คณะรัฐมนตรีพิจารณายุทธศาสตร์การฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติยุทธศาสตร์การฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามันที่ประสบภัยธรณีพิบัติ
2. อนุมัติให้แยกพื้นที่เสียหายที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยว มาดำเนินการฟื้นฟูให้เกิดความยั่งยืน
3. อนุมัติให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามัน โดยมีสำนักงานประสานงานคณะกรรมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามัน ทำหน้าที่เลขานุการและอำนวยการ ทั้งนี้ โดยให้คณะกรรมการฯ จัดทำแผนปฏิบัติการและงบประมาณตามกรอบยุทธศาสตร์ฯ นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อโปรดพิจารณาในโอกาสต่อไป
คณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้รายงานว่าได้จัดประชุมระดมความคิดเห็น เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2548 ประกอบด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวในสาขาที่เกี่ยวข้อง จัดทำเป็นยุทธศาสตร์การฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามัน โดยรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานไว้ 3 ด้าน ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กันไป ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว เร่งรัดการฟื้นฟูสถานที่และทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด โดยมีกลยุทธทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว ดังนี้
ระยะเร่งด่วน (ภายใน 1-3 เดือน) เร่งรัดสำรวจความเสียหาย จัดเก็บทำความสะอาด สิ่งสกปรก รกรุงรังและสิ่งปฏิกูลตลอดจนซากปรักหักพัง และปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายไม่มากนักให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด โดยดำเนินการ ดังนี้
1. สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อแหล่งท่องเที่ยวและจัดลำดับความเร่งด่วนในการฟื้นฟูให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์
2. เร่งรัดเก็บกวาดทำความสะอาด สิ่งสกปรก ขยะชายหาดและในทะเล กู้ซากปรักหักพังและฟื้นฟู บูรณะแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบรุนแรง
3. ซ่อมแซม ปรับปรุงและบูรณะโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบจัดเก็บขยะที่ได้รับความเสียหายให้สามารถใช้การได้โดยเร็ว ภายใน 2 เดือน
4. เร่งรัดสำรวจจำแนกเขตการบริการและเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดำเนินการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวให้มีความสวยงามและมีความพร้อมในการรองรับให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
5. ศึกษาจัดวางผังการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหลักที่ได้รับความเสียหายรุนแรง ได้แก่ เขาหลัก หาดกมลา หาดป่าตอง และเกาะพีพี เป็นต้น ให้กลับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและได้มาตรฐานให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
6. ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่และควบคุมสิ่งก่อสร้างอย่างเคร่งครัด
ระยะปานกลาง (ภายใน 1-2 ปี) เน้นการดำเนินงานในด้านฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงให้มีภาพลักษณ์ใหม่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้มาตรฐานสากล และการคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ทำการยกระดับมาตรฐานการบริการและการดูแลรักษาความปลอดภัยแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับพื้นที่ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคเอกชนและพื้นที่ให้สามารถกลับมาแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างรวดเร็ว โดยมีแนวทางดังนี้
1. จัดทำ Camp ground ในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเพื่อให้เป็นพื้นที่รองรับสำหรับบริการนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว
2. ซ่องแซม ปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติของรัฐที่ได้รับความเสียหายให้สามารถใช้ประโยชน์ในการบริการนักท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น
3. จัดมาตรการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถพลิกฟื้นและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานสากล
4. สำรวจ ประเมินความเสียหาย และจัดระบบป้องกัน ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เช่น
ปะการัง หญ้าทะเล ให้มีศักยภาพและสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน
5. ศึกษากำหนดขีดความสามารถการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่
6. คัดเลือกพื้นที่ที่เคยมีความสำคัญทางด้านการท่องเที่ยว และถูกคลื่นสึนามิซัดทำลายโดยสิ้นเชิง เช่น เกาะพีพี มาประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยดำเนินการจัดทำแผนแม่บท และจัดภูมิทัศน์ของพื้นที่ดังกล่าวใหม่หมด รวมทั้งพิจารณาแลกเปลี่ยนพื้นที่ระหว่างราชการและเอกชนเพื่อให้สิ่งก่อสร้างถูกสร้างในสถานที่ที่สามารถสร้างความมั่นใจและให้มีความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว และให้เกิดความสวยงามในระดับ World Class อีกด้วย
7. คัดเลือกพื้นที่ที่มีซากปรักหักพังและมีซากของเรือหรือรถที่เกิดจากการทำลายล้างของคลื่นสึนามิและเคยถูกเผยแผ่ผ่านสื่อต่าง ๆ ของโลกมาแล้ว เพื่อนำมาจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบ Sport
