คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 260/2547 เรื่อง นโยบายและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สรุปสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 68/2547 เรื่อง นโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 24 มีนาคม 2547 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 69/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ลงวันที่ 24 มีนาคม 2547 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 106/2547 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานของนายกรัฐมนตรี (Prime Minister's Task Force) ในการพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ยะลา และปัตตานี) ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 177/2547 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 106/2547 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2547
2. นโยบายการสร้างความสามัคคี ความสมานฉันท์และความสงบสุข ในบริเวณพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้หลักการ "เสริมสร้างสันติสุข" ด้วยการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลและสิ่งที่ดำเนินมาแล้วยังคงเป็นหลักการที่ถูกต้อง สมควรดำเนินการต่อไป โดยปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการให้มีลักษณะบูรณาการ เป็นเอกภาพและเด็ดขาดเข้มแข็ง ตลอดจนระดมสรรพกำลัง สรรพปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น โดยคำนึงถึงหลักธรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ความต้องการของประชาชน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข การประกอบกำลังที่มีประสิทธิภาพ โครงสร้างองค์การที่มีระเบียบ และการใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างจริงจังและจริงใจ
3. การบริหารจัดการ
3.1 ให้มีกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกโดยย่อว่า "กอ.สสส.จชต." เป็นกองอำนวยการเฉพาะกิจภายในขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี มีผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.สสส.จชต.) ซึ่งแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามนโยบายและการสั่งการของนายกรัฐมนตรีและสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตลอดจนการประสานงานกับกระทรวง ทบวง กรม กองทัพ จังหวัดและองค์กรที่เกี่ยวข้อง มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะให้คุณให้โทษที่เป็นผลต่อข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร และบุคคลอื่น ๆ ซึ่ง ผอ.สสส.จชต. ได้แต่งตั้งหรือขอความร่วมมือจากส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ มาปฏิบัติงาน ทั้งนี้
1) ผอ.สสส.จชต. อาจมอบอำนาจให้รองผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้(รอง ผอ.สสส.จชต.) ปฏิบัติราชการแทนโดยกำหนดขอบเขตหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม
2) ให้ กอ.สสส.จชต. มีอำนาจหน้าที่
(1) สั่งการ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน เร่งรัด กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดบูรณาการและมีเอกภาพ
(2) รวบรวม กลั่นกรอง เสนอแนะ จัดทำแผนงาน/โครงการ และการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มีการบูรณาการในการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
(3) ติดตามสถานการณ์เพื่อพิจารณาปรับแผนงานให้เป็นไปตามนโยบายในการแก้ปัญหาได้าอย่างรวดเร็วและใกล้ชิด สามารถดำเนินการช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิ-ภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้น จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
(4) เสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในการปรับปรุงประสิทธิภาพของส่วนราชการ ข้าราชการ การเลือกสรรข้าราชการ และการให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามกฎหมาย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี
(5) รายงานการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีผ่านทางสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติส่วนหน้า
(6) แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา ช่วยเหลือการดำเนินการได้ตามความจำเป็น
(7) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี
3) โครงสร้างการจัดและอัตรากำลังของ กอ.สสส.จชต. และหน่วยที่เกี่ยวข้อง ให้ ผอ.สสส.จชต. พิจารณาจัดทำและเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาออกเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีต่อไป
4) กอ.สสส.จชต. มีที่ตั้งสำนักงาน ณ ค่ายสิรินธร อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
3.2 การแก้ไขปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความสงบสุขอย่างถาวร เป็นภารกิจที่มีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ จึงเป็นหน้าที่รับผิดชอบสูงสุดของรัฐบาล ให้กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ต้องกำหนดแผนงาน/โครงการ และการปฏิบัติทั้งสิ้นให้บรรลุวัตถุประสงค์แห่งนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
3.3 ให้ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเสริมสร้างสันติสุขพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามผังการจัดประกอบคำสั่งนี้ (ผนวก ก.)
