คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงพาณิชย์ขอผ่อนผันมาตรการประหยัดพลังงานในภาวะน้ำมันแพง โดยให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงพลังงานไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติ และให้คงเป้าหมายการประหยัดพลังงานต่อไป
สำหรับเรื่องนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 เห็นชอบมาตรการประหยัดพลังงาน โดยในส่วนของธุรกิจค้าส่ง-ปลีก และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่มีพื้นที่ขายขนาดตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ให้เปิด-ปิดบริการตามเวลาที่กำหนด โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2547 เป็นต้นไป และให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการ นั้น
การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 24 สิงหาคม 2547 ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในมีหนังสือถึงผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า จำนวน 15 ราย รวม 222 สาขา เพื่อขอความร่วมมือให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด รวมทั้งได้เชิญประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้รวม 5 ครั้ง (วันที่ 20 ส.ค. 2,6,21 ก.ย. และ 1 ต.ค. 47) พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบปรากฏว่าได้รับความร่วมมืออย่างดี และพบว่าเกิดความไม่สะดวกพอสมควร เนื่องจากระยะเวลาการจับจ่ายใช้สอยสั้นลง ผู้ประกอบการเอง ก็ได้แจ้งถึงความเดือดร้อน โดยเฉพาะกลุ่ม Hyper mart ซี่งมีเวลาทำการลดลงจากปกติ 100-112 ชั่วโมง/สัปดาห์ เหลือ 77 ชั่วโมง/สัปดาห์ และกลุ่ม Department Store เวลาทำการลดลงจากปกติ 84-91 ชั่วโมง-สัปดาห์ เหลือ 77 ชั่วโมง/สัปดาห์
การขอปรับเปลี่ยนเวลาเปิด-ปิดของห้าง จากกรณีลดชั่วโมงให้เหลือบริการลงเหลือ 77 ชั่วโมง/สัปดาห์ ทำให้เกิดผลกระทบต่อยอดขายของห้างซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 7-12 ทำให้ห้างต้องบริหารจัดการ เรื่องการจ้างงานและชั่วโมงการทำงานของพนักงาน โดยมีความจำเป็นต้องระงับการจัดจ้างบุคลากรที่ว่างลง และอาจพิจารณาลดจำนวนพนักงานลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (บางห้างอาจจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลงไม่น้อยกว่า 1,500 คน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำหรับเรื่องนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 เห็นชอบมาตรการประหยัดพลังงาน โดยในส่วนของธุรกิจค้าส่ง-ปลีก และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่มีพื้นที่ขายขนาดตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ให้เปิด-ปิดบริการตามเวลาที่กำหนด โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2547 เป็นต้นไป และให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการ นั้น
การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 24 สิงหาคม 2547 ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในมีหนังสือถึงผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า จำนวน 15 ราย รวม 222 สาขา เพื่อขอความร่วมมือให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด รวมทั้งได้เชิญประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้รวม 5 ครั้ง (วันที่ 20 ส.ค. 2,6,21 ก.ย. และ 1 ต.ค. 47) พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบปรากฏว่าได้รับความร่วมมืออย่างดี และพบว่าเกิดความไม่สะดวกพอสมควร เนื่องจากระยะเวลาการจับจ่ายใช้สอยสั้นลง ผู้ประกอบการเอง ก็ได้แจ้งถึงความเดือดร้อน โดยเฉพาะกลุ่ม Hyper mart ซี่งมีเวลาทำการลดลงจากปกติ 100-112 ชั่วโมง/สัปดาห์ เหลือ 77 ชั่วโมง/สัปดาห์ และกลุ่ม Department Store เวลาทำการลดลงจากปกติ 84-91 ชั่วโมง-สัปดาห์ เหลือ 77 ชั่วโมง/สัปดาห์
การขอปรับเปลี่ยนเวลาเปิด-ปิดของห้าง จากกรณีลดชั่วโมงให้เหลือบริการลงเหลือ 77 ชั่วโมง/สัปดาห์ ทำให้เกิดผลกระทบต่อยอดขายของห้างซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 7-12 ทำให้ห้างต้องบริหารจัดการ เรื่องการจ้างงานและชั่วโมงการทำงานของพนักงาน โดยมีความจำเป็นต้องระงับการจัดจ้างบุคลากรที่ว่างลง และอาจพิจารณาลดจำนวนพนักงานลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (บางห้างอาจจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลงไม่น้อยกว่า 1,500 คน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-