คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) รายงาน ผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ณ วันที่ 20 กันยายน 2547) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การประชุมศูนย์อำนวยการต่อสู่เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ผู้อำนวยการ ศตส. เป็นประธานการประชุม เพื่อรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานของ ศตส. ณ วันที่ 2 กันยายน 2547 ดังนี้
1.1 ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ได้มีการสำรวจเพื่อจำแนกสถานะของหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง ดังนี้ ชุมชนประเภท ก. (เข้มแข็งมีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน) และประเภท ข. (เข้มแข็งและมีระบบเฝ้าระวัง) รวมกัน 80,216 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 95.45 ชุมชนประเภท ค. (เข้มแข็ง) และประเภท ง. (ต้องเสริมความเข้มแข็งเป็นกรณีพิเศษ) รวมกัน 3,792 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 4.51สำหรับ บก.ทหารสูงสุดได้สนับสนุนกระบวนการหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด จำนวน 141 หมู่บ้าน มีผู้ผ่านการอบรม 8,460 คน และฝึกอบรมหลักสูตรเยาวชนป้องกันยาเสพติด หลักสูตร 5 วัน จำนวน 30 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรม 1,200 คน
กองทัพบก ได้จัดทำโครงการชุมชนป้องกันปัญหายาเสพติด โดยจัดกิจกรรมลานกีฬาต้านยาเสพติด และการประชาสัมพันธ์โดยสื่อวิทยุกระจายเสียงของกองทัพบก รับผิดชอบการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน โดยทำการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดผ่านทางสถานีวิทยุในเครือข่ายกองทัพบก จำนวน 126 สถานี
กองทัพเรือ จัดทำโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการชุมชนทหารเข้มแข็ง โครงการลานกีฬาต้านยาเสพติด และโครงการเยาวชนอาสาต้านยาเสพติด และได้ติดตามผลงานโครงการประชาคมหมู่บ้านต้านยาเสพติด รวม 19 หมู่บ้าน
กองทัพอากาศ ดำเนินการจัดประชาสัมพันธ์ถึงพิษภัยของยาเสพติด จำนวน 60 ครั้ง กรุงเทพมหานคร ให้การศึกษาและสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด ดำเนินการ 59,352 ครั้ง 1,791,949 คน โดยดำเนินการใน ชุมชน 3,656 แห่ง สถานศึกษา 1,244 แห่ง และสถานประกอบการ 10,111 แห่ง ตลอดจนการสร้างพลังแผ่นดินให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีเครือข่ายต้านยาเสพติด 203,580 คน ผู้ประสานพลังแผ่นดิน 318,844 คน โดยมีพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้ ชุมชน 5,422 แห่ง สถานศึกษา 1,073 แห่ง และสถานประกอบการ 6,789 แห่ง
1.2 ด้านการควบคุมตัวยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ปราบปรามผู้ผลิต ผู้ค้ายาเสพติด ระหว่าง วันที่ 9 สิงหาคม - 5 กันยายน 2547 สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 4,734 ราย 5,188 คน รวมของกลางยาบ้า จำนวน 2,515,482 เม็ด ตั้งจุดตรวจ/ จุดสกัด 4,732 ครั้ง ปิดล้อมตรวจค้น 9,911 ครั้ง ตรวจสถานบริการ 28,387 ครั้ง มูลค่าทรัพย์สินที่ยึด 2,058,080 บาท (รวม 1 กุมภาพันธ์ - 5 กันยายน 2547 ยึดทรัพย์มูลค่า 1,848,379,482 บาท)
ศตส. กองทัพไทย ได้ดำเนินการสกัดกั้นปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน โดยจัดลาดตระเวน/พิสูจน์ทราบเป้าหมาย จำนวน 6,717 ครั้ง ลาดตระเวนทางเรือ จำนวน 199 ครั้ง จัดกำลังตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ จำนวน 6,718 ครั้ง จัดกำลังปิดล้อม/ตรวจค้น จำนวน 268 ครั้ง ผลการจับกุมได้ผู้ต้องหา 308 คน ผู้ต้องหาเสียชีวิต 2 คน ของกลาง ยาบ้าจำนวน 7,644,331 เม็ด เคตามีน จำนวน 265 ขวด เฮโรอีน จำนวน 7.862 กก. กัญชาแห้ง 418.35 กก.
