คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการและยุทธศาสตร์การบริหารแรงงานสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
สำหรับเรื่องนี้ กระทรวงแรงงานได้ประชุมร่วมกับบริษัท การท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) และตัวแทนผู้ประสานดูแลผู้รับเหมารับงานในสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 เพื่อกำหนดมาตรการและยุทธศาสตร์การบริหารแรงงานสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิที่จะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพแรงงานที่ทำงานให้สามารถรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศและสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานใหม่ให้มีคุณภาพก่อนเข้าทำงานตามมาตรการและยุทธศาสตร์การบริหารแรงงานสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ ดังนี้
1. มาตรการระยะสั้น (ช่วงการก่อสร้างสนามบิน) มีแนวทาง ดังนี้
1.1 จัดระบบการรับรองประสบการณ์การทำงานก่อสร้างสนามบิน โดยอิงแนวทางมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเป็นเครื่องมือการประเมินเพื่อเสริมสร้างโอกาสชีวิตการทำงานและอนาคตที่ดีขึ้น
1.2 พัฒนาฝีมือเพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานที่ทำงานอยู่ในสนามบินให้มีสมรรถนะการทำงานอยู่ในเกณฑ์สากล โดยอิงแนวทางมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
1.3 จัดระบบการประกันคุณภาพฝีมือและศักยภาพแรงงานด้วยการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงงาน โดยมุ่งเน้นในสาขาที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และการลงทุนสูง ตลอดจนส่งเสริมการจ้างงานตามประสบการณ์การทำงานและระดับฝีมือ ความรู้ความสามารถ
1.4 จัดให้มีเครือข่ายหรือศูนย์ประสานบริการและเพิ่มศักยภาพแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการประสานการจัดหาและคุ้มครองคนหางาน ฝึกอบรมหรือพัฒนาเพิ่มฝีมือและศักยภาพแก่แรงงานที่ทำงานในสนามบินหรือแรงงานใหม่ก่อนเข้าทำงาน เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ การประสานบริการการแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ การตรวจสภาพการจ้าง การทำงานความปลอดภัยในการทำงาน และการประกันสังคม
2. มาตรการระยะปานกลาง (ช่วงเริ่มเปิดใช้สนามบิน) มีแนวทาง ดังนี้
2.1 สำรวจและพัฒนาฝีมือแก่แรงงานในชุมชนรอบสนามบินเพื่อลดผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีพจากการก่อสร้างสนามบิน ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการเตรียมศักยภาพแรงงานให้พร้อมที่จะสมัครเข้าทำงานในสนามบินต่อไป
2.2 สำรวจและเตรียมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับการบริหารจัดการ การให้บริการสนามบิน โดยประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษา วางแผนการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับสาขาอาชีพที่ใช้ในสนามบิน
3. มาตรการระยะยาว (ช่วงสนามบินเปิดดำเนินการแล้ว) มีแนวทาง ดังนี้
ส่งเสริมและพัฒนามาตรการการออกและใช้ใบอนุญาตควบคุมการประกอบอาชีพ แก่ผู้ปฏิบัติงานระดับช่างเทคนิค และช่างฝีมือ ในสาขาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและลดอัตราเสี่ยงของผู้บริโภค ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการออกใบอนุญาตการประกอบอาชีพของวิศวกร ตาม พ.ร.บ. วิศวกร พ.ศ. 2542ยุทธศาสตร์การบริหารแรงงานสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ
การบริหารแรงงานสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ กระทรวงแรงงานกำหนด เป็น 4 กลยุทธ์ ดังนี้
1) กลยุทธ์การบริหารแรงงานเพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานในการก่อสร้างสนามบิน โดยแนวทางดำเนินการ คือ
- จัดตั้งเครือข่ายหรือศูนย์ประสานบริการและเพิ่มศักยภาพแรงงาน โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานกำกับและชี้นำการพัฒนาฝีมือแรงงาน ทำการพัฒนาฝีมือแรงงานที่ทำงานในสนามบินให้มีศักยภาพเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ โดยมีการดำเนินภารกิจการบริหารแรงงานแบบครบวงจร
- แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเครือข่ายหรือศูนย์ประสานบริการและเพิ่มศักยภาพแรงงาน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน วิศวกรอาวุโสของบริษัทการท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ จำกัด และ ผู้แทนบริษัท หรือสถานประกอบการที่ประกอบกิจการในสนามบิน
2) กลยุทธ์การเตรียมกำลังแรงงานเพื่อบริหารการใช้สนามบิน โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
- ประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษา เพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการบริหารการใช้สนามบิน
- ประสานองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหลักสูตรสำหรับการพัฒนาฝีมือแรงงาน กำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานสำหรับการประเมินฝีมือและศักยภาพการทำงานตลอดจนส่งเสริมการกำหนดอัตราค่าจ้างที่สอดคล้องกับระดับฝีมือแต่ละสายอาชีพ
- จัดทำระบบทะเบียนแรงงานฝีมือ เพื่อเป็นประวัติในการวางแผนในการพัฒนาขีดความสามารถต่อไป
- จัดทำโครงการแข่งขันวัดระดับคุณภาพและประสิทธิภาพฝีมือแรงงาน เพื่อกระตุ้นหรือจูงใจให้เกิดการพัฒนาศักยภาพมากขึ้น
3. กลยุทธการเตรียมกำลังแรงงานเพื่อการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง โดยมีแนวทางการดำเนินการ คือ
- ประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อวางแผนเตรียมบุคลากรรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ และจัดทำหลักสูตร เพื่อขยายผลการพัฒนากำลังคนเกี่ยวกับเทคโนโลยีระดับสูงต่อไป
- ประสานความร่วมมือกับบริษัทหรือสถานประกอบการเพื่อวางแผนและดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีของผู้เชี่ยวชาญต่างปรเทศให้แก่แรงงานไทยที่ทำงานอยู่
4. กลยุทธการคุ้มครองและเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงของแรงงาน โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
- จัดการตรวจแรงงาน ตรวจความปลอดภัยและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งการ จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กสำหรับบุตรกำลังแรงงาน โดยประสานความร่วมมือกับองค์การบริหาร- ส่วนท้องถิ่นและกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
- ประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการตรวจสุขภาพหรือรักษากรณีเกิดอุบัติเหตุ แก่แรงงาน
มาตรการและยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นดังกล่าวเป็นแนวทางที่กระทรวงแรงงานและ บริษัทการท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ จำกัด ร่วมมือกับบริษัทหรือสถานประกอบการที่รับจ้างงานในสนามบินสุวรรณภูมิจะเริ่มต้นดำเนินการให้เป็นระบบและรูปธรรมได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำหรับเรื่องนี้ กระทรวงแรงงานได้ประชุมร่วมกับบริษัท การท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) และตัวแทนผู้ประสานดูแลผู้รับเหมารับงานในสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 เพื่อกำหนดมาตรการและยุทธศาสตร์การบริหารแรงงานสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิที่จะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพแรงงานที่ทำงานให้สามารถรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศและสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานใหม่ให้มีคุณภาพก่อนเข้าทำงานตามมาตรการและยุทธศาสตร์การบริหารแรงงานสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ ดังนี้
1. มาตรการระยะสั้น (ช่วงการก่อสร้างสนามบิน) มีแนวทาง ดังนี้
1.1 จัดระบบการรับรองประสบการณ์การทำงานก่อสร้างสนามบิน โดยอิงแนวทางมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเป็นเครื่องมือการประเมินเพื่อเสริมสร้างโอกาสชีวิตการทำงานและอนาคตที่ดีขึ้น
1.2 พัฒนาฝีมือเพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานที่ทำงานอยู่ในสนามบินให้มีสมรรถนะการทำงานอยู่ในเกณฑ์สากล โดยอิงแนวทางมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
1.3 จัดระบบการประกันคุณภาพฝีมือและศักยภาพแรงงานด้วยการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงงาน โดยมุ่งเน้นในสาขาที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และการลงทุนสูง ตลอดจนส่งเสริมการจ้างงานตามประสบการณ์การทำงานและระดับฝีมือ ความรู้ความสามารถ
1.4 จัดให้มีเครือข่ายหรือศูนย์ประสานบริการและเพิ่มศักยภาพแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการประสานการจัดหาและคุ้มครองคนหางาน ฝึกอบรมหรือพัฒนาเพิ่มฝีมือและศักยภาพแก่แรงงานที่ทำงานในสนามบินหรือแรงงานใหม่ก่อนเข้าทำงาน เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ การประสานบริการการแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ การตรวจสภาพการจ้าง การทำงานความปลอดภัยในการทำงาน และการประกันสังคม
2. มาตรการระยะปานกลาง (ช่วงเริ่มเปิดใช้สนามบิน) มีแนวทาง ดังนี้