3.4 ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จัดตั้งสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติส่วนหน้า (สมช.สน.) เป็นหน่วยงานภายใน รับผิดชอบในการติดตามและประสานการปฏิบัติทั้งปวงกับกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ในพื้นที่และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เสนอแนะการปรับแนวทางยุทธศาสตร์และรายงานผลการปฏิบัติตรงต่อนายกรัฐมนตรีและสภาความมั่นคงแห่งชาติ
3.5 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับผิดชอบในการบูรณาการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยประสานให้สอดคล้องกับแนวทางของ กอ.สสส.จชต.
4. กำลังพลที่ปฏิบัติงานใน กอ.สสส.จชต. และ สมช.สน. ถือว่าเป็นกำลัพลที่ปฏิบัติงานประเภทเสี่ยงอันตรายตามแผนปฏิบัติการของส่วนราชการ ให้ได้รับสิทธิต่าง ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด รายละเอียดตาม ผนวก ข. (สิทธิกำลังพลของผู้ปฏิบัติงานฯ)
5. ให้ กอ.สสส.จชต. และหน่วยงานในสายงานจัดทำแผนงาน/โครงการประจำปี เสนอผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามสายงาน และผ่านการพิจารณาของ สมช.สน. ก่อนเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณา เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของระบบงบประมาณรวมทั้งเสนอกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการ โดยสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานให้กับ กอ.สสส.จชต. เพื่อบูรณาการให้เป็นเอกภาพต่อไป
6. ให้สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และส่วนราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ สนับสนุนการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งนี้
7. ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้มีความร่วมมือในการปฏิบัติระหว่างฝ่ายทหาร ตำรวจ พลเรือน โดยเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
8. บรรดาคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับใด ซึ่งขัดแย้งกับคำสั่งนี้ ให้ใช้คำสั่งนี้แทน
ทั้งนี้ ให้ผู้รับผิดชอบในส่วนต่าง ๆ ตามที่กำหนด ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 68/2547 เรื่อง นโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 24 มีนาคม 2547 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 69/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ลงวันที่ 24 มีนาคม 2547 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 106/2547 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานของนายกรัฐมนตรี (Prime Minister's Task Force) ในการพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ยะลา และปัตตานี) ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 177/2547 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 106/2547 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2547
2. นโยบายการสร้างความสามัคคี ความสมานฉันท์และความสงบสุข ในบริเวณพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้หลักการ "เสริมสร้างสันติสุข" ด้วยการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลและสิ่งที่ดำเนินมาแล้วยังคงเป็นหลักการที่ถูกต้อง สมควรดำเนินการต่อไป โดยปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการให้มีลักษณะบูรณาการ เป็นเอกภาพและเด็ดขาดเข้มแข็ง ตลอดจนระดมสรรพกำลัง สรรพปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น โดยคำนึงถึงหลักธรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ความต้องการของประชาชน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข การประกอบกำลังที่มีประสิทธิภาพ โครงสร้างองค์การที่มีระเบียบ และการใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างจริงจังและจริงใจ
3. การบริหารจัดการ
3.1 ให้มีกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกโดยย่อว่า "กอ.สสส.จชต." เป็นกองอำนวยการเฉพาะกิจภายในขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี มีผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.สสส.จชต.) ซึ่งแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามนโยบายและการสั่งการของนายกรัฐมนตรีและสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตลอดจนการประสานงานกับกระทรวง ทบวง กรม กองทัพ จังหวัดและองค์กรที่เกี่ยวข้อง มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะให้คุณให้โทษที่เป็นผลต่อข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร และบุคคลอื่น ๆ ซึ่ง ผอ.สสส.จชต. ได้แต่งตั้งหรือขอความร่วมมือจากส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ มาปฏิบัติงาน ทั้งนี้
