คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ในฐานะประธานอนุกรรมการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการประกอบอาชีพและที่อยู่อาศัย (อ.จทอ.) ได้กำหนดให้มีการประชุม อ.ทจอ. ครั้งที่ 5/2547 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2547 สรุปได้ดังนี้
1. ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา เสนอให้รัฐบาลนำโครงการแก้ไขปัญหาที่ ทำกิน บรรจุไว้ให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการ และจะนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติ นำโครงการการแก้ไขปัญหาที่ทำกินบรรจุไว้ให้เป็นวาระแห่งชาติ ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ อ.จทอ. ร่วมหารือและยกร่างวาระแห่งชาติ ดังกล่าวขึ้น เพื่อพิจารณาต่อไป
2. ผลดำเนินการของคณะทำงานด้านที่อยู่อาศัย
2.1 ปัญหาคนเร่ร่อน ได้มอบให้พัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดทุกจังหวัดดำเนินการสำรวจและแก้ไขคนเร่ร่อนที่ได้มาจดทะเบียนและผ่านการทำเวทีประชาคม จำนวน 3,964 คน ซึ่งได้มีการแก้ไขปัญหาแล้ว ดังนี้ 1) ได้รับการคลี่คลายปัญหาไปแล้ว 3,019 คน 2) อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือ 945 คน
2.2 โครงการบ้านเอื้ออาทร มีผู้ลงทะเบียนคนจนได้สิทธิ รวม 11,354 ราย จากผู้ที่ยื่นจองโครงการบ้านเอื้ออาทร รวม 55,540 ราย
2.3 โครงการบ้านมั่นคง ดำเนินการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดซึ่งเป็นผู้ที่ลงทะเบียนไปแล้วทั้งสิ้น 10,202 หน่วย คิดเป็นประชาชนรวม 41,000 คน
3. ผลดำเนินการของคณะทำงานแก้ไขปัญหาราษฎรอยู่อาศัยทำกินในเขตที่ดินของรัฐในพื้นที่จังหวัดกาญจบุรี คณะทำงานแก้ไขปัญหาราษฎรอยู่อาศัยทำกินในเขตที่ดินของรัฐในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2547 ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี สรุปได้ว่า ที่ดินของรัฐที่มีปัญหาของจังหวัดกาญจนบุรี คือ ที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี วังขนาย บ้านทวน และวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2481 เนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ไร่เศษ ดำเนินการถอนสภาพให้ส่วนราชการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ไปแล้ว 897,476 ไร่ คงเหลือพื้นที่สงวนหวงห้ามฯ ที่มีหน่วยทหารและส่วนราชการอื่นใช้ประโยชน์ 2,303,124 ไร่ และได้มีราษฎรเข้าครอบครองทำกินเต็มพื้นที่ คณะทำงานฯ ได้มอบหมายให้กรมที่ดินไปศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน และอยู่ระหว่างรวบรวมแผนดำเนินงานของหน่วยงาน และเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2547 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหา จำนวน 134,026,709 บาท
4. ผลการดำเนินการของคณะทำงานด้านที่ทำกินเพื่อการประกอบอาชีพ
4.1 การมอบหนังสือแสดงสิทธิให้แก่ประชาชน ขณะนี้มีหน่วยงานที่มีความพร้อมในการมอบหนังสือแสดงสิทธิให้แก่ราษฎร จำนวน 3 หน่วยงาน คือ ส.ป.ก. กรมป่าไม้ และกรมธนารักษ์ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการกราบ-เรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบและกราบเรียนเชิญเป็นประธานในพิธีมอบ สำหรับจังหวัดอื่น ๆ จะได้เรียนเชิญรองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ เป็นประธาน เพื่อทำพิธีมอบต่อไป โดยให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2547
4.2 แผนการดำเนินงานของคณะทำงานด้านที่ทำกินเพื่อการประกอบอาชีพ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในฐานะเลขานุการคณะทำงานได้นำเสนอแผนการดำเนินงานของคณะทำงาน เพื่อ Matching ระหว่างข้อมูลการขึ้นทะเบียน และข้อมูลจำนวนที่ดิน โดย ส.ป.ก. ได้ประสานกับกรมการปกครองเพื่อนำข้อมูลขึ้นทะเบียน (Demand) มาประมวลผลเพื่อทำ Matching แต่เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมากจึงดำเนินการเฉพาะ สย.1 โดยแยกเป็นรายจังหวัด (อยู่ระหว่างการเขียนโปรแกรมประมวลผล) เพื่อจัดส่งให้แต่ละจังหวัดประมวลผลแยกรายชื่อผู้ขื้นทะเบียน เพื่อดำเนินการทำ Matching ทั้ง 2 กรณี คือการรับรองสิทธิและการจัดที่ดิน ดังนี้
