คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ แล้วดำเนินการต่อไปได้ และเห็นควรให้ยุบเลิกคณะกรรมการตรวจสอบประจำกระทรวง พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับไปประสานงานในรายละเอียดปรับปรุงกลไกและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและประเมินผลและพัฒนาในส่วนราชการ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
ร่างระเบียบดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และหัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน และเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง
2. กำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
3. ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลุ่มกระทรวงและกลุ่มจังหวัด และอาจให้มีคณะอนุกรรมการอื่นตามรายสาขาหรือตามประเด็นที่มีความสำคัญก็ได้
4. กำหนดให้มีระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดีของแต่ละส่วนราชการ โดยกระทรวงใดมีความพร้อมอาจจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบฯ ประจำกระทรวงได้
5. ยุบเลิกคณะกรรมการตรวจสอบข้าราชการประจำกระทรวง โดยจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการแทน และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ประสานในรายละเอียดเพื่อปรับปรุงกลไกและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาในส่วนราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
ร่างระเบียบดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และหัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน และเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง
2. กำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
3. ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลุ่มกระทรวงและกลุ่มจังหวัด และอาจให้มีคณะอนุกรรมการอื่นตามรายสาขาหรือตามประเด็นที่มีความสำคัญก็ได้
4. กำหนดให้มีระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดีของแต่ละส่วนราชการ โดยกระทรวงใดมีความพร้อมอาจจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบฯ ประจำกระทรวงได้
5. ยุบเลิกคณะกรรมการตรวจสอบข้าราชการประจำกระทรวง โดยจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการแทน และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ประสานในรายละเอียดเพื่อปรับปรุงกลไกและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาในส่วนราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-