8. วางแผนพัฒนาพื้นที่ชายทะเลทางด้านอ่าวไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำรองระดับนานาชาติ เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่นักท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างภาพลักษณ์และคุณภาพการบริการท่องเที่ยว เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสเพื่อจะสร้างภาพลักษณ์และคุณภาพการบริการท่องเที่ยวในทุกมติให้ได้มาตรฐานสากล (ทั้งในด้านสถานบริการท่องเที่ยว การบริการท่องเที่ยว ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม) โดยเน้นความเป็นไทย (Thainess) ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น รวมทั้งเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในการจัดการและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคและยั่งยืน โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
ระยะเร่งด่วน (ภายใน 1- 3 เดือน)
1. เร่งรัดรณรงค์ประชาสัมพันธ์ “ความเป็นไทย มิตรไมตรี และความเอื้ออาทร” ให้ปรากฏต่อสายตาของนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
2. ออกมาตรการควบคุมและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยทางด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นหลังภัยพิบัติให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และให้กำหนดระดับความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
3. จัดระบบเตือนภัยทุกพื้นที่การท่องเที่ยว เช่น การสร้างหอคอยสังเกตการณ์ และการจัดให้มียามรักษาฝั่ง (Bay Watch) เป็นต้น
ระยะปานกลาง (ภายใน 1 — 2 ปี)
1. สร้าง The Tsunami Memorial ให้เป็นอนุสรณ์และเป็นศูนย์ศึกษาให้ความรู้ในลักษณะ Interactive Museum โดยนำเสนอทฤษฎีการเกิดสึนามิและจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
2. สร้างมาตรฐานการบริการท่องเที่ยวและผลักดันให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ
3. ออกมาตรการการช่วยเหลือภาคเอกชนในด้านการลงทุน เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ โดยเร็วให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
4. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้เป็นมืออาชีพ
5. จัดระบบดูแลรักษาความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวอย่างครบวงจร โดยเฉพาะระบบเตือนภัย (Early Warning System) ที่สมบูรณ์ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6. ปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกิดภัยธรรมชาติ และวิธีการป้องกัน
ตนเองเมื่อเกิดเหตุ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดภาคใต้ ที่ประสบภัยครั้งนี้ให้สามารถดำรงสถานการณ์ตลาดการท่องเที่ยวดังที่เป็นมา จึงควรเร่งรัดดำเนินการด้านการตลาด ดังนี้
ระยะเร่งด่วน
ตลาดต่างประเทศ
1. ประสานหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องออก Official Announcement แสดงความเสียใจต่อญาติผู้เสียชีวิต
2. ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความมั่นใจของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวให้กลับคืนมา โดยดำเนิน
การประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศทั้งระดับ Regional และ In marketม
3.ร่วมมือกับภาคเอกชนกระตุ้นการขายในระยะสั้น โดยจัดทำ Special Offer สำหรับตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อย และตลาดระยะใกล้ เช่น ตลาดเอเชีย
ตลาดในประเทศ
1. ร่วมกับสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ สายการบินและโรงแรมจัดรายการนำเที่ยวให้คนไทยไปเที่ยวอันดามัน
2. ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดประชุม สัมมนาใน 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน
ระยะยาว
ตลาดต่างประเทศ
1. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยเน้นภาพลักษณ์ที่ดีของคนไทย (Thainess) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ
เดินทางคืนสู่ประเทศไทยและชายฝั่งอันดามัน
2. ส่งเสริมการตลาดอย่างเต็มรูปแบบในตลาดท่องเที่ยวหลักของไทย
3. กระตุ้นการขายในช่วง Green Season ในตลาดศักยภาพที่ได้รับผลกระทบมาก โดยเน้นการเสนอขายประเทศไทยในภาพรวมและสินค้าท่องเที่ยวในพื้นที่วิกฤตที่ไม่ได้รับผลกระทบ
ตลาดในประเทศ
1. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยเน้น “เที่ยวที่ไหนไม่สุขใจเท่าบ้านเรา”
2. จัดงานส่งเสริมการขายและนำผู้ประกอบการในพื้นที่เดินสายประชาสัมพันธ์และเสนอขายสินค้าท่องเที่ยวในพื้นที่ในภูมิภาคอื่นๆ
3. สร้างกิจกรรมท่องเที่ยวโดยเพิ่มความหลากหลายในพื้นที่ (Event Marketing)
สำหรับกลไกการบริหารเพื่อการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน นั้นให้จัดตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามันเพื่อเป็นกลไกในการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยว โดยมีอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งทางด้านพื้นที่ (Area) และภารกิจ (Function) ในการแก้ไขและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกและให้มีสำนักงานประสานฯ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการและอำนวยการให้กับคณะกรรมการฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--