2.1 สำรวจและพัฒนาฝีมือแก่แรงงานในชุมชนรอบสนามบินเพื่อลดผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีพจากการก่อสร้างสนามบิน ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการเตรียมศักยภาพแรงงานให้พร้อมที่จะสมัครเข้าทำงานในสนามบินต่อไป
2.2 สำรวจและเตรียมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับการบริหารจัดการ การให้บริการสนามบิน โดยประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษา วางแผนการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับสาขาอาชีพที่ใช้ในสนามบิน
3. มาตรการระยะยาว (ช่วงสนามบินเปิดดำเนินการแล้ว) มีแนวทาง ดังนี้
ส่งเสริมและพัฒนามาตรการการออกและใช้ใบอนุญาตควบคุมการประกอบอาชีพ แก่ผู้ปฏิบัติงานระดับช่างเทคนิค และช่างฝีมือ ในสาขาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและลดอัตราเสี่ยงของผู้บริโภค ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการออกใบอนุญาตการประกอบอาชีพของวิศวกร ตาม พ.ร.บ. วิศวกร พ.ศ. 2542ยุทธศาสตร์การบริหารแรงงานสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ
การบริหารแรงงานสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ กระทรวงแรงงานกำหนด เป็น 4 กลยุทธ์ ดังนี้
1) กลยุทธ์การบริหารแรงงานเพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานในการก่อสร้างสนามบิน โดยแนวทางดำเนินการ คือ
- จัดตั้งเครือข่ายหรือศูนย์ประสานบริการและเพิ่มศักยภาพแรงงาน โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานกำกับและชี้นำการพัฒนาฝีมือแรงงาน ทำการพัฒนาฝีมือแรงงานที่ทำงานในสนามบินให้มีศักยภาพเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ โดยมีการดำเนินภารกิจการบริหารแรงงานแบบครบวงจร
- แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเครือข่ายหรือศูนย์ประสานบริการและเพิ่มศักยภาพแรงงาน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน วิศวกรอาวุโสของบริษัทการท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ จำกัด และ ผู้แทนบริษัท หรือสถานประกอบการที่ประกอบกิจการในสนามบิน
2) กลยุทธ์การเตรียมกำลังแรงงานเพื่อบริหารการใช้สนามบิน โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
- ประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษา เพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการบริหารการใช้สนามบิน
- ประสานองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหลักสูตรสำหรับการพัฒนาฝีมือแรงงาน กำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานสำหรับการประเมินฝีมือและศักยภาพการทำงานตลอดจนส่งเสริมการกำหนดอัตราค่าจ้างที่สอดคล้องกับระดับฝีมือแต่ละสายอาชีพ
- จัดทำระบบทะเบียนแรงงานฝีมือ เพื่อเป็นประวัติในการวางแผนในการพัฒนาขีดความสามารถต่อไป
- จัดทำโครงการแข่งขันวัดระดับคุณภาพและประสิทธิภาพฝีมือแรงงาน เพื่อกระตุ้นหรือจูงใจให้เกิดการพัฒนาศักยภาพมากขึ้น
3. กลยุทธการเตรียมกำลังแรงงานเพื่อการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง โดยมีแนวทางการดำเนินการ คือ
- ประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อวางแผนเตรียมบุคลากรรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ และจัดทำหลักสูตร เพื่อขยายผลการพัฒนากำลังคนเกี่ยวกับเทคโนโลยีระดับสูงต่อไป
- ประสานความร่วมมือกับบริษัทหรือสถานประกอบการเพื่อวางแผนและดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีของผู้เชี่ยวชาญต่างปรเทศให้แก่แรงงานไทยที่ทำงานอยู่
4. กลยุทธการคุ้มครองและเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงของแรงงาน โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
- จัดการตรวจแรงงาน ตรวจความปลอดภัยและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งการ จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กสำหรับบุตรกำลังแรงงาน โดยประสานความร่วมมือกับองค์การบริหาร- ส่วนท้องถิ่นและกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
- ประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการตรวจสุขภาพหรือรักษากรณีเกิดอุบัติเหตุ แก่แรงงาน
มาตรการและยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นดังกล่าวเป็นแนวทางที่กระทรวงแรงงานและ บริษัทการท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ จำกัด ร่วมมือกับบริษัทหรือสถานประกอบการที่รับจ้างงานในสนามบินสุวรรณภูมิจะเริ่มต้นดำเนินการให้เป็นระบบและรูปธรรมได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-