คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกในลักษณะบูรณาการ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธานคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกเสนอ ส่วนงบประมาณการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกในลักษณะบูรณาการให้จัดทำรายละเอียดและตั้งงบประมาณในปี 2549
โรคไข้หวัดนกเป็นโรคระบาดที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เนื่องจากมีการระบาดอย่างกว้างขวางในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั่วไป และยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นโรคที่ติดต่อไปยังคนและทำให้มีผู้เสียชีวิต ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโรคไข้หวัดนกให้ทั้งหมดไปทั้งในสัตว์ปีกและในคน โดยมีแนวทางการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรมีความมั่นใจในความปลอดภัยในการบริโภคสัตว์ปีก
2. เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก
3. เพื่อให้ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้ามีความมั่นใจในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกของประเทศไทย
4. เพื่อควบคุมและกำจัดโรคไข้หวัดนกให้หมดไปอย่างเด็ดขาด หรืออยู่ในสถานะที่ควบคุมได้
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน กำหนดแผนการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ
- แผนการแก้ไขและป้องกันโรคไข้หวัดนกระยะยาว1) ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังโรค แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ (1) การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก (2) การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่า (3) การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน
2) ยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งการปรับปรุงระบบการป้องกันโรค โดยการป้องกันโรคมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ขึ้นทะเบียนสัตว์ปีกทุกชนิด ปรับปรุงโรงฆ่าสัตว์ปีกให้ได้มาตรฐาน ตรวจรับรองฟาร์มและโรงฆ่าสัตว์ปีก ปรับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ให้เหมาะสมในการป้องกันโรคและควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก นอกจากนี้การควบคุมโรคดำเนินตามมาตรการการควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์
3) ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นสร้างความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกของรัฐบาล เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและสร้างความเชื่อมั่นให้ต่างประเทศในระบบการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกของประเทศไทย
4) ยุทธศาสตร์การลดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสังคมและผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งเกษตรกรแรงงานภาคการเลี้ยงสัตว์ปีก ผู้ประกอบการ ประชาชน และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก
5) ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและพัฒนา โดยให้มีการพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ในการป้องกันโรคไข้หวัดนกในกรณีฉุกเฉิน การคัดเลือกสายพันธุ์ที่จำเป็นในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค การทดสอบวัคซีน การผลิตวัคซีนในห้อง-ปฏิบัติการ และการผลิตวัคซีนในเชิงอุตสาหกรรม รวมถึงการศึกษาวิจัยด้านเชื้อโรคไข้หวัดนก
- แผนการแก้ไขและป้องกันโรคไข้หวัดนกระยะสั้น
แผนการแก้ไขและป้องกันโรคไข้หวัดนกระยะสั้น เป็นการดำเนินการโดยเร่งด่วนภายในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งเน้นกลยุทธการเฝ้าระวังโรคให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการค้นหาโรคได้รวดเร็วและส่งผลให้การควบคุมโรค ทั้งด้านการทำลายสัตว์ปีกและการฆ่าเชื้อโรคมีประสิทธิภาพสูงสุดควบคู่กับกลยุทธการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและประชาชนเข้าใจถึงการร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ตลอดจนสร้างความเข้าใจในมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของรัฐบาล
ทั้งนี้ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้ไว้ ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 ให้บูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดำเนินการแก้ไขภาวะวิกฤตที่เกิดจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยแบ่งเป็นแผนเร่งด่วนระหว่างวันที่ 1-13 ตุลาคม 2547 ซึ่งให้มีการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในทุกพื้นที่และทำสงครามล้างเผ่าพันธุ์โรคไข้หวัดนกให้หมดไปจากประเทศไทย คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก จึงได้จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะทำให้มีกลยุทธและแนวทางที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกในรูปแบบบูรณาการการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
โรคไข้หวัดนกเป็นโรคระบาดที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เนื่องจากมีการระบาดอย่างกว้างขวางในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั่วไป และยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นโรคที่ติดต่อไปยังคนและทำให้มีผู้เสียชีวิต ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโรคไข้หวัดนกให้ทั้งหมดไปทั้งในสัตว์ปีกและในคน โดยมีแนวทางการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรมีความมั่นใจในความปลอดภัยในการบริโภคสัตว์ปีก
2. เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก
3. เพื่อให้ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้ามีความมั่นใจในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกของประเทศไทย
4. เพื่อควบคุมและกำจัดโรคไข้หวัดนกให้หมดไปอย่างเด็ดขาด หรืออยู่ในสถานะที่ควบคุมได้
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน กำหนดแผนการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ
- แผนการแก้ไขและป้องกันโรคไข้หวัดนกระยะยาว1) ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังโรค แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ (1) การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก (2) การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่า (3) การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน
2) ยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งการปรับปรุงระบบการป้องกันโรค โดยการป้องกันโรคมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ขึ้นทะเบียนสัตว์ปีกทุกชนิด ปรับปรุงโรงฆ่าสัตว์ปีกให้ได้มาตรฐาน ตรวจรับรองฟาร์มและโรงฆ่าสัตว์ปีก ปรับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ให้เหมาะสมในการป้องกันโรคและควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก นอกจากนี้การควบคุมโรคดำเนินตามมาตรการการควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์
3) ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นสร้างความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกของรัฐบาล เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและสร้างความเชื่อมั่นให้ต่างประเทศในระบบการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกของประเทศไทย
4) ยุทธศาสตร์การลดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสังคมและผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งเกษตรกรแรงงานภาคการเลี้ยงสัตว์ปีก ผู้ประกอบการ ประชาชน และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก
5) ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและพัฒนา โดยให้มีการพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ในการป้องกันโรคไข้หวัดนกในกรณีฉุกเฉิน การคัดเลือกสายพันธุ์ที่จำเป็นในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค การทดสอบวัคซีน การผลิตวัคซีนในห้อง-ปฏิบัติการ และการผลิตวัคซีนในเชิงอุตสาหกรรม รวมถึงการศึกษาวิจัยด้านเชื้อโรคไข้หวัดนก
- แผนการแก้ไขและป้องกันโรคไข้หวัดนกระยะสั้น
แผนการแก้ไขและป้องกันโรคไข้หวัดนกระยะสั้น เป็นการดำเนินการโดยเร่งด่วนภายในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งเน้นกลยุทธการเฝ้าระวังโรคให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการค้นหาโรคได้รวดเร็วและส่งผลให้การควบคุมโรค ทั้งด้านการทำลายสัตว์ปีกและการฆ่าเชื้อโรคมีประสิทธิภาพสูงสุดควบคู่กับกลยุทธการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและประชาชนเข้าใจถึงการร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ตลอดจนสร้างความเข้าใจในมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของรัฐบาล
ทั้งนี้ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้ไว้ ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 ให้บูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดำเนินการแก้ไขภาวะวิกฤตที่เกิดจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยแบ่งเป็นแผนเร่งด่วนระหว่างวันที่ 1-13 ตุลาคม 2547 ซึ่งให้มีการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในทุกพื้นที่และทำสงครามล้างเผ่าพันธุ์โรคไข้หวัดนกให้หมดไปจากประเทศไทย คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก จึงได้จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะทำให้มีกลยุทธและแนวทางที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกในรูปแบบบูรณาการการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-