1) ผอ.สสส.จชต. อาจมอบอำนาจให้รองผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้(รอง ผอ.สสส.จชต.) ปฏิบัติราชการแทนโดยกำหนดขอบเขตหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม
2) ให้ กอ.สสส.จชต. มีอำนาจหน้าที่
(1) สั่งการ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน เร่งรัด กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดบูรณาการและมีเอกภาพ
(2) รวบรวม กลั่นกรอง เสนอแนะ จัดทำแผนงาน/โครงการ และการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มีการบูรณาการในการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
(3) ติดตามสถานการณ์เพื่อพิจารณาปรับแผนงานให้เป็นไปตามนโยบายในการแก้ปัญหาได้าอย่างรวดเร็วและใกล้ชิด สามารถดำเนินการช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิ-ภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้น จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
(4) เสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในการปรับปรุงประสิทธิภาพของส่วนราชการ ข้าราชการ การเลือกสรรข้าราชการ และการให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามกฎหมาย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี
(5) รายงานการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีผ่านทางสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติส่วนหน้า
(6) แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา ช่วยเหลือการดำเนินการได้ตามความจำเป็น
(7) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี
3) โครงสร้างการจัดและอัตรากำลังของ กอ.สสส.จชต. และหน่วยที่เกี่ยวข้อง ให้ ผอ.สสส.จชต. พิจารณาจัดทำและเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาออกเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีต่อไป
4) กอ.สสส.จชต. มีที่ตั้งสำนักงาน ณ ค่ายสิรินธร อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
3.2 การแก้ไขปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความสงบสุขอย่างถาวร เป็นภารกิจที่มีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ จึงเป็นหน้าที่รับผิดชอบสูงสุดของรัฐบาล ให้กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ต้องกำหนดแผนงาน/โครงการ และการปฏิบัติทั้งสิ้นให้บรรลุวัตถุประสงค์แห่งนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
3.3 ให้ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเสริมสร้างสันติสุขพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามผังการจัดประกอบคำสั่งนี้ (ผนวก ก.)
3.4 ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จัดตั้งสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติส่วนหน้า (สมช.สน.) เป็นหน่วยงานภายใน รับผิดชอบในการติดตามและประสานการปฏิบัติทั้งปวงกับกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ในพื้นที่และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เสนอแนะการปรับแนวทางยุทธศาสตร์และรายงานผลการปฏิบัติตรงต่อนายกรัฐมนตรีและสภาความมั่นคงแห่งชาติ
3.5 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับผิดชอบในการบูรณาการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยประสานให้สอดคล้องกับแนวทางของ กอ.สสส.จชต.
4. กำลังพลที่ปฏิบัติงานใน กอ.สสส.จชต. และ สมช.สน. ถือว่าเป็นกำลัพลที่ปฏิบัติงานประเภทเสี่ยงอันตรายตามแผนปฏิบัติการของส่วนราชการ ให้ได้รับสิทธิต่าง ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด รายละเอียดตาม ผนวก ข. (สิทธิกำลังพลของผู้ปฏิบัติงานฯ)
5. ให้ กอ.สสส.จชต. และหน่วยงานในสายงานจัดทำแผนงาน/โครงการประจำปี เสนอผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามสายงาน และผ่านการพิจารณาของ สมช.สน. ก่อนเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณา เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของระบบงบประมาณรวมทั้งเสนอกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการ โดยสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานให้กับ กอ.สสส.จชต. เพื่อบูรณาการให้เป็นเอกภาพต่อไป
6. ให้สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และส่วนราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ สนับสนุนการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งนี้
7. ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้มีความร่วมมือในการปฏิบัติระหว่างฝ่ายทหาร ตำรวจ พลเรือน โดยเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
8. บรรดาคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับใด ซึ่งขัดแย้งกับคำสั่งนี้ ให้ใช้คำสั่งนี้แทน
ทั้งนี้ ให้ผู้รับผิดชอบในส่วนต่าง ๆ ตามที่กำหนด ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-