.ป.ง.
9. แก้ไขกฎระเบียบที่เอื้อต่อการทุจริต
1. ปรับปรุงระเบียบพัสดุว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
2. ปรับราคากลางให้ทันสมัยตรงต่อความเป็นจริงอยู่เสมอ
3. เพิ่มระบบการติดตามตรวจสอบภายหลังการรับมอบแล้วว่ายังใช้การได้สมความมุ่งหมายหรือไม่
4. ปรับปรุงระเบียบอื่น ๆ
- คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ กระทรวงการคลัง
- กระทรวงการคลังร่วมกับสมาคม วิชาชีพ
- กระทรวงการคลัง
- ทุกกระทรวง
10. แก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1. เพื่อให้การรวบรวมพยานหลักฐานทำได้ง่ายขึ้น ให้ทบทวนว่ายังควรกำหนดว่า ผู้ให้สินบนที่ยอมมาเป็นพยานแก่รัฐควรมีความผิดอาญาหรือไม่
2. ทบทวนว่าคดีทุจริตควรมีอายุความยาวกว่าปัจจุบันหรือไม่
3. ทบทวนกฎหมายที่ให้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่มากเกินไปในการอนุญาตอนุมัติ รอง นรม. (วิษณุ) รมว. ยุติธรรมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
11. จัดระบบงานการเงิน การคลังของรัฐและงบประมาณให้โปร่งใส
1. นำระบบ GFMIS มาใช้ในระบบการเงิน การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
2. นำระบบ e-Government มาใช้
- สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
12. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และขยายโอกาสแก่ข้าราชการ
1. ออกระเบียบหรือมติคณะรัฐมนตรี ที่มุ่งลดรายจ่ายของข้าราชการ เช่น ห้ามการเรี่ยไร การขอรับบริจาค การซื้อขายบัตรการกุศล การบริจาคที่เกินอัตราเหมาะสม
- ก.พ.มาตรการ วิธีการ ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
2. เพิ่มรายได้แก่บุคลากรชั้นผู้น้อยของรัฐโดยเฉพาะผู้มีรายได้ไม่ถึงเดือนละ 7,000 บาท
3. ส่งเสริมให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้และวิทยฐานะ
- ก.พ. สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง (มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 27 กันยายน 2547 แล้ว)
- ตำรวจ ทหาร ก.พ.13. ส่งเสริมคุณธรรมในระบบราชการ โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายและป้องกันการกลั่นแกล้ง ให้มีคณะกรรมการฝ่ายพิทักษ์คุณธรรม (Merit Protection Agency) รับเรื่องร้องทุกข์จากข้าราชการที่กล่าวโทษข้าราชการด้วยกันเองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือถูกกลั่นแกล้งในการแต่งตั้งโยกย้าย เลื่อนเงินเดือนและการประเมิน
- ก.พ.14. นำเอามาตรการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาลในการปฏิรูประบบราชการมาใช้อย่างจริงจัง บังคับใช้ พรฎ.ว่าด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546 อย่างเคร่งครัด
- ก.พ.ร. และทุกกระทรวง15. ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้ข้าราชการการเมืองทุกตำแหน่งปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่ข้าราชการประจำชั้นผู้ใหญ่ในเรื่องความสุจริตและชั้นผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างแก่ชั้นผู้น้อย รวมทั้งสอดส่องดูแลการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่ง ครัดในกรณีตรวจพบว่ามีการกระทำผิดข้าราชการการเมืองทุกคน และข้าราชการทุกกระทรวง
16. จัดระบบการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ
1. จัดให้มีระบบการตรวจสอบภายในในทุกกระทรวง รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ
2. ปรับปรุงผู้ตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นอิสระมีความเจริญก้าวหน้า มีคุณภาพโดยอาจพิจารณาให้ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
3. ปรับปรุงระบบผู้ตรวจราชการกระทรวงให้มีประสิทธิภาพและช่วยตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการทุจริตด้วย
- รองนรม. (สุชาติฯ) ก.พ. ก.พ.ร. กระทรวงการคลัง
- ก.พ. ก.พ.ร.
- รอง นรม. (วิษณุฯ) และทุกกระทรวง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-