1.3 ด้านการดูแลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ได้ช่วยเหลือดูแลผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด แยกเป็น ระบบสมัครใจ 12,856 คน (ร้อยละ 60) ระบบบังคับบำบัด 5,519 คน (ร้อยละ 25.81) ระบบต้องโทษ 3,011 คน (ร้อยละ 14.08) รวมทุกระบบ 21,386 คน
การดำเนินงานเชิงคุณภาพ ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ/ผู้ติด โดยการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูที่เป็นแบบอย่างที่ดีและจูงใจผู้เสพ/ผู้ติดให้ผ่านเกณฑ์การบำบัดฟื้นฟูมากขึ้น พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย อาทิ ผู้ป่วยกลุ่มเสพซ้ำ ผู้ป่วยระบบบังคับบำบัด ผู้ป่วยกลุ่มเสพ/ติดเรื้อรัง ผู้ป่วยเพศหญิง เปิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างครบวงจรศูนย์รัตนานุรักษ์ จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547 และพัฒนารูปแบบการติดตามดูแลช่วยเหลือหลังผ่านการบำบัดฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและครบวงจร ขยายผลครอบคลุม 8 จังหวัดภาคตะวันออก
บก.ทหารสูงสุด ได้จัดโครงการ "ปรับเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพยาเสพติด" ภายใต้โครงการค่ายพุทธธรรมสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชน จำนวน 10 รุ่น ๆ ละ 200 คน
กองทัพบก ได้จัดทำโครงการศูนย์ทะเบียนทหารติดยาเสพติด โรงพยาบาลทหารบก จำนวน 37 แห่ง ได้ดำเนินการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่กำลังพล รวบรวมผลการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะของทหารกอง-ประจำการหลังกลับจากลาพักเมื่อจบการฝึก จำนวน 29,824 นาย ตรวจพบสารเสพติด จำนวน 53 นาย คิดเป็นร้อยละ 0.18 ซึ่งผลการตรวจก่อนฝึกพบสารเสพติดร้อยละ 0.46 ผลการตรวจมีแนวโน้มลดลง และจัดตั้งศูนย์วิวัฒน์พลเมือง จำนวน 8 ศูนย์ สนับสนุนกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม โดยรับผู้ต้องคดียาเสพติดที่ศาลตัดสินให้เป็นผู้ป่วยหรือผู้เสพ และผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้เข้าทำการฝึกอบรมในลักษณะบังคับบำบัด ยอดเดิม 820 คน และจำหน่าย 51คน รวม 769 คน
กองทัพเรือ ได้ดำเนินการเปิดโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองแบบบังคับบำบัด โดยรับผู้เข้ารับการบำบัดจากกรมคุมประพฤติ จำนวน 312 คน
กองทัพอากาศ ได้ดำเนินการเปิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาแบบควบคุมตัวเข้มงวด จำนวน 13 ศูนย์ รับผู้เข้าบำบัด จำนวน 442 คน
2. ที่ประชุม ศตส. ได้เห็นชอบการดำเนินการ ดังนี้
2.1 เห็นชอบโครงการสนับสนุนการสืบสวนปราบปรามยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะดำเนินการในประเทศพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชา โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบการสนับสนุนการปฏิบัติการสืบสวนปราบปรามการค้ายาเสพติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และอนุมัติเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548 - 2550 ของสำนักงาน ป.ป.ส. เป็นรายการเงินราชการลับ เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการปฏิบัติการข่าวและการปราบปรามยาเสพติดให้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปี 2548 ขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน ป.ป.ส. จำนวน 20 ล้านบาท
