แท็ก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงศึกษาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ….ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามหลักการกลาง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2546 แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการรับไปตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่อาจมีเสนอ เพิ่มเติมให้เป็นไปตามหลักการกลางในชั้นหนึ่งก่อน และจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อหลักการปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษา พร้อมทั้งอนุมัติให้สำนักงบประมาณร่วมพิจารณาเงื่อนไขในรายละเอียดที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. .... และร่วมชี้แจงในขั้นตอนการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการแล้วในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ และเห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแจ้งหลักการที่จะปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษาให้มหาวิทยาลัยทราบ เป็นการล่วงหน้าเพื่อจะได้ถือปฏิบัติ ต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีดังนี้
1.ปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ
2. กำหนดให้องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระที่มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม และกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุโทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ให้แก่มหาวิทยาลัยในลักษณะเดียวกับการจัดให้แก่หน่วยงานของรัฐและในอัตราที่ไม่เกินอัตราที่สนับสนุนแก่หน่วยงานของรัฐ
3. กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย
4. รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปและเงินงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และให้ได้รับการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมทุกประเภท
5. อสังหาริมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นที่ราชพัสดุ และให้เป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของมหาวิทยาลัย
6. ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีทั้งปวง รวมทั้งการบังคับทางปกครอง และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยมิได้
7. สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุด องค์ประกอบเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้
8. กำหนดอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย และให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการของสภามหาวิทยาลัย คือ คณะกรรมการนโยบายวิชาการ คณะกรรมการนโยบายการเงินและทรัพย์สิน คณะกรรมการการบริหารงานบุคคล คณะกรรมการการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และคณะกรรมการตรวจสอบ
9. อธิการบดีมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้
10. ให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาและประเมินการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
11. กำหนดให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน เงินงบประมาณรายได้สิทธิและประโยชน์อื่นใด ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 ไปเป็นของมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีดังนี้
1.ปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ
2. กำหนดให้องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระที่มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม และกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุโทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ให้แก่มหาวิทยาลัยในลักษณะเดียวกับการจัดให้แก่หน่วยงานของรัฐและในอัตราที่ไม่เกินอัตราที่สนับสนุนแก่หน่วยงานของรัฐ
3. กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย
4. รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปและเงินงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และให้ได้รับการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมทุกประเภท
5. อสังหาริมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นที่ราชพัสดุ และให้เป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของมหาวิทยาลัย
6. ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีทั้งปวง รวมทั้งการบังคับทางปกครอง และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยมิได้
7. สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุด องค์ประกอบเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้
8. กำหนดอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย และให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการของสภามหาวิทยาลัย คือ คณะกรรมการนโยบายวิชาการ คณะกรรมการนโยบายการเงินและทรัพย์สิน คณะกรรมการการบริหารงานบุคคล คณะกรรมการการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และคณะกรรมการตรวจสอบ
9. อธิการบดีมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้
10. ให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาและประเมินการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
11. กำหนดให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน เงินงบประมาณรายได้สิทธิและประโยชน์อื่นใด ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 ไปเป็นของมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-