1. อนุมัติยุทธศาสตร์การฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามันที่ประสบภัยธรณีพิบัติ
2. อนุมัติให้แยกพื้นที่เสียหายที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยว มาดำเนินการฟื้นฟูให้เกิดความยั่งยืน
3. อนุมัติให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามัน โดยมีสำนักงานประสานงานคณะกรรมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามัน ทำหน้าที่เลขานุการและอำนวยการ ทั้งนี้ โดยให้คณะกรรมการฯ จัดทำแผนปฏิบัติการและงบประมาณตามกรอบยุทธศาสตร์ฯ นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อโปรดพิจารณาในโอกาสต่อไป
คณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้รายงานว่าได้จัดประชุมระดมความคิดเห็น เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2548 ประกอบด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวในสาขาที่เกี่ยวข้อง จัดทำเป็นยุทธศาสตร์การฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามัน โดยรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานไว้ 3 ด้าน ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กันไป ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว เร่งรัดการฟื้นฟูสถานที่และทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด โดยมีกลยุทธทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว ดังนี้
ระยะเร่งด่วน (ภายใน 1-3 เดือน) เร่งรัดสำรวจความเสียหาย จัดเก็บทำความสะอาด สิ่งสกปรก รกรุงรังและสิ่งปฏิกูลตลอดจนซากปรักหักพัง และปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายไม่มากนักให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด โดยดำเนินการ ดังนี้
1. สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อแหล่งท่องเที่ยวและจัดลำดับความเร่งด่วนในการฟื้นฟูให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์
2. เร่งรัดเก็บกวาดทำความสะอาด สิ่งสกปรก ขยะชายหาดและในทะเล กู้ซากปรักหักพังและฟื้นฟู บูรณะแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบรุนแรง
3. ซ่อมแซม ปรับปรุงและบูรณะโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบจัดเก็บขยะที่ได้รับความเสียหายให้สามารถใช้การได้โดยเร็ว ภายใน 2 เดือน
4. เร่งรัดสำรวจจำแนกเขตการบริการและเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดำเนินการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวให้มีความสวยงามและมีความพร้อมในการรองรับให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
5. ศึกษาจัดวางผังการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหลักที่ได้รับความเสียหายรุนแรง ได้แก่ เขาหลัก หาดกมลา หาดป่าตอง และเกาะพีพี เป็นต้น ให้กลับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและได้มาตรฐานให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
6. ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่และควบคุมสิ่งก่อสร้างอย่างเคร่งครัด
ระยะปานกลาง (ภายใน 1-2 ปี) เน้นการดำเนินงานในด้านฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงให้มีภาพลักษณ์ใหม่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้มาตรฐานสากล และการคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ทำการยกระดับมาตรฐานการบริการและการดูแลรักษาความปลอดภัยแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับพื้นที่ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคเอกชนและพื้นที่ให้สามารถกลับมาแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างรวดเร็ว โดยมีแนวทางดังนี้
1. จัดทำ Camp ground ในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเพื่อให้เป็นพื้นที่รองรับสำหรับบริการนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว
2. ซ่องแซม ปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติของรัฐที่ได้รับความเสียหายให้สามารถใช้ประโยชน์ในการบริการนักท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น
3. จัดมาตรการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถพลิกฟื้นและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานสากล
4. สำรวจ ประเมินความเสียหาย และจัดระบบป้องกัน ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เช่น
ปะการัง หญ้าทะเล ให้มีศักยภาพและสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน
5. ศึกษากำหนดขีดความสามารถการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่
6. คัดเลือกพื้นที่ที่เคยมีความสำคัญทางด้านการท่องเที่ยว และถูกคลื่นสึนามิซัดทำลายโดยสิ้นเชิง เช่น เกาะพีพี มาประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยดำเนินการจัดทำแผนแม่บท และจัดภูมิทัศน์ของพื้นที่ดังกล่าวใหม่หมด รวมทั้งพิจารณาแลกเปลี่ยนพื้นที่ระหว่างราชการและเอกชนเพื่อให้สิ่งก่อสร้างถูกสร้างในสถานที่ที่สามารถสร้างความมั่นใจและให้มีความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว และให้เกิดความสวยงามในระดับ World Class อีกด้วย
7. คัดเลือกพื้นที่ที่มีซากปรักหักพังและมีซากของเรือหรือรถที่เกิดจากการทำลายล้างของคลื่นสึนามิและเคยถูกเผยแผ่ผ่านสื่อต่าง ๆ ของโลกมาแล้ว เพื่อนำมาจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบ Sport
8. วางแผนพัฒนาพื้นที่ชายทะเลทางด้านอ่าวไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำรองระดับนานาชาติ เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่นักท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างภาพลักษณ์และคุณภาพการบริการท่องเที่ยว เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสเพื่อจะสร้างภาพลักษณ์และคุณภาพการบริการท่องเที่ยวในทุกมติให้ได้มาตรฐานสากล (ทั้งในด้านสถานบริการท่องเที่ยว การบริการท่องเที่ยว ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม) โดยเน้นความเป็นไทย (Thainess) ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น รวมทั้งเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในการจัดการและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคและยั่งยืน โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
ระยะเร่งด่วน (ภายใน 1- 3 เดือน)
1. เร่งรัดรณรงค์ประชาสัมพันธ์ “ความเป็นไทย มิตรไมตรี และความเอื้ออาทร” ให้ปรากฏต่อสายตาของนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
2. ออกมาตรการควบคุมและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยทางด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นหลังภัยพิบัติให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และให้กำหนดระดับความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
3. จัดระบบเตือนภัยทุกพื้นที่การท่องเที่ยว เช่น การสร้างหอคอยสังเกตการณ์ และการจัดให้มียามรักษาฝั่ง (Bay Watch) เป็นต้น
ระยะปานกลาง (ภายใน 1 — 2 ปี)
1. สร้าง The Tsunami Memorial ให้เป็นอนุสรณ์และเป็นศูนย์ศึกษาให้ความรู้ในลักษณะ Interactive Museum โดยนำเสนอทฤษฎีการเกิดสึนามิและจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
2. สร้างมาตรฐานการบริการท่องเที่ยวและผลักดันให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ
3. ออกมาตรการการช่วยเหลือภาคเอกชนในด้านการลงทุน เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ โดยเร็วให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
4. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้เป็นมืออาชีพ
5. จัดระบบดูแลรักษาความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวอย่างครบวงจร โดยเฉพาะระบบเตือนภัย (Early Warning System) ที่สมบูรณ์ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6. ปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกิดภัยธรรมชาติ และวิธีการป้องกัน
ตนเองเมื่อเกิดเหตุ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดภาคใต้ ที่ประสบภัยครั้งนี้ให้สามารถดำรงสถานการณ์ตลาดการท่องเที่ยวดังที่เป็นมา จึงควรเร่งรัดดำเนินการด้านการตลาด ดังนี้
ระยะเร่งด่วน
ตลาดต่างประเทศ
1. ประสานหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องออก Official Announcement แสดงความเสียใจต่อญาติผู้เสียชีวิต
2. ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความมั่นใจของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวให้กลับคืนมา โดยดำเนิน
การประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศทั้งระดับ Regional และ In marketม
3.ร่วมมือกับภาคเอกชนกระตุ้นการขายในระยะสั้น โดยจัดทำ Special Offer สำหรับตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อย และตลาดระยะใกล้ เช่น ตลาดเอเชีย
ตลาดในประเทศ
1. ร่วมกับสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ สายการบินและโรงแรมจัดรายการนำเที่ยวให้คนไทยไปเที่ยวอันดามัน
2. ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดประชุม สัมมนาใน 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน
ระยะยาว
ตลาดต่างประเทศ
1. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยเน้นภาพลักษณ์ที่ดีของคนไทย (Thainess) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ
เดินทางคืนสู่ประเทศไทยและชายฝั่งอันดามัน
2. ส่งเสริมการตลาดอย่างเต็มรูปแบบในตลาดท่องเที่ยวหลักของไทย
3. กระตุ้นการขายในช่วง Green Season ในตลาดศักยภาพที่ได้รับผลกระทบมาก โดยเน้นการเสนอขายประเทศไทยในภาพรวมและสินค้าท่องเที่ยวในพื้นที่วิกฤตที่ไม่ได้รับผลกระทบ
ตลาดในประเทศ
1. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยเน้น “เที่ยวที่ไหนไม่สุขใจเท่าบ้านเรา”
2. จัดงานส่งเสริมการขายและนำผู้ประกอบการในพื้นที่เดินสายประชาสัมพันธ์และเสนอขายสินค้าท่องเที่ยวในพื้นที่ในภูมิภาคอื่นๆ
3. สร้างกิจกรรมท่องเที่ยวโดยเพิ่มความหลากหลายในพื้นที่ (Event Marketing)
สำหรับกลไกการบริหารเพื่อการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน นั้นให้จัดตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามันเพื่อเป็นกลไกในการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยว โดยมีอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งทางด้านพื้นที่ (Area) และภารกิจ (Function) ในการแก้ไขและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกและให้มีสำนักงานประสานฯ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการและอำนวยการให้กับคณะกรรมการฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--