คณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 เรื่อง การลดความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยให้กรมทรัพยากรน้ำและกระทรวงมหาดไทยดำเนินการโครงการจัดทำระบบ Earty Waming สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย-ดินถล่ม และโครงการป้องกันและลดความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยตามลำดับ โดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการหรือจากเงินงบประมาณขององค์การปกรองส่วนท้องถิ่น จากมติเดิมที่เห็นชอบให้กรมทรัพยากรน้ำ และกระทรวงมหาดไทยดำเนินโครงการจัดทำระบบ Earty Waming สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย-ดินถล่ม และโครงการป้องกันและลดความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยตามลำดับ โดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัด (วงเงิน 50 ล้านบาท) ภายในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือเบิกจ่ายจากงบประมาณปกติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณีตามความเหมาะสม
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. เห็นด้วยในการที่จะต้องแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเชิงป้องกันเพื่อลดปัญหาความเดือดร้อนและความสูญเสียของประชาชนและประเทศ แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดให้การดำเนินโครงการ โดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน นั้น โดยหลักการ ส่วนราชการต้องขอตั้งงบประมาณรายจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ แต่โดยสภาพข้อเท็จจริงไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าภัยพิบัติเกิดขึ้นเมื่อใด และมีความเสียหาย ที่ต้องให้ความช่วยเหลือเท่าใด ทำให้ไม่สามารถตั้งงบประมาณเพื่อการดังกล่าวได้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกเงินจากคลังเป็นเงินทดรองราชการเพื่อทดรองจ่ายในกรณีที่เกิดภัยพิบัติฉุกเฉิน และมีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องให้ความช่วยเหลือเพื่อผ่อนคลายความเดือดร้อนเฉพาะหน้าผู้ประสบภัยพิบัติ ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ
2. การดำเนินโครงการเพื่อลดความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งสองโครงการ เป็นโครงการที่ดำเนินงานเพื่อเตรียมการป้องกันก่อนที่ภัยพิบัติจะเกิดขึ้น เพื่อลดความสูญเสียและความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ควรดำเนินการโดยการวางแผนการปฏิบัติงานและขอตั้งงบประมาณรายจ่ายปกติเพื่อการดำเนินงาน มิใช่การดำเนินงานให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของผู้ประสบภัยภายใต้หลักการของการใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังในข้อ 1 ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงไม่สามารถจะพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินทดรองราชการที่อยู่ในอำนาจ (วงเงิน 50 ล้านบาท) ไปใช้จ่ายเพื่อการดังกล่าวได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. เห็นด้วยในการที่จะต้องแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเชิงป้องกันเพื่อลดปัญหาความเดือดร้อนและความสูญเสียของประชาชนและประเทศ แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดให้การดำเนินโครงการ โดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน นั้น โดยหลักการ ส่วนราชการต้องขอตั้งงบประมาณรายจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ แต่โดยสภาพข้อเท็จจริงไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าภัยพิบัติเกิดขึ้นเมื่อใด และมีความเสียหาย ที่ต้องให้ความช่วยเหลือเท่าใด ทำให้ไม่สามารถตั้งงบประมาณเพื่อการดังกล่าวได้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกเงินจากคลังเป็นเงินทดรองราชการเพื่อทดรองจ่ายในกรณีที่เกิดภัยพิบัติฉุกเฉิน และมีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องให้ความช่วยเหลือเพื่อผ่อนคลายความเดือดร้อนเฉพาะหน้าผู้ประสบภัยพิบัติ ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ
2. การดำเนินโครงการเพื่อลดความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งสองโครงการ เป็นโครงการที่ดำเนินงานเพื่อเตรียมการป้องกันก่อนที่ภัยพิบัติจะเกิดขึ้น เพื่อลดความสูญเสียและความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ควรดำเนินการโดยการวางแผนการปฏิบัติงานและขอตั้งงบประมาณรายจ่ายปกติเพื่อการดำเนินงาน มิใช่การดำเนินงานให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของผู้ประสบภัยภายใต้หลักการของการใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังในข้อ 1 ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงไม่สามารถจะพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินทดรองราชการที่อยู่ในอำนาจ (วงเงิน 50 ล้านบาท) ไปใช้จ่ายเพื่อการดังกล่าวได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-