คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกรายงานผลการพิจารณาการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ได้ประชุมเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2547 ณ ทำเนียบรัฐบาล ดังนี้
1. คณะอนุกรรมการด้านวิชาการฯ ได้เสนอข้อเท็จจริง เกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญหากมีการใช้หรือไม่ใช้วัคซีนไข้หวัดนก ได้แก่
- เงื่อนไขข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลทางวิชาการ ข้อกำหนดและระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึง ข้อแนะนำต่าง ๆ ขององค์กรระหว่างประเทศ FAO, OIE และ WHO
- กรณีของประเทศคู่ค้า ถ้าหากประเทศไทยมีการใช้วัคซีนไข้หวัดนก ประเทศคู่ค้าจะมีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้อย่างไร และเงื่อนไขของแต่ละประเทศ
- รายละเอียดของแต่ละระบบการเลี้ยงไก่และสัตว์ปีก และได้นำผลกระทบด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคมมาประกอบการพิจารณา
2. คณะอนุกรรมการด้านวิชาการฯ และกระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอข้อสรุปว่ายังไม่สนับสนุนให้มีการใช้วัคซีนในวงกว้าง โดยไม่สามารถควบคุมและติดตามการใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์ไข้หวัดนก ได้พิจารณาข้อมูลทั้ง 3 มิติ คือ ด้านสาธารณสุข โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม และมีมติเกี่ยวกับการใช้วัคซีนไข้หวัดนกดังนี้
1. ห้ามใช้วัคซีนไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทุกชนิด
2. ให้เร่งปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) โดยเร็วซึ่งได้แก่ การปรับปรุงระบบการป้องกันเชื้อโรคเข้า-ออกฟาร์ม การจดทะเบียนและพัฒนาฟาร์มให้เป็นระบบมาตรฐานการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างเข้มงวด การควบคุมโรงฆ่าสัตว์ปีก และมาตรการในการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก
3. ให้ศึกษา วิจัยและทดลองเกี่ยวกับเชื้อไวรัสไข้หวัดนกและวัคซีนเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของเชื้อ และเพื่อหามาตรการในการรองรับเมื่อมีการระบาดรุนแรง การศึกษาวิจัยและทดลองดังกล่าวจะต้องดำเนินการเฉพาะในห้องปฏิบัติการและภายใต้การดำเนินการของส่วนราชการเท่านั้น
4. หากจะมีการศึกษา วิจัยและทดลองการใช้วัคซีนไข้หวัดนกในพื้นที่สำหรับสัตว์ปีกสวยงามหรือไก่ชน จะต้องประสานงานและทำความตกลงกับองค์การระหว่างประเทศ และประเทศคู่ค้าก่อนจะดำเนินการ
สำหรับองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ OIE ได้แนะนำว่าวัคซีนไข้หวัดนกเป็นเพียงมาตรการเสริมอย่างหนึ่ง ประเทศสมาชิกจะใช้วัคซีนไข้หวัดนกหรือไม่ ให้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของประเทศนั้น ๆ ซึ่งจะมีสภาพปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่พร้อมที่จะให้ข้อมูลและคำแนะนำในการควบคุมโรค ทั้งในกรณีที่ใช้วัคซีนและไม่ใช้วัคซีน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. คณะอนุกรรมการด้านวิชาการฯ ได้เสนอข้อเท็จจริง เกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญหากมีการใช้หรือไม่ใช้วัคซีนไข้หวัดนก ได้แก่
- เงื่อนไขข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลทางวิชาการ ข้อกำหนดและระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึง ข้อแนะนำต่าง ๆ ขององค์กรระหว่างประเทศ FAO, OIE และ WHO
- กรณีของประเทศคู่ค้า ถ้าหากประเทศไทยมีการใช้วัคซีนไข้หวัดนก ประเทศคู่ค้าจะมีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้อย่างไร และเงื่อนไขของแต่ละประเทศ
- รายละเอียดของแต่ละระบบการเลี้ยงไก่และสัตว์ปีก และได้นำผลกระทบด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคมมาประกอบการพิจารณา
2. คณะอนุกรรมการด้านวิชาการฯ และกระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอข้อสรุปว่ายังไม่สนับสนุนให้มีการใช้วัคซีนในวงกว้าง โดยไม่สามารถควบคุมและติดตามการใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์ไข้หวัดนก ได้พิจารณาข้อมูลทั้ง 3 มิติ คือ ด้านสาธารณสุข โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม และมีมติเกี่ยวกับการใช้วัคซีนไข้หวัดนกดังนี้
1. ห้ามใช้วัคซีนไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทุกชนิด
2. ให้เร่งปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) โดยเร็วซึ่งได้แก่ การปรับปรุงระบบการป้องกันเชื้อโรคเข้า-ออกฟาร์ม การจดทะเบียนและพัฒนาฟาร์มให้เป็นระบบมาตรฐานการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างเข้มงวด การควบคุมโรงฆ่าสัตว์ปีก และมาตรการในการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก
3. ให้ศึกษา วิจัยและทดลองเกี่ยวกับเชื้อไวรัสไข้หวัดนกและวัคซีนเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของเชื้อ และเพื่อหามาตรการในการรองรับเมื่อมีการระบาดรุนแรง การศึกษาวิจัยและทดลองดังกล่าวจะต้องดำเนินการเฉพาะในห้องปฏิบัติการและภายใต้การดำเนินการของส่วนราชการเท่านั้น
4. หากจะมีการศึกษา วิจัยและทดลองการใช้วัคซีนไข้หวัดนกในพื้นที่สำหรับสัตว์ปีกสวยงามหรือไก่ชน จะต้องประสานงานและทำความตกลงกับองค์การระหว่างประเทศ และประเทศคู่ค้าก่อนจะดำเนินการ
สำหรับองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ OIE ได้แนะนำว่าวัคซีนไข้หวัดนกเป็นเพียงมาตรการเสริมอย่างหนึ่ง ประเทศสมาชิกจะใช้วัคซีนไข้หวัดนกหรือไม่ ให้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของประเทศนั้น ๆ ซึ่งจะมีสภาพปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่พร้อมที่จะให้ข้อมูลและคำแนะนำในการควบคุมโรค ทั้งในกรณีที่ใช้วัคซีนและไม่ใช้วัคซีน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-