คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ยุทธศาสตร์และมาตรการเพื่อการป้องกันแก้ไขและปราบปรามการทุจริตในส่วนของกระทรวงยุติธรรม ดังนี้
1. กระทรวงยุติธรรมได้เสนอให้รัฐบาลพิจารณาการจัดตั้งองค์กรของฝ่ายบริหารขึ้นรับผิดชอบภารกิจการแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐ โดยมีหลักการสำคัญคือ การให้รัฐบาลมีกลไกที่มีประสิทธิภาพสำหรับจัดการกับปัญหาการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วงทำหน้าที่แบ่งเบาภาระของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยไม่เป็นการลดทอนอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มอบภารกิจการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐทั้งหมดแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำให้เกิดปัญหาปริมาณคดีเกินขีดความสามารถมีคดีค้างการพิจารณาเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องแล้ว ยังส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อภาพรวมของการแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของประเทศอีกส่วนหนึ่งด้วย
กระทรวงยุติธรรมได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในข้อเสนอดังกล่าวตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีมีคำสั่ง ปรากฏว่าได้รับความเห็นชอบและการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการภาคประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรวมทั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมีความเห็นร่วมกันว่าการดำเนินการตามแนวทางที่เสนอ จะเป็นการพัฒนามาตรการที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐ พร้อมกับมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมบางประการ รวมทั้งเรื่องดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีแล้วและอยู่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการต่อไป
2. เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาการขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการจัดตั้งองค์กรตาม (1) ขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นควรให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินโครงการบูรณการภารกิจการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐของส่วนราชการในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม อันได้แก่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ด้วยการสร้างกลไกการประสานภารกิจอย่างไม่เป็นทางการระหว่างส่วนราชการดังกล่าว ผนึกพลังร่วมกันในการปฏิบัติภารกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ภายใต้กรอบภารกิจและอำนาจหน้าที่ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีอยู่ตามกฎหมายและกฎระเบียบของทางราชการ เพื่อจัดการกับปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทั้งภายใน และภายนอกกระทรวงยุติธรรม ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะสามารถตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการเอาชนะปัญหาการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง
3. เพื่อเป็นการผนึกกำลังการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้จัดทำข้อตกลงร่วมกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ อันได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. สำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
4. กระทรวงยุติธรรมประกอบไปด้วยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ส่วนราชการเหล่านี้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะให้คุณให้โทษแก่ประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการตรวจสอบความซื่อสัตย์สุจริตที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในการสรรหาการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง และการแต่งตั้งโยกย้าย รวมทั้งจะต้องมีการตรวจสอบทรัพย์สินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐเหล่านี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
กระทรวงยุติธรรมจะเร่งรัดจัดทำมาตรการข้างต้นในส่วนของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในสังกัดกระทรวงยุติธรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยเร็ว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีความเห็นว่ามาตรการในลักษณะดังกล่าวหากพิจารณานำไปใช้กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในส่วนราชการอื่นด้วย เช่น ข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็น่าจะทำให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายของชาติ มีประสิทธิภาพโปร่งใสและเป็นธรรมยิ่งขึ้น
5. เพื่อเป็นมาตรการป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบางส่วนแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ โดยอาศัยโอกาสที่ตนมีอำนาจหน้าที่ในทางบริหาร เช่น การจัดซื้อจัดจ้างและการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงได้มอบหมายให้อธิบดีและหัวหน้าส่วนราชการทั้งหมดไปดำเนินการศึกษาว่าภายในหน่วยงานของตนมีกิจกรรมใดที่เอื้ออำนวยต่อการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบของเจ้าหน้าที่และจัดให้มีมาตรการและแนวทางการแก้ไขเพื่อลดโอกาสทุจริตของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะได้วางมาตรการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเหล่านี้ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอด้วย ทั้งนี้ น่าจะได้พิจารณานำมาตรการดังกล่าวไปใช้กับข้าราชการในส่วนราชการอื่น ๆ ด้วย
สำหรับข้าราชการกลุ่มอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กระทรวงยุติธรรมจะพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกองหรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน ก่อนเข้ารับตำแหน่งพร้อมกับมีการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีความเห็นว่า หากพิจารณานำแนวทางดังกล่าวไปใช้กับข้าราชการในสังกัดกระทรวง กรม และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ด้วย ก็จะเป็นมาตรการที่ช่วยบรรเทาปัญหาการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงได้อีกส่วนหนึ่ง
