คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและกระทรวงยุติธรรมรับไปพิจารณายกร่างกฎหมาย โดยให้มีมาตรการรองรับตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 8 (ฝ่ายกฏหมาย) ในข้อ 3 ทั้งนี้ให้รับประเด็นอภิปรายตลอดจนความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาและให้รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสมด้วย
สำหรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 8 (ฝ่ายกฏหมาย) มีดังนี้
1. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นเรื่องความรับผิดชอบในทางแพ่ง แต่เนื่องจากการใช้เช็คในอดี มีปัญหาทำให้การใช้เช็คขาดความเชื่อถือ จึงได้มีการกำหนดให้ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดทางอาญา เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน แต่ปรากฏว่า ในปัจจุบันได้มีการนำมาตรการทางอาญาไปใช้เพื่อบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการสร้างภาระให้กับรัฐ โดยรัฐต้องเข้ามารับภาระในการดำเนินคดีอาญาเพื่อติดตามหนี้สินให้กับเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็ค ทั้งที่หนี้สินดังกล่าวเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ โดยในแต่ละปีจะมีคดีเกี่ยวกับเช็คขึ้นสู่ศาลประมาณ 20,000 คดี ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 300-500 ล้านต่อปี ซึ่งภาระในเรื่องนี้ควรเป็นภาระหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องรับผิดชอบสร้างความมั่นคงทางการเงินแทนมาตรการทางอาญาของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในการเร่งรัดติดตามหนี้สินให้แก่เอกชน โดยการสืบสวนและจับกุมลูกหนี้ในคดีอาญาและการกำหนดให้ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดทางอาญานั้น อาจเป็นการขัดกับกติกาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี ซึ่งมีข้อบทที่ 11 กำหนดว่าบุคคลไม่ควรจะได้รับโทษจำคุกเพราะเหตุการไม่ชำระหนี้
2. สังคมไทย ระบบเศรษฐกิจ วัฒนธรรมการใช้เช็ค และกลไกการชำระเงินได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก มีระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต โดยระบบธนาคารสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการชำระหนี้ทางบัตรเครดิตได้ และขณะนี้ในต่างประเทศทุกประเทศ ยกเว้นประเทศอินเดีย ได้กำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการใช้เช็คเป็นความผิดทางแพ่งเท่านั้น อีกทั้งการสร้างความน่าเชื่อถือในเช็คสามารถกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่เพื่อทดแทนมาตรการลงโทษทางอาญาได้ เช่น มาตรการตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงินประเภทบัญชีกระแสรายวันเป็นการเฉพาะ โดยการกำหนดวงเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี และจำนวนเงินคงเหลือในบัญชี เป็นต้น และมาตรการตามกฎหมายประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เช็ค รวมทั้งข้อมูลที่จัดเก็บตามกฎหมายข้อมูลเครดิตในด้านอื่น ๆ มาวิเคราะห์ประกอบการพิจารณาคำขอเปิดบัญชีใช้เช็คของลูกค้าทำให้มีมาตรการคัดกรองเพื่อให้ได้ลูกค้าที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น และหากธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์กำหนดให้มีการใช้มาตรการทั้งสองดังกล่าวอย่างเข้มงวดก็จะทำให้เช็คได้รับความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
3. ในการยกเลิกความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเพื่อให้มีมาตรการรองรับในเรื่องนี้ สมควรดำเนินการดังนี้
3.1 ควรให้มีบทเฉพาะกาลกำหนดเวลาใช้บังคับ เพื่อให้มีเวลาเพียงพอสำหรับการพัฒนามาตรการสร้างความน่าเชื่อถือในเช็ค ตลอดจนบทเฉพาะกาลสำหรับกรณีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลหรืออยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
3.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารพาณิชย์ควรเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนี้ เพื่อการกำหนดมาตรการรองรับและการสร้างความน่าเชื่อถือในเช็คตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด
3.3 ควรแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ให้ครอบคลุมถึงกรณีการกระทำโดยทุจริตสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คเป็นเหตุให้ธนาคารหลงเชื่อและปฏิเสธการใช้เงินให้เป็นความผิดฉ้อโกง นอกจากนี้ควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ทรงเช็คที่อาจเป็นผู้ยากไร้ด้วยระบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเป็นกรณี ๆ ไป
3.4 ในการยกร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ควรมีการรับฟังความเห็นและข้อสังเกตของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารพาณิชย์ ประกอบการพิจารณาด้วย
การยกเลิกความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการใช้เช็ค
ผลดี ผลเสีย
1. ลดภาระของรัฐในการดำเนินคดีอาญา อาจทำให้การใช้เช็คขาดความน่าเชื่อถือ
2. ลดปัญหาการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่