2.2 เห็นชอบการดำเนินการเพื่อการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด เพื่อรองรับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2547 และเป็นการปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 2 (4 ตุลาคม-3 ธันวาคม 2547) โดยเน้นพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การประชุมศูนย์อำนวยการต่อสู่เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ผู้อำนวยการ ศตส. เป็นประธานการประชุม เพื่อรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานของ ศตส. ณ วันที่ 2 กันยายน 2547 ดังนี้
1.1 ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ได้มีการสำรวจเพื่อจำแนกสถานะของหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง ดังนี้ ชุมชนประเภท ก. (เข้มแข็งมีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน) และประเภท ข. (เข้มแข็งและมีระบบเฝ้าระวัง) รวมกัน 80,216 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 95.45 ชุมชนประเภท ค. (เข้มแข็ง) และประเภท ง. (ต้องเสริมความเข้มแข็งเป็นกรณีพิเศษ) รวมกัน 3,792 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 4.51สำหรับ บก.ทหารสูงสุดได้สนับสนุนกระบวนการหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด จำนวน 141 หมู่บ้าน มีผู้ผ่านการอบรม 8,460 คน และฝึกอบรมหลักสูตรเยาวชนป้องกันยาเสพติด หลักสูตร 5 วัน จำนวน 30 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรม 1,200 คน
กองทัพบก ได้จัดทำโครงการชุมชนป้องกันปัญหายาเสพติด โดยจัดกิจกรรมลานกีฬาต้านยาเสพติด และการประชาสัมพันธ์โดยสื่อวิทยุกระจายเสียงของกองทัพบก รับผิดชอบการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน โดยทำการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดผ่านทางสถานีวิทยุในเครือข่ายกองทัพบก จำนวน 126 สถานี
กองทัพเรือ จัดทำโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการชุมชนทหารเข้มแข็ง โครงการลานกีฬาต้านยาเสพติด และโครงการเยาวชนอาสาต้านยาเสพติด และได้ติดตามผลงานโครงการประชาคมหมู่บ้านต้านยาเสพติด รวม 19 หมู่บ้าน
กองทัพอากาศ ดำเนินการจัดประชาสัมพันธ์ถึงพิษภัยของยาเสพติด จำนวน 60 ครั้ง กรุงเทพมหานคร ให้การศึกษาและสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด ดำเนินการ 59,352 ครั้ง 1,791,949 คน โดยดำเนินการใน ชุมชน 3,656 แห่ง สถานศึกษา 1,244 แห่ง และสถานประกอบการ 10,111 แห่ง ตลอดจนการสร้างพลังแผ่นดินให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีเครือข่ายต้านยาเสพติด 203,580 คน ผู้ประสานพลังแผ่นดิน 318,844 คน โดยมีพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้ ชุมชน 5,422 แห่ง สถานศึกษา 1,073 แห่ง และสถานประกอบการ 6,789 แห่ง
1.2 ด้านการควบคุมตัวยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ปราบปรามผู้ผลิต ผู้ค้ายาเสพติด ระหว่าง วันที่ 9 สิงหาคม - 5 กันยายน 2547 สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 4,734 ราย 5,188 คน รวมของกลางยาบ้า จำนวน 2,515,482 เม็ด ตั้งจุดตรวจ/ จุดสกัด 4,732 ครั้ง ปิดล้อมตรวจค้น 9,911 ครั้ง ตรวจสถานบริการ 28,387 ครั้ง มูลค่าทรัพย์สินที่ยึด 2,058,080 บาท (รวม 1 กุมภาพันธ์ - 5 กันยายน 2547 ยึดทรัพย์มูลค่า 1,848,379,482 บาท)
ศตส. กองทัพไทย ได้ดำเนินการสกัดกั้นปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน โดยจัดลาดตระเวน/พิสูจน์ทราบเป้าหมาย จำนวน 6,717 ครั้ง ลาดตระเวนทางเรือ จำนวน 199 ครั้ง จัดกำลังตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ จำนวน 6,718 ครั้ง จัดกำลังปิดล้อม/ตรวจค้น จำนวน 268 ครั้ง ผลการจับกุมได้ผู้ต้องหา 308 คน ผู้ต้องหาเสียชีวิต 2 คน ของกลาง ยาบ้าจำนวน 7,644,331 เม็ด เคตามีน จำนวน 265 ขวด เฮโรอีน จำนวน 7.862 กก. กัญชาแห้ง 418.35 กก.