นอกจากนั้นในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับสูงที่มีโอกาสในการทุจริตสูง การตรวจสอบก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตรวจสอบการใช้จ่ายที่อาจส่อถึงการมีทรัพย์สินเกินกว่ารายได้ที่พึงมีพึงได้ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้จะนิยมใช้เงินสดซึ่งติดตามตรวจสอบได้ยากในการซื้อสินค้าและบริการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงมีความเห็นว่า น่าจะมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่จะสามารถติดตามดูแลการใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่รัฐในกลุ่มนี้ โดยจะมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมจัดให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการตรวจสอบดูแลในกรณีเช่นนี้และนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อพิจารณาในโอกาสต่อไป
6. การใช้ดุลพินิจของข้าราชการบางกลุ่มที่อาจมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งทั่วไป นอกเหนือจากมาตรการตรวจสอบทั่วไปแล้ว กระทรวงยุติธรรมจะพัฒนาระบบตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ ด้วยการจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญภายนอก มาร่วมทำความเห็นประกอบสำนวน หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เห็นด้วยกับความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวก็จะต้องแสดงเหตุผลที่ชัดเจนประกอบการใช้ดุลพินิจของตน เพื่อให้การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน ดังกล่าวมีมาตรฐาน โปร่งใส และเป็นธรรมยิ่งขึ้น
7. กระทรวงยุติธรรมจะเร่งพัฒนาเครือข่ายการป้องกันปัญหาการทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวงเพื่อสร้างความร่วมมือกับสังคม ชุมชนและประชาชนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งจะพัฒนาความร่วมมือกับภาครัฐ สถาบันการ-ศึกษา สถาบันทางศาสนาและภาคประชาชน เช่น มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาดเพื่อร่วมกันปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่ถูกต้องแก่ประชาชนและเยาวชน โดยจะเริ่มการปลูกฝังตั้งแต่เยาวชนเข้าสู่ระบบโรงเรียน ส่วนประชาชนคนไทยในกลุ่มอื่น ก็จะมีมาตรการปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่ต่อต้านการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการของกระทรวงยุติธรรมซึ่งต้องเป็นอบบอย่างที่ดี สำหรับกรณีนี้ กระทรวงยุติธรรมจะจัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาค่านิยมและทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งสอดแทรกการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไว้ในหลักสูตรการ ฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาข้าราชการการในทุกหลักสูตรด้วย
8. ในด้านความร่วมมือกับนานาชาติเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบภารกิจตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายในการศึกษาความเหมาะสมของการให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention Against Corruption) นอกจากนั้น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินยังได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้ทำข้อตกลงระดับทวิภาคีกับนานาประเทศในเรื่องความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งทั้ง 2 กรณีถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่สมควรส่งเสริมให้มีความร่วมมือที่หลากหลายยิ่งขึ้น รวมทั้งสมควรถือว่าความร่วมมือกับนานาชาติในประเด็นนี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการเอาชนะปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. กระทรวงยุติธรรมได้เสนอให้รัฐบาลพิจารณาการจัดตั้งองค์กรของฝ่ายบริหารขึ้นรับผิดชอบภารกิจการแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐ โดยมีหลักการสำคัญคือ การให้รัฐบาลมีกลไกที่มีประสิทธิภาพสำหรับจัดการกับปัญหาการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วงทำหน้าที่แบ่งเบาภาระของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยไม่เป็นการลดทอนอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มอบภารกิจการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐทั้งหมดแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำให้เกิดปัญหาปริมาณคดีเกินขีดความสามารถมีคดีค้างการพิจารณาเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องแล้ว ยังส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อภาพรวมของการแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของประเทศอีกส่วนหนึ่งด้วย
กระทรวงยุติธรรมได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในข้อเสนอดังกล่าวตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีมีคำสั่ง ปรากฏว่าได้รับความเห็นชอบและการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการภาคประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรวมทั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมีความเห็นร่วมกันว่าการดำเนินการตามแนวทางที่เสนอ จะเป็นการพัฒนามาตรการที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐ พร้อมกับมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมบางประการ รวมทั้งเรื่องดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีแล้วและอยู่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการต่อไป
2. เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาการขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการจัดตั้งองค์กรตาม (1) ขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นควรให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินโครงการบูรณการภารกิจการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐของส่วนราชการในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม อันได้แก่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ด้วยการสร้างกลไกการประสานภารกิจอย่างไม่เป็นทางการระหว่างส่วนราชการดังกล่าว ผนึกพลังร่วมกันในการปฏิบัติภารกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ภายใต้กรอบภารกิจและอำนาจหน้าที่ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีอยู่ตามกฎหมายและกฎระเบียบของทางราชการ เพื่อจัดการกับปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทั้งภายใน และภายนอกกระทรวงยุติธรรม ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะสามารถตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการเอาชนะปัญหาการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง
3. เพื่อเป็นการผนึกกำลังการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้จัดทำข้อตกลงร่วมกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ อันได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. สำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