1) แนวทางทำ Matching กรณีรับรองสิทธิ เพื่อเปรียบเทียบผลงานปี 2547 กับรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียน โดยแยกเป็นกลุ่ม ดังนี้ 1.1) ผู้ไม่ขึ้นทะเบียนและรับรองสิทธิไปแล้ว 1.2) ผู้ขึ้นทะเบียนและรับรองสิทธิไปแล้ว1.3) ผู้ขึ้นทะเบียนและยังไม่รับรองสิทธิ (กรณีที่ 1.3) นี้ จะนำไปเป็นเป้าหมายดำเนินการในแผนปี 2548 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
2) แนวทางทำ Matching กรณีจัดที่ดิน ได้ดำเนินการแจ้งให้หน่วยงานจัดที่ดินจัดทำแผนปี 2547 และปี 2548 ด้าน Supply เพื่อหาแปลงว่างมาจัดที่ดินให้ราษฎรต่อไป
สำหรับด้าน Demand ได้จัดทำโปรแกรมประมวลผลแยกรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียนเป็นรายตำบล/อำเภอ เพื่อนำมาสำรวจความต้องการเพิ่มเติมว่าต้องการที่ดินประเภทใด อยู่ในท้องที่ใด และส่งรายชื่อให้ ศตจ.จ/ศตจ.อ. ตรวจสอบกลั่นกรองว่า เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะจัดที่ดินให้ได้หรือไม่ ตามกฎระเบียบของแต่ละหน่วยงาน
5. การจัดทำ Geographic Information system : GIS
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึงการดำเนินการจัดทำ GIS โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพิสูจน์การถือครองที่ดิน เนื่องจากหลายหน่วยงานได้มีโครงการจัดทำ GIS ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองงบประมาณและจากคราวการประชุม อ.จทอ.ครั้งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2547 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เสนอต่อที่ประชุมในการดำเนินการจัดทำ Digital Map ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับที่จะดำเนินการจัดทำภาพถ่ายทางอากาศและหากหน่วยงานใดที่มีความต้องการใช้ภาพถ่ายทางอากาศ สามารถประสานมาที่สำนักงานนโยบายและแผนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา เสนอให้รัฐบาลนำโครงการแก้ไขปัญหาที่ ทำกิน บรรจุไว้ให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการ และจะนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติ นำโครงการการแก้ไขปัญหาที่ทำกินบรรจุไว้ให้เป็นวาระแห่งชาติ ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ อ.จทอ. ร่วมหารือและยกร่างวาระแห่งชาติ ดังกล่าวขึ้น เพื่อพิจารณาต่อไป
2. ผลดำเนินการของคณะทำงานด้านที่อยู่อาศัย
2.1 ปัญหาคนเร่ร่อน ได้มอบให้พัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดทุกจังหวัดดำเนินการสำรวจและแก้ไขคนเร่ร่อนที่ได้มาจดทะเบียนและผ่านการทำเวทีประชาคม จำนวน 3,964 คน ซึ่งได้มีการแก้ไขปัญหาแล้ว ดังนี้ 1) ได้รับการคลี่คลายปัญหาไปแล้ว 3,019 คน 2) อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือ 945 คน
2.2 โครงการบ้านเอื้ออาทร มีผู้ลงทะเบียนคนจนได้สิทธิ รวม 11,354 ราย จากผู้ที่ยื่นจองโครงการบ้านเอื้ออาทร รวม 55,540 ราย
2.3 โครงการบ้านมั่นคง ดำเนินการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดซึ่งเป็นผู้ที่ลงทะเบียนไปแล้วทั้งสิ้น 10,202 หน่วย คิดเป็นประชาชนรวม 41,000 คน