1.3 ด้านการดูแลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ได้ช่วยเหลือดูแลผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด แยกเป็น ระบบสมัครใจ 12,856 คน (ร้อยละ 60) ระบบบังคับบำบัด 5,519 คน (ร้อยละ 25.81) ระบบต้องโทษ 3,011 คน (ร้อยละ 14.08) รวมทุกระบบ 21,386 คน
การดำเนินงานเชิงคุณภาพ ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ/ผู้ติด โดยการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูที่เป็นแบบอย่างที่ดีและจูงใจผู้เสพ/ผู้ติดให้ผ่านเกณฑ์การบำบัดฟื้นฟูมากขึ้น พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย อาทิ ผู้ป่วยกลุ่มเสพซ้ำ ผู้ป่วยระบบบังคับบำบัด ผู้ป่วยกลุ่มเสพ/ติดเรื้อรัง ผู้ป่วยเพศหญิง เปิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างครบวงจรศูนย์รัตนานุรักษ์ จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547 และพัฒนารูปแบบการติดตามดูแลช่วยเหลือหลังผ่านการบำบัดฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและครบวงจร ขยายผลครอบคลุม 8 จังหวัดภาคตะวันออก
บก.ทหารสูงสุด ได้จัดโครงการ "ปรับเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพยาเสพติด" ภายใต้โครงการค่ายพุทธธรรมสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชน จำนวน 10 รุ่น ๆ ละ 200 คน
กองทัพบก ได้จัดทำโครงการศูนย์ทะเบียนทหารติดยาเสพติด โรงพยาบาลทหารบก จำนวน 37 แห่ง ได้ดำเนินการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่กำลังพล รวบรวมผลการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะของทหารกอง-ประจำการหลังกลับจากลาพักเมื่อจบการฝึก จำนวน 29,824 นาย ตรวจพบสารเสพติด จำนวน 53 นาย คิดเป็นร้อยละ 0.18 ซึ่งผลการตรวจก่อนฝึกพบสารเสพติดร้อยละ 0.46 ผลการตรวจมีแนวโน้มลดลง และจัดตั้งศูนย์วิวัฒน์พลเมือง จำนวน 8 ศูนย์ สนับสนุนกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม โดยรับผู้ต้องคดียาเสพติดที่ศาลตัดสินให้เป็นผู้ป่วยหรือผู้เสพ และผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้เข้าทำการฝึกอบรมในลักษณะบังคับบำบัด ยอดเดิม 820 คน และจำหน่าย 51คน รวม 769 คน
กองทัพเรือ ได้ดำเนินการเปิดโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองแบบบังคับบำบัด โดยรับผู้เข้ารับการบำบัดจากกรมคุมประพฤติ จำนวน 312 คน
กองทัพอากาศ ได้ดำเนินการเปิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาแบบควบคุมตัวเข้มงวด จำนวน 13 ศูนย์ รับผู้เข้าบำบัด จำนวน 442 คน
2. ที่ประชุม ศตส. ได้เห็นชอบการดำเนินการ ดังนี้
2.1 เห็นชอบโครงการสนับสนุนการสืบสวนปราบปรามยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะดำเนินการในประเทศพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชา โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบการสนับสนุนการปฏิบัติการสืบสวนปราบปรามการค้ายาเสพติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และอนุมัติเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548 - 2550 ของสำนักงาน ป.ป.ส. เป็นรายการเงินราชการลับ เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการปฏิบัติการข่าวและการปราบปรามยาเสพติดให้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปี 2548 ขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน ป.ป.ส. จำนวน 20 ล้านบาท
2.2 เห็นชอบการดำเนินการเพื่อการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด เพื่อรองรับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2547 และเป็นการปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 2 (4 ตุลาคม-3 ธันวาคม 2547) โดยเน้นพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-