4. กระทรวงยุติธรรมประกอบไปด้วยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ส่วนราชการเหล่านี้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะให้คุณให้โทษแก่ประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการตรวจสอบความซื่อสัตย์สุจริตที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในการสรรหาการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง และการแต่งตั้งโยกย้าย รวมทั้งจะต้องมีการตรวจสอบทรัพย์สินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐเหล่านี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
กระทรวงยุติธรรมจะเร่งรัดจัดทำมาตรการข้างต้นในส่วนของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในสังกัดกระทรวงยุติธรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยเร็ว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีความเห็นว่ามาตรการในลักษณะดังกล่าวหากพิจารณานำไปใช้กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในส่วนราชการอื่นด้วย เช่น ข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็น่าจะทำให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายของชาติ มีประสิทธิภาพโปร่งใสและเป็นธรรมยิ่งขึ้น
5. เพื่อเป็นมาตรการป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบางส่วนแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ โดยอาศัยโอกาสที่ตนมีอำนาจหน้าที่ในทางบริหาร เช่น การจัดซื้อจัดจ้างและการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงได้มอบหมายให้อธิบดีและหัวหน้าส่วนราชการทั้งหมดไปดำเนินการศึกษาว่าภายในหน่วยงานของตนมีกิจกรรมใดที่เอื้ออำนวยต่อการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบของเจ้าหน้าที่และจัดให้มีมาตรการและแนวทางการแก้ไขเพื่อลดโอกาสทุจริตของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะได้วางมาตรการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเหล่านี้ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอด้วย ทั้งนี้ น่าจะได้พิจารณานำมาตรการดังกล่าวไปใช้กับข้าราชการในส่วนราชการอื่น ๆ ด้วย
สำหรับข้าราชการกลุ่มอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กระทรวงยุติธรรมจะพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกองหรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน ก่อนเข้ารับตำแหน่งพร้อมกับมีการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีความเห็นว่า หากพิจารณานำแนวทางดังกล่าวไปใช้กับข้าราชการในสังกัดกระทรวง กรม และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ด้วย ก็จะเป็นมาตรการที่ช่วยบรรเทาปัญหาการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงได้อีกส่วนหนึ่ง
นอกจากนั้นในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับสูงที่มีโอกาสในการทุจริตสูง การตรวจสอบก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตรวจสอบการใช้จ่ายที่อาจส่อถึงการมีทรัพย์สินเกินกว่ารายได้ที่พึงมีพึงได้ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้จะนิยมใช้เงินสดซึ่งติดตามตรวจสอบได้ยากในการซื้อสินค้าและบริการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงมีความเห็นว่า น่าจะมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่จะสามารถติดตามดูแลการใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่รัฐในกลุ่มนี้ โดยจะมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมจัดให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการตรวจสอบดูแลในกรณีเช่นนี้และนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อพิจารณาในโอกาสต่อไป
6. การใช้ดุลพินิจของข้าราชการบางกลุ่มที่อาจมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งทั่วไป นอกเหนือจากมาตรการตรวจสอบทั่วไปแล้ว กระทรวงยุติธรรมจะพัฒนาระบบตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ ด้วยการจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญภายนอก มาร่วมทำความเห็นประกอบสำนวน หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เห็นด้วยกับความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวก็จะต้องแสดงเหตุผลที่ชัดเจนประกอบการใช้ดุลพินิจของตน เพื่อให้การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน ดังกล่าวมีมาตรฐาน โปร่งใส และเป็นธรรมยิ่งขึ้น
7. กระทรวงยุติธรรมจะเร่งพัฒนาเครือข่ายการป้องกันปัญหาการทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวงเพื่อสร้างความร่วมมือกับสังคม ชุมชนและประชาชนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งจะพัฒนาความร่วมมือกับภาครัฐ สถาบันการ-ศึกษา สถาบันทางศาสนาและภาคประชาชน เช่น มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาดเพื่อร่วมกันปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่ถูกต้องแก่ประชาชนและเยาวชน โดยจะเริ่มการปลูกฝังตั้งแต่เยาวชนเข้าสู่ระบบโรงเรียน ส่วนประชาชนคนไทยในกลุ่มอื่น ก็จะมีมาตรการปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่ต่อต้านการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการของกระทรวงยุติธรรมซึ่งต้องเป็นอบบอย่างที่ดี สำหรับกรณีนี้ กระทรวงยุติธรรมจะจัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาค่านิยมและทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งสอดแทรกการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไว้ในหลักสูตรการ ฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาข้าราชการการในทุกหลักสูตรด้วย
8. ในด้านความร่วมมือกับนานาชาติเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบภารกิจตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายในการศึกษาความเหมาะสมของการให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention Against Corruption) นอกจากนั้น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินยังได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้ทำข้อตกลงระดับทวิภาคีกับนานาประเทศในเรื่องความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งทั้ง 2 กรณีถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่สมควรส่งเสริมให้มีความร่วมมือที่หลากหลายยิ่งขึ้น รวมทั้งสมควรถือว่าความร่วมมือกับนานาชาติในประเด็นนี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการเอาชนะปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-