3. สอดคล้องกับกติกาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
4. สอดคล้องกับหลักการของนานาประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำหรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 8 (ฝ่ายกฏหมาย) มีดังนี้
1. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นเรื่องความรับผิดชอบในทางแพ่ง แต่เนื่องจากการใช้เช็คในอดี มีปัญหาทำให้การใช้เช็คขาดความเชื่อถือ จึงได้มีการกำหนดให้ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดทางอาญา เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน แต่ปรากฏว่า ในปัจจุบันได้มีการนำมาตรการทางอาญาไปใช้เพื่อบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการสร้างภาระให้กับรัฐ โดยรัฐต้องเข้ามารับภาระในการดำเนินคดีอาญาเพื่อติดตามหนี้สินให้กับเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็ค ทั้งที่หนี้สินดังกล่าวเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ โดยในแต่ละปีจะมีคดีเกี่ยวกับเช็คขึ้นสู่ศาลประมาณ 20,000 คดี ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 300-500 ล้านต่อปี ซึ่งภาระในเรื่องนี้ควรเป็นภาระหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องรับผิดชอบสร้างความมั่นคงทางการเงินแทนมาตรการทางอาญาของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในการเร่งรัดติดตามหนี้สินให้แก่เอกชน โดยการสืบสวนและจับกุมลูกหนี้ในคดีอาญาและการกำหนดให้ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดทางอาญานั้น อาจเป็นการขัดกับกติกาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี ซึ่งมีข้อบทที่ 11 กำหนดว่าบุคคลไม่ควรจะได้รับโทษจำคุกเพราะเหตุการไม่ชำระหนี้
2. สังคมไทย ระบบเศรษฐกิจ วัฒนธรรมการใช้เช็ค และกลไกการชำระเงินได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก มีระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต โดยระบบธนาคารสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการชำระหนี้ทางบัตรเครดิตได้ และขณะนี้ในต่างประเทศทุกประเทศ ยกเว้นประเทศอินเดีย ได้กำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการใช้เช็คเป็นความผิดทางแพ่งเท่านั้น อีกทั้งการสร้างความน่าเชื่อถือในเช็คสามารถกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่เพื่อทดแทนมาตรการลงโทษทางอาญาได้ เช่น มาตรการตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงินประเภทบัญชีกระแสรายวันเป็นการเฉพาะ โดยการกำหนดวงเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี และจำนวนเงินคงเหลือในบัญชี เป็นต้น และมาตรการตามกฎหมายประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เช็ค รวมทั้งข้อมูลที่จัดเก็บตามกฎหมายข้อมูลเครดิตในด้านอื่น ๆ มาวิเคราะห์ประกอบการพิจารณาคำขอเปิดบัญชีใช้เช็คของลูกค้าทำให้มีมาตรการคัดกรองเพื่อให้ได้ลูกค้าที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น และหากธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์กำหนดให้มีการใช้มาตรการทั้งสองดังกล่าวอย่างเข้มงวดก็จะทำให้เช็คได้รับความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
3. ในการยกเลิกความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเพื่อให้มีมาตรการรองรับในเรื่องนี้ สมควรดำเนินการดังนี้
3.1 ควรให้มีบทเฉพาะกาลกำหนดเวลาใช้บังคับ เพื่อให้มีเวลาเพียงพอสำหรับการพัฒนามาตรการสร้างความน่าเชื่อถือในเช็ค ตลอดจนบทเฉพาะกาลสำหรับกรณีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลหรืออยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
3.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารพาณิชย์ควรเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนี้ เพื่อการกำหนดมาตรการรองรับและการสร้างความน่าเชื่อถือในเช็คตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด
3.3 ควรแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ให้ครอบคลุมถึงกรณีการกระทำโดยทุจริตสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คเป็นเหตุให้ธนาคารหลงเชื่อและปฏิเสธการใช้เงินให้เป็นความผิดฉ้อโกง นอกจากนี้ควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ทรงเช็คที่อาจเป็นผู้ยากไร้ด้วยระบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเป็นกรณี ๆ ไป
3.4 ในการยกร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ควรมีการรับฟังความเห็นและข้อสังเกตของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารพาณิชย์ ประกอบการพิจารณาด้วย
การยกเลิกความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการใช้เช็ค
ผลดี ผลเสีย
1. ลดภาระของรัฐในการดำเนินคดีอาญา อาจทำให้การใช้เช็คขาดความน่าเชื่อถือ
2. ลดปัญหาการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่
3. สอดคล้องกับกติกาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
4. สอดคล้องกับหลักการของนานาประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-