คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานสรุปการดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกัน ผลการดำเนินการ และมาตรการติดตามเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่าจำพวกนก ดังนี้
1. การดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกัน
1.1 สั่งการให้สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 1-21 เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์การพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกทั้งในและนอกเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยให้สรุปรายงานให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชทราบทุกวัน
1.2 สั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกไปเก็บตัวอย่างนกในธรรมชาติ ระหว่างวันที่ 6-10 ตุลาคม2547 ในกลุ่มนกน้ำ นกทุ่ง และนกบ้าน-นกในเมือง จำนวน 89 ตัวอย่างในท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และสุพรรณบุรี นำส่งตรวจหาเชื้อไข้หวัดนก ที่ห้องปฏิบัติการคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการตรวจ
2. ผลการดำเนินการ ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2547 -ปัจจุบัน
2.1 การควบคุมโรคไข้หวัดนกสำหรับนกเลี้ยง ได้ร่วมมือกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมโรคไข้หวัดนกสำหรับผู้เลี้ยงนกสวยงามในประเทศ และได้จัดทำเป็นคู่มือแจกจ่ายให้แก่เอกชนผู้เลี้ยงนก จำนวน 5,000 เล่ม และทำการสุ่มเก็บตัวอย่างจากนกเลี้ยงสวยงามของผู้เลี้ยง จำนวน 16 ราย เพื่อตรวจพิสูจน์หาเชื้อไข้หวัดนก ผลการตรวจพิสูจน์ไม่พบเชื้อไข้หวัดนกทุกราย
2.2 การสุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์ป่าจำพวกนกที่อาศัยอยู่ตามแหล่งธรรมชาติ ระหว่างวันที่ 4 กุมภาพันธ์ -30 เมษายน 2547 จำนวน 26 พื้นที่ 30 ครั้ง ตรวจพบเชื้อโรคไข้หวัดนก ชนิด H5N1 จากตัวอย่างนกที่เก็บจากบริเวณบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กรุงเทพฯ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยได้ทำการเก็บทำลายซากนก จำนวน 1,470 ซาก และฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ 9 แห่ง สำหรับนกพิราบที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้สุ่มตรวจ จำนวน 62 ตัวอย่าง ผลการตรวจไม่พบเชื้อ
2.3 การเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งธรรมชาติ (บริเวณเดียวกับที่เก็บตัวอย่างนก) เพื่อตรวจพิสูจน์หาเชื้อโรคไข้หวัดนก ชนิด H5N1 จำนวน 10 พื้นที่ จำนวนตัวอย่าง 13 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อจำนวน 1 ตัวอย่าง จากตัวอย่างน้ำที่เก็บจากท้องที่หมู่ 3 บ้านท่าช้าง ตำบลบางเลน จังหวัดนครปฐม และได้แจ้งเตือนประชาชนโดยรอบพื้นที่แล้ว
2.4 การเฝ้าระวังสัตว์ป่า ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2547 ได้รับรายงานการตายของสัตว์ป่าจำพวกนก ดังนี้
1) พื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 6 แห่ง จำนวนนกตาย 644 ตัว
2) นอกพื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 5 แห่ง จำนวน นกตาย 961 ตัว
อนึ่ง ไม่มีการรายงานว่า สัตว์ป่าจำพวกนกตายผิดปกติ มาตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน
2.5 ขอความร่วมมือผู้ประกอบกิจการสวนสัตว์สาธารณะให้ปิดพื้นที่บริการในส่วนของสัตว์ป่าจำพวกนกเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก
3. มาตรการติดตามและเฝ้าระวังในระยะยาว
3.1 กำหนดจุดเฝ้าระวัง ให้เจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทำการเก็บตัวอย่างนกอพยพ นำส่งตรวจหาเชื้อไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ 10 แห่งทั่วประเทศ ดังนี้ (1) จังหวัดเชียงราย (ทะเลสาบเชียงแสน (2) จังหวัดพะเยา (กว๊านพะเยา) (3) จังหวัดนครสวรรค์ (บึงบอระเพ็ด) (4) จังหวัดสุพรรณบุรี (5) จังหวัดนครปฐม (6) จังหวัดปทุมธานี (วัดไผ่ล้อม) (7) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เขาสามร้อยยอด) (8) จังหวัดสงขลา (ทะเลสาบสงขลา) (9) จังหวัดพัทลุง (ทะเลน้อย) (10) จังหวัดชลบุรีถึงเพชรบุรี (อ่าวไทยตอนใน)
3.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับคณบดีคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำแผนป้องกันและควบคุมการระบาดของเชื้อไข้หวัดนก ในสัตว์หาระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2548-2552 และได้นำเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด่วนที่สุด ที่ ทส 0912/2552 และได้นำเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ และสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก มีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธานกรรมการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกัน
1.1 สั่งการให้สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 1-21 เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์การพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกทั้งในและนอกเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยให้สรุปรายงานให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชทราบทุกวัน
1.2 สั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกไปเก็บตัวอย่างนกในธรรมชาติ ระหว่างวันที่ 6-10 ตุลาคม2547 ในกลุ่มนกน้ำ นกทุ่ง และนกบ้าน-นกในเมือง จำนวน 89 ตัวอย่างในท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และสุพรรณบุรี นำส่งตรวจหาเชื้อไข้หวัดนก ที่ห้องปฏิบัติการคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการตรวจ
2. ผลการดำเนินการ ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2547 -ปัจจุบัน
2.1 การควบคุมโรคไข้หวัดนกสำหรับนกเลี้ยง ได้ร่วมมือกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมโรคไข้หวัดนกสำหรับผู้เลี้ยงนกสวยงามในประเทศ และได้จัดทำเป็นคู่มือแจกจ่ายให้แก่เอกชนผู้เลี้ยงนก จำนวน 5,000 เล่ม และทำการสุ่มเก็บตัวอย่างจากนกเลี้ยงสวยงามของผู้เลี้ยง จำนวน 16 ราย เพื่อตรวจพิสูจน์หาเชื้อไข้หวัดนก ผลการตรวจพิสูจน์ไม่พบเชื้อไข้หวัดนกทุกราย
2.2 การสุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์ป่าจำพวกนกที่อาศัยอยู่ตามแหล่งธรรมชาติ ระหว่างวันที่ 4 กุมภาพันธ์ -30 เมษายน 2547 จำนวน 26 พื้นที่ 30 ครั้ง ตรวจพบเชื้อโรคไข้หวัดนก ชนิด H5N1 จากตัวอย่างนกที่เก็บจากบริเวณบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กรุงเทพฯ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยได้ทำการเก็บทำลายซากนก จำนวน 1,470 ซาก และฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ 9 แห่ง สำหรับนกพิราบที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้สุ่มตรวจ จำนวน 62 ตัวอย่าง ผลการตรวจไม่พบเชื้อ
2.3 การเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งธรรมชาติ (บริเวณเดียวกับที่เก็บตัวอย่างนก) เพื่อตรวจพิสูจน์หาเชื้อโรคไข้หวัดนก ชนิด H5N1 จำนวน 10 พื้นที่ จำนวนตัวอย่าง 13 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อจำนวน 1 ตัวอย่าง จากตัวอย่างน้ำที่เก็บจากท้องที่หมู่ 3 บ้านท่าช้าง ตำบลบางเลน จังหวัดนครปฐม และได้แจ้งเตือนประชาชนโดยรอบพื้นที่แล้ว
2.4 การเฝ้าระวังสัตว์ป่า ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2547 ได้รับรายงานการตายของสัตว์ป่าจำพวกนก ดังนี้
1) พื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 6 แห่ง จำนวนนกตาย 644 ตัว
2) นอกพื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 5 แห่ง จำนวน นกตาย 961 ตัว
อนึ่ง ไม่มีการรายงานว่า สัตว์ป่าจำพวกนกตายผิดปกติ มาตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน
2.5 ขอความร่วมมือผู้ประกอบกิจการสวนสัตว์สาธารณะให้ปิดพื้นที่บริการในส่วนของสัตว์ป่าจำพวกนกเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก
3. มาตรการติดตามและเฝ้าระวังในระยะยาว
3.1 กำหนดจุดเฝ้าระวัง ให้เจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทำการเก็บตัวอย่างนกอพยพ นำส่งตรวจหาเชื้อไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ 10 แห่งทั่วประเทศ ดังนี้ (1) จังหวัดเชียงราย (ทะเลสาบเชียงแสน (2) จังหวัดพะเยา (กว๊านพะเยา) (3) จังหวัดนครสวรรค์ (บึงบอระเพ็ด) (4) จังหวัดสุพรรณบุรี (5) จังหวัดนครปฐม (6) จังหวัดปทุมธานี (วัดไผ่ล้อม) (7) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เขาสามร้อยยอด) (8) จังหวัดสงขลา (ทะเลสาบสงขลา) (9) จังหวัดพัทลุง (ทะเลน้อย) (10) จังหวัดชลบุรีถึงเพชรบุรี (อ่าวไทยตอนใน)
3.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับคณบดีคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำแผนป้องกันและควบคุมการระบาดของเชื้อไข้หวัดนก ในสัตว์หาระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2548-2552 และได้นำเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด่วนที่สุด ที่ ทส 0912/2552 และได้นำเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ และสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก มีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธานกรรมการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-