แท็ก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างทางเศรษฐกิจการศึกษา กฎหมาย ระเบียบ และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความยากจน ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การศึกษา กฎหมาย ระเบียบและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความยากจน และคำสั่งศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ ที่ 15/2547 ลงวันที่ 8 เมษายน 2547 แต่งตั้งกรรมการและอนุกรรมการ (เพิ่มเติม) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายโภคิน พลกุล) เป็นประธานอนุกรรมการเสนอ สรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ นับแต่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การศึกษา กฎหมาย ระเบียบ และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความยากจน คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบ เสนอแนะ การแก้ไขหรือให้มีกฎหมายใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งได้ตรวจพิจารณายกร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้
1.1 กฎหมายที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
(ก) ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. …. หลักการ เพื่อกำหนดให้สามารถนำ ทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น กิจการ ทรัพย์สินทางปัญญา สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักรสินค้าคงคลัง หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มาใช้เป็นหลักประกันได้โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครอง
ขั้นตอน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งร่างที่ตรวจพิจารณาแล้วไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2545 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร
(ข) ร่างพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ พ.ศ. …. หลักการ เพื่อกำหนดให้มีการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้สิทธิครอบรองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มา การใช้และการบำรุงรักษาทรัพยากร โดยการบริหารจัดการที่ดินให้เกิดการใช้ประโยชน์ สูงสุด รวมถึงกำหนดแผนการใช้ที่ดินและการพัฒนาด้านต่าง ๆ และการควบคุมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งจะส่งผลให้สามารถนำที่ดินดังกล่าวไปใช้เป็นหลักประกันได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอน อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติหลักการ
(ค) ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … หลักการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อลดภาระในการจดทะเบียนอันจะช่วยส่งเสริมให้สามารถนำเครื่องจักรไปใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อต่อไป
ขั้นตอน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
1.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเอกสารสิทธิในที่ดิน
(ก) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หลักการ เพื่อยกเลิกหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 โดยกำหนดให้บุคคลดังกล่าวนำหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มายื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน ถ้าไม่ได้ยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวสละสิทธิ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จำหน่ายหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินนั้นออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงเอกสารสิทธิในที่ดินให้เป็นระบบเดียว
ขั้นตอน อยู่ระหว่างการขอหนังสือยืนยันร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(ข) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการอนุญาติและอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หลักการ เพื่อแก้ไขให้สามารถตั้งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิอื่นนอกจากโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 เช่น ที่ดิน ศ.ป.ก. ที่ป่าสงวน ที่รถไฟ ที่ราชพัสดุ ที่วัดหรือที่นิคมสร้างตนเอง เป็นต้น
ขั้นตอน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
1.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
(ก) ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หลักการ กำหนดให้มีการลดระยะเวลาในการติดประกาศคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องจักร จาก 15 วัน เป็น 5 วัน เพื่อให้การจดทะเบียนเครื่องจักรสามารถดำเนินการได้เร็วยิ่งขึ้น
ขั้นตอน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(ข) ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หลักการ กำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่โรงงานในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการตั้งโรงงานอันจะก่อให้เกิดการจ้างงานในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขั้นตอน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
2. ผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คณะอนุกรรมการฯ ได้ติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความยากจนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการดำเนินงานได้ ดังต่อไปนี้
2.1 กรมที่ดิน
(ก) การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเอกสารสิทธิในที่ดิน
(ข) การออกเอกสารสิทธิที่ดินให้แก่ประชาชน กรมที่ดินได้ดำเนินการสำรวจและรังวัดทำแผนที่และสอบสวนสิทธิเพื่อการออกโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน โดยเริ่มโครงการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และจะสิ้นสุดโครงการ ในวันที่ 30 กันยายน 2547 ซึ่งจากการรายงานผลการติดตาม (ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2547) ปรากฏผลการดำเนินการดังนี้ (1) ดำเนินการรังวัดทำแผนที่และสอบสวนสิทธิเพื่อการออกโฉนดได้แล้ว 933,020 แปลง (ร้อยละ 93.25) (2) แจกโฉนดที่ดินแล้ว จำนวน 155,602 แปลง (ร้อยละ 15.55) (3) ลงนามในโฉนดที่ดินรอแจกประชาชน จำนวน 42,756 แปลง (ร้อยละ 4.27)
(ค) การดำเนินโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน กรมที่ดินได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 เพื่อให้สินเชื่อโดยใช้โฉนดที่ดินหรือ น.ส. 3ก ที่มีข้อกำหนดหรือระยะเวลาห้ามโอนเป็นหลักประกัน ซึ่งขณะนี้มีประชาชนเข้าร่วมโครงการของทั้ง 2 ธนาคารแล้วจำนวน 55 ราย
นอกจากการขอสินเชื่อจาก 2 ธนาคารแล้ว ยังมีการนำโฉนดที่ดินหรือ น.ส.3ก ดังกล่าวข้างต้นไปขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น ๆ มีการให้สินเชื่อ จำนวน 410 ราย วงเงินสินเชื่อจำนวน 100,901,006 บาท
รวมการให้สินเชื่อทั้งหมด 465 ราย วงเงินจำนวน 114,480,006 บาท
2.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
(ก) วิธีการดำเนินการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งดูแลและรับผิดชอบเกี่ยวกับการ แปลงสินทรัพย์เป็นทุนประเภทที่สาธารณะ ได้ดำเนินการจัดระเบียบทางเข้า โดยให้มีคณะกรรมการอำนวยการจัดระเบียบการจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิเข้าไปจำหน่ายสินค้าในทางเท้าเสนอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นออกใบรับรองให้กับผู้ค้าในเขตพื้นที่ดังกล่าวโดยกำหนดให้ใบรับรองมีอายุ 3 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการมีหลักประกันที่มั่นคงในการขอสินเชื่อกับธนาคาร
(ข) ผลการดำเนินการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้เริ่มดำเนินการในเขตเทศบาลนำร่อง จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลนครหาดใหญ่ และต่อมาได้ขยายผลการดำเนินงานตามโครงการไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 382 แห่ง รวมเป็นถนน 534 สาย ระยะทาง 222,128.25 เมตร มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 33,261 คน สามารถออกใบรับรองให้ผู้ค้าได้แล้ว จำนวน 656 ราย
ในปัจจุบันปรากฏว่ามีผู้ขอสินเชื่อจากธนาคารออมสินแล้ว จำนวน 179 ราย วงเงินรายละ 50,000 บาท วงเงินสินเชื่อ 8,720,000 บาท และอยู่ในระหว่างการขอสินเชื่อ 1,422 ราย
2.3 กรุงเทพมหานคร การดำเนินโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน กรุงเทพมหานครได้ออกคู่มือทะเบียนให้แก่ผู้ค้า จำนวน 22,000 แผง กรุงเทพมหานครได้ลงนามกับธนาคารออมสินในการให้สินเชื่อโดยใช้คู่มือทะเบียนเป็นหลักประกัน โดยธนาคารออมสินได้มีการอนุมัติให้สินเชื่อแล้ว จำนวน 160 ราย จากผู้ขอ 310 ราย รวมวงเงินการให้สินเชื่อประมาณ 33,000,000 บาท แบ่งเป็น (1) ผู้ประกอบการในตลาด จำนวน 51 ราย ๆ ละประมาณ 50,000 บาท (2) ผู้ประกอบการในตลาดนัด จำนวน 109 ราย ๆ ละประมาณ 300,000 บาท
2.4 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(ก) การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน
(ข) การดำเนินการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน สปก. ให้แก่ประชาชน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ดำเนินจัดสรรที่ดินให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์แล้ว 16.59 ล้านไร่ และอยู่ในระหว่างการดำเนินการ 0.8 ล้านไร่ ทั้งนี้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองอยู่แล้วทั้งสิ้น
2.5 สำนักงานแปลงสินทรัพย์เป็นทุน สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (องค์การมหาชน) ได้กำหนดประเภทของสินทรัพย์ ที่สามารถนำมาแปลงเป็นทุนไว้แล้ว 5 ประเภท และกำลังจะกำหนดเพิ่มเติมอีก 6-7 ประเภท ซึ่งอยู่ระหว่างการทำความ-เล็ก ใบอนุญาตให้จับสัตว์น้ำของผู้ประกอบอาชีพประมง และไม้ยางพาราที่ปลูกตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิการเช่าที่ดินของกองทัพ รัฐวิสาหกิจ ใบอนุญาตประกอบกิจการ เครื่องยนต์ขนาดในเขตป่าสงวน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการจัดระบบการระงับข้อพิพาทนอกศาล เพื่อให้การบังคับตามสัญญาเป็นไปได้เร็วยิ่งขึ้น