3. ผลดำเนินการของคณะทำงานแก้ไขปัญหาราษฎรอยู่อาศัยทำกินในเขตที่ดินของรัฐในพื้นที่จังหวัดกาญจบุรี คณะทำงานแก้ไขปัญหาราษฎรอยู่อาศัยทำกินในเขตที่ดินของรัฐในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2547 ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี สรุปได้ว่า ที่ดินของรัฐที่มีปัญหาของจังหวัดกาญจนบุรี คือ ที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี วังขนาย บ้านทวน และวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2481 เนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ไร่เศษ ดำเนินการถอนสภาพให้ส่วนราชการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ไปแล้ว 897,476 ไร่ คงเหลือพื้นที่สงวนหวงห้ามฯ ที่มีหน่วยทหารและส่วนราชการอื่นใช้ประโยชน์ 2,303,124 ไร่ และได้มีราษฎรเข้าครอบครองทำกินเต็มพื้นที่ คณะทำงานฯ ได้มอบหมายให้กรมที่ดินไปศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน และอยู่ระหว่างรวบรวมแผนดำเนินงานของหน่วยงาน และเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2547 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหา จำนวน 134,026,709 บาท
4. ผลการดำเนินการของคณะทำงานด้านที่ทำกินเพื่อการประกอบอาชีพ
4.1 การมอบหนังสือแสดงสิทธิให้แก่ประชาชน ขณะนี้มีหน่วยงานที่มีความพร้อมในการมอบหนังสือแสดงสิทธิให้แก่ราษฎร จำนวน 3 หน่วยงาน คือ ส.ป.ก. กรมป่าไม้ และกรมธนารักษ์ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการกราบ-เรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบและกราบเรียนเชิญเป็นประธานในพิธีมอบ สำหรับจังหวัดอื่น ๆ จะได้เรียนเชิญรองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ เป็นประธาน เพื่อทำพิธีมอบต่อไป โดยให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2547
4.2 แผนการดำเนินงานของคณะทำงานด้านที่ทำกินเพื่อการประกอบอาชีพ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในฐานะเลขานุการคณะทำงานได้นำเสนอแผนการดำเนินงานของคณะทำงาน เพื่อ Matching ระหว่างข้อมูลการขึ้นทะเบียน และข้อมูลจำนวนที่ดิน โดย ส.ป.ก. ได้ประสานกับกรมการปกครองเพื่อนำข้อมูลขึ้นทะเบียน (Demand) มาประมวลผลเพื่อทำ Matching แต่เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมากจึงดำเนินการเฉพาะ สย.1 โดยแยกเป็นรายจังหวัด (อยู่ระหว่างการเขียนโปรแกรมประมวลผล) เพื่อจัดส่งให้แต่ละจังหวัดประมวลผลแยกรายชื่อผู้ขื้นทะเบียน เพื่อดำเนินการทำ Matching ทั้ง 2 กรณี คือการรับรองสิทธิและการจัดที่ดิน ดังนี้
1) แนวทางทำ Matching กรณีรับรองสิทธิ เพื่อเปรียบเทียบผลงานปี 2547 กับรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียน โดยแยกเป็นกลุ่ม ดังนี้ 1.1) ผู้ไม่ขึ้นทะเบียนและรับรองสิทธิไปแล้ว 1.2) ผู้ขึ้นทะเบียนและรับรองสิทธิไปแล้ว1.3) ผู้ขึ้นทะเบียนและยังไม่รับรองสิทธิ (กรณีที่ 1.3) นี้ จะนำไปเป็นเป้าหมายดำเนินการในแผนปี 2548 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
2) แนวทางทำ Matching กรณีจัดที่ดิน ได้ดำเนินการแจ้งให้หน่วยงานจัดที่ดินจัดทำแผนปี 2547 และปี 2548 ด้าน Supply เพื่อหาแปลงว่างมาจัดที่ดินให้ราษฎรต่อไป
สำหรับด้าน Demand ได้จัดทำโปรแกรมประมวลผลแยกรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียนเป็นรายตำบล/อำเภอ เพื่อนำมาสำรวจความต้องการเพิ่มเติมว่าต้องการที่ดินประเภทใด อยู่ในท้องที่ใด และส่งรายชื่อให้ ศตจ.จ/ศตจ.อ. ตรวจสอบกลั่นกรองว่า เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะจัดที่ดินให้ได้หรือไม่ ตามกฎระเบียบของแต่ละหน่วยงาน
5. การจัดทำ Geographic Information system : GIS
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึงการดำเนินการจัดทำ GIS โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพิสูจน์การถือครองที่ดิน เนื่องจากหลายหน่วยงานได้มีโครงการจัดทำ GIS ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองงบประมาณและจากคราวการประชุม อ.จทอ.ครั้งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2547 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เสนอต่อที่ประชุมในการดำเนินการจัดทำ Digital Map ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับที่จะดำเนินการจัดทำภาพถ่ายทางอากาศและหากหน่วยงานใดที่มีความต้องการใช้ภาพถ่ายทางอากาศ สามารถประสานมาที่สำนักงานนโยบายและแผนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-