แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงแรงงาน
คณะรัฐมนตรี
กฎกระทรวง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง เสียง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรมไปประกอบพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง เสียง พ.ศ. …. มีสาระสำคัญดังนี้1. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีสภาพความร้อนภายในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างทำงานอยู่มิให้เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด
2. กำหนดให้นายจ้างจัดให้ความเข้มของแสงสว่างภายในสถานประกอบกิจการตามมาตรฐานที่กำหนด กำหนดวิธีการป้องกันและอุปกรณ์การป้องกันอันตรายจากแสง
3. กำหนดให้นายจ้างควบคุมระดับเสียงในสถานประกอบกิจการตามมาตรฐานที่กำหนด ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในบริเวณที่มีเสียงกระทบหรือเสียงหรือเสียงกระแทกเกินมาตรฐานที่กำหนด และให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
4. กำหนดให้นายจ้างจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยให้ลูกจ้างสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายตามประเภทและชนิดของงาน
5. กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
6. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการทำงาน และจัดทำรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมตามวิธีการที่กำหนด
7. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง เสียง พ.ศ. …. มีสาระสำคัญดังนี้1. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีสภาพความร้อนภายในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างทำงานอยู่มิให้เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด
2. กำหนดให้นายจ้างจัดให้ความเข้มของแสงสว่างภายในสถานประกอบกิจการตามมาตรฐานที่กำหนด กำหนดวิธีการป้องกันและอุปกรณ์การป้องกันอันตรายจากแสง
3. กำหนดให้นายจ้างควบคุมระดับเสียงในสถานประกอบกิจการตามมาตรฐานที่กำหนด ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในบริเวณที่มีเสียงกระทบหรือเสียงหรือเสียงกระแทกเกินมาตรฐานที่กำหนด และให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
4. กำหนดให้นายจ้างจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยให้ลูกจ้างสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายตามประเภทและชนิดของงาน
5. กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
6. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการทำงาน และจัดทำรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมตามวิธีการที่กำหนด
7. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-