2.6 กองทุนหมู่บ้าน การดำเนินการโครงการให้สินเชื่อของกองทุนหมู่บ้านที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จ เนื่องจากชาวบ้านได้กู้เงินจากกองทุนไปใช้ประโยชน์ทั้งการนำไปใช้ลงทุนขยายรายได้ให้กับตนเองหรือการนำไปชำระหนี้นอกระบบ อีกทั้งยังมีการตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตภายในกองทุนด้วย และชาวบ้านส่วนใหญ่จะดำเนินการชำระหนี้อย่างถูกต้องและตรงเวลาทำให้ไม่เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้แต่อย่างใด (ที่ติดตามหนี้ไม่ได้มีเพียง 0.6% เท่านั้น)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ นับแต่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การศึกษา กฎหมาย ระเบียบ และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความยากจน คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบ เสนอแนะ การแก้ไขหรือให้มีกฎหมายใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งได้ตรวจพิจารณายกร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้
1.1 กฎหมายที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
(ก) ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. …. หลักการ เพื่อกำหนดให้สามารถนำ ทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น กิจการ ทรัพย์สินทางปัญญา สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักรสินค้าคงคลัง หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มาใช้เป็นหลักประกันได้โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครอง
ขั้นตอน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งร่างที่ตรวจพิจารณาแล้วไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2545 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร
(ข) ร่างพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ พ.ศ. …. หลักการ เพื่อกำหนดให้มีการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้สิทธิครอบรองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มา การใช้และการบำรุงรักษาทรัพยากร โดยการบริหารจัดการที่ดินให้เกิดการใช้ประโยชน์ สูงสุด รวมถึงกำหนดแผนการใช้ที่ดินและการพัฒนาด้านต่าง ๆ และการควบคุมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งจะส่งผลให้สามารถนำที่ดินดังกล่าวไปใช้เป็นหลักประกันได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอน อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติหลักการ
(ค) ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … หลักการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อลดภาระในการจดทะเบียนอันจะช่วยส่งเสริมให้สามารถนำเครื่องจักรไปใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อต่อไป
ขั้นตอน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
1.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเอกสารสิทธิในที่ดิน
(ก) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หลักการ เพื่อยกเลิกหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 โดยกำหนดให้บุคคลดังกล่าวนำหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มายื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน ถ้าไม่ได้ยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวสละสิทธิ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จำหน่ายหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินนั้นออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงเอกสารสิทธิในที่ดินให้เป็นระบบเดียว
ขั้นตอน อยู่ระหว่างการขอหนังสือยืนยันร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(ข) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการอนุญาติและอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หลักการ เพื่อแก้ไขให้สามารถตั้งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิอื่นนอกจากโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 เช่น ที่ดิน ศ.ป.ก. ที่ป่าสงวน ที่รถไฟ ที่ราชพัสดุ ที่วัดหรือที่นิคมสร้างตนเอง เป็นต้น
ขั้นตอน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
1.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
(ก) ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หลักการ กำหนดให้มีการลดระยะเวลาในการติดประกาศคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องจักร จาก 15 วัน เป็น 5 วัน เพื่อให้การจดทะเบียนเครื่องจักรสามารถดำเนินการได้เร็วยิ่งขึ้น
ขั้นตอน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(ข) ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หลักการ กำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่โรงงานในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการตั้งโรงงานอันจะก่อให้เกิดการจ้างงานในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขั้นตอน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
2. ผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คณะอนุกรรมการฯ ได้ติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความยากจนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการดำเนินงานได้ ดังต่อไปนี้
2.1 กรมที่ดิน
(ก) การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเอกสารสิทธิในที่ดิน
(ข) การออกเอกสารสิทธิที่ดินให้แก่ประชาชน กรมที่ดินได้ดำเนินการสำรวจและรังวัดทำแผนที่และสอบสวนสิทธิเพื่อการออกโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน โดยเริ่มโครงการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และจะสิ้นสุดโครงการ ในวันที่ 30 กันยายน 2547 ซึ่งจากการรายงานผลการติดตาม (ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2547) ปรากฏผลการดำเนินการดังนี้ (1) ดำเนินการรังวัดทำแผนที่และสอบสวนสิทธิเพื่อการออกโฉนดได้แล้ว 933,020 แปลง (ร้อยละ 93.25) (2) แจกโฉนดที่ดินแล้ว จำนวน 155,602 แปลง (ร้อยละ 15.55) (3) ลงนามในโฉนดที่ดินรอแจกประชาชน จำนวน 42,756 แปลง (ร้อยละ 4.27)
(ค) การดำเนินโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน กรมที่ดินได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 เพื่อให้สินเชื่อโดยใช้โฉนดที่ดินหรือ น.ส. 3ก ที่มีข้อกำหนดหรือระยะเวลาห้ามโอนเป็นหลักประกัน ซึ่งขณะนี้มีประชาชนเข้าร่วมโครงการของทั้ง 2 ธนาคารแล้วจำนวน 55 ราย
นอกจากการขอสินเชื่อจาก 2 ธนาคารแล้ว ยังมีการนำโฉนดที่ดินหรือ น.ส.3ก ดังกล่าวข้างต้นไปขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น ๆ มีการให้สินเชื่อ จำนวน 410 ราย วงเงินสินเชื่อจำนวน 100,901,006 บาท
รวมการให้สินเชื่อทั้งหมด 465 ราย วงเงินจำนวน 114,480,006 บาท
2.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
(ก) วิธีการดำเนินการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งดูแลและรับผิดชอบเกี่ยวกับการ แปลงสินทรัพย์เป็นทุนประเภทที่สาธารณะ ได้ดำเนินการจัดระเบียบทางเข้า โดยให้มีคณะกรรมการอำนวยการจัดระเบียบการจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิเข้าไปจำหน่ายสินค้าในทางเท้าเสนอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นออกใบรับรองให้กับผู้ค้าในเขตพื้นที่ดังกล่าวโดยกำหนดให้ใบรับรองมีอายุ 3 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการมีหลักประกันที่มั่นคงในการขอสินเชื่อกับธนาคาร
(ข) ผลการดำเนินการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้เริ่มดำเนินการในเขตเทศบาลนำร่อง จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลนครหาดใหญ่ และต่อมาได้ขยายผลการดำเนินงานตามโครงการไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 382 แห่ง รวมเป็นถนน 534 สาย ระยะทาง 222,128.25 เมตร มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 33,261 คน สามารถออกใบรับรองให้ผู้ค้าได้แล้ว จำนวน 656 ราย
ในปัจจุบันปรากฏว่ามีผู้ขอสินเชื่อจากธนาคารออมสินแล้ว จำนวน 179 ราย วงเงินรายละ 50,000 บาท วงเงินสินเชื่อ 8,720,000 บาท และอยู่ในระหว่างการขอสินเชื่อ 1,422 ราย
2.3 กรุงเทพมหานคร การดำเนินโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน กรุงเทพมหานครได้ออกคู่มือทะเบียนให้แก่ผู้ค้า จำนวน 22,000 แผง กรุงเทพมหานครได้ลงนามกับธนาคารออมสินในการให้สินเชื่อโดยใช้คู่มือทะเบียนเป็นหลักประกัน โดยธนาคารออมสินได้มีการอนุมัติให้สินเชื่อแล้ว จำนวน 160 ราย จากผู้ขอ 310 ราย รวมวงเงินการให้สินเชื่อประมาณ 33,000,000 บาท แบ่งเป็น (1) ผู้ประกอบการในตลาด จำนวน 51 ราย ๆ ละประมาณ 50,000 บาท (2) ผู้ประกอบการในตลาดนัด จำนวน 109 ราย ๆ ละประมาณ 300,000 บาท
2.4 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(ก) การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน
(ข) การดำเนินการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน สปก. ให้แก่ประชาชน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ดำเนินจัดสรรที่ดินให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์แล้ว 16.59 ล้านไร่ และอยู่ในระหว่างการดำเนินการ 0.8 ล้านไร่ ทั้งนี้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองอยู่แล้วทั้งสิ้น
2.5 สำนักงานแปลงสินทรัพย์เป็นทุน สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (องค์การมหาชน) ได้กำหนดประเภทของสินทรัพย์ ที่สามารถนำมาแปลงเป็นทุนไว้แล้ว 5 ประเภท และกำลังจะกำหนดเพิ่มเติมอีก 6-7 ประเภท ซึ่งอยู่ระหว่างการทำความ-เล็ก ใบอนุญาตให้จับสัตว์น้ำของผู้ประกอบอาชีพประมง และไม้ยางพาราที่ปลูกตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิการเช่าที่ดินของกองทัพ รัฐวิสาหกิจ ใบอนุญาตประกอบกิจการ เครื่องยนต์ขนาดในเขตป่าสงวน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการจัดระบบการระงับข้อพิพาทนอกศาล เพื่อให้การบังคับตามสัญญาเป็นไปได้เร็วยิ่งขึ้น
2.6 กองทุนหมู่บ้าน การดำเนินการโครงการให้สินเชื่อของกองทุนหมู่บ้านที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จ เนื่องจากชาวบ้านได้กู้เงินจากกองทุนไปใช้ประโยชน์ทั้งการนำไปใช้ลงทุนขยายรายได้ให้กับตนเองหรือการนำไปชำระหนี้นอกระบบ อีกทั้งยังมีการตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตภายในกองทุนด้วย และชาวบ้านส่วนใหญ่จะดำเนินการชำระหนี้อย่างถูกต้องและตรงเวลาทำให้ไม่เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้แต่อย่างใด (ที่ติดตามหนี้ไม่ได้มีเพียง 0.6% เท่